Tag Archives: การทำงาน

เงิน เงิน เงิน

ทุกวันนี้อยู่กับเงิน เงิน เงิน แต่ไม่ใช่เงินของตัวเองนะตะ เป็นเงินของหน่วยงานค่ะ จึงต้องมีความระมัดระวังรอบคอบ ในการลงรายการต่างๆ เนื่องจากมีความสำคัญ เป็นตัวเลขจึงต้องรอบคอบถี่ถ้วน ต้องตรวจสอบการลงนาม และความครบถ้วนของผู้มีสิทธิ์ลงนาม เป็นต้น

ดังนั้งจึงอยากจะแบ่งปันประสบการณ์ที่ว่าผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเอกสารการเงิน ต้องมีตวามซื่อสัตย์ ต้องมีตวามละเอียดรอบคอบ เมื่อไปประสานงานกับหน่วยการเงินอื่นหรือผู้เกี่ยวข้องทำให้เสียเวลาเนื่องจากเอกสารถูกตีกลับต้องกลับมาแก้ไขใหม่และเดินเรื่องใหม่ คิดดูนะเสียเวลาไปอีกกี่ชั่วโมง สู้เราทำงานด้วยความละเอียดรอบคอบ เราจะไม่เสียเวลา เอาเวลามาทำงานอื่นได้อีกตั้งแยะ

ตัวอย่างอีก 1 ตัวอย่างเป็นการทำงานที่ต้องใช้ความรอบคอบสูงในเรื่องเอกสารเพราะเราทำงานการเงินถ้าเงินออกไม่ทันหรือตามกำหนดจะทำให้กระทบกับผู้อื่นโดยรวม ดังนั้นจุดนี้จึงเป็นจุดหนึ่งที่เจ้าหน้าที่การเงินก้ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดผลกระทบกับผู้อื่นอีกด้วย

P.I.C (เป้าหมาย, นวัตกรรม, การสื่อสาร)

อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล  จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์  คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แชร์บทความที่เก็บมาจากวิทยากรซึ่งเป็นศิษย์เก่ามาเล่าสู่กันฟัง โดยสรุปว่า วิทยากรศิษย์เก่าที่จบออกไป พูดถึง 3 สิ่งนี้ คือ

P (Purpose-เป้าหมาย) ทุกคนควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าต้องการทำอะไร

I (Innovation-นวัตกรรม) มีนวัตกรรมหรือความคิดสร้างสรรค์ที่ช่วยแก้ปัญหาให้ผู้ใช้

C (Communication-การสื่อสาร) ต้องทำงานกับคนในศาสตร์อื่น การสื่อสารจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก นำเสนอเนื้อหาให้เข้าใจ การโน้มน้าวใจ การทำงานเป็นทีม การทีทักษะในการเข้าสังคม

ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่  http://www.dailynews.co.th/it/317999

รายการอ้างอิง
ธงชัย โรจน์กังสดาล. ข้อคิดจากงานปัจฉิมนิเทศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2558 จาก http://www.dailynews.co.th/it/317999

ทำสิ่งที่รักยังไงก็รุ่ง

TamSingTeeRak1

จากปลายปากกาของบัณฑิต อึ้งรังสี คอนดักเตอร์ชาวไทยที่โด่งดังระดับโลก เรื่องราวในหนังสือสะท้อนแนวคิดและมุมมองของคุณบัณฑิต และคนดังในระดับโลกอีกหลายๆคน ที่มีต่องานของเขาเอง โดยทุกคนต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ให้เลือกงานที่ความรัก ไม่ใช่เลือกที่เงิน เพราะการถ้าเรารักงานที่เราทำ ทุกวันจะเหมือนว่าเราไม่ได้ทำงานเลย ส่วนเงินทอง และชื่อเสียงจะตามมาเอง  โดยหนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 3 พาร์ท เหมือนการตั้งคำถามตัวเองง่ายๆ ว่า why  what และ how

