Tag Archives: การบริจาคหนังสือ

ขายหนังสือ (?)

เมื่อสองวันก่อน วงการห้องสมุด (ไทย) ตกเป็นข่าวดังเลยทีเดียว ที่มีห้องสมุดมหาวิยาลัยแห่งหนึ่ง โละหนังสือ วารสารออกจากห้องสมุด และขายให้กับร้านหนังสือเก่า มีผู้รักหนังสือเก่า แห่กันมาซื้อกันไปมากมาย จนเป็นที่เลื่องลือและเข้าหู ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแห่งนั้น ผู้ที่ทราบเรื่องได้แต่สงสัยว่า ทำไมห้องสมุดจึงขายหนังสือดีๆ หนังสือหายาก วารสาร ออกไปแบบนั้น ห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่เป็นข่าวได้ออกมาชี้แจงภายหลังว่าเป็นเรื่องเข้าใจผิด น่าจะขนย้ายผิด และกำลังสอบสวนต่อไป

ห้องสมุดจะได้หนังสือเข้ามาด้วยวิธีการซื้อ การขอรับบริจาค การแลกเปลี่ยนกับหน่วยงานอื่นๆ  หนังสือที่ได้มาด้วยการซื้อ อยากที่จะมีการถอนออกหรือเอาออกจาห้องสมุด เพราะเป็นการซื้อด้วยเงินงบประมาณ ต้องมีการตั้งกรรมการ ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยเอาออกกัน แต่อาจจะใช้พิจารณาเอาออกจากชั้นหนังสือที่ให้บริการที่เป็นปัจจุบัน  (มักจะดูจากสถิติการยืมเป็นหลักว่าในช่วง 2-5 ปี มีการถูกยืมออกไปหรือไม่ ช่วงปี อาจจะขึ้นอยู่กับห้องสมุดแต่ละแห่ง) เพื่อให้มีแต่หนังสือที่ทันสมัย และยังมีการใช้อยู่  (ด้วยเหตุที่ชั้นหนังสือเต็ม การจะเก็บหนังสือทุกเล่มจึงย่อมเป็นไปไม่ได้) แต่ก็มักจะนำไปเก็บไว้ในชั้นเก็บหนังสือ หรือที่มักจะเรียกว่า Stack หรือห้องสมุดบางแห่งอาจจะมีคลังเก็บหนังสือหรือเช่าพื้นที่เก็บหนังสือ เพราะรายการหนังสือเหล่านี้ไม่ได้ถอนออกจากระบบ จะยังปรากฏว่าอยู่ในชั้นเก็บหนังสือหรือคลังเก็บ ถ้ามีผู้ต้องการใช้ จะสามารถร้องขอให้ห้องสมุดนำออกมาให้บริการได้ การที่ห้องสมุดไม่ถอนออกจากห้องสมุด มีหลายสาเหตุ เป็นการซื้อด้วยเงินงบประมาณ เป็นหนังสือที่ไม่ทันสมัยก็จริงแต่อาจเป็นหนังสือคลาสสิคในสาขาวิชานั้นๆ  เป็นต้น Continue reading ขายหนังสือ (?)

มธ. สานสัมพันธ์มหาวิทยาลัยสุขภาพ สปป.ลาว เชิญร่วมบริจาคหนังสือ/ตำราทางการแพทย์ส่งตรงถึงมหาวิทยาลัยสุขภาพ สปป.ลาว

นางศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ตามที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติ สปป.ลาว และขยายความร่วมมือไปยังมหาวิทยาลัยสุขภาพ สปป.ลาว  เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและความเป็นเลิศด้านวิชาการร่วมกัน โดยเบื้องต้นได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการจัดกิจกรรมงานสัปดาห์หนังสือ Book Fair (วางแสดงปื้ม) เป็นประจำทุกปีเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ตำราวิชาการ

สำหรับแผนในการจัดกิจกรรมงานสัปดาห์หนังสือ ประจำปี 2558 นี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพของ สปป.ลาว จึงได้เตรียมจัดกิจกรรมพิเศษด้วยการระดมหนังสือ ตำรา ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ นำไปมอบให้แก่มหาวิทยาลัยสุขภาพ สปป.ลาวในช่วงเดือนธันวาคม 2558 เพื่อใช้เป็นตำราประกอบเรียนการสอนและการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษา อาจารย์อันจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพของ สปป.ลาวในอนาคต

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมกันบริจาคหนังสือ ตำรา เอกสารวิชาการ งานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เป็นประโยชน์ โดยสามารถติดต่อเพื่อบริจาคหนังสือ ตำรา เอกสารวิชาการ หรืองานวิจัยได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ที่หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โทร. 02-613-3544 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ โทร. 02-564-4440 ต่อ 1305 และห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี โทร. 02-926-9999 ต่อ 7502-7504

บทความที่เกี่ยวข้อง:

วางแสดงปึ้ม ครั้งที่ 4

หนังสือบริจาคของหอสมุดปรีดี พนมยงค์

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ได้รับบริจาคหนังสือจากหน่วยงานราชการ บุคลากรของมหาวิทยาลัย    นักศึกษาปัจจุบัน ศิษย์เก่า หน่วยงานและบุคลากรภายนอก โดยส่วนใหญ่จะมาที่หอสมุดปรีดีฯ ทั้งนี้เพราะสะดวกในการติดต่อด้วยตนเองหรือโทรศัพท์ติดต่อแจ้งความจำนงกับหอสมุด ทางหอสมุดปรีดีฯก็จะไปรับบริจาคหนังสือที่ทำงานหรือที่บ้านของผู้บริจาคเอง หนังสือบริจาคเหล่านี้บางชื่อเรื่องก็ไม่มีจำหน่ายในท้องตลาดเพราะเป็นหนังสือที่ผลิตใช้เฉพาะกิจ เช่น หนังสืองานศพหรือหนังสือรายงานประจำปี เป็นต้น หอสมุดปรีดีฯ ดำเนินการคัดเลือกหนังสือตามหลักเกณฑ์ดังนี้

  1. หนังสือทั่วไปที่มีรูปเล่มในสภาพที่ดี ไม่มีฉีกขาด ไม่มีรอยขีดเขียน
  2. ไม่รับหนังสือที่ถ่ายเอกสาร เอกสารประเภทชีท
  3. หนังสือด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีที่ล้าสมัย
  4. ไม่รับหนังสือที่มีสภาพเล่มเก่า ชำรุด กระดาษเป็นสีเหลือง หรือเปียกน้ำและขึ้นรา ถ้าหนังสือเก่าที่มีสภาพที่ดี มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และการเรียนการสอน หรือเกี่ยวกับประวัติ เหตุการณ์สำคัญของประเทศจะพิจารณาเป็นหนังสือหายาก
  5. รับบริจาคหนังสืองานศพ เพราะเนื้อหาบอกประวัติผู้วายชนม์และข้อมูลด้านต่างๆที่ให้ความรู้กับผู้อ่าน
  6. รับบริจาคด้านโสตทัศนวัสดุต่างๆ ที่เป็นแผ่นมาสเตอร์ ไม่รับแผ่นปลอม แผ่นหนังโป๊ฃ
  7. การรับบริจาคหนังสือ ทางหอสมุดปรีดี พนมยงค์ จะถือเป็นกรรมสิทธิ์โดยชอบธรรม และขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาโดยสามารถดำเนินการในลักษณะต่างๆ ได้ตามความเหมาะสมโดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้บริจาคทราบล่วงหน้า
  8. กรณีที่มาบริจาคหนังสือด้วยตนเอง เจ้าหน้าที่ที่จะขอที่อยู่ของผู้บริจาค เพื่อดำเนินการตอบขอบคุณ

รับบริจาควันจันทร์-ศุกร์ ระหว่าง เวลา 8.00 น.- 16.00 น. และสามารถโทรศัพท์ติดต่อที่ 02-6133539 หรือ 02-6133544

เล่มหนึ่งก็ซึ้งใจ

การขอหนังสือบริจาคเป็นงานอีกส่วนหนึ่งของห้องสมุดโดยทั่วไป ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งในการจัดหาหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ เข้ามาในห้องสมุด นอกจากการจัดซื้อ

หนังสือที่ขอรับบริจาคเป็นหนังสือที่มีลักษณะเฉพาะ ไมมีการซื้อ-ขาย และมีคุณค่าในตัวเอง สำหรับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ในส่วนที่ทำการขอรับบริจาค แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1. สิ่งพิมพ์ ของกระทรวงทั้งหมด 20 กระทรวง รวมถึง มูลนิธิ สมาคม องค์กรเอกชน ต่าง ๆ สิ่งพิมพ์ที่ทำการขอได้แก่ สิ่งพิมพ์รัฐบาล งานวิจัย
2. ที่ระลึกครบรอบปีของหน่วยงาน และสิ่งพิมพ์ในวาระพิเศษต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือที่ระลึกในอนุสรณ์งานศพ หนังสือที่ระลึกส่วนบุคคล เช่น ครบรอบ 80 ปี 100 ปี ของบุคคลที่มีคณูปการแก่ประเทศชาติ เช่น 100 ปี ดร. ถนัด คอมันตร์ ในชื่อที่ว่า ”แต่พ่อที่รักของลูก” และหนังสือวาระพิเศษของหน่วยงาน เช่น เพาะช่าง 100 ปี

ทักษะต่าง ๆ ทีใช้ในการขอรับบริจาคหนังสือ Continue reading เล่มหนึ่งก็ซึ้งใจ

การตรวจสอบหนังสือที่ได้รับจากการบริจาค

ห้องสมุดเป็นแหล่งให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลายวิชา  นอกจากการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศด้วยงบประมาณแล้ว  อีกส่วนหนึ่งของทรัพยากรสารสนเทศนั้น ได้มาจากศิษย์เก่า หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดจนประชาชนทั่วไปให้ความอนุเคราะห์นำหนังสือและสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ  มามอบให้ห้องสมุด  ซึ่งทางห้องสมุดจะทำการตรวจสอบหนังสือที่ได้รับมา    ว่ามีที่ห้องสมุดส่วนกลาง และห้องสมุดสาขาใดบ้าง

การตรวจสอบหนังสือมีขั้นตอนการทำดังนี้

  1. ตรวจสอบรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศ ในฐานข้อมูลห้องสมุดระบบอัตโนมัติของห้องสมุด  โดยตรวจสอบรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศ ชื่อผู้แต่งหนังสือ  เลขISBN  หรือ  ISSN  ของทรัพยากรสารสนเทศนั้น ๆ ว่ามีที่    ห้องสมุดส่วนกลางและห้องสมุดสาขาใดบ้าง
  2. ตรวจสอบรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศ ในฐานข้อมูล  Booklist New Open Source Library Management System   โดยตรวจสอบรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศ  ชื่อผู้แต่งหนังสือ  เลขISBN , ISSN   ของทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ   ชื่อผู้เสนอทรัพยากรสารสนเทศ  ว่ามีที่  ห้องสมุดส่วนกลางและห้องสมุดสาขาใดบ้าง
  3. เมื่อตรวจสอบพบว่าไม่มีในห้องสมุดส่วนกลาง และห้องสมุดสาขา  จะพิมพ์รายละเอียดต่าง ๆ ของทรัพยากรสารสนเทศนั้น ๆ ในฐานข้อมูล  Booklist New Open Source Library Management System และระบุ ห้องสมุดที่จะนำทรัพยากรสารสนเทศเข้าให้บริการ  พร้อมระบุสถานะการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศนั้น ๆ ว่า เป็นการบริจาค/สั่งซื้อ
  4. เจ้าหน้าที่จะนำทรัพยากรสารสนเทศส่งไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศที่รับผิดชอบเพื่อดำเนินการต่อไปบทความที่เกี่ยวข้อง การทำหนังสือตอบขอบคุณ

หนังสือตอบขอบคุณ

ห้องสมุดเป็นแหล่งให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลายสาขาวิชา นอกจากการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศด้วยงบประมาณแล้ว   อีกส่วนหนึ่งได้มาจากศิษย์เก่า หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดจนที่ประชาชนทั่วไปให้ความอนุเคราะห์นำหนังสือและสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ มามอบให้ห้องสมุด  ซึ่งทางห้องสมุดเรียกว่า ” การบริจาคหนังสือ”

เมื่อห้องสมุดได้รับหนังสือบริจาค  ห้องสมุดจะทำหนังสือตอบขอบคุณถึงผู้ที่นำหนังสือ/หน่วยงานมาบริจาค

เมื่อมีบุคคล/หน่วยงานแจ้งความประสงค์(เข้ามาติดต่อด้วยตนเอง) ที่จะบริจาคหนังสือ ห้องสมุดปรีดี  พนมยงค์ จะมีขั้นตอนดังนี้

1. ให้ผู้บริจาคหนังสือ/หน่วยงาน กรอกแบบฟอร์มรายการของหนังสือที่จะบริจาคและจำนวน จะแนบแบบฟอร์มกับตัวเล่ม

2.  เจ้าหน้าที่ตรวจสอบรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่บริจาคมาในแบบฟอร์มที่ระบุมา

3.  เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ชื่อ ที่อยู่ ของผู้บริจาคหนังสือ/หน่วยงาน ตามแบบฟอร์มที่กรอกไว้

4. พิมพ์หนังสือตอบขอบคุณและซองจดหมาย ตามที่อยู่ที่ระบุในแบบฟอร์มที่ผู้บริจาคหนังสือ/หน่วยงาน ระบุมา

5.  นำส่งไปยังฝ่ายที่ออกเลขหนังสือเพื่อดำเนินการต่อไป

จดหมายตอบขอบคุณนั้น ผู้บริจาคหนังสือ/หน่วยงาน สามารถยืนยันได้ว่า มีการนำหนังสือมาเผยแพร่ผลงานทางวิชาการแล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบหนังสือที่ได้รับจากการบริจาค