Tag Archives: การทำงาน
หลักคิดของผู้เกษียณ…บทเรียนการทำงานจากพี่สู่น้อง
นางรัมภาพร สำรองกิจ
33 ปี กับหน้าที่ เลขานุการหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เริ่มบรรจุเข้ารับราชการที่ห้องสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2523 เริ่มทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ซึ่งในสมัยนั้น ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คือ ผศ.ผกายวรรณ เต็มเจริญ งานแรกที่ได้มอบหมายและถือเป็นผลงานที่สร้างความภูมิใจในการทำงานในช่วงนั้น คือ การสำรวจครุภัณฑ์ของห้องสมุดทั้งหมด เริ่มตั้งแต่การออกแบบสำรวจ กำหนดเลขทะเบียนครุภัณฑ์ และลงบัญชีครุภัณฑ์ Continue reading หลักคิดของผู้เกษียณ…บทเรียนการทำงานจากพี่สู่น้อง
ริมน้ำยามเช้า…กับลุงโสรัตน์…และ…หนังสือดีที่นำเสนอ
ในยามเช้าของทุกวันนับเป็ภาพที่ชินตาสำหรับริมแม่น้ำเจ้าพระยา จะได้เห็นลุงโสรัตน์มายืนออกกำลังกายบ้าง อ่านหนังสือบ้าง
และก็เป็นบางครั้งที่ผู้เขียนเองก็ชอบที่จะได้เข้าไปสนทนากับลุงโสเหมือนกัน ลุงโสเล่าว่าเมื่อก่อนตรงริมน้ำที่นั่งเล่นนี้เคยเป็นสนามเทนนิส และฝั่งโรงพยาบาลศิริราชจะมีต้นตาลคู่อยู่ 1 คู่ ต้นลำพูอีกกี่ต้นลุงโสจำไม่ได้ถามว่าทำไมลุงโสถึงชอบมานั่งริมน้ำนี้ทุกวัน ลุงโสบอกว่าตรงนี้อากาศดี
แต่ตอนนี้ที่มานั่งเพราะจะได้เข้าเฝ้าในหลวงทุกวัน ฟังเพราะในหลวงแล้วรู้สึกดีใจจริงๆ ลุงโสบอกว่าจะมานั่งทุกวันจนวันสุดท้ายของเกษียณ มีภาพภาพหนึ่งที่ลุงโสจะชี้ให้ดูอยู่บ่อยๆ คือภาพที่ผู้คนกำลังขึ้นลงเรือข้ามฝากกันอย่างเร่งรีบ ลุงโสจะบอกว่าคนสมัยนี้มีงานทำนับว่าโชคดีที่สุดแล้วไม่ว่างานนั้นจะเป็นงานที่เรารักหรือไม่รักก็ตาม จากคำพูดของลุงโสทำให้รู้สึกว่าเราเป็นคนโชคดีคนหนึ่งที่มีงานทำเป็นหลักเป็นฐานอยู่ที่นี้ Continue reading ริมน้ำยามเช้า…กับลุงโสรัตน์…และ…หนังสือดีที่นำเสนอ
การสร้างความสุขในสถานที่ทำงานเพื่อความสำเร็จของงาน Happy Workplace
ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปอบรมเรื่อง การสร้างความสุขในสถานที่ทำงาน Happy Workplace ที่สำนักเสริมศึกษามาเป็นเวลา 2 วัน คิดว่าได้ข้อคิดดีๆมาฝากเพื่อนๆ ในเรื่องการทำงานให้มีความสุขได้พอสมควร
ความสุขเป็นสุดยอดปรารถนาของมนุษย์ ทุกคนต่างก็แสวงหาความสุขในชีวิต ทั้งความสุขในชีวิตครอบครัวและความสุขในที่ทำงาน เพราะคนเราใช้เวลาประมาณ 1 ใน3 ของแต่ละวันในการทำงานและต้องทำงานหลายสิบปี
