ภัยหน้าจอ

ผู้เขียน (คุณชูมาน ถิระกิจ) ลองค้น “คอมพิวเตอร์กับสุขภาพ” หรือ “computer and health” ได้ link มาเยอะมาก apple.com ก็มีบทความเกี่ยวกับ ergonomics ว่าจะต้องดูแลร่างกายอย่างไรจึงจะไม่เสี่ยงการบาดเจ็บจากการใช้คอมพิวเตอร์อย่างละเอียดพร้อมรูปประกอบชัดเจน (http://www.apple.com/about/ergonomics/) แสดงว่าปัญหาสุขภาพที่มากับการใช้คอมพิวเตอร์มีนัยที่สำคัญต่อชีวิตประจำวัน และสุขภาพที่มากับการใช้คอมพิวเตอร์มีนัยที่สำคัญต่อชีวิตประจำวัน และเราควรต้องใส่ใจกับมันแล้ว  (เขาถึงได้บอกว่าสุขภาพดีไม่มีขาย นอกจากตัวเราเองที่จะใส่ใจดูแลรักษา) 

ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง:
ชูมาน ถิระกิจ. ภัยหน้าจอ. โดมทัศน์ 33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 59-72.

Guide to Writing Academic Articles: part I

Challenges of writing in English and impact factors

This is the first in a series of blog entries about publishing university-level research internationally. It is particularly aimed at Thai ajarns and students. Many ajarns and students are required to write an academic article at some point in their careers.

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/47/Albert_Anker_%281831-1910%29%2C_Schreibunterricht%2C_1865._Oil_on_canvas.jpg/640px-Albert_Anker_%281831-1910%29%2C_Schreibunterricht%2C_1865._Oil_on_canvas.jpg

Getting this article published can be satisfying, although challenging.

Continue reading Guide to Writing Academic Articles: part I

จริยธรรมการวิจัยในคน

ผู้เขียน (คุณรุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน) ได้กล่าวว่า การมีโอกาสเป็นกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนนับเป็นโอกาสดีได้เปิดมุมมอง ได้รับความรู้-เรียนรู้สิ่งใหม่ การเป็นอนุกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนเป็นงานที่หลังจากเกษียณแล้วยังอาสาสมัครปฏิบัติอยู่ อ่าน-พิจารณาโครงงานวิจัยเดือนละประมาณ4 เรื่อง ประชุมคณะอนุกรรมการฯ เดือนละ 1 ครั้ง (9.00-16.00 น.) ตั้งใจว่าจะเผยแพร่-เชิญชวนให้บุคลากรต่างๆ โดยเฉพาะสายสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์เข้ารับการอบรมและเข้าร่วมเป็นกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ซึ่งเป็นทั้งการ “พัฒนาตนเอง” และ “พัฒนา (สังคม) การวิจัย”

ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้

รุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน. จริยธรรมการวิจัยในคน. โดมทัศน์ 33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 42-47.

ชวนไปเที่ยว 3 แหล่งมรดกแห่งใหม่ในอาเซียน

เมื่อลมหนาวพัดมาพร้อมๆ กับเทศกาลหยุดยาวช่วงสิ้นปี หลายคนคงกำลังมองหาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเดินทางสร้างแรงบันดาลใจพร้อมกับพักผ่อนไปในตัว อาจจะเป็นสถานที่ใกล้ๆ ในเมืองไทยหรือการเดินทางไปต่างประเทศเพื่อหาประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับตัวเอง อยากแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มอาเซียนด้วยกันสักนิด … เพราะนอกจากจะเดินทางโดยไม่ต้องขอวีซ่าแล้วยังได้เรียนรู้วัฒนธรรมของแต่ละประเทศไปพร้อมๆ กันด้วย

เมื่อไม่นานมานี้ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้ประกาศชื่อแหล่งมรดกโลกแห่งใหม่ ประจำปี พ.ศ.2557 ซึ่ง 3 ใน 26 แห่งทั่วโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคอาเซียนนี่เอง ได้แก่ Continue reading ชวนไปเที่ยว 3 แหล่งมรดกแห่งใหม่ในอาเซียน

Library services in changing contexts : Report from Taiwan

การประชุมเครือข่ายห้องสมุดในกลุ่มเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 6
( OCLC 6th Asia Pacific Regional Council 2014 Membership Conference) วันที่ 13 ตุลาคม 2557 ช่วงบ่ายเป็นการบรรยายโดยวิทยากรตัวแทนจากประเทศไต้หวัน  Professor Chien-Kang Huang (Department of Engineering Science and Ocean Engineering, National Taiwan University)  ซึ่งมาบรรยายในหัวข้อ “Library services in changing contexts”  หรือการบริการของห้องสมุดในบริบทที่เปลี่ยนไป แต่จะเปลี่ยนไปในทิศทางไหน มีรายละเอียดโดยสรุปดังนี้

