Tag Archives: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักหอสมุด

กิจกรรมฉายหนังในห้องสมุดรอบสัปดาห์ (28 ก.ย.-4 ต.ค.58)

1 ตุลาคม 2558

กิจกรรม “คุยกับหนัง” อ.ทรงยศ แววหงษ์

กิจกรรม “คุยกับหนัง” เป็นกิจกรรมฉายภาพยนตร์เพื่อการศึกษาทุกวันพฤหัสบดี เริ่มเวลา 17.00 น. ณ ห้องกิจกรรมเรวัต พุทธินันท์น ชั้น U2 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มธ.ท่าพระจันทร์ Continue reading กิจกรรมฉายหนังในห้องสมุดรอบสัปดาห์ (28 ก.ย.-4 ต.ค.58)

วชิราวุธานุสรณ์สาร (ฉบับเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ)

วชิราวุธานุสรณ์สาร (ฉบับเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ)
วชิราวุธานุสรณ์สาร (ฉบับเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ)

เนื้อหานำเสนอในวชิราวุธานุสรณ์สาร ฉบับปีที่ 34 ฉบับที่ 2 วันที่ 6 เมษายน 2558 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในมงคลวโรกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ข้อมูลเป็นอันมากในบทความเหล่านี้ เป็นเรื่องที่คนทั่วไปไม่เคยรู้มาก่อน เช่น พระราชดำริในการฟื้นฟูการบรรเลงดนตรีไทยบางอย่างตามแบบแผนโบราณ การรวบรวมเพลงไทยที่กระจัดกระจาายไว้ให้สมบูรณ์ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการทำสำเนาจารึกโบราณ การตรวจสอบชำระหนังสือจารึกในประเทศไทย งานอนุรักษ์แผนที่เก่า เป็นต้น เรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งคือ พระราชนิพนธ์นิทานโกหกเยอรมัน ซึ่งเคยปรากฏในวรรณกรรมไทยเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้เมื่อ 93 ปีก่อน ซึ่งท้้งสองเรื่องไม่ค่อยมีใครได้อ่าน  (จากบรรณาธิการแถลง) ขอเชิญติดตามบทความจากเรื่องต่อไปนี้ Continue reading วชิราวุธานุสรณ์สาร (ฉบับเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ)

วารสารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ฉบับพิเศษ งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)

วารสารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
วารสารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

วารสารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2558  โดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่สนองพระราชดำริ ได้ร่วมเฉลิมพระเกียรติโดยนำเสนอเรื่องราวที่พระองค์ทรงทำให้ประชาชน รวมถึงพระราชกรณียกิจ พระราชจริยวัตรที่งดงาม และการทรงงานที่ไม่มีวันหยุด ผ่านบทความในเรื่อง

  • สมเด็จเจ้าฟ้านักการศึกษาไทย
  • งานสานต่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สู่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • โครงการปรับปรุงถนนป่าไม้ลำลองตามพระราชดำริ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
  • ชนเผ่าแห่งผืนป่าลุ่มแม่น้ำน่าน “มลาบรี”
  • เจ้าฟ้านักอนุรักษ์ ป่าพรุโต๊ะแดง (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) จังหวัดนราธิวาส
  • สวนพฤกษศาสตร์พรรณไม้ม่วง เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 109)

ENGLISH COMMUNICATION FOR LIBRARIANS AND INFORMATION PROFESSIONALS (EC-LIP) (ตอนที่ 6)

วันนี้ (15 กันยายน 2558)  เป็นวันสุดท้ายของหลักสูตร โดยสมาชิกของ Digital Literacy และ Training the Trainers แต่ละคนได้จัดทำสไลด์หรือ
นำอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อมานำเสนอในชั้นเรียน มีการแจ้งหัวข้อ พร้อมสาระสังเขป ก่อนที่จะนำเสนอ โดยก่อนที่จะถึงวันนำเสนอจริง วิทยากรได้ส่งข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้สมาชิกมีการเตรียมตัวอย่างเต็มที่

Following are the web resources that can help you achieve an effective presentation.