กว่าจะเกษียณ คนที่ทำงานแล้วไม่มีความสุขจึงเป็นทุกข์เกือบตลอดชีวิตและยังมีผลเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ หลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำเร็จของงาน Happy Workplace จึงมีความสำคัญและจำเป็นเพื่อสร้างสถานที่ทำงานให้สนุก บรรยากาศดี คนมีความสุขก็จะทำให้มีผลงานดีด้วย
Happy Workplace คือองค์กรแห่งความสุข
องค์กรแห่งความสุข คือกระบวนการพัฒนาคนในองค์กรอย่างมีเป้าหมายและยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร เพื่อให้องค์กรมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงนำพาองค์กรไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน Continue reading การสร้างความสุขในสถานที่ทำงานเพื่อความสำเร็จของงาน Happy Workplace
เทคนิคการสร้างความรัก ความผูกพัน และความภักดีต่อองค์กร เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน
ดิฉันได้รับมอบหมายในการเข้ารับการอบรม เรื่อง “เทคนิคการสร้างความรัก ความผูกพัน และ ความภักดีต่อองค์กร เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน” ซึ่งจัดโดยสำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างวันที่ 22-23 กรกฎาคม 2558 วิทยากรในหลักสูตรนี้ คือ อาจารย์ สุรวัฒน์ ชมภูพงษ์
กิจกรรมแนะนำตัวเอง
วันแรกของการจัดอมรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประมาณ 25 คน ในวันนี้มีการแนะนำตัวเองและการทำกิจกรรมหลายๆ อย่างร่วมกันเพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างอาจารย์และผู้เข้าอบรมและระหว่างผู้เข้าร่วมอบรมด้วยกันอีกด้วย
การเข้าอบรมครั้งนี้ทำให้เราได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งทุกคนมาจากต่างสถานที่ ต่างสายงาน ต่างองค์กร บางคนมาไกลจากลำปาง ขอนแก่น เป็นต้น และยังมีที่อื่นๆ อีกหลายที่ทั้งของภาครัฐและเอกชน ทุกคนที่มาก็มีเป้าหมายเดียวกัน ก็คือ เพื่อเพิ่มความรู้และเทคนิคการเสริมสร้างประสิทธิภาพให้กับตัวเองและองค์กร Continue reading เทคนิคการสร้างความรัก ความผูกพัน และความภักดีต่อองค์กร เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน
ศิลปะในการทำงาน
ศิลปะ แปลว่า การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นได้อย่างงดงามน่าพึงชม หมายถึง “ฉลาดทำ” คือ ทำเป็นนั่นเอง เช่นทำกับข้าวอร่อยมาก จนได้เครื่องหมายเซลล์ชวนชิม หรือหมึกแดงชวนชิม แม่ช้อยนางรำหรือมีแฟรนไชส์ครอบคลุมประเทศหรือทั่วโลกก็เป็นได้ หรือบางท่านมีหมัดหนักสามารถชกมวยเป็นแชมป์โลกได้เหมือนกัน ไม่ใช่จะมีความรู้อย่างเดียวยังใช้ได้ไม่เต็มร้อยต้องมีความสามารถด้วย เช่น อ่านตำราว่ายน้ำสามารถหลับตาลืมตาท่องได้คล่องแล้ววางตำรานึกว่าฉันว่ายน้ำได้แล้ว กระโดดลงสระตูมเงียบไม่โผล่เลย
