ก่อนที่ผู้เขียนจะมาปฏิบัติงานที่ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยรับผิดชอบทำรายการและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศนั้น ผู้เขียนได้ปฏิบัติงานในห้องสมุดสาขาของสำนักหอสมุดมาหลายแห่ง
เนื่องจากผู้เขียนมีพื้นความรู้ภาษาจีน จึงได้ช่วยบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯ แปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน ซึ่งในระยะแรกๆ ผู้เขียนจะแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมันโดยใช้ระบบการสะกดออกเสียงตามระบบ Pinyin และเขียนคำศัพท์ตามคำศัพท์ภาษาจีนที่เห็น เช่น คำว่า ภาษาจีน(汉语)จะแปรเป็นอักษรโรมันตามระบบ Pinyin อ่านว่า hanyu ซึ่งจะเขียนติดกัน แต่หลังจากที่ผู้เขียนได้มาปฏิบัติงานที่ฝ่ายบริหารจัดการทัพยากรฯ และรับผิดชอบงานการทำรายการและวิเคราะห์ทรัพยากรภาษาต่างประเทศ โดยรวมถึงภาษาจีนนั้น ผู้เขียนพบว่ารายการทรัพยากรภาษาจีนของ OCLC จะสะกดออกเสียงตามระบบ Pinyin โดยสะกดแยกคำออกจากกัน เช่น คำว่า ภาษาจีน(汉语)จะสะกดเป็น Han yuโดยเขียนแยกกัน และใช้ H เป็นอักษรตัวใหญ่ ตามหลักภาษาอังกฤษซึ่งจะเขียนภาษาต่างๆ โดยใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ เช่น English, Chinese และชื่อประเทศ ชื่อมณฑล ชื่อเมือง ก็จะเขียนอักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ และเขียนติดกัน เช่น คำว่าประเทศจีน(中国)จะสะกดเป็นZhongguoปักกิ่ง(北京)จะสะกดเป็น Beijing เป็นต้น
หลังจากที่ผู้เขียนได้อ่านระบบการแปรอักษรจีนเป็นอักษรโรมันของALA-LC Romanizationแล้วจึงทราบความเป็นมาและรายละเอียดหลักเกณฑ์การแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน ซึ่งจะขอเล่าความเป็นมาและยกตัวอย่างหลักเกณฑ์คร่าวๆ ดังนี้ Continue reading การลงรายการหนังสือภาษาจีน →