ขอยกตัวอย่างบทที่ชอบที่สุดมาให้ลองอ่านดูนะคะ อยู่ในหมวด why ที่ 14 เรื่อง ความมั่นคงที่แท้จริง

ใจความคือ คำว่า ความมั่นคงในการงาน เป็นคำที่ล้าสมัยแล้ว เพราะ ในสมัยนี้ ใครๆ ก็สามารถถูกไล่ออกได้แม้คุณทำงานมาเป็นสิบๆปี ดังนั้น ยังไงๆ ก็ไม่มีงานที่ปลอดภัย 100 % แล้วถ้าทุกงานไม่มั่นคงเหมือนกันหมด ก็ให้เลือกงานที่อยากทำที่สุดสิ พร้อมทั้งคำคมจาก ดร.โรเบิร์ต แอนโทนี่ นักเขียนแนวจิตวิทยาความสำเร็จ ที่เคยกล่าวไว้ว่า “ความเสี่ยงที่น่ากลัวที่สุดในชีวิต คือการไม่เสี่ยงเลย”

นี่เป็นเพียง 1 ตัวอย่างจาก 1 ใน 50 บท ของหนังสือเล่มนี้นะคะ ถ้าสนใจสามารถยืมที่ห้องสมุดได้นะคะ  Call no. คือ BF 481 บ63 ค่ะ

ที่มา

บัณฑิต อึ้งรังษี. (2553). ทำสิ่งที่รัก– ยังไงก็รุ่ง. สมุทรสาคร : บริษัท รังษีอินเตอร์เทรด จำกัด.

Pro.Trainer.  “บัณฑิต อึ้งรังษี” เปิดใจให้คนไทยฟังอีกครั้ง..ทำไมต้องสวนกระแสสังคม ???  สืบค้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2558 จาก http://www.oknation.net/blog/chaiyospun/2010/04/24/entry-2

แนวคิดการทำงาน (ญี่ปุ่น) ที่น่ามาปรับใช้

เรามักจะได้ยินว่า คนญี่ปุ่นเป็นคนมีวินัย และในการทำงานของคนญี่ปุ่นเองก็มีวัฒนธรรมที่น่าสนใจทีเดียว เลยอยากนำเสนอเผื่อจะนำมาปรับใช้ในการทำงานของเรากันบ้างค่ะ

1. การให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนนามบัตรในทางธุรกิจ  คนญี่ปุ่นถือว่าเป็นการแสดงความสำคัญของบุคคลที่เราพบปะด้วย ทางไทยเราเองก็มีการแลกเปลี่ยนเหมือนกัน แต่อาจจะเป็นแค่การแนะนำตัวหรือไว้ติดต่อกันในภายหลัง แต่ถ้าเราเริ่มหันมาให้ความสนใจกับนามบัตรที่ได้รับ อ่านรายละเอียดที่อยู่ในนามบัตร

2. เชื่อตามผู้อาวุโส  ข้อนี้ คล้ายๆ กับสุภาษิตของไทยที่ว่า เดินตามผู้ใหญ่… หรือ ผู้ใหญ่มักจะให้เหตุผลเวลาแนะนำหรือท้วงติงว่า อาบน้ำร้อนมาก่อน คนญี่ปุ่นยังคงให้ความเคารพแก่ผู้อาวุโสหรือผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า ของเราเองก็เช่นกัน ผู้อาวุโสกว่าย่อมมีประสบการณ์มากเช่นเดียวกัน เราก็ควรให้ความสำคัญและเคารพคำแนะนำจากผู้มีอาวุโสกว่าที่เป็นยอมรับ

3. ค่อยๆ ซึมซับและปฏิบัติตามเป้าหมายขององค์กร  เพราะเราทำงานต้องมีเป้าหมายในองค์กร คนญี่ปุ่นมักจะเน้นย้ำเรื่องเป้าหมายองค์กรในระยะยาว และความคาดหวังจากบุคลากร เราเองก็เช่นเดียวกัน ควรมีการระลึกอยู่เสมอว่า เราทำงานตามเป้าหมายขององค์กรอยู่หรือไม่

