Tag Archives: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Library Application ในวันธรรมศาสตร์วิชาการเพื่อประชาชน (Academic Expo for the People)

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมงานวันธรรมศาสตร์วิชาการเพื่อประชาชน ในการเสนอ Library Application แอพเพื่อการใช้ห้องสมุดบนโทรศัพท์มือถือของสำนักหอสมุด  และจัดนำชมศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์และหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ ตลอดทั้ง 2 วัน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดงานวันธรรมศาสตร์วิชาการเพื่อประชาชน  ในวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2557 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เพื่อแสดงนวัตกรรมและความก้าวหน้าด้านวิชาการและงานวิจัยเพื่อพัฒนาศาสตร์ทุกด้าน มุ่งตอบโจทย์เพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชน ชุมชน และสังคม มีการจัดแสดงผลงานวิชาการและผลงานวิจัยของกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้แนวคิดการนำความรู้ไปบริการสังคม (Service Learning) พร้อมกับได้ทราบถึงหลักสูตรการเรียนการสอน ความโดนเด่นในด้านต่างๆ ทั้งด้านบริการสังคม ด้านนวัตกรรมและด้านนานาชาติของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่มุ่งผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคม

ธรรมศาสตร์วิชาการเพื่อประชาชน
ธรรมศาสตร์วิชาการเพื่อประชาชน

จุดแสดงผลงานมี 4 ดังนี้ Continue reading Library Application ในวันธรรมศาสตร์วิชาการเพื่อประชาชน (Academic Expo for the People)

WorldCat : The World’s Largest Library Catalog

worldcat
Ref : www.oclc.org/worldcat.en.html

WorldCat เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรม  ของหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง โสตทัศนวัสดุ ครอบคุลมความรู้ทุกสาขาวิชา ในกว่า 400 ภาษา โดยเกิดจากการทำงานร่วมกันของเครือข่ายห้องสมุดที่เป็นสมาชิก OCLC (Online Computer Library Center) ปัจจุบันมีห้องสมุดทั่วโลกมากกว่า 70,000 แห่ง ใน 86 ประเทศ รวมทั้งสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Continue reading WorldCat : The World’s Largest Library Catalog

The Communication Studies Value and Utilization in WorldCat

“The communication studies value and utilization in WorldCat bibliographic database” อีกหัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจจากการประชุมเครือข่ายห้องสมุด OCLC 6th Asia Pacific Regional Council 2014 Membership Conference บรรยายโดย Assoc. Prof. Ming Xing HE จาก Beijing Foreign Studies University, สาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าด้วยการนำเอา WorldCat มาประยุกต์ใช้ในเป็นเครื่องมือเพื่อการศึกษาวิจัยการแพร่กระจายของสื่อสิ่งพิมพ์ภาษาจีนในระดับนานาชาติ Continue reading The Communication Studies Value and Utilization in WorldCat

กวีอาเซียนและกวีลุ่มแม่น้ำโขง

วันนี้ (27 ตุลาคม 2557) เวลา 15.30 โดยประมาณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดงานแสดงความยินดีต่อ คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีซีไรต์ ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับรางวัลกวีอาเซียน ประจำปี 2556 และกวีลุ่มแม่น้ำโขง ของไทยประจำปี 2557

เมื่อคุณเนาวรัตน์มาถึงงาน
                                 เมื่อคุณเนาวรัตน์มาถึงงาน

ท่ามกลางการต้อนรับอย่างอบอุ่นและบรรยากาศของการจัดงานอย่างเป็นกันเอง  อบอวลไปด้วยความไพเราะของกลอน ที่ผู้ร่วมงานที่มีกันหลายรุ่น ต่างมอบกลอนที่แต่งมาจากใจให้กับคุณเนาวรัตน์ ทำให้คนอื่นๆ ที่มาร่วมงาน ที่ห่างหายจากการได้ยินหรือได้ฟังกลอนที่ไพเราะแบบนี้ ได้เต็มอิ่มไปกับอรรถรสที่ได้รับไปอย่างมากในวันนี้ พร้อมกับการรับฟังเพลงจากวงดนตรี บินหลา ที่มาร่วมงานกันอย่างพร้อมเพรียง แม้ว่าจะขับกล่อมได้เพียง 3 เพลงเท่านั้น แต่ก็เป็น 3 เพลงที่สะกดคนฟังและทำให้มีอารมณ์ร่วมไปกับการฟังเพลงได้อย่างมากทีเดียว

อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวแสดงความยินดี
อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวแสดงความยินดี
นายกสภามหาวิทยาาลัย ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิคิ เศรษฐบุตร กล่าวแสดงความยินดี และเล่าถึงความหลัง
นายกสภามหาวิทยาาลัย ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิคิ เศรษฐบุตร กล่าวแสดงความยินดี และเล่าถึงความหลัง

ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร พูดถึงงานแสดงความยินดีที่จัดในวันนี้ ความจริงเป็นงานที่ติดค้างมาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ด้วยเหตุการณ์ต่างๆ ก็ติดค้างมาเรื่อย และการจัดงานในครั้งนี้ เพราะธรรมศาสตร์ ดูแลศิษย์เก่า เป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ไม่ใช่คนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างเดียว แต่เป็นคนของประชาชนอีกด้วย ไม่ได้จบอักษรศาสตร์ จบนิติศาสตร์ แต่เป็นกวี หลังๆ การแต่งกลอนมีมิติทางนิติศาสตร์มากขึ้นๆ

คุณเนาวรัตน์ ได้เล่าถึงความหลังเมื่อครั้งยังเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงแม้ว่าที่จะคับแคบ แต่มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเหมือนบ้านที่ 2 มีการเกิดทั้งหมด 3 ครั้งในชีวิต เกิดจากพ่อแม่ เกิดจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเกิดจากสวนโมกข์ (ช่วงหนึ่งได้ไปบวชที่นั่น) มีจิตวิญญาณของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ในตัวเอง และจะสืบทอดจิตวิญญาณนี้ต่อไป และจบท้ายด้วยกลอนให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พร้อมขอบคุณในการจัดงานให้ในครั้งนี้

คุณเนาวรัตน์กล่าวขอบคุณคุณเนาวรัตน์กล่าวขอบคุณด้วยกลอนอันไพเราะ

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้นำกระเช้าดอกไม้ร่วมแสดงความยินดีในโอกาสนี้ด้วย ในงานนี้ คุณเนาวรัตน์ ได้กรุณามอบลายเซ็นต์ในหนังสือให้กับสำนักหอสมุดอีกด้วย

ขณะมอบลายเซ็นต์ด้วยปากกาของท่านเอง
ขณะมอบลายเซ็นต์ด้วยปากกาของท่านเอง
เพียงความเคลื่อนไหวกับลายเซ็นต์ของท่าน
เพียงความเคลื่อนไหวกับลายเซ็นต์ของท่าน
ลายเซ็นต์ที่มอบให้อีก 1 เล่ม
ลายเซ็นต์ที่มอบให้อีก 1 เล่ม

รางวัลกวีอาเซียน ประจำปี 2556 กระทรวงวัฒนธรรมได้ร่วมกับสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ได้มอบรางวัลสุนทรภู่ให้กับกวีที่มีผลงานดีเด่นจากประเทศอาเซียนเป็นครั้งแรก เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณของสุนทรภู่ และยกย่องความสามารถของกวีผูัสร้างสรรค์ผลงาน โดยกวีอาเซียนมีทั้งหมด 10 ท่าน สำหรับประเทศไทย ได้แก่ คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ของไทย

รางวัลกวีลุ่มแม่น้ำโขง ประจำปี 2557 นอกจาก คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ แล้วยังมีนักเขียนอีก 2 ท่านได้แก่ คุณกฤษณา อโศกสิน และคุณธีรภาพ โลหิตกุล อ่านคำประกาศเกียรติคุณของรางวัล

การประชุมเครือข่ายห้องสมุดในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกของ OCLC ครั้งที่ 6 (ภาควิชาการ)

จากการเข้าