Tag Archives: หอสมุดปรีดี พนมยงค์

การเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลัง

หนังสือพิมพ์เป็นทรัพยากรสารสนเทศอีกประเภทหนึ่ง ที่ห้องสมุดจัดไว้ให้บริการแก่ผู้อ่าน

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ได้จัดหนังสือพิมพ์รายวันให้บริการเป็นประจำทุกวัน ซึ่งจะมีชั้นวางหนังสือพิมพ์อยู่ที่ ชั้น U1 เมื่อหนังสือพิมพ์ของวันใหม่เข้ามา หนังสือพิมพ์ฉบับเก่าจะนำไปวางที่ชั้นหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลัง ทุกๆสิ้นเดือนจะรวบรวมเหล่านั้น ทุกชื่อเรื่องมัดเก็บให้ใช้บริการ การเก็บหนังสือพิมพ์ของแต่ละเดือนจะต้องเรียงวันที่ ของหนังสือพิมพ์ และมัดไว้นำไปเก็บที่ชั้น U3 เรียงตามลำดับตัวอักษรของชื่อหนังสือพิมพ์ การมัดหนังสือพิมพ์นี้ ในแต่ละเดือนจะทำให้ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลังได้สะดวก และรวดเร็ว

20150216_085406

 

20150216_085436

การเก็บหนังสือพิมพ์ย้อนหลังนั้น จะเก็บไว้บริการย้อนหลัง 2 ปี จึงจะจำหน่ายออก เนื่องจากสำนักหอสมุดได้มีหนังสือพิมพ์ online ให้บริการแล้วในขณะนี้

การบันทึกข้อมูลผ่านประตูอัตโนมัติ

ในทุกวันนี้ ห้องสมุดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะห้องสมุดมหาวิทยาลัย มักจะมีการติดตั้งหรือเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานในห้องสมุดมากขึ้น เช่น การติดตั้งประตูอัตโนมัติ ก็เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ลดการทำงานของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดในการต้องตรวจบัตรผู้เข้าใช้ห้องสมุด

นักศึกษา อาจารย์ และข้าราชการ ที่ต้องการใช้บริการของหอสมุดปรีดี พนมยงค์ สามารถเข้าใช้โดยต้องผ่านประตูอัตโนมัตินี้  โดยการนำบัตรมาแตะที่เครื่องอ่านบัตร (ประตูเข้า) ก็สามารถเปิดประตูได้เอง  แต่ก่อนหน้านั้นจะต้องมีการนำบัตรที่มหาวิทยาลัยออกให้ มาพิมพ์เก็บข้อมูลเข้าในระบบก่อน และการบันทึกข้อมูลนี้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้คนภายนอกเข้ามาห้องสมุดโดยไม่ผ่านขั้นตอนตรวจสอบของห้องสมุด

20150216_085253

การเข้าใช้บริการในห้องสมุดเพียงแตะบัตรนักศึกษา อาจารย์ บุคลากรที่ประตู

การทำบัตรสมาชิกห้องสมุด

ห้องสมุด เปรียบเสมือนขุมทรัพย์แห่งความรู้เป็นแหล่งค้นคว้า หาข้อมูล ประกอบการเรียนการสอน และศึกษาเรื่องทั่วๆไปสำหรับอาจารย์  เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ของมหาวิทยาลัยและ บุคคลภายนอกทั่วไป  ห้องสมุดจึงมีบริการทำบัตรสมาชิกตามสถานะของสมาชิกดังนี้

บัตรสมาชิกของห้องสมุดมี  2 ประเภท
1. บัตรสมาชิกบุคคลภายใน   ได้แก่ อาจารย์  ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย  ลูกจ้าง และนักศึกษา สามารถยืมหนังสือออกได้ตามสิทธิ์ดังนี้ อาจารย์ยืมได้ 60 เล่มนาน 1 ภาคการศึกษา นักศึกษาปริญญาโท และปริญญาเอก ยืมได้ 40 เล่มนาน 15 วัน นักศึกษาปริญญาตรียืมได้  20 เล่มนาน 15 วัน  ส่วนข้าราชการ ลูกจ้างมีสิทธิ์ยืมได้เท่ากับนักศึกษาปริญญาตรี

cadrstuden 1 Continue reading การทำบัตรสมาชิกห้องสมุด

หนังสือหายาก หอสมุดปรีดี พนมยงค์

ห้องวัสดุลักษณะพิเศษ2  เป็นส่วนหนึ่งของงานบริการหอสมุดปรีดี พนมยงค์ที่เก็บรวบรวมหนังสือเก่าที่มีคุณค่าหาอ่านได้ยาก  ที่เรียกกันว่าหนังสือหายากซึ่งมีทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ  หนังสือต้องห้าม  หนังสือศิลปะต่างประเทศ  หนังสือราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่รัชกาลที่ 4 – พ.ศ.2520  หนังสือคำสอนของธรรมศาสตร์  หนังสือขนาดพิเศษ(เล่มจิ๋ว – เล่มใหญ่)  หนังสืออนุสรณ์ของธรรมศาสตร์  หนังสือพระราชทานปริญญาบัตร  และหนังสือคู่มือการศึกษาปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา

หนังสือภายในห้องนี้จัดเป็นระบบปิด  ผู้รับบริการเข้ามาหยิบเองไม่ได้  ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ  และหนังสือภายในห้องแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1. หนังสือที่สามารถถ่ายสำเนาได้  ได้แก่หนังสืออนุสรณ์  หนังสือพระราชทานปริญญาบัตร  และหนังสือคู่มือการศึกษา

2. หนังสือที่ไม่สามารถถ่ายสำเนาได้  ได้แก่หนังสือหายากทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ หนังสือต้องห้าม  หนังสือขนาดพิเศษ  หนังสือศิลปะ  ซึ่งหนังสือหายากและหนังสือคำสอนของธรรมศาสตร์บางส่วนได้ทำดิจิตอลแล้ว  สามารถเปิดดูได้เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ

การขอใช้บริการ

ผู้รับบริการเขียนแบบฟอร์ม   พร้อมยื่นบัตรนักศึกษาหรือบัตร              ประชาชนให้เจ้าหน้าที่เก็บไว้เป็นหลักฐาน   และอ่านหนังสือภายในห้องเท่านั้น

เวลาปิด -เปิดบริการวันจันทร์ – วันศุกร์ 8.00 – 20.00น.

วันเสาร์ – วันอาทิตย์9.00 – 20.00น.

ปิดตามวันหยุดนักขัตฤกษ์

การแถลงข่าว 99 ปี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ พร้อมฟังปาฐกถา “เทคโนแครต กับ เศรษฐกิจไทย”

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมงานแถลงข่าว 99 ปี ป๋วย  อึ๊งภากรณ์ พร้อมฟังปาฐกถา “เทคโนแครต กับ เศรษฐกิจไทย” ในวันจันทร์ที่  9 มีนาคม 2558 เวลา 13.30-16.00 บริเวณโถงทางเข้าหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

กำหนดการ

13.30 น.  ลงทะเบียน

14.00 น.

– กล่าวต้อนรับ โดย ศ.เกียรติคุณ เพ็ชรี สุมิตร ราชบัณฑิต ประธานมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

– กล่าวเปิดงาน โดย ศ.(พิเศษ) ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ  ผู้ปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 11 ประจำปี 2552 กรรมการและเลขานุการมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แผนกิจกรรมโครงการรำลึก 100 ปี ชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (จัดทำหนังสือชุด และเสวนา 100 ปี ชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ พุธที่ 9 มีนาคม 2559 ณ หอประชุมศรีบูรพา มธ.) โดย ผศ.ปกป้อง จันวิทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ บรรณาธิการจัดทำหนังสือรำลึก 100 ปี ชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และกรรมการมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

– เปิดตัวเว็บไซต์-อีไลบรารี มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คลังหนังสือและเอกสารดิจิตอล เพื่อมอบให้เป็นสาธารณะสมบัติ ให้ประชาชนเข้าถึงฟรี จัดทำขึ้นในวาระครบรอบ 100 ปี ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2459-2559) ผู้ก่อตั้งมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาตร์ และครบรอบ 50 ปี (2509-2559) มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาตร์และมนุษยศาสตร์ โดย ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการมูลนิธิโครงการตำราฯ (www.textbooksproject.com)

14.40 น.  ปาฐกถา “เทคโนแครต กับ เศรษฐกิจไทย” เนื่องในวาระครบรอบ 99 ปี ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2459-2558) โดย ผศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค และเศรษฐศาสตร์การพัฒนา

15.40 น.  เปิดนิทรรศการ “คนชื่อป๋วย” (A Man Called Puey) ประวัติ ผลงาน และเกียรติยศ จัดแสดงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ MBE ที่ ศ.ดร.ป๋วย ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่ง สหราชอาณาจักร จากวีรกรรมเสรีไทย สู่สาธารณะชนเป็นครั้งแรก พร้อมจัดแสดงรางวัลรามอน แมกไซไซ หรือโนเบลสาขาสันติภาพแห่งเอเชีย เชิดชูเกียรติคุณความดีสูงสุดในการทำงานเพื่ออุทิศตนทำงานบริการประชาชนในสังคมประชาธิปไตย

ร่วมเปิดนิทรรศการโดย (1) ศ.เกียรติคุณ เพ็ชรี สุมิตร ราชบัณฑิต (2) คุณจอน อึ๊งภากรณ์* (3) ศ.(พิเศษ) ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (4) ดร.ธาริษา วัฒนเกส* (5) นายแพทย์ วิชัย โชควิวัฒน* (6) คุณเตือนใจ ดีเทศน์* (7) คุณกาญจนาภรณ์ จิตต์สง่า

พิธีกรตลอดงาน คุณอดิศักดิ์ ศรีสม
จัดโดย มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
*อยู่ในระหว่างการติดต่อ

การตรวจสอบหนังสือที่ได้รับจากการบริจาค

ห้องสมุดเป็นแหล่งให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลายวิชา  นอกจากการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศด้วยงบประมาณแล้ว  อีกส่วนหนึ่งของทรัพยากรสารสนเทศนั้น ได้มาจากศิษย์เก่า หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดจนประชาชนทั่วไปให้ความอนุเคราะห์นำหนังสือและสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ  มามอบให้ห้องสมุด  ซึ่งทางห้องสมุดจะทำการตรวจสอบหนังสือที่ได้รับมา    ว่ามีที่ห้องสมุดส่วนกลาง และห้องสมุดสาขาใดบ้าง

การตรวจสอบหนังสือมีขั้นตอนการทำดังนี้

  1. ตรวจสอบรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศ ในฐานข้อมูลห้องสมุดระบบอัตโนมัติของห้องสมุด  โดยตรวจสอบรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศ ชื่อผู้แต่งหนังสือ  เลขISBN  หรือ  ISSN  ของทรัพยากรสารสนเทศนั้น ๆ ว่ามีที่    ห้องสมุดส่วนกลางและห้องสมุดสาขาใดบ้าง
  2. ตรวจสอบรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศ ในฐานข้อมูล  Booklist New Open Source Library Management System   โดยตรวจสอบรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศ  ชื่อผู้แต่งหนังสือ  เลขISBN , ISSN   ของทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ   ชื่อผู้เสนอทรัพยากรสารสนเทศ  ว่ามีที่  ห้องสมุดส่วนกลางและห้องสมุดสาขาใดบ้าง
  3. เมื่อตรวจสอบพบว่าไม่มีในห้องสมุดส่วนกลาง และห้องสมุดสาขา  จะพิมพ์รายละเอียดต่าง ๆ ของทรัพยากรสารสนเทศนั้น ๆ ในฐานข้อมูล  Booklist New Open Source Library Management System และระบุ ห้องสมุดที่จะนำทรัพยากรสารสนเทศเข้าให้บริการ  พร้อมระบุสถานะการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศนั้น ๆ ว่า เป็นการบริจาค/สั่งซื้อ
  4. เจ้าหน้าที่จะนำทรัพยากรสารสนเทศส่งไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศที่รับผิดชอบเพื่อดำเนินการต่อไปบทความที่เกี่ยวข้อง การทำหนังสือตอบขอบคุณ

หนังสือตอบขอบคุณ

ห้องสมุดเป็นแหล่งให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลายสาขาวิชา นอกจากการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศด้วยงบประมาณแล้ว   อีกส่วนหนึ่งได้มาจากศิษย์เก่า หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดจนที่ประชาชนทั่วไปให้ความอนุเคราะห์นำหนังสือและสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ มามอบให้ห้องสมุด  ซึ่งทางห้องสมุดเรียกว่า ” การบริจาคหนังสือ”

เมื่อห้องสมุดได้รับหนังสือบริจาค  ห้องสมุดจะทำหนังสือตอบขอบคุณถึงผู้ที่นำหนังสือ/หน่วยงานมาบริจาค

เมื่อมีบุคคล/หน่วยงานแจ้งความประสงค์(เข้ามาติดต่อด้วยตนเอง) ที่จะบริจาคหนังสือ ห้องสมุดปรีดี  พนมยงค์ จะมีขั้นตอนดังนี้

1. ให้ผู้บริจาคหนังสือ/หน่วยงาน กรอกแบบฟอร์มรายการของหนังสือที่จะบริจาคและจำนวน จะแนบแบบฟอร์มกับตัวเล่ม

2.  เจ้าหน้าที่ตรวจสอบรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่บริจาคมาในแบบฟอร์มที่ระบุมา

3.  เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ชื่อ ที่อยู่ ของผู้บริจาคหนังสือ/หน่วยงาน ตามแบบฟอร์มที่กรอกไว้

4. พิมพ์หนังสือตอบขอบคุณและซองจดหมาย ตามที่อยู่ที่ระบุในแบบฟอร์มที่ผู้บริจาคหนังสือ/หน่วยงาน ระบุมา

5.  นำส่งไปยังฝ่ายที่ออกเลขหนังสือเพื่อดำเนินการต่อไป

จดหมายตอบขอบคุณนั้น ผู้บริจาคหนังสือ/หน่วยงาน สามารถยืนยันได้ว่า มีการนำหนังสือมาเผยแพร่ผลงานทางวิชาการแล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบหนังสือที่ได้รับจากการบริจาค

แนะนำมุม/ห้อง/Collection พิเศษ หอสมุดปรีดี อันทรงคุณค่า น่าค้นหา

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ใช่ว่าจะมีแต่หนังสือดีที่จัดหาไว้เพื่อสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเท่านั้น แต่ยังมีการสะสมหนังสือ หรือมี Collection สารสนเทศของบุคคลสำคัญและ/หรือสาระความรู้ที่มีความโดดเด่นและทรงคุณค่า ทั้งนี้ หอสมุดปรีดีฯ ได้พยายามจัดตกแต่งสถานที่ เพื่อให้มีบรรยากาศของการศึกษาความรู้ รวมทั้งค้นหาความสบายในการเข้านั่งในมุม/ห้องสถานที่นั้นๆด้วย

มุม/ห้อง/Colletion ที่มีในหอสมุดปรีดีฯ ได้แก่

ห้องอนุสรณ์ 100 ปี  ปรีดี พนมยงค์

IMG25580213002

ห้องอนุสรณ์ 100 ปี มีหนังสือเกี่ยวกับอาจารย์ปรีดีซึ่งท่านเป็นผู้ประศาสน์การของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสิ่งพิมพ์ต้นฉบับ ทั้งลายมือของอาจารย์ปรีดีเก็บไว้ในตู้นิทรรศการ  รวมทั้งภาพเขียน ของศิลปิน เทพศิริ สุขโสภา และคณะ ซึ่งเป็นผู้ให้ความอนุเคราะห์ในการจัดจ้างสร้างห้องอนุสรณ์ 100 ปี ปรีดี พนมยงค์ ไว้เป็นอนุสรณ์เพื่อการศึกษา Continue reading แนะนำมุม/ห้อง/Collection พิเศษ หอสมุดปรีดี อันทรงคุณค่า น่าค้นหา

การจัดเตรียม DVD ภาพยนตร์

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มีหน้าที่จัดหา DVD ภาพยนตร์ เพื่อบริการเป็นการภายใน   แก่นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และบุคคลภายนอกที่มารับบริการหอสมุดฯ  แต่กว่าที่จะจัดเตรียมภาพยนตร์หรือเพลงมาให้บริการแก่ผู้รับบริการนั้น  มีขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้

1.  นำ DVD ภาพยนตร์มาตรวจสอบในฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha เพื่อตรวจความซ้ำซ้อน
2.  ตรวจสอบรายการดังกล่าวอีกครั้งในระบบ Senayan เพื่อตรวจสอบความซ้ำซ้อนที่อาจอยู่ระหว่างการจัดซื้อ
3.  กรณีที่ไม่มีรายการดังกล่าว อยู่ในทั้งสองระบบ  ให้ทำต้นเรื่องเพื่อขอเสนอซื้อ
4.  บันทึกราคา ในตารางการตรวจสอบงบประมาณหอสมุดฯ
5.  ตรวจสอบสภาพแผ่น DVD เพื่อดูความสมบูรณ์ของแผ่น
6.  เขียนรายการดังต่อไปนี้ (แนบไปกับแผ่น DVD) คือ
–  ลำดับเลขที่
–  ระบุชื่อห้องสมุดที่รับ (ตัวย่อของห้องสมุด)
–  ระบุ DVD หรือ CD เป็นรูปแบบไหน (ตัวอย่าง เช่น วีดีโอภาพยนตร์ หรือ CD เพลง)
–  ชื่อบริษัทหรือร้านค้า (ตัวย่อที่เป็นภาษาอังกฤษ) ตามด้วยเลขที่ใบส่งของ ( ตัวอย่าง เช่น TU/356/58)
–  ราคาของ DVD ภาพยนตร์ (ต้องเป็นราคาเต็มเท่านั้น)
7.  เรียงลำดับเลขที่ของ DVD ภาพยนตร์ก่อนนำส่งให้ฝ่ายบริหารจัดการฯ
8.  ส่งให้บรรณารักษ์ที่มีหน้าที่รับผิดชอบของฝ่ายบริหารจัดการฯ ตรวจสอบความถูกต้อง

ถ้าต้องการจะขอรับบริการ DVD ภาพยนตร์ติดต่อได้ที่ห้องบริการสื่อโสตทัศนูปกรณ์และมัลติมีเดีย  ชั้น U2 หอสมุดปรีดีฯ ค่ะ

วิธีการคัดแยกหนังสือ

การคัดแยกหนังสือ เป็นกระบวนการหนึ่งของการจัดเรียงหนังสือ เพื่อนำขึ้นชั้นให้บริการ  โดยการที่เจ้าหน้าที่นำหนังสือที่ผู้ใช้บริการ นำมาคืนที่งานยืม-คืน รวมทั้งรวมรวบหนังสือที่ผู้ใช้ อ่านหรือใช้เสร็จแล้วที่อยู่ตามโต๊ะ มารวมกัน เพื่อนำหนังสือเหล่านั้น มาคัดแยกที่ห้องคัดแยก แล้วจึงนำหนังสือเข้าชั้นพักของเจ้าหน้าที่แต่ละคนที่รับผิดชอบในการนำหนังสือแต่ละหมวดหมู่ขึ้นชั้นต่อไป

ขั้นตอนการแยกหนังสือ

  1. นำหนังสือมาแยกออกตามภาษาของการเขียนหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ เช่น แยกเป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เป็นต้น
  2. แยกประเภทของหนังสือจากข้อ 1 ออกเป็นประเภทของเอกสาร ได้แก่ วิทยานิพนธิ์  วารสาร นวนิยาย เป็นต้น
  3. นำหนังสือทั่วไปภาษาไทย ภาษาอังกฤษ  จำแนกออกเป็นหมวดย่อยๆแล้วจึงนำเข้าชั้นพักหนังสือของเจ้าหน้าที่แต่ละคนเพื่อรอให้เจ้าหน้าที่แต่ละคนมาเรียงเข้าตามชั้นหนังสือต่อไป