4. รักษาสีหน้าให้เป็นปกติและเหมือนเดิม (ระหว่างทำงาน)  สอนให้เป็นผู้ใหญ่ หรือ maturity ไม่ใช้อารมณ์หรือแสดงอารมณ์ออกมา สิ่งใดที่เป็นเหตุผล สามารถยอมรับได้ ก็นำมาปฏิบัติหรือพัฒนาปรับปรุงต่อไป

5. งานเป็นงาน เล่นเป็นเล่น  ต้องบริหารเวลาให้มีความสมดุลระหว่างงานและการพักผ่อน

6. ให้ความสำคัญ กับเรื่องของการสร้างความสัมพันธ์  เน้นความสัมพันธ์ในองค์กร เพื่อจะนำไปสู่ความสำเร็จของงาน

6 แนวทางน่าจะนำไปปรับใช้ในการทำงานของเรานะคะ บางข้ออาจได้มีการทำอยู่แล้ว บางข้ออาจจะไม่เคยมาก่อน แต่ทุกข้อ ขอบอกว่าเป็นเทคนิคในการทำงานที่ดีและจะไปนำสู่ความสำเร็จค่ะ

รายการอ้างอิง
นำ 6 แนวคิดการทำงานของญี่ปุ่นมาใช้. สืบค้นเมื่อวันที่  20 เมษายน 2558 จาก http://www.siamsafety.com/index.php?page=moral/moral_korkid_10082010&ps_session=c9ad0e6bc2a0c4b3a519090e0d618ff2

คำถามแรกของวัน ตื่นเช้ามาแล้วอยากทำอะไร

บทความ เรื่อง คำถามแรกของวัน น่าสนใจค่ะ เขียนโดย  คุณธนา เธียรอัจฉริยะ ผอ.สถาบันพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เขียนในประชาชาติธุรกิจ เล่าเรื่อง ผู้บริหารองค์กรแห่งหนึ่งคุยกับลูกน้อง หลังจากฟังไปซักพัก ผู้บริหารได้ถามคำถามหนึ่งขึ้นมาว่า “ตื่นเช้ามา คุณมีความรู้สึกอยากทำอะไร อยากเปลี่ยนแปลงโลก อยากสร้างของ อยากทำการค้า หรือมีความอยากจะรู้เรื่องอะไรลึก ๆ เป็นพิเศษ”

ถ้าตื่นมาอยากเปลี่ยนแปลงโลก อยากเปลี่ยนแปลงอะไรรอบตัว ทางที่คุณน่าจะพัฒนาต่อคือ Leadership

ถ้าคุณตื่นมาแล้วอยากสร้างอะไร สนุกกับการหาสตางค์ อยากขยายอาณาจักร มีความสุขกับสิ่งที่ตัวเองสร้าง ก็น่าจะพัฒนาไปในทาง Entrepreneurship

ถ้าคุณตื่นมาแล้วอยากรู้อะไรลึก ๆ ประเภทแฟนพันธุ์แท้ กระหายอยากได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตลอดเวลา ก็น่าจะพัฒนาไปในทางที่เป็น Expert

อ่านต่อเลยค่ะ ที่ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1428380214

รายการอ้างอิง

ธนา เธียรอัจฉริยะ. คำถามแรกของวัน. ประชาชาติธุรกิจ สืบค้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2558 จาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1428380214

Social Jet lag

ทุกคนเคยเจอปัญหาแบบนี้มั้ยคะ เวลาทำงานจะรู้สึกง่วงเหงาหาวนอนบ่อยๆ อ่อนเพลีย ไม่มีแรงทำงานทำให้เราหันไปพึ่งกาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ซึ่งจะนำไปสู่น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น

อาการแบบนี้เรียกว่า “Social Jet lag” หมายถึง อาการเมาเวลาทางสังคม ซึ่งเกิดจากนาฬิกาชีวิตของเราทำงานผิดเวลา เหมือนกับคำว่า “Jet lag” ที่หมายถึง อาการเมาเวลาเหตุการบิน ที่เกิดจากการนั่งเครื่องบินข้ามโซนเวลาที่ต่างกัน