สำหรับผมเมื่ออายุ 18 ปีซึ่งเป็นช่วงอยู่ชั้นม.ศ.ปลายผู้มีญาณหูทิพย์แต่ตาพิการบอดสนิททำนายผมว่านี่ “นิ้วคุณทั้งสิบนิ้ว” มีเสียงดังเหมือนข้าวโพดคั่วนั่นแหละคือ อาชีพของผม จะไม่ดังได้อย่างไรผมกำลังหัดพิมพ์ดีดทุกวันเตรียมเข้าทำงานใน กทม. และเริ่มปฏิบัติงานห้องสมุดเมื่อปี 2522-ปัจจุบัน ๓๗ ปีพอดี เริ่มตั้งแต่ ผอ.คนแรก คือ ผอ.ผกายวรรณ เจียมเจริญ ผอ.นวลฉวี สุธรรมวงศ์ อ.ดร.เต็มใจ สุวรรณทัต อ.ดร.เพ็ญศรี ก๊วยสุวรรณ ผอ.ประไพรพรรณ จารุทวี ผอ.ศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ ผอ.แจ่มจันทร์ นพบุตรกานต์ และผอ.ศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ-ปัจจุบัน
หลวงพ่อเทศน์ว่าเมื่อสมัยครั้งพุทธกาล มีชายหง่อยคนหนึ่งนอนใต้ต้นโพธิ์สามารถดีดขี้แพะฉลุลายใบโพธิ์ได้อย่างวิจิตรมาก พอดีพระราชาผ่านมาเลยรับสั่งรับตัวเจ้าหง่อยเข้าไปเป็นเสนาบดีดีดขี้แพะในวัง เสนาบดีคนอื่นๆที่เข้าเฝ้าพระราชาพูดมากๆจะให้เจ้าหง่อยดีดขึ้แพะเข้าปากทีละคำๆเพื่อทำโทษจนไม่กล้าพูดพระราชาจึงได้ตรัสบ้าง
สำหรับศิลปะหรือความสามารถพิเศษของผม ทำไมทำงานห้องสมุดจึงมาเป็นสิงห์รถบรรทุกไปได้ ก็นึกสนุกๆ อยากทำรถบุปผาชาติแตงโมดูบ้างอาจหลุดโลกไปบ้างก็ได้ออกโทรทัศน์ช่อง 9 ของรายการตามไปดูในสมัยนั้น ปรากฏว่าได้ทองสองสลึงสี่เส้น คือแนะนำเองแสดงเอง ต่อมานำแตงโมมาหัดแกะสลักเป็นดอกรักเร่ ฟักทองเป็นดอกรักเร่ แตงกวาเป็นใบเฟิร์นพริกแดงพริกเหลืองเป็นดอกดาวกระจายบ้าง พอจัดลงกระทงส่งเข้าประกวดความคิดสร้างสรรค์ได้รับรางวัลชนะเลิศอยู่บ่อยๆ ต่อมานำลูกโป่งมาประดิษฐ์ตามตำราต่างๆ ปรากฏว่าสามารถใช้ประดับในงานต่างๆได้อย่างหรูหราไม่แพ้มืออาชีพ
สำหรับศิลปะในการทำงานธุรการของผมไม่มีอะไรมากคือตั้งใจทำจริงใจทำและเต็มใจทำ ทำด้วยความสุขและเพลิดเพลินทำตามลำดับดังนี้
1. ด่วนที่สุด
2. ด่วนมาก
3. ด่วน
4. ปกติ
การทำงานเหมือเราอยู่บนเวทีผ้าใบป้องกันแชมป์โอลิมปิก จะต้องขยันออกหมัดเก็บคะแนนทุกยก แก้ไขจุดอ่อน เช่นปลายคาง ยุ้งข้าว(ท้อง) อย่าให้หลับกลางอากาศ ถ้ามีปัญหาให้เสกคาถาว่า”อะไรจะเกิดก็เกิด อะไรจะดับก็ดับเราบังคับไม่ได้” หรือ “เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป” หรือถ้าหนักๆ ใช้คาถานี้ “ใครชอบใครชังช่างเถิด ใครชูใครเชิดช่างเขา ใครเบื่อใครบ่นทนเอา ใจเราสงบเย็นเป็นพอ” หรือ “เป็นเช่นนั้นเอง” หรือพิจารณาว่า “ตัวเราก็ไม่ใช่ตัวของเราถ้าเป็นของเราจะต้องบังคับไม่ให้แก่เจ็บตายได้สักวันต้องแตกสลายเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ เหลือเพียงจิตคือตัวตนที่แท้จริงคอยดูแลร่างและต้องบำรุงรักษาร่างเอาไว้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด” ตามเป้าหมายของชีวิตทุกคน เป้าหมายคืออะไร คือทำประโยชน์ 3 ให้แจ้ง ได้แก่ 1. ประโยชน์ชาตินี้ (หาปัจจัยสี่พอหรือยังผมพอแล้ว) 2. ประโยชน์ชาติหน้า (ปิดนรกหรือยัง) 3.ประโยชน์อย่างยิ่ง(พระนิพพาน) หลวงพ่อท่านยังเทศน์แนะนำอีกว่าสิ่งของทั้งหลายในที่ทำงานห้ามหยิบฉวยไปบ้านเด็ดขาด สิ่งของเครื่องใช้อย่าให้เหมือนที่ทำงานควรหลีกเลี่ยง แม้กระดาษชำระก็ยังเคยเกิดปัญหาได้ต้องใช้ต่างยี่ห้อกัน นี่คำแนะนำของพระท่านหนึ่งที่ผมเคารพและศรัทธา
ทิ้ง 1 ให้ได้ 100 ทิ้งน้อย ให้ได้มาก
ทิ้ง 1 ให้ได้ 100 ทิ้งน้อย ให้ได้มาก โดย โยะชิโอะ ยะซุดะ แปลโดย โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์ เสนอแนวคิดในการ “ทิ้ง” บางอย่าง แม้ว่ามันจะยังคงมีความสำคัญ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์กลับมาที่ดีกว่า 100 เท่าตัว
ผู้เขียนแบ่งข้อคิดในการทิ้งออกเป็น 4 ตอน ตอนที่ 1 เวลา ตอนที่ 2 เงิน ตอนที่ 3 คน ตอนที่ 4 สามัญสำนึก แต่ละตอนแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ อีกประมาณ 5-10 เรื่อง ที่ชวนให้คิด ชวนให้ทิ้ง
ขอยกตัวอย่าง เรื่องที่ให้ชวนให้ทิ้ง เรื่องเวลา คือ เรื่องขยันไม่ถูกจุด พยายามไม่ถูกทาง ชีวิตก็ย่ำอยู่ที่เดิม แค่เห็นชื่อก็พอจะรู้ว่า ทำงานไม่ถูกทาง เพราะยังมีความคิดเดิมอยู่ว่า ต้องขยันทำงานทุ่มเทเวลา เพื่อจะทำงานให้เร็วขึ้น เพื่อให้ได้งานมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่า ความขยัน หรือความพยายามไม่ใช่เรื่องดี แต่ควรต้องทิ้งวิธีการทำงานที่เหมือนกับคนอื่น แล้วหันมาคิดหาวิธีใหม่ๆ ที่จะสร้างผลงานให้ได้มากกว่าเดิม เพราะมัวแต่ทุ่มเทเวลา จนไม่มีเวลามาพิจารณากระบวนการงานทำงานที่ให้แตกต่างจากคนอื่น และเพื่อจะได้ผลลัพธ์ที่มากกว่าคนอื่น
แค่เรื่องแรกก็รู้สึกโดน (ใจ) ยังมีอีกหลายเรื่องหลายตอน น่าติดตามอ่านค่ะ ในเมื่อสิ่งที่เก็บไว้มากมายไม่พาคุณไปถึงไหน จะดีกว่าไหมถ้าลองทิ้งไปสัก 1 อย่าง เพื่อแลกกับชีวิตที่ดีขึ้นเป็น 100 เท่า! (ข้อความจากปกหลัง)
รายการอ้างอิง
โยะชิโอะ ยะซุดะ. ทิ้ง 1 ให้ได้ 100 ทิ้งน้อย ให้ได้มาก แปลโดย โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์. กรุงเทพฯ : วีเลิร์น, 2558.