Professor Chien-Kang Huang
วิทยากร Professor Chien-Kang Huang

Continue reading Library services in changing contexts : Report from Taiwan

ตกม้าตาย เพราะทำการบ้านไม่ดีพอ

เป็นวิทยากรหรือผู้พูด ก็สามารถตกม้าตาย หรือไม่ประสบผลสำเร็จในการพุด (แต่ละครั้งหรือจะรู้สึกฝืด) เหมือนกัน ถ้ามีการเตรียมตัวไม่ดีพอ หรือพูดง่าย ไม่ทำการบ้านมาดีพอ เพราะกลุ่มผู้ฟัง มักจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือผู้พูดเองก็ควรจะได้มีการทบทวนสไลด์ที่ใช้พูด มีการปรับแก้ไข โดยการเพิ่ม หรือลด ตามความเหมาะสมของกลุ่มเป้าหมาย คุณเคยรู้สึกมั้ยว่า การพูดวันนี้ ยังไม่ดีพอ ถ้าเตรียมประเด็นนั้น โน่น นี่ มาก็จะทำให้สมบูรณ์ และน่าจะโดนใจ หรือจะทำให้การพูดในครั้งนี้ สนุกยิ่่งขึ้น เพราะฉะนั้น อย่าประมาท พูดหัวข้อเก่า ยังไงก็ได้ ควรได้มีการเตรียมสไลด์หรือบทเรียนทุกครั้งก่อนจะขึ้น

คิดด้วยภาพ

การนำเสนอด้วยภาพ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะถ่ายทอดความคิดของผู้นำเสนอออกไปถึงผู้รับฟัง ผู้อ่าน เห็นและเข้าใจความคิดที่ผู้พูดหรือผู้นำเสนอต้องการสื่อสารออกไป แต่การนำเสนอด้วยภาพ จะต้องถูกกรองด้วยการคิดด้วยภาพ การคิดและนำเสนอด้วยรูปภาพ ทำให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เพราะเข้าใจง่าย

หนังสือ เรื่อง คิดด้วยภาพ หรือ Think in Pictures ให้แนวคิดพื้นฐานในการคิดด้วยภาพ รวมทั้งให้คำแนะนำว่า ควรจะใช้เครื่องหมายแต่ละชนิดแทนความสัมพันธ์แบบใด พร้อมนำเสนอและสื่อสารความคิดในการทำงานด้วยรูปภาพที่มีประสิทธิภาพ

การนำเสนอด้วยภาพ
การคิดเสนอด้วยภาพ

 

คิดด้วยภาพ หรือ ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ว่า Zukai Suru Shikoho เขียนโดย นิชิมูระ คัตสึมิ แปลและเรียบเรียงโดย ประวัติ เพียรเจริญ  น่าหามาอ่านเพื่อจะได้แนวทางในการนำเสนอที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Connecting people to people, knowledge and country: ภารกิจของหอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์

เมื่อวันที่ 13-14 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุม OCLC 2014 Asia Pacific Regional Council Membership Conference 6th ณ ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ก็เลยอยากจะเล่าสู่กันฟังถึงหนึ่งในหัวข้อของการประชุมในวันนั้น ซึ่งก็คือ หัวข้อการบรรยายของ Mr. Beh Chew, Leng ที่ปรึกษาหอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ เรื่อง Connecting people to people, knowledge and country

10743326_933673519993340_1663392142_n

สิงคโปร์เป็นประเทศเล็กๆ ที่ไม่มีทรัพยากรทางธรรมชาติ แต่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและสามารถพัฒนาประเทศได้อย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะผู้คนมีระเบียบวินัย ใฝ่หาความรู้และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้อย่างยั่งยืนให้กับประชากรของประเทศ

อีกหนึ่งหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญไม่แพ้กันในเรื่องของการพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้อย่างยั่งยืนของประชาชน นั่นก็คือ หอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารงานของคณะกรรมการห้องสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ และภายใต้การบริหารของบอร์ดชุดเดียวกันนี้ ก็ยังมีห้องสมุดประชาชนอีกจำนวน 25 แห่ง และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

Mr. Beh Chew, Leng เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามกระตุกต่อมคิดของคนทำงานห้องสมุดว่า ถ้าพูดถึงห้องสมุดแล้วจะต้องนึกถึงหนังสือ นั่นคือสิ่งที่ถูกต้องแล้วหรือเปล่า? ไม่ล้าสมัยไปนะ?

Continue reading Connecting people to people, knowledge and country: ภารกิจของหอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์

InCites & SciVal โปรแกรมวิเคราะห์สมรรถนะด้านวิจัย

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศให้แก่ บุคลากรของสำนัก โดยจัดอบรมการใช้ฐานข้อมูล InCites และ SciVal เมื่อ วันที่ 22 ตุลาคม 2557 โดยวิทยากร คือ Dr. Ning Ning จาก Thomson Reuters (InCites) และ Mr. Alexander Van Servellen จาก Elsevier (SciVal) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจการใช้โปรแกรมวิเคราะห์สมรรถนะด้านการวิจัย

10603237_664575270328372_8309175261718005249_n
บรรยากาศการอบรมฐานข้อมูล SciVal

ฐานข้อมูล InCites และ SciVal นั้น เป็น เครื่องมือประเมินผลงานวิจัย เพื่อการวิเคราะห์ผลการวิจัยและเปรียบเทียบ ผลงานในด้านต่างๆ โดยใช้ข้อมูลการอ้างอิง สถิติที่ครอบคลุมทั่วโลก ข้อมูลจากหลายหลากแง่มุมเพื่อใช้ในการกำหนดทิศทางของสถาบันการวิจัย ครอบคลุมข้อมูลต่างๆ ทั้งในด้านประสิทธิภาพ และความร่วมมือระหว่างสถานบัน โดยการแสดงผลภาพที่ชัดเจน และมีเครื่องมือรายงานผล ทำให้หน่วยงานสามารถสร้างผลการรายงานต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและสะดวกมากยิ่งขึ้น

SciVal
ฐานข้อมูล SciVal

InCites
ฐานข้อมูล InCites