All posts by นายกฤตนันท์ ดุษฎีเมธานนท์

การประชุมเชิงปฏิบัติการ “วิธีการออกแบบห้องสมุดดิจิทัล : สิ่งที่ (อาจ) ไม่ได้เรียนจากโรงเรียนบรรณารักษศาสตร์”

DSC_0411

เมื่อวันศุกร์ที่ 23 มกราคม 2558 เวลา 13.00-15.00 น. สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับภาควิชาบรรณารักษศาตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “วิธีการออกแบบห้องสมุดดิจิทัล : สิ่งที่ (อาจ) ไม่ได้เรียนจากโรงเรียนบรรณารักษศาสตร์” มีการบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยวิทยากรคือคุณ Emil Levina ที่ปรึกษาด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ สมาคมวิชาชีพสารสนเทศศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสหรัฐอเมริกา

DSC_0410

ในการบรรยายมีการพูดถึงวิธีการและขั้นตอนต่างๆในการบริหารงานห้องสมุด โดยจะขอเล่าประเด็นที่น่าสนใจสั้นๆดังนี้

  • วิธีคิดในเรื่องการจัดหาทรัพยากรและวัสดุโดยการสอบถามสัมภาษณ์จากกลุ่มผู้มีความรู้หรือจากกลุ่มผู้ใช้ในองค์กร
    เมื่อมีการจัดซื้อจัดหาวัสดุหรือทรัพยากรที่จะนำมาให้บริการ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ห้องสมุดควรที่จะปรึกษาหรือสัมภาษณ์หน่วยงานภายในองค์กรเดียวกันที่จะสามารถให้ข้อมูลที่จำเป็น
    “จงมองว่าเจ้าหน้าที่ในองค์กรเป็นส่วนประกอบของทีมวิเคราะห์ทรัพยากรที่จำเป็น”
  • การนำเอานวัตกรรมต่างๆมาใช้ในการพัฒนาต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น
    • การจัดหาทั้งหมดต้องมาจากความต้องการของผู้ใช้แทนที่จะเป็นการจัดหาโดยบรรณารักษ์
    • ห้องอ่านหนังสือควรเปิดบริการ 24 ชั่วโมง โดยการใช้กล้องวงจรปิดราคาถูก แทนการใช้เจ้าหน้าที่

การอบรมฐานข้อมูล EBSCOhost (ALL)

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศให้แก่บุคลากร และนักศึกษา เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2558 เวลา 9.00 – 12.00 น. ในหัวข้อ “การอบรมฐานข้อมูล EBSCOhost (ALL)” โดยมีวิทยากรคือ คุณกัญญากานต์ นนทิวัฒน์วณิช

การอบรมฐานข้อมูล EBSCOhost (ALL)
การอบรมฐานข้อมูล EBSCOhost (ALL)

ในการอบรมนี้ได้เน้นในเรื่องของการใช้ระบบสืบค้น EDS (EBSCO discovery service) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ OneSearch

OneSearch ถูกใช้เพื่อสืบค้นทรัพยากรต่างๆ ที่หอสมุดมธ. มีให้บริการ รวมไปถึงทรัพยากรสารสนเทศต่างๆที่อยู่ในฐานข้อมูลออนไลน์จำนวนมากที่ห้องสมุดบอกรับ มีความสามารถในการสืบค้นที่ยืดหยุ่น โดยผู้ใช้สามารถใช้การค้นโดยตรรกะแบบบูล คู่กับเครื่องมือจำกัดการค้นต่างๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เฉพาะเจาะจง, การใช้ความสามารถที่เรียกว่า Full-text Finder และ A-to-Z Publications Locator เพื่อเจาะจงการค้นบทความวารสารจากฐานข้อมูลออนไลน์, การลงทะเบียนสมาชิก OneSearch เพื่อใช้บันทึกผลการค้น และการดาวน์โหลด eBooks ผ่าน Onesearch