1.  Stress   Unlike Thai language which is mono syllabic, meaning that all syllables are stressed,  English has stress patterns and intonation which you need to follow  https://www.youtube.com/watch?v=bX-_YSDM7ic

Assignment 1. After your view the video, go back to the article, the Characteristics of the librarian and information Professionals in the web 2.0 era, identify the words used frequently in your profession.  Then learn to stress them properly Continue reading ENGLISH COMMUNICATION FOR LIBRARIANS AND INFORMATION PROFESSIONALS (EC-LIP) (ตอนที่ 6)

รูป A YOUNG GIRL READING

z1หญิงสาวในชุดฟูฟ่องสีเหลืองแซฟฟรอน ขมวดมุ่นมวยผมหลวมๆ กำลังนั่งอ่านหนังสือ แลดูสงบนิ่ง ทันใดนั้นสายฝนโปรยเม็ดลงมาบางๆ ฉันหยุดอยู่ตรงนั้น A Young Girl Reading ฉันเคยเห็นเธอมาก่อนแล้ว ในห้องสมุดธรรมศาสตร์ที่เป็นเหมือนA Young Girl แหล่งพักพิงของหญิงสาวหลงทาง ที่นั่นจะมีภาพถ่ายจากจิตรกรรมของศิลปินยุโรปที่มีชีวิตเมื่อหลายร้อยปีก่อนแขวนอยู่ตามจุดต่างๆ

เธอคนนี้คอยเราอยู่ตรงเสาริมทางเดินนั้นเสมอ

A Young Girl Reading เป็นผลงานของจิตรกรฝรั่งเศส Jean-Honoré Fragonard ผู้มีชีวิตอยู่ระหว่างปี 1732 – 1806 ฟลาโกนาล์ดวาดรูปหญิงสาวในอิริยาบทต่างๆไว้หลายภาพ ฝีแปรงของเขาช่างให้อารมณ์ล่องลอย โปร่งเบา อ่อนหวาน   ภาพต้นฉบับจริงของ A Young Girl Reading เป็นสีน้ำมันบนผืนผ้าใบ ตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งกรุงวอชิงตัน บริจาคโดยลูกสาวของ Andrew William Mellon นายธนาคารชาวอเมริกันและนักสะสมภาพศิลปะ Continue reading รูป A YOUNG GIRL READING

28 ปีกับความทรงจำที่ดีกับเพื่อนๆ…..และพี่อัชนา

ก้าวแรกที่ดิฉันเข้ามาทำงานที่ธรรมศาสตร์หลังจากสอบบรรจุได้ตั้งแต่  18 พ.ค. 2530 ได้รู้จักพี่พวงทองเป็นคนแรก ในวันที่มาสอบสัมภาษณ์มายืนอยู่หน้าห้องสมุดตั้งแต่อยู่ตึกเก่า มองเข้าไปเห็นพี่พวงทองยืนอยู่ที่เคาน์เตอร์มองมาทางเราลอดแว่นดูท่าทางดุมาก  แต่พอได้บรรจุเข้าทำงานได้อยู่งานบริการยืม-คืนมาตลอด 28 ปี ได้ทำงานร่วมกับพี่ๆ หลายคน มีพี่บุหงา พี่พวงทอง พี่ณัฐพร พี่กรศิริ และน้องๆ อีกหลายคน และมีพี่อัชนาเป็นหัวหน้าดูแลงานบริการยืม-คืน ดิฉันรู้สึกมีความสุขกับการทำงานและมีใจรักในงานที่ทำอยู่ มีผู้บริหารและมีเพื่อนร่วมงานที่ดีกับเราทุกคนโดยเฉพาะพี่อัชนา
IMG_16092015_090209พี่อัชนาเป็นคนมีอัธยาศัยดี สุขุม เรียบร้อย ชอบทำบุญ รักลูกน้องทุกคน เป็นคนรักสุขภาพจะเลือกทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ ใจดีกับทุกคนมาทำงานแต่เช้า และไปเดินออกกำลังรอบสนามบอลทุกวันถ้าฝนไม่ตก จะซื้อขนมมาฝากน้องๆทุกคนเป็นประจำ พี่อัชนาเป็นหัวหน้าดูแลงานบริการยืม-คืนมาตลอดชีวิตการทำงานจะมีความชำนาญงานมากสอนงานน้องๆ อย่างเต็มที่ตามหน้าที่ของแต่ละคน เวลาพี่อัชนานั่งบริการตอบคำถามช่วยค้นคว้าก็จะช่วยผู้ใช้อย่างเต็มความสามารถจนผู้ใช้พอใจประทับใจในการบริการกลับไปทุกคน

30 กันยายน 2558 ใกล้เข้ามาทุกวัน พี่อัชนาจะเกษียณอายุราชการในปีนี้ น้องๆ ทุกคนคงคิดถึงพี่ขอให้พี่มีความสุขมากๆ ในบั้นปลายของชีวิต ให้มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บ ไม่ป่วยตลอดไป ไม่ต้องเหนื่อยกับการเดินทางมาผจญกับรถติดอีกต่อไป ถ้าพี่มาธรรมศาสตร์ก็อย่าลืมแวะมาเยี่ยมบ้างนะคะน้องๆรักและคิดถึงพี่ทุกคน
IMG_16092015_085621         IMG_16092015_085447

IMG_16092015_085252         IMG_16092015_085314

เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลำบาก

ผู้หญิงเราทุกคนย่อมมีประสบการณ์ในการมีประจำเดือนและปัญหาของการมีประจำเดือนของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน บางคนปวดท้องมาก บางคนปวดหลังมาก  ทั้งมีอารมณ์แปรปรวน ซึ่งอาจจะมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และเมื่อมีอายุมากขึ้น ประมาณ 45 – 50 ก็จะมีอาการที่เราเรียกว่า อาการวัยทอง  จึงขอแนะนำหนังสือเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว  สำหรับผู้ที่กำลังประสบปัญหานี้คะ

เล่มแรก คือ 100 วิธี สุขภาพดี วัยทอง เขียนโดย ตู้หยวนป๋อ และคณะ  ภัทรพร สหวัฒนพงศ์ เป็นผู้แปล

3.1

 

6

เล่มที่สอง คือ 100 วิธี รับมือประจำเดือน  โดย หยางจวิ้นกวง, ไล่จืออิ๋น และหลี่ชิงหยง และ กัญญารัตน์ จิราสวัสดิ์ เป็นผู้แปล

ทั้งสองเล่ม ติดตามอ่านได้ที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ค่ะ

โรคหวัด ป้องกันได้

ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เดี๋ยวฝนตก  เดี๋ยวอากาศร้อน บางวันก็อาจจะหนาวได้  ดูแลสุขภาพกันนะคะ ด้วยความเป็นห่วง จึงขอแนะนำหนังสือ เพื่อสุขภาพที่ดี แก่ผู้อ่านกันค่ะ

เรื่อง 100 วิธี รับมือโรคหวัด เลขหมู่ MED WC 2010  เขียนโดย หลินอิงชิน, เหยียนจื้อเฉิง, เฉินเหวินฮุ่ย  แปลโดย เรืองชัย รักศรีอักษร

5

 

มาแล้วจ้า นิยาย สด ๆ ใหม่ ๆ

มาแล้วจ้า นิยาย สด ๆ  ใหม่ ๆ  ที่ทางหอสมุดป๋วยฯ นำเข้ามาให้บริการ

คราวนี้มานำเสนอ บทประพันธ์ ของ ประภัสสร เสวิกุล
นวนิยายแห่งรักอันเที่ยงแท้และเป็นนิรันดร
นวนิยายแห่งมิตรภาพและการแย่งชิง
นวนิยายที่สร้างแรงบันดาลใจและให้พลังชีวิต
นวนิยายแห่งการต่อสู้บนเส้นทางสายนักเลง
นวนิยายแห่งการเติบโตบนความแตกต่าง1

27

เป็นวรรณกรรมชั้นดีที่คนอ่านบอกต่อ
สำหรับแฟนนิยาย ท่านใดสนใจก็สามารถขอยืมได้ที่หอสมุดป๋วยฯ คะ

การให้บริการนักศึกษาต่างชาติของหอสมุดปรีดี พนมยงค์

IMG_6646 (1)

นักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แบ่งได้เป็น  3  ประเภท  คือ

1.  เรียนแบบรับปริญญา มีตั้งแต่ระดับปริญญาตรี-เอก บริการที่ได้รับจะเหมือนกับนักศึกษาไทยในระดับเดียวกัน  รวมทั้งอายุสมาชิกกำหนดเป็นปีการศึกษา

2 .  เรียน 1หรือ2 ภาคการศึกษา ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนของโครงการในคณะ หรือวิทยาลัย   อายุสมาชิกกำหนดเป็นภาคการศึกษา เช่นนักศึกษาต่างชาติในหลักสูตร Thai Studies (ไทยศึกษา) ของวิทยาลัยนานาชาติปรีดี  พนมยงค์   ซึ่งจะมีนักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียนทุกภาคการศึกษา

3.  เรียน 1 เดือน เป็นภาคฤดูร้อนของหลักสูตร Thai Studies (ไทยศึกษา) เรียนในช่วงเดือนกลางเดือนกรกฎาคม-กลางเดือนสิงหาคม  บัตรนักศึกษาใช้เข้าห้องสมุดได้อย่างเดียว  ยืมออกไม่ได้

บริการที่ได้รับจากห้องสมุดสำหรับผู้ที่เรียนตั้งแต่ 1ภาคการศึกษา  มีบริการยืม-คืน  ยืมต่อทางInternet  บริการจองหนังสือ บริการยืมระหว่างห้องสมุด    การสืบค้นข้อมูล (สำหรับผู้เรียนระยะสั้นและบุคคลทั่วไป)

IMG_05082015_135704    IMG_05082015_135823IMG_05082015_135334
การจัดทำข้อมูลนักศึกษาเพื่อให้บริการได้

1.  นักศึกษาที่เรียนแบบรับปริญญา สำนักทะเบียนฯจะโอนข้อมูลของ                นักศึกษามาให้ห้องสมุดหลังจากการลงทะเบียน ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำเข้าฐานข้อมูลสมาชิกในโปรแกรมการยืมอัตโนมัติKOHA   นักศึกษาสามารถใช้บัตรประจำตัวนักศึกษายืมหนังสือ  ยืมต่อ/จองหนังสือได้ จนถึงวันที่หมดอายุสมาชิก

2.  นักศึกษาที่เรียนเป็นภาคการศึกษา เจ้าหน้าที่ของโครงการฯจะส่งรายชื่อนักศึกษา พร้อมเลขประจำตัวมาให้  ผู้ให้บริการจะต้องบันทึกข้อมูลของนักศึกษาเหล่านี้เข้าฐานข้อมูลสมาชิกเอง  ในส่วนของที่อยู่  หรือemail  จะบันทึกที่อยู่ และ emailของโครงการฯ  ชื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในโครงการฯ/หมายเลขโทรศัพท์  เพื่อใช้ในการติดต่อกรณีนักศึกษามีปัญหา   สำหรับวันหมดอายุสมาชิกจะกำหนดไว้เป็นวันสุดท้ายของการสอบ  คือภาคการศึกษาที่1 เป็นกลางเดือนพฤษภาคม  ภาคการศึกษาที่2 เป็นกลางเดือนธันวาคม

การตรวจสอบหนี้สินและการติดตามการค้างส่ง

1.   ตรวจสอบการค้างส่งหนังสือ ทำ15วัน/ครั้ง หากพบว่ามีการค้างส่งจะส่งemail ทวงถามไปที่นักศึกษา (ในกรณีเรียนแบบรับปริญญา)   หรือติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของโครงการฯให้ตามนักศึกษามาส่งหนังสือคืน

2.  หากทวงไปแล้วไม่มาติดต่อ ในกรณีนักศึกษาที่เรียนแบบรับปริญญา  จะทำการล็อคการขึ้นทะเบียนบัณฑิตในระบบของสำนักทะเบียน   ส่วนผู้ที่เรียนเป็นภาคการศึกษาจะติดต่อเจ้าหน้าที่ของโครงการฯให้ระงับการออกหนังสือสำคัญจนกว่านักศึกษาจะส่งคืนหนังสือ