นักวิจัยด้านชีววิทยา Till Roenneberg กล่าวว่า นาฬิกาชีวิตของเราอาจกำหนดไว้ว่าเมื่อเราเข้านอนดึก เราควรพักผ่อนเพื่อให้มีพลังงานไปใช้ชีวิตในวันต่อไปอย่างเต็มที่ แต่ด้วยภาระหน้าที่ในปัจจุบัน เราต้องตื่นตี 4 ตี 5
เพื่อเดินทางไปทำงานแต่เช้า จึงทำให้ร่างกายเราตอบสนองต่ออาการผิดเวลา

ดังนั้นผู้เขียนจึงมีวิธีป้องกันอาการ Social Jet lag อย่างง่ายๆคือ แม้ว่าเราจะไม่สามารถเปลี่ยนเวลาการทำงานให้ตรงกับสภาพร่างกายได้ แต่เราสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการพักผ่อนของตัวเราเองได้ ด้วยการนอนหลับให้เพียงพอ นอนเป็นเวลา หรือเมื่อรู้สึกง่วงก็ให้ลุกขึ้นเดิน เปลี่ยนอิริยาบถในระหว่างวัน เพราะเมื่อเรารู้สึกสดชื่นขึ้น อาการดังกล่าวก็จะคลายลง เราก็จะทำงานต่อได้ดีขึ้น และไม่เป็นการทำลายสุขภาพด้วย

รายการอ้างอิง:

– ง่วงเพลียตลอดเวลาขณะทำงาน นักวิจัยชี้ว่าอาจเป็นอาการ Social Jet lag.  สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2558, จาก http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRReU5qSTBPVEF3TVE9PQ==&subcatid=

– ‘Social Jetlag’ อาการเพลียของวัยทำงาน.  สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2558, จาก http://life.voicetv.co.th/living/39379.html

 

ภาวะ Burnout ในงานห้องสมุดมหาวิทยาลัย

อะไรคือภาวะ Burnout  ผู้เขียน  คุณนิตยา บุญปริตร  ได้กล่าวถึงภาวะ Burnout คือ สภาวะซึมเศร้า ท้อใจและไร้ความสามารถในการทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นในหมู่พนักงานอาจมีสาเหตุจากหลายอย่าง อาจเกิดได้จากปัญหาส่วนตัวหรือปัญหาในที่ทำงาน ปัญหาจากทางบ้าน
หรือปัญหาส่วนตัวที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานของ
พนักงาน ผู้บริหารไม่สามารถควบคุมเหตุดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม
จากงานวิจัยพบว่าฝ่ายบริหารจัดการสามารถหาวิธีต่างๆ เพื่อบรรเทา
หรือขจัดภาวะ Burnout รวมทั้งสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงาน
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานได้ อาทิจัดการอบรมเพื่อ
การพัฒนาอย่างสมบูรณ์โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการปรับตัว
ในการทำงานร่วมกับบุคคลอื่นและให้การศึกษาอย่างต่อเนื่องสามารถ
ช่วยป้องกันสภาวะ Burnout ที่อาจเกิดขึ้นในที่ทำงานอย่างได้ผล

ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง

คุณนิตยา บุญปริตร. ภาวะ Burnout ในงานห้องสมุดมหาวิทยาลัย  2552

โดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2552)  56:59

เทคนิคการจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน

เมื่อวันที่ 29-30 กันยายน 2557 และวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ได้มีโอกาสอบรม “เทคนิคการจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน” จัดโดย สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำให้เห็นความสำคัญของการเขียนคู่มือปฏิบัติงาน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายประการ เช่น สอนงาน ตรวจสอบการทำงาน