การฝังฟอนต์ลงในเอกสาร MS Word เพื่อให้ฟอนต์ไม่ผิดเพี้ยน

บทความนี้เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ได้รับมาจากการอบรมโปรแกรม Microsoft Word เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมานี้ครับ โดยในบทความนี้จะกล่าวถึงการเซฟไฟล์เอกสาร Word พร้อมการฝังฟอนต์ลงในเอกสาร วิธีการนี้จะทำให้ผู้ใช้สามารถนำเอกสาร Word นั้นๆไปเปิดในเครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆก็ได้ที่มีโปรแกรม MS Word  โดยที่เอกสารที่เปิดจะแสดงผลตัวอักษรตรงตามเครื่องของผู้ใช้โดยไม่ผิดเพี้ยน โดยมีขั้นตอนการฝังฟอนต์ดังนี้

Continue reading การฝังฟอนต์ลงในเอกสาร MS Word เพื่อให้ฟอนต์ไม่ผิดเพี้ยน

การกู้คืนไฟล์ MS Word ด้วยการเปลี่ยนสกุลไฟล์จาก .docx เป็น .zip

หลังจากสิ้นสุดการอบรมโปรแกรม Microsoft Word เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมานี้ ตัวผมได้เรียนรู้วิธีการใช้โปรแกรม Microsoft Word ในแง่มุมต่างๆที่หลากหลายและน่าสนใจ เป็นการอบรมที่เพิ่มความรู้ในการใช้งาน Microsoft Word เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องสุดท้ายที่คุณจีระศักดิ์ (วิทยากร) ได้กล่าวไว้ถึงการแปลงไฟล์ Microsoft Word ตั้งแต่รุ่น 2007 ขึ้นมา ให้กลายเป็นไฟล์นามสกุล .zip เพื่อใช้ประโยชน์ในเรื่องต่างๆ เช่น การกู้คืนไฟล์ เป็นต้น โดยมีขั้นตอนในการแปลงไฟล์ดังนี้ Continue reading การกู้คืนไฟล์ MS Word ด้วยการเปลี่ยนสกุลไฟล์จาก .docx เป็น .zip

Tip โปรแกรม EndNote: วิธีการคัดลอกรูปแบบการอ้างอิง (styles) ที่ใช้ในการอ้างอิง

จากการที่ได้ลองใช้โปรแกรม EndNote มาสักพัก ผมได้พบข้อจำกัดอย่างหนึ่งของโปรแกรม นั่นก็คือการคัดลอก style ของการอ้างอิง

ทำไมเราจึงต้องคัดลอก style ของ EndNote?

endnote
รูปจาก http://www.uib.no/ub/81071/endnote-kurs-p%C3%A5-bibliotek-humaniora

ในบางครั้งผู้ใช้ก็ต้องการ style การอ้างอิงที่แตกต่างไปจากมาตรฐาน เพื่อให้ตรงกับข้อกำหนดของหน่วยงาน/องค์กรของตน เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใช้การอ้างอิงแบบ APA แต่ในขณะเดียวกัน APA ตามข้อกำหนดของธรรมศาสตร์ก็แตกต่างไปจาก APA มาตรฐาน อย่างชื่อผู้แต่งชาวไทย จะไม่กลับเอานามสกุลขึ้นก่อน และยังมีข้อแตกต่างอื่นๆอีก ถึงแม้ว่าโปรแกรม EndNote จะอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขดัดแปลง (edit) style ของการอ้างอิงได้ หรือแม้กระทั่งสร้าง style ใหม่ได้ แต่การแก้ไขดัดแปลงจะทำให้เสีย style การอ้างอิงเดิมไป จึงเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสม ส่วนการสร้างใหม่แต่ต้นนั้น ก็เป็นวิธีที่ยุ่งยากเกินไป ดังนั้นในทิปนี้ ผมจะเสนอวิธีการคัดลอก style ใน EndNote โดยการคัดลอกจากข้อมูลของ style โดยตรง โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้

Continue reading Tip โปรแกรม EndNote: วิธีการคัดลอกรูปแบบการอ้างอิง (styles) ที่ใช้ในการอ้างอิง

