All posts by kwancn

ประชุมคณะทำงานฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา 3/2558

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2558 ผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุมคณะทำงานฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 3/2558  ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

S__18948110

ในการประชุมครั้งนี้เลขานุการได้นำเสนอคู่มือการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้คณะทำงานได้พิจารณาร่วมกันและเพื่อปรับปรุงข้อมูลต่อไป

S__18948111

วาระต่อมาจะเป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้เรื่อง “ประสบการณ์การจำหน่ายออกสิ่งพิมพ์ของหอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร” โดยคุณจรินทร์ คิดหมาย

เมื่อประมาณเดือนกรกฎาคม 2558 ที่มีการนำเสนอข่าวว่าทางหอสมุดวังท่าพระ  นำสิ่งพิมพ์มาชั่งกิโลขาย คุณจรินทร์ได้ชี้แจงว่ากรณีนี้เป็นความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน และความเข้าใจผิด ไม่ได้มีเจตนานำสิ่งพิมพ์ไปขายตามที่ข่าวนำเสนอ จากเหตุการณ์นี้ทำให้ได้ข้อเตือนใจว่า ในมุมมองของผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ และผู้บริโภคสื่อ ทุกคนควรเสพสื่ออย่างมีสติ และในมุมมองของหอสมุด ควรอดทนอดกลั้นต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และชี้แจงให้ผู้อื่นเข้าใจข้อเท็จจริง นอกจากนี้ในการจำหน่ายหนังสือออกควรตระหนักถึงความระมัดระวังและรอบคอบด้วยค่ะ

สุดท้ายเป็นการสรุปผลการดำเนินงานของคณะทำงานฯ ประจำปี 2557 – 2558 และการส่งมอบงานให้แก่ประธานและคณะทำงานฯชุดใหม่ต่อไปค่ะ

Memory Power Enhancement

11949816_10207972186530693_192492032_n

ในการประชุมวิชาการประจำปี สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างวันที่ 2-4 กันยายน 2558 ภายใต้หัวข้อเรื่อง “คิดใหม่ ทำใหม่ บรรณารักษ์ยุคใหม่”  นั้น สำหรับวันที่ 3 กันยายน 2558 ประกอบด้วย 2 หัวข้อ คือ Activities for Brain Training และ Memory Power Enhancement

หลังจากที่ได้ฟังบรรยายเรื่อง Activities for Brain Training จากอาจารย์ธัญญา ผลอนันต์ในช่วงเช้าแล้ว  ในช่วงบ่ายผู้เขียนได้เข้าร่วมฟังบรรยายเรื่อง Memory Power Enhancement หรือเทคนิคเพื่อเสริมสร้างความจำ โดยอาจารย์ลัดดาวัลย์ ชูช่วย ซึ่งมีตำแหน่งเป็นแชมป์สุดยอดอัจฉริยะนักจำระดับประเทศในปี 2552 และ 2555 การบรรยายมีเนื้อหาสำคัญดังนี้ค่ะ

หลักการจำ มี 2 ข้อ ได้แก่
1. จินตนาการ (Imagination )
การใช้จินตนาการจะช่วยเรื่องความจำได้มาก สอดคล้องกับคำกล่าวของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่ว่า “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้”
2. การเชื่อมโยง (Association)
เป็นระบบพื้นฐานของระบบการจำทั้งหมด และเป็นการปูพื้นฐานไปสู่การเรียนรู้ขั้นต่อๆไป Continue reading Memory Power Enhancement

OFFICE EMAIL SEMINAR (II)

วันที่ 13  สิงหาคม 2558 เวลา 9.00 – 10.00 น.  ผู้เขียนได้เข้ารับการอบรมเรื่อง Office Email Seminar (II) ซึ่งเป็นการอบรมต่อเนื่องมาจาก Office Email Seminar (I)

ในครั้งนี้ผู้เขียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อควรคำนึงในการใช้งานอีเมล์ เช่น การตั้งชื่ออีเมล์, การใช้รูป profile, การใช้ feature ลงท้ายอีเมล์, การหลีกเลี่ยงคำย่อที่ไม่เป็นทางการ, การอัพเดต subject, การใช้น้ำเสียงในเนื้อความ (tone) รวมถึงมารยาทต่างๆในการใช้งานอีเมล์ ควรคำนึงถึงความเป็นทางการ และควรตอบด้วยทัศนคติเชิงบวก

