TULIB App เป็น App ชุดโปรแกรมห้องสมุดที่ใช้สืบค้นข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ ตรวจสอบข้อมูลการยืม ยืมต่อ จองหนังสือ รวมทั้ง มี Virtual Library Tour และ Learning ลองติดตั้งมาลองใช้ดูนะคะ แล้วจะเห็นว่าการใช้บริการห้องสมุดเป็นเรื่องง่ายๆ ค่ะ
Category Archives: ห้องสมุด/พิพิธภัณฑ์
WorldCat : The World’s Largest Library Catalog
WorldCat เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรม ของหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง โสตทัศนวัสดุ ครอบคุลมความรู้ทุกสาขาวิชา ในกว่า 400 ภาษา โดยเกิดจากการทำงานร่วมกันของเครือข่ายห้องสมุดที่เป็นสมาชิก OCLC (Online Computer Library Center) ปัจจุบันมีห้องสมุดทั่วโลกมากกว่า 70,000 แห่ง ใน 86 ประเทศ รวมทั้งสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Continue reading WorldCat : The World’s Largest Library Catalog
Collaborative Management of Institutional Assets: The University of Hong Kong’s CRIS
“Collaborative Management of Institutional Assets: The University of Hong Kong’s CRIS” เป็นหัวข้อที่น่าสนใจหัวข้อหนึ่งในการประชุมเครือข่ายห้องสมุดในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกของ OCLC ครั้งที่ 6 (OCLC 6th Asia Pacific Regional Council 2014 Membership Conference) เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2557 นำเสนอ โดย David Palmer ซึ่งเป็น Associate University Librarian for Digital Strategies & Technical Services and Principal Investigator for The HKU Scholars Hub ที่มหาวิทยาลัยฮ่องกง
มหาวิทยาลัยฮ่องกงได้สร้างระบบการจัดเก็บและรักษาผลงานวิจัยซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยขึ้น ในการจัดสร้างระบบ Palmer ได้กล่าวถึง ทรัพยสินที่สำคัญและปัญหาต่าง ๆ ที่พบ พอสรุปได้ดังนี้
ชวนเด็กๆ มาเรียนรู้ที่ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ภาษีเจริญ
ห้องสมุดและศูนย์การเรียนรู้นั้นมีเกือบจะแทบทุกแห่งของประเทศไทย ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ภาษีเจริญก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่น่าสนใจ เนื่องจากที่นี่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาอ่านหนังสือและยังมีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เยาวชน เพื่อเป็นแรงจูงใจเพื่อให้เยาวชนเข้าห้องสมุดมากขึ้น
กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้จะจัดขึ้นทุกๆ วันเสาร์ ซึ่งมีตั้งแต่การทำที่คั่นหนังสือรูปสัตว์, เล่นเกมส์SUDOKU, ทำกิจกรรมปั้นโดว์เล่นสนุก ฯลฯ โดยเยาวชนจะได้เรียนรู้การแบ่งปันและการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นมากขึ้น อีกทั้งยังทำการเข้าห้องสมุดของเด็กๆ ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป
โดยภายในห้องสมุดเป็นอาคาร 3 ชั้น คือ
ชั้น 1 ประกอบด้วย
– จุดประชาสัมพันธ์
– จุดสืบค้น
– จุดฝากของ
– มุมเด็ก
– ร้านกาแฟ
ชั้น 2 ประกอบด้วย
– มุมหนังสือทั่วไป
– มุมพระราชนิพนธ์
– ที่นั่งอ่านหนังสือ
ชั้น 3 ประกอบด้วย
– ห้องประชุม
– มุมอินเทอร์เน็ต
– ชั้นหนังสือวรรณกรรม
ซึ่งหากต้องการทำสมัครสมาชิกจะต้องเสียค่าสมาชิก 10 บาท (อายุเกิน 15 ปี) และมีค่าประกันหนังสือเพียงคนละ 40 บาท
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ภาษีเจริญตั้งอยู่ที่ ซอยเพชรเกษม 50/4
ถนนเพชรเกษม เขตภาษีเจริญ กทม.10160
โทรศัพท์ : 02-4671719
วันเวลาเปิดบริการ: วันอังคาร–เสาร์ เวลา 08.30-20.00 น.
วันอาทิตย์ เวลา 09.00-17.00 น.