การเขียนคู่มือปฏิบัติงาน เป็นการอธิบายแนวทาง ขั้นตอนและวิธีการทำงานเป็นลายลักษณ์อักษร บอกจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของงาน ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติงาน ใช้ประกอบการสอนงานแก่ผู้ปฏิบัติงานที่ต้องการเรียนรู้ ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้ Continue reading เทคนิคการจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน

สายตา VS อุปกรณ์ไอที

ในปัจจุบันคนเรามีความเสี่ยงเป็นโรคเกี่ยวกับสายตามากขึ้น เนื่องจากการใช้อุปกรณ์ไอทีติดต่อกันเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือมือถือสมาร์ทโฟนต่างๆ ส่งผลให้สายตาผิดปกติมากขึ้น ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ทำให้ผู้ใช้มีอาการปวดตา ตาแห้ง สายตาล้า และมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย ผู้เขียนจึงขอแนะนำวิธีป้องกันอาการดังกล่าว ซึ่งชาวสำนักหอสมุดทุกท่านสามารถทำได้ มีวิธีการง่ายๆดังนี้ค่ะ

  • ปรับความสว่างของหน้าจอให้เหมาะสม ถ้าหน้าจอสว่างมากเกินไป ก็ควรลดความสว่างหน้าจอลง และไม่ควรใช้งานอุปกรณ์ไอทีในที่มืด จะทำให้สายตาล้าได้ง่าย
  • กะพริบตาให้ถี่ขึ้น เพราะอาการตาแห้งเกิดจากการที่เรากะพริบตาน้อยลง หรืออาจจะใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตาก็ได้
  • จัดวางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม โดยพยายามวางจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ด้านข้างของหน้าต่าง เพื่อลดแสงสะท้อนบนหน้าจอ ควรจัดให้มีระยะห่างระหว่างจอภาพกับตัวเราประมาณ 50-70 เซนติเมตร และจัดระดับจอภาพจากจุดศูนย์กลางของจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ต่ำกว่าระดับสายตา ประมาณ 4-9 นิ้ว และไม่ควรให้จอภาพอยู่สูงหรือต่ำเกินไป
  • พักสายตาทุกๆ ชั่วโมง และควรเปลี่ยนอิริยาบถ ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายบ้าง เพื่อเป็นการพักสายตาและเพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยจากการใช้คอมพิวเตอร์ ติดต่อกันเป็นเวลานาน

ดังนั้นชาวสำนักหอสมุดที่ใช้อุปกรณ์ไอทีเป็นเวลานานๆ ไม่ว่าจะใช้ในการทำงาน การพักผ่อน หรือคุยกับเพื่อน ก็ควรดูแลสุขภาพ และระวังในการใช้อุปกรณ์ไอทีให้มากขึ้น การถนอมสายตามีวิธีการง่ายๆ ลองนำไปปฏิบัติกันดูนะคะ

รายการอ้างอิง:
คนทำงานติดหน้าจอ.  สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.greenshopcafe.com/mobi/greennewss.php?id=962 

ข้อคิดสำหรับคนทำงานจากฤทธิ์มีดสั้น

อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุณาส่งบทความมาลงเพื่อแบ่งปันข้อคิด  เรื่องแรกที่อาจารย์ส่งมา คือ ข้อคิดสำหรับคนทำงานจากฤทธิ์มีดสั้น ไม่แน่ใจว่า สมัยนี้จะรู้จักนวนิยายจีน เรื่อง ฤทธิ์มีดสั้น หรือเปล่า แต่เป็นนวนิยายจีนที่ดังมาก  อาจารย์ธงชัย ได้สะท้อนข้อคิดจากตัวละครเรื่องนี้ในมุมมองของการทำงาน ออกมาได้ 3 ประเด็น คือ อาวุธภายนอกไม่สำคัญเท่าผู้ใช้อาวุธ   สร้างแบนด์ประจำตัวและเก่งด้านนั้น และฝึกทักษะสำคัญอยู่เสมอ อ่านเลยค่ะ  ฤทธิ์มีดสั้นยุคไอที อาจารย์ธงชัยเขียนได้สนุกและสาระด้วย