สุดท้ายก่อนที่จะส่งอีเมล์ควรอ่านทบทวนการเรียบเรียงเนื้อหา โดยคำนึงถึงความจำเป็น ความชัดเจนของเนื้อหาอีกด้วยค่ะ ทั้งนี้ วิทยากร ได้อนุญาตให้เผยแพร่สไลด์การสอนในตอนที่ 2 นี้มาด้วยค่ะ

สไลด์ประกอบการสอน และอ่านเรื่อง WRITING OFFICE EMAILS – PART II ประกอบได้ค่ะ

Office Email Seminar (I)

วันที่ 6  สิงหาคม 2558 เวลา 9.00 – 10.00 น.  ผู้เขียนได้เข้ารับการอบรมเรื่อง Office Email Seminar (I) โดยมีวิทยากร คือ คุณ Benjamin Ivry ซึ่งการอบรมครั้งนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับคำแนะนำในการเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษเบื้องต้น โดยเริ่มตั้งแต่การตั้งชื่อ Subject,  การใช้คำขึ้นต้นและคำลงท้าย,  มารยาทในการตอบอีเมล์, ข้อควรระวังเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัย (security issues) และการใช้สำเนา CC และ BCC

นอกจากนี้ในการเขียนอีเมล์ที่ดีควรคำนึงถึงโอกาสและระดับความเป็นทางการ ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำย่อ การใส่ emoticons และการใช้สีสันอีกด้วยค่ะ

จากการอบรมครั้งนี้ทำให้ผู้เขียนพบว่า การเขียนอีเมล์ในการทำงานปัจจุบันของผู้เขียนยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง บางวลีที่เรามักใช้กันมานาน อาจจะเป็นภาษาที่ไม่เป็นปัจจุบันแล้ว ควรหลีกเลี่ยง ผู้เขียนจะนำคำแนะนำจากการอบรมครั้งนี้ไปปรับแก้ไขให้เขียนอีเมล์ดีขึ้นค่ะ

สไลด์ประกอบการสอน   และสามารถอ่านเรื่อง  WRITING  OFFICE  EMAILS – PART I  ประกอบได้ค่ะ

ประชุมคณะทำงานฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา 2/2558

เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 ผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุมคณะทำงานฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 2/2558  ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จากการประชุมครั้งนี้มีวาระสืบเนื่องเรื่อง รายงานความคืบหน้าการจัดทำคู่มือการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามเรื่องการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศจากสถาบันต่างๆ หากเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วจะมีการแจ้งคณะทำงานอีกครั้ง

จากนั้นจะเป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ในการดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของคุณเบญจวรรณ  เล็กเจริญสุข ผู้แทนจากสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งกำลังจะเกษียณอายุราชการ

คุณเบญจวรรณได้ถ่ายทอดประสบการณ์ของบรรณารักษ์จัดหาทรัพยากรสารสนเทศให้กับคณะทำงาน และได้มีข้อคิดดีๆฝากถึงคณะทำงานว่า ในการทำงานควรยึดถือจรรยาบรรณบรรณารักษ์เป็นสำคัญ ต้องมีความซื่อสัตย์ ละเอียดรอบคอบ และหมั่นแสวงหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ นอกจากการทำงานจัดหาฯแล้วยังต้องมี service mind ในการให้บริการด้วย และสุดท้ายอยากให้ทุกคนคิดบวก ทำงานอย่างมีความสุข มีจิตใจดีงาม และมีน้ำใจกับเพื่อนร่วมงาน จะทำให้เราใช้ชีวิตการทำงานได้อย่างมีความสุข

ในช่วงสุดท้ายได้มีการมอบของที่ระลึกให้กับคุณเบญจวรรณ และถ่ายภาพร่วมกันค่ะ

11798261_10207681247817407_390426482_n

การอบรม Microsoft Excel 2013 Advanced Level

หลังจากที่ได้อบรมเรื่อง Microsoft Excel 2013 Basic Level ไปแล้ว ครั้งนี้จะมาอบรมต่อเนื่องในหัวข้อ  Microsoft Excel 2013 Advanced Level กันค่ะ วิทยากรได้สอนเรื่อง Function ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ได้แก่ การนับจำนวนรายการ ประกอบด้วย คำสั่ง COUNT, COUNTIF และ COUNTIFS  Function การตัดสินใจ ประกอบด้วย คำสั่ง IF, AND, OR และ LOOKUP ซึ่งการใช้งานจะใช้คำสั่ง IF อย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีการประยุกต์ใช้งานร่วมกันกับคำสั่งอื่นๆ อีกทั้งยังมีคำสั่ง Validation ที่ใช้ป้องกันการป้อนข้อมูลเกินช่วงที่กำหนด