ปิดบริการ: วันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ติดตามกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ภาษีเจริญได้ ที่นี่ credit-n.ru
buy over the counter medicines https://credit-n.ru/offer/kredit-nalichnymi-citycredits.html https://credit-n.ru/order/zaim-cashadvisor.html https://credit-n.ru/zakony/gk/gk-1.html займ на карту без отказов круглосуточно https://credit-n.ru/informacija/strahovanie-vkladov/banky-strahovka.html https://credit-n.ru/index.html https://credit-n.ru/order/do-zar.html https://credit-n.ru/order/kreditnye-karty-renessans.html https://credit-n.ru/offers-zaim/smsfinance/ https://credit-n.ru/kurs-cb.html https://credit-n.ru/offers-zaim/zaym-na-kartu_migcredit.html unshaven girl https://www.zp-pdl.com buy over the counter medicines оформить займ через систему контактбезпроцентный займ на картузайм от платиза займ на киви без прозвонабыстрый займ спб без регистрациизайм до 30 тысяч пай пс займ личный кабинетзайм экспресс москва адресазайм якутск займ под залог земельного участказайм на карту круглосуточно с открытыми просрочкамизайм 24 часа частный займ срочно без предоплатзайм или заёмфаст займ веб-займ отзывыцентрофинанс займэкспресс займ рф займ на карту маэстрозайм под ноль процентов на картуденьги займ кредит займ онлайнзайм экспресс онлайн заявказайм в красноярске заём или займзайм на номер телефоназайм мгновенно на карту займ без отказа на карту срочнозайм через систему contactонлайн займ на карту с плохой кредитной историей где взять займ 100 процентовзайм на 6 месяцев на картузайм на электронные кошельки
OCLC MEMBERSHIP AND BENEFITS FOR ASIA PACIFIC : การเป็นสมาชิก และประโยชน์ที่ได้
เป็นครั้งแรกที่เข้าร่วมประชุม OCLC Asia Pacific Regional Council Membership Conference ปี 2014 นี้ ใช้หัวข้อ “Collaboration in the Asia Pacific Century จัดที่เมือง Jeju ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี วันที่ 13-14 ตุลาคม 2557 ณ โรงแรม Jeju Grand Hotel เจ้าภาพหลักของการประชุมคราวนี้ได้แก่ Korea Institute of Science and Technology Information (KisTi) และ Jeju National University ในส่วนเนื้อหาที่จะนำมาสรุปเล่าสู่กันฟังต่อไปนี้เป็น Session ของ George Needham, Vice President, Global and Regional Council ที่กล่าวถึงการเป็นสมาชิก OCLC และประโยชน์ที่ได้รับ Continue reading OCLC MEMBERSHIP AND BENEFITS FOR ASIA PACIFIC : การเป็นสมาชิก และประโยชน์ที่ได้
The Communication Studies Value and Utilization in WorldCat
“The communication studies value and utilization in WorldCat bibliographic database” อีกหัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจจากการประชุมเครือข่ายห้องสมุด OCLC 6th Asia Pacific Regional Council 2014 Membership Conference บรรยายโดย Assoc. Prof. Ming Xing HE จาก Beijing Foreign Studies University, สาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าด้วยการนำเอา WorldCat มาประยุกต์ใช้ในเป็นเครื่องมือเพื่อการศึกษาวิจัยการแพร่กระจายของสื่อสิ่งพิมพ์ภาษาจีนในระดับนานาชาติ Continue reading The Communication Studies Value and Utilization in WorldCat
ห้องสมุดกลางมหาวิทยาลัยนิวเดลลี
เป็นการเล่าจากความทรงจำของผู้เขียน เนื่องจากในเดือนตุลาคม ปี 2009 ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปร่วมการประชุม International Conference on Academic libraries TCAL 2009 ในเดือนตุลาคม และการเดินทางครั้งนั้นเกิดขึ้นได้ด้วยความกรุณาของท่านอาจารย์ชุติมา สัจจานันท์ ที่กรุณาชักชวนรวมถึงให้พักร่วมกับอาจารย์ ซึ่งผู้เขียนยังระลึกถึงในความกรุณาของท่านอาจารย์อยู่เสมอ