ไหม(seta) ความงาม เชื่องช้า และศิลปะคำน้อยชิ้น

“แม้แต่เสียงของเธอผมก็ไม่เคยได้ยิน” “เป็นความเจ็บปวดประหลาดนัก” “ที่จะตายด้วยความอาลัยสิ่งซึ่งมิเคยได้สัมผัส” –แอร์เว ฌองกูร์

ภาพจาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=a-wild-sheep-chase&month=09-2007&group=1&date=10&gblog=95
ภาพจาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=a-wild-sheep-chase&month=09-2007&group=1&date=10&gblog=95

ไหมเป็นนิยายขายดีเล่มเล็กๆ ซึ่งเขียนโดยอเลซซานโดร บาริกโก นักเขียนชาวอิตาลี เป็นเรื่องราวที่เล่าถึงชายหนุ่มชื่อ แอร์เว ฌองกูร์ ผู้เดินทางจากฝรั่งเศสมายังประเทศอันห่างไกลอย่างญี่ปุ่น ในสมัยที่ยังต้องเดินทางผ่านแผ่นดิน เพื่อที่จะมาซื้อไข่ของหนอนไหม ในช่วงปีที่เกิดโรคหนอนไหมระบาดในฝรั่งเศส โดยมีภรรยาที่รักรอคอยอยู่ที่บ้านเกิด

ชายหนุ่มผู้เดินทางมาอย่างลำบาก ได้พบกับเจ้าบ้านผู้ทรงอิทธิพลชาวญี่ปุ่น ผู้เป็นคู่ค้าคนสำคัญ–ฮาระ เคอิ และตกหลุมรักหญิงสาวของฮาระ เคอิ หญิงสาวผู้มิได้มีหนังตาชั้นเดียวแบบชาวตะวันออก และจับจ้องมองมาที่เขาอย่างสนใจเหลือแสน

Continue reading ไหม(seta) ความงาม เชื่องช้า และศิลปะคำน้อยชิ้น

ว่าด้วยเรื่องของ DOI – จุดเริ่มต้นของ DOI

ระบบ DOI มีต้นกำเนิดมาจากความคิดริเริ่มร่วมกันระหว่างสมาคมการค้าสามกลุ่มในอุตสาหกรรมการพิมพ์ (สมาคมผู้จัดพิมพ์นานาชาติ; ผู้จัดพิมพ์ทางด้านเทคนิคและการแพทย์, สมาคมวิทยาศาสตร์นานาชาติ; สมาคมผู้จัดพิมพ์อเมริกัน)

แม้จะมีต้นกำเนิดมาจากสื่อสิ่งพิมพ์ แต่ระบบ DOI นั้นถูกสร้างมาโดยกำหนดให้เป็นเค้าโครงในการจัดการด้านการจำแนกแยกแยะเนื้อหาบนเครือข่ายดิจิทัลโดยตระหนักถึงเรื่องดิจิทัลคอนเวอร์เจน (Digital convergence หมายถึง การรวมกลุ่มกันของอุตสาหกรรม 4 อย่าง ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศ, โทรคมนาคม, เครื่องใช้ไฟฟ้า และความบันเทิง ตัวอย่างเช่น Xbox หรือ iPhone) และความพร้อมในการใช้สื่อมัลติมีเดีย ซึ่งระบบ DOI นั้นถูกประกาศในงานนิทรรศการหนังสือแฟรงค์เฟิร์ต ปี ค.ศ. 1997 จากนั้นมูลนิธิดีโอไอนานาชาติ (International DOI Foundation–IDF) ก็ถูกตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาและจัดการกับระบบ DOI ในปี ค.ศ. 1997 เช่นกัน

banner-513

จากจุดเริ่มต้น IDF ร่วมงานกับ CNRI ( Corporation for National Research Initiatives) เพื่อจะนำ Handle System ซึ่ง CNRI เป็นผู้พัฒนามาใช้เป็นองค์ประกอบของระบบ DOI และในปัจจุบัน CNRI ยังคงเป็นพันธมิตรกับ IDF