นอกจากนี้ยังมีการใช้คำสั่ง Pivot table ที่ใช้สำหรับการแสดงรายงานข้อมูลแยกตาม field ข้อมูลที่กำหนด และ Function Condition Formatting ที่เพิ่มลูกเล่นสีสันให้รายงานมีรูปแบบที่น่าสนใจมากขึ้นอีกด้วยค่ะ

การอบรม Microsoft Excel 2013 Basic Level

วันที่ 24 กรกฎาคม 2558 เวลา 9.00 – 12.00 น.  ผู้เขียนมีโอกาสได้เข้ารับการอบรมการใช้โปรแกรม Microsoft Excel 2013 Basic Level ที่ห้องส่งเสริมการรู้สารสนเทศ ชั้น U2 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นการจัดอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ให้กับบุคลากร สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

11791870_10207639532294545_778519176_nในส่วนของรายละเอียดการอบรม วิทยากรได้แนะนำการใช้งานเบื้องต้น ตั้งแต่การอธิบายลักษณะหน้าจอโปรแกรม คำสั่งต่างๆ การเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูล (Format) เช่น ข้อความทั่วไป ตัวเลข วันที่และเวลา รวมถึงการตั้งค่าหน้ากระดาษ  การใส่หัวและท้ายกระดาษ และการกำหนดพื้นที่ในการพิมพ์

นอกจากนี้ยังได้บรรยายถึงการใช้งาน Function ต่างๆ ได้แก่ การรวมผลข้อมูล การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าสูงสุดและต่ำสุด การสร้างเงื่อนไขง่ายๆด้วย Function IF และการแบ่งแยกข้อมูลเป็นคอลัมน์ ทำให้บุคลากรได้รับความรู้และเทคนิคใหม่ๆ สำหรับนำไปประยุกต์ใช้กับงานให้เกิดประสิทธิภาพได้มากขึ้นค่ะ

ทำความรู้จัก WorldCat knowledge base

WorldShare

หลังจากที่ผู้เขียนได้เคยเขียนเรื่อง Fulltext Finder ของ EBSCO ไปแล้ว ในครั้งนี้เราจะมาทำความรู้จักการดำเนินงาน update รายชื่อทรัพยากรในระบบของทาง OCLC กันบ้างค่ะ  ฐานข้อมูลที่ใช้ในเก็บข้อมูลนี้การเรียกว่า WorldCat knowledge base

WorldCat knowledge base เป็นหนึ่งในบริการที่อยู่ใน WorldShare Management Services (WMS) ใช้สำหรับบริหารจัดการและจัดเก็บรายชื่อวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลออนไลน์ที่สำนักหอสมุดบอกรับ รวมทั้งวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่บอกรับกับสำนักพิมพ์ และหนังสืออ้างอิงอิเล็กทรอนิกส์ (E-Reference) ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ ทำให้สามารถสืบค้นแบบ one search ด้วยกล่องสืบค้น WorldCat Local ได้

แต่เดิมการทำ knowledge base จะรวมอยู่ในระบบ OCLC Service Configurarion เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558 OCLC ประกาศว่าได้ยุติการพัฒนา OCLC Service Configurarion แล้ว ซึ่ง OCLC จะทำการ migrate ข้อมูลรายชื่อทรัพยากรใน knowledge base ของเดิมจาก OCLC Service Configurarion ไปสู่ WorldShare Management Services (WMS) โดยอัตโนมัติ

คู่มือสำหรับการตั้งค่าใน WorldCat knowledge base และการแสดงผลการสืบค้นใน WorldCat Local สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ค่ะ

Research Starters

ResearchStartersEducation_Masthead_Web

Research Starters คือ feature ภายในกล่องสืบค้น EDS ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลที่มีการอ้างอิง และสรุปเนื้อหาของบทความที่เป็นที่นิยม
โดย feature นี้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยพัฒนางานวิจัยในขั้นเริ่มต้น เหมาะสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา

ข้อมูลของ Research Starters รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่มีคุณภาพและสารานุกรมต่างๆ ได้แก่ หนังสือจากสำนักพิมพ์ Salem Press, Encyclopedia Britannica และ American National Biography

เมื่อผู้ใช้สืบค้นจากกล่องสืบค้น EDS  Research Starters จะปรากฏขึ้นเป็นรายการแรกก่อนผลการสืบค้น และสามารถเชื่อมโยงไปยังบทความฉบับเต็มได้