นอกจากเข้าร่วมการประชุมแล้วผู้เขียนยังได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมห้องสมุดอีกหลายแห่ง และหนึ่งในนั้นคือห้องสมุดกลางมหาวิทยาลัยนิวเดลลี ที่ทำให้ตัวผู้เขียนรู้สึกถึงความพอเพียงเรียบง่าย
สำนักหอสมุดและศูนย์การเรียนรู้ ม.กรุงเทพ ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้และชวนคิดอย่างสร้างสรรค์
ในวันที่ 29 ตุลาคม 2557 ได้มีโอกาสพาน้องๆ นักศึกษาฝึกงาน จากภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ไปเยี่ยมชมสำนักหอสมุดและศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่งตั้งอยู่ ณ อาคารหอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต
The Kansai-Kan of the National Diet Library Asian Resources Room
วันนี้ (29 ตุลาคม 2557 เวลา 10.00 น.) คุณ Rieko Morita บรรณารักษ์จาก Asian Resources Division แห่ง Kansai-Kan of the National Diet Library เข้าพบ ผอ. ศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ เพื่อขอสัมภาษณ์ประกอบการทำวิจัย
ได้รู้จักคนเพิ่มอีก 1 คน ถือว่าเป็นกำไร คุณ Rieko น่ารักมาก เลยต้องขอมาหาข้อมูล The Kansai-Kan of the National Diet Library Asian Resources Room เพื่อทำความรู้จักเพิ่มเติมต่อไปอีก ไปที่ url http://rnavi.ndl.go.jp/asia/entry/about-en.php มีข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น
The Asian Resources Room จัดหาสารสนเทศทางด้านเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ เอเชียกลาง เอเชียตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ สามารถสืบค้นผ่านระบบห้องสมุด NDL-OPAC
จากสถิติของ Collection ที่ปรากฎในหน้าเว็บไซต์นี้ มีหนังสือภาษาไทย จำนวน 4,208 เล่ม วารสาร 108 รายชื่อและหนังสือพิมพ์จำนวน 6 รายชื่อ ด้วยความเป็นห้องสมุดเฉพาะและเป็น collection หายากและต้องมีความระมัดในการใช้ จึงมีการเขียนข้อห้ามในการนำสิ่งของเหล่านี้เข้ามา
ITEMS NOT ALLOWED IN THE LIBRARY
- Bags, Paper bags, Envelopes or any other opaque containers 7×10 inches (17×26 cm) or larger
- Umbrellas
- Audio equipment (headphone stereo, radio, etc.)
- Copiers
- Cameras
- Scanners
- Ink bottles
- Blades (scissors, paper cutters, etc.)
- Dangerous materials, etc.
ขอตัดข้อความมาเลยนะคะ ดูขลังกว่าแปลเอง ข้อความที่น่าสนใจอีกก็คือเวลาปิดให้บริการน้ัน คือ วันอาทิตย์ วันชาติ พุธที่ 3 ของทุกเดือน (เพื่อจัดชั้นหนังสือใหม่หรือเติมหนังสือขึ้นชั้น) คิดต่อกันเองนะคะ
มีการจัดทำ Asian Resource Services เป็นแหล่งรวม link ได้แก่
- AsiaLinks-link pages on Asia (รวม link ของเอเชียตามชื่อองค์กร ประเทศ ภูมิภาค และหัวข้อเรื่อง)
- Directory of Institutions for Asian Studies in Japan (แต่ link นี้มีเฉพาะภาษาญี่ปุ่น)
- Training Programs on Asia Resources (เฉพาะภาษาญี่ปุ่น)
- Bulletin of Asian Resources Room (เฉพาะภาษาญี่ปุ่น)
ตอนรับประทานอาหารกลางวันกัน มีผลไม้ คือ น้อยหน่า คุณ Rieko ถามว่า คืออะไร หาศัพท์ภาษาอังกฤษกันใหญ่ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ คือ Sugar apple คุณ Rieko บอกว่าญี่ปุ่นไม่มี เลยบอกวิธีแกะเปลือก และร่วมรับประทานด้วยกัน อย่างเอร็ดอร่อย
หลังวิกฤตน้ำท่วม 2554
สรุปความเสียหายหลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี พ.ศ. 2554 ทั้ง ห้องสมุดศูนย์รังสิต หอสมุดปรีดี พนมยงค์ และหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ การแก้ปัญหาการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ด้วยการนำ CONTENTdm ซึ่งเป็น software ที่ผลิตโดย OCLC มาใช้ในการจัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูล digital
ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้
รายการอ้างอิง
กนกวรรณ บัวงาม. หลังวิกฤตน้ำท่วม 2554. โดมทัศน์ 33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 3-31.