การทำงานแบบมะเขือเทศ (โพโมโดโระ)
อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล ได้ส่งบทความ เรื่อง การใช้มะเขือเทศช่วยทำงานในยุคไอที เป็นเทคนิค Pomodoro คือ ตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่เป็นเวลา 25 นาที และหยุดพัก 5 นาที ดังนั้น ในเวลา 1 ชั่วโมง เราจะทำงานสองช่วงเวลา และหยุดพักสองครั้ง การตั้งใจจดจ่อทำงานอย่างเต็มที่สลับการหยุดพัก ทำให้สมองได้พักผ่อน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น ติดตามอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
แนะนำหนังสือน่าอ่าน “น่าจะรู้อย่างนี้ตั้งแต่ตอนอายุ 20”
ขอแนะนำหนังสือ เรื่อง น่าจะรู้อย่างนี้ตั้งแต่ตอนอายุ 20 (What I Wish I Knew When I Was 20) ผลงานของทีนา ซีลิก (Tina Seelig) เมื่ออ่านแล้ว จะให้ข้อคิด 4 ข้อ
- เป็นหนังสือสำหรับผู้ที่อยู่ในวัย 20 ควรอ่านอย่างยิ่ง จะเต็มไปด้วยข้อมูลและแนวคิดที่จะปลดปล่อยให้มี อิสระและใช้ชีวิตหลังเรียนจบมหาวิทยาลัยได้อย่างมีทิศทางและไร้กรอบครอบบังคับ
- หนังสือได้ “รวมมิตร” หลักการใช้ชีวิต, หลักการทำงาน, หลักความสำเร็จไว้อย่างน่าสนใจถ้าผู้อ่านฯแล้วเข้าใจ ก็จะเห็นเองว่าทางไปสู่ความสำเร็จมันมีมากกว่า 1 เส้นทางและในทุกเส้นทางมันจะมีอุปสรรคและปัญหาเป็นเรื่องธรรมดา”บางครั้งปัญหาก็โผล่มา เพื่อพิสูจน์ว่าเรานั้นมีคุณค่าคู่ควรกับความสเร็จที่ตั้ง ณ ปลายทาง
- หนังสือยังพูดถึงวิธีคิดต่างให้สนุกๆ การเก็บตกแนวทางที่ถูกคนแปะป้ายว่า “มันคือวิธีที่ล้มเหลว” ความคิดจะเปลี่ยนไป
- มีบทที่บอกให้ตระหนักว่า “การแข่งขันตอนเรียน” กับ “การแข่งขันในสนามชีวิต” มันคนละเรื่องกันเลย เพราะตอนเรียนเราอาจต้องพยายามแข่งกันทำเกรด แข่งกันเป็นที่ 1 ฯลฯ ในขณะที่ชีวิตจริงนั้น ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ มาจากการร่วมมือ การแชร์ การแบ่งปันสิ่งดีๆ ให้ผู้อื่น
หนังสือเล่มนี้ยังเหมาะกับวัยอื่นๆ ซึ่งจะพบแนวคิดดีๆ ที่สามารถมา ปรับในการใช้ชิวิตและในการทำงาน
รายการอ้างอิง
หนังสือ “น่าจะรู้อย่างนี้ ตั้งแต่ตอนอายุ 20″. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2558 จาก http://iyom-bookviews.com/หมวดจิตวิทยา/น่าจะรู้อย่างนี้-ตั้งแต่.html
ความสำเร็จที่คุณทำได้
เป็นกฎเกณฑ์ธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน ที่เกิมาแล้วต้องมีความปรารถนา ความต้องการ และความอยากได้ในห้วงลึกของหัวใจ เรามีความอยากได้ด้วยกันทั้งนั้น เพียงแต่ความอยากได้ของแต่ละคนแตกต่างกัน เช่น บางคนอยากได้เงินมาก ๆ บางคนอยากมีบ้านเป็นของตนเองสักหลัง บางคนอยากสำเร็จการศึกษาระดับสูง ฯลฯ แต่เมื่อได้สิ่งที่ปรารถนาแล้ว ก็มีสิ่งที่อยากได้อย่างอืนตามมาอีกเป็นเช่นนี้ไม่มีที่สิ้นสุด นั่นคือความเหมือนของคนทุกๆ คน Continue reading ความสำเร็จที่คุณทำได้