HSystem

ในที่สุดแอปพลิเคชั่นแรกของระบบ DOI อย่าง การอ้างอิงที่เชื่อมโยงไปยังบทความอิเล็กทรอนิกส์โดย CrossRef Registration Agency (หน่วยงานในการลงทะเบียนชื่อ CrossRef) ก็ถูกใช้ในปี ค.ศ. 2000 ตั้งแต่นั้นมา Registration Agency รายอื่นก็ได้รับมอบหมายงานในด้านต่างๆ เช่น ในการบริหารจัดการกับสินทรัพย์ธุรกิจความบันเทิง ในด้านข้อมูล และในด้านภาษาต่างๆ

ในปี ค.ศ. 2000 องค์กร NISO ได้กำหนดซินเท็กซ์ (syntax) ของ DOI ให้เป็นมาตรฐาน ระบบ DOI ได้รับการอนุมัติเป็นมาตรฐาน ISO ในปี ค.ศ. 2010 โดยดูรายละเอียดของ ISO 26324:2012 Information and documentation — Digital object identifier system ได้ที่
http://www.iso.org/iso/catalogue_detail?csnumber=43506

รายการอ้างอิง

International DOI Foundation. (2013, November 13). DOI Handbook Introduction. Retrieved
September 26, 2014, from http://www.doi.org/doi_handbook/1_Introduction.html #1.2

ว่าด้วยเรื่องของ DOI – ตัวระบุวัตถุดิจิทัล

ถ้าหากจะให้อธิบายอย่างรวบรัดที่สุดแล้ว DOI นั้นก็คือตัวระบุหนึ่งเช่นเดียวกับเลข ISSN และเลข ISBN ที่เราท่านน่าจะรู้จักกัน คือถูกใช้เพื่อจำแนกวัตถุหนึ่งออกมาจากกลุ่มของวัตถุ หรือก็คือเพื่อจำแนกแยกแยะวัตถุต่างๆออกจากกัน และยังสามารถใช้ DOI ร่วมกับตัวระบุเดิมอย่าง ISBN และ ISSN ได้อีกด้วย

banner-413

ระบบของตัวระบุวัตถุดิจิทัล หรือ (The digital object identifier – DOI®) นั้นเป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานในการจำแนกแยกแยะวัตถุต่างๆให้แตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยคำว่า digital object identifier นั้น มีความหมายไปในเชิงที่ว่าเป็น “ตัวระบุดิจิทัลของวัตถุ (digital identifier of an object)” มากกว่าที่จะเป็น “ตัวระบุของวัตถุดิจิทัล (identifier of a digital object)”

ระบบ DOI นั้นถูกออกแบบมาเพื่อการทำงานผ่านอินเทอร์เน็ต โดยกำหนดเลข DOI หนึ่งหมายเลขให้แก่วัตถุหนึ่งรายชื่อโดยถาวร เพื่อใช้เลข DOI นี้ในการเชื่อมโยงจากลิงค์ไปยังข้อมูลที่เป็นปัจจุบันของวัตถุนั้น ซึ่งรวมไปถึงจุดที่วัตถุชิ้นนั้นอยู่, ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุนั้น หรือแม้กระทั่งว่าวัตถุนั้นยังพบบนอินเทอร์เน็ตได้หรือไม่

ในขณะที่ข้อมูลของวัตถุเปลี่ยนได้ตลอดเวลา เลข DOI นั้นจะไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามเลข DOI จะถูกแก้ไขโดยระบบในกรณีที่ต้องกำหนดค่าให้แก่ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวัตถุที่ถูกระบุโดยเลข DOI นั้น เช่น URL, อีเมล์, ตัวระบุอื่นๆ และคำอธิบายรายละเอียดของข้อมูล (metadata)

โดยขอบเขตของระบบ DOI นั้นจะอิงกับฟังก์ชันการทำงานที่กำหนดและบริบทของการใช้งาน ซึ่งก็คือการทำงานกับแอปพลิเคชั่นของเครือข่าย DOI เพื่อการระบุวัตถุอย่างชัดเจน เที่ยงตรง และละเอียด เพื่อคำอธิบายรายละเอียดของข้อมูล และเพื่อการทำงานแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน

 

รายการอ้างอิง

International DOI Foundation. (2013, November 13). DOI Handbook Introduction. Retrieved
September 26, 2014, from http://www.doi.org/doi_handbook/1_Introduction.html