1

ภายในบทความฉบับเต็ม ผู้ใช้สามารถเลือกการแปลเป็นภาษาต่างๆได้มากกว่า 20 ภาษา และสามารถเลือกการอ่านออกเสียงได้ 3 สำเนียง ได้แก่ American Accent, Australian Accent และ British Accent  อีกทั้งยังสามารถดาวน์โหลดบทความเป็นไฟล์เสียงแบบ MP3 ได้ด้วย

2

ผู้เขียนได้ทดลองใช้ดูแล้ว Research Starters ไม่ได้มีสำหรับคำค้นทุกคำ แต่จะปรากฏขึ้นกับคำค้นบางคำค่ะ จากที่เคยสืบค้นแบบธรรมดา Research Starters ก็เป็นฟังก์ชั่นเสริมที่จะช่วยให้ประสบการณ์ใหม่ๆในการสืบค้นแก่ผู้ใช้ ลองไปใช้กันดูนะคะ

เทคนิคการจดจำ ฉบับอาจารย์หมอ

ผู้เขียนเคยมีโอกาสได้ศึกษาวิชา การวางแผนและจัดการระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ จากโครงการปริญญาโทสาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการกับวิทยากรรับเชิญพิเศษ คือ รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ซึ่งปัจจุบันท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และผู้บริหารโรงพยาบาลศิริราช

ในครั้งแรกที่พบกันอาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนแนะนำตัว บอกชื่อเล่น และตำแหน่งงาน เพื่อให้ผู้สอนรู้จักผู้เรียนมากขึ้น ในขณะที่นักศึกษาแนะนำตัวไปประมาณ 5 – 6 คน อาจารย์สามารถทวนชื่อของนักศึกษาทุกคนได้อย่างถูกต้อง

หลังจากที่นักศึกษาทุกคนแนะนำตัวจนครบแล้ว อาจารย์ก็ยังสามารถทวนชื่อเล่นของนักศึกษาทุกคนได้อย่างถูกต้อง ซึ่งทำให้ผู้เขียนประทับใจในตัวอาจารย์มาก

นักศึกษาทุกคนต่างสงสัย ว่าทำไมอาจารย์ถึงจำชื่อเล่นของนักศึกษาทุกคนได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ ?

ท่านได้กล่าวว่า ในทางธุรกิจการจดจำชื่อคนให้ match กับหน้าตานั้นมีความสำคัญมาก เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ว่าลูกค้าคนใดก็อยากให้ผู้ขายหรือผู้ที่ติดต่อประสานงานจดจำตนได้ ซึ่งการจดจำได้จะมีผลทางบวกกับความรู้สึกของลูกค้า ทำให้เกิดความประทับใจในตัวผู้ขาย และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ขายขายสินค้าได้มากขึ้น และเป็นผู้ขายอันดับหนึ่งที่ลูกค้าเลือก

ท่านจึงแนะนำว่าในการจดจำบุคคล ยังมีองค์ประกอบหลายประการที่มาประกอบกันแล้วทำให้เราสามารถจดจำได้ง่ายขึ้น ได้แก่ โครงหน้า ลักษณะหน้าตา รูปร่าง อักษรตัวแรกของชื่อ อาชีพ ภูมิลำเนา ที่อยู่ ความสนใจ หรือกระทั่งชื่อพี่น้องของบุคคลนั้น เป็นต้น

เมื่อนำข้อมูลส่วนต่างๆมาประกอบกัน จะสามารถสร้างเป็น story สั้นๆ ขึ้นมาได้ เมื่อเรานึกถึงก็จะทำให้เราระลึกได้ และจำได้ในที่สุด นอกจากองค์ประกอบเหล่านี้ การเรียกบ่อยๆ ก็จะทำให้จดจำได้ง่ายขึ้น เพราะการออกเสียงจะมีผลทางบวกกับความจำ ทำให้จดจำได้ดีขึ้น และอาจารย์ยังเล่าว่าท่านได้นำเทคนิคนี้ไปใช้กับการเรียนรู้ภาษาที่ 3 4 5 จนประสบความสำเร็จอีกด้วย

ในชีวิตการทำงาน การเรียนรู้ หรือไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม เรายังต้องใช้การจดจำอยู่มาก ลองนำเทคนิคนี้ไปปฏิบัติกันดูนะคะ ต้องทำให้เราจดจำได้ดีขึ้นแน่นอนค่ะ