Ruth A. Ragel ได้เขียนถึง 2 ค่ายยักษ์ใหญ่ฐานข้อมูล อย่าง Web of Science ซึ่งเป็นของบริษัท Thomson Reuters และ Scopus ซึ่งเป็นของสำนักพิมพ์ Elsevier ทางด้าน Web of Science ซึ่งครองความน่าเชื่อถือด้วยค่า impact factor ของบทความมายาวนาน การตรวจสอบค่า impact factor จากฐานข้อมูล Journal Citation Reports (JCR) ขณะที่ Scopus ก็ออกวิธีการคำนวณค่า SJR (SCImago Journal Rank) ในบทความนี้ Ragel นำเสนอหลายๆ มุมมอง เลยอยากแนะนำให้อ่านดูค่ะ http://librarylearningspace.com/ruths-rankings-4-big-two-thomson-reuters-scopus/
Things to Think About before Posting Material on Social Media
When you read something you like, your first thought may be to post it on Facebook, even if it is quite lengthy. To avoid trouble, ask yourself this question first: who owns what you are posting?
Continue reading Things to Think About before Posting Material on Social Media
New Books: The Lives of Chang and Eng
A new book in the Thammasat University Libraries collection should appeal to all readers who care about the international image of Thailand in world history.
The Lives of Chang and Eng: Siam’s Twins in Nineteenth-Century America by Joseph Andrew Orser is published by the University of North Carolina Press.
Guide to Writing Academic Articles: Part II
Choosing a subject and title
1. Topics
The first choice to be made for anyone hoping to publish scholarly work is to select a subject. This requires some thought and preparation, but as in all aspects of writing for publication, the more you prepare, the better the result.
Continue reading Guide to Writing Academic Articles: Part II
เราพร้อมที่จะเกษียณแล้วหรือยัง ตอนที่ 1
หากกล่าวถึงคำว่าเกษียณให้วัยเริ่มทำงานได้ยินได้ฟัง คงไม่ใคร่มีใครสนใจฟังมากนัก ด้วยยังคิดว่าอีกนานโขกว่าเรานั้นจะเกษียณ ยังต้องทำงานอีกตั้ง 20 – 30 ปี ถ้าเช่นนั้นขอถามว่า ….
“แล้วเราจะพร้อมที่จะเกษียณเมื่อไหร่กันหล่ะ”
หลังจากเกษียณแล้วเราจะใช้จ่ายอย่างไร เงินออมและผลตอบแทนจากการลงทุนเพียงพอที่จะใช้ในยามที่เกษียณหรือไม่ หากเจ็บป่วยจะทำอย่างไร หรือเราต้องทำงานไปตลอดชีวิต เราสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้มั๊ย หากตอบได้ คุณคือผู้ที่จะมีชีวิตในวันที่เกษียณอย่างมีความสุข หากตอบไม่ได้ คงต้องเริ่มคิดแล้วว่าคุณฝันถึงวันที่เกษียณเช่นไร
กวีอาเซียนและกวีลุ่มแม่น้ำโขง
วันนี้ (27 ตุลาคม 2557) เวลา 15.30 โดยประมาณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดงานแสดงความยินดีต่อ คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีซีไรต์ ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับรางวัลกวีอาเซียน ประจำปี 2556 และกวีลุ่มแม่น้ำโขง ของไทยประจำปี 2557
ท่ามกลางการต้อนรับอย่างอบอุ่นและบรรยากาศของการจัดงานอย่างเป็นกันเอง อบอวลไปด้วยความไพเราะของกลอน ที่ผู้ร่วมงานที่มีกันหลายรุ่น ต่างมอบกลอนที่แต่งมาจากใจให้กับคุณเนาวรัตน์ ทำให้คนอื่นๆ ที่มาร่วมงาน ที่ห่างหายจากการได้ยินหรือได้ฟังกลอนที่ไพเราะแบบนี้ ได้เต็มอิ่มไปกับอรรถรสที่ได้รับไปอย่างมากในวันนี้ พร้อมกับการรับฟังเพลงจากวงดนตรี บินหลา ที่มาร่วมงานกันอย่างพร้อมเพรียง แม้ว่าจะขับกล่อมได้เพียง 3 เพลงเท่านั้น แต่ก็เป็น 3 เพลงที่สะกดคนฟังและทำให้มีอารมณ์ร่วมไปกับการฟังเพลงได้อย่างมากทีเดียว
ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร พูดถึงงานแสดงความยินดีที่จัดในวันนี้ ความจริงเป็นงานที่ติดค้างมาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ด้วยเหตุการณ์ต่างๆ ก็ติดค้างมาเรื่อย และการจัดงานในครั้งนี้ เพราะธรรมศาสตร์ ดูแลศิษย์เก่า เป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ไม่ใช่คนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างเดียว แต่เป็นคนของประชาชนอีกด้วย ไม่ได้จบอักษรศาสตร์ จบนิติศาสตร์ แต่เป็นกวี หลังๆ การแต่งกลอนมีมิติทางนิติศาสตร์มากขึ้นๆ
คุณเนาวรัตน์ ได้เล่าถึงความหลังเมื่อครั้งยังเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงแม้ว่าที่จะคับแคบ แต่มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเหมือนบ้านที่ 2 มีการเกิดทั้งหมด 3 ครั้งในชีวิต เกิดจากพ่อแม่ เกิดจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเกิดจากสวนโมกข์ (ช่วงหนึ่งได้ไปบวชที่นั่น) มีจิตวิญญาณของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ในตัวเอง และจะสืบทอดจิตวิญญาณนี้ต่อไป และจบท้ายด้วยกลอนให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พร้อมขอบคุณในการจัดงานให้ในครั้งนี้
คุณเนาวรัตน์กล่าวขอบคุณด้วยกลอนอันไพเราะ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้นำกระเช้าดอกไม้ร่วมแสดงความยินดีในโอกาสนี้ด้วย ในงานนี้ คุณเนาวรัตน์ ได้กรุณามอบลายเซ็นต์ในหนังสือให้กับสำนักหอสมุดอีกด้วย
รางวัลกวีอาเซียน ประจำปี 2556 กระทรวงวัฒนธรรมได้ร่วมกับสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ได้มอบรางวัลสุนทรภู่ให้กับกวีที่มีผลงานดีเด่นจากประเทศอาเซียนเป็นครั้งแรก เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณของสุนทรภู่ และยกย่องความสามารถของกวีผูัสร้างสรรค์ผลงาน โดยกวีอาเซียนมีทั้งหมด 10 ท่าน สำหรับประเทศไทย ได้แก่ คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ของไทย
รางวัลกวีลุ่มแม่น้ำโขง ประจำปี 2557 นอกจาก คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ แล้วยังมีนักเขียนอีก 2 ท่านได้แก่ คุณกฤษณา อโศกสิน และคุณธีรภาพ โลหิตกุล อ่านคำประกาศเกียรติคุณของรางวัล
หลังวิกฤตน้ำท่วม 2554
สรุปความเสียหายหลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี พ.ศ. 2554 ทั้ง ห้องสมุดศูนย์รังสิต หอสมุดปรีดี พนมยงค์ และหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ การแก้ปัญหาการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ด้วยการนำ CONTENTdm ซึ่งเป็น software ที่ผลิตโดย OCLC มาใช้ในการจัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูล digital
ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้
รายการอ้างอิง
กนกวรรณ บัวงาม. หลังวิกฤตน้ำท่วม 2554. โดมทัศน์ 33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 3-31.
โรงเรียนลอยน้ำ Makoko Floating School
Makoko เป็นชุมชนแออัดริมทะเลสาบที่เมือง Lagos ประเทศ
Nigeria ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของทวีปแอฟริกาติดอาว Gulf of Guinea
สภาพคงคล้ายกับสลัมคลองเตยเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว ชาวบัานส่วนใหญ่
เป็นชาวประมงที่หากินกับทะเลสาบ สร้างบ้านใต้ถุนสูงบนที่ชายเลนด้วย
วัสดุตามแต่จะหาได้ในพื้นที่ ชุมชนนี้ไม่มีถนนที่รถยนต์เข้าได้ ไม่มีระบบ
สาธารณูปโภค ไม่มีแม้แต่แผ่นดินที่มั่นคงแข็งแรงจะอาศัยอยู้ ในฤดูที่ฝนตก
และมีพายุก็เสี่ยงที่จะพังลงมาเมื่อใดก็ได้ชุมชนนี้มีผู้อยู่อาศัยประมาณ
80,000 คน มีโรงเรียนประถมเพียงโรงเรียนเดียวซึ่งก็ไม่มีสภาพดีไปกว่า
บ้านเรือนโดยรอบเท่าใด ในปีค.ศ. 2011 ได้เกิดโครงการ Makoko
Floating School ขึ้น โดยความร่วมมือระหว่างบริษัท Nle (www.
nleworks.com) ซึ่งมี Kunle Adeyemi สถาปนิกชาวไนจีเรียที่ไปมี
ชื่อเสียงโด่งดังในยุโรปเป็นหัวหน้าทีม, United Nations Development
Programme (UNDP), และมูลนิธิ Heindrich Boell Foundation
ประเทศเยอรมนี เพื่อเป็นอาคารต้นแบบที่สามารถทนต่อพายุและ
นํ้าท่วมได้ ใช้วัสดุท้องถิ่นที่ราคาไม่แพง ได้รับการออกแบบให้ประหยัด
พลังงาน และมีระบบจัดการสภาพแวดล้อมที่กลมกลืนกับธรรมชาติ
ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้
รายการอ้างอิง:
โรงเรียนลอยน้ำ Makoko Floating School. โดมทัศน์ 33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 32-41.
หนอนน่ารัก
แนะนำการส่งเสริมการอ่าน หนอนหนังสือนอกจากอ่านแล้วยังมีการพบปะหน้าตา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน จะทำอย่างไรให้หนอนหนังงสือเพิ่มมากขึ้นๆ
ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้
รายการอ้างอิง:
ชูมาน ถิระกิจ. หนอนน่ารัก. โดมทัศน์ 33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 48-53.
มนุษย์เจ้าปัญหา
ผู้เขียน (คุณชูมาน ถิระกิจ) ได้กล่าวว่า ในชีวิตประจำวัน เราต้องพบปะกับคนมากมาย บางคนก็น่ารัก น่าทำงานด้วย อยู่ใกล้แล้วสบายใจ บางคนก็อยู่ใกล้แล้วขาดทุนทางอารมณ์ ต้องฝึกสมองประลองปัญญาที่จะติดต่อสื่อสารด้วยอย่างหนัก วันไหน เจอเข้าสัก 4-5 คนก็อ่วมแล้ว Hara Estroff Marano
(Psychology Today. May/June 2012) จัดกลุ่มมนุษย์เจ้าปัญหาที่มักทำให้คนเจ้าปัญหาที่มักทำให้คนรอบข้างเหน็ดเหนื่อยในอารมณ์ไว้ 4 แบบคือ……… (แล้วเราจะเป็นมนุษย์เจ้าปัญหาหรือเปล่านะ)
(ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้)
รายการอ้างอิง:
ชูมาน ถิระกิจ. มนุษย์เจ้าปัญหา. โดมทัศน์ 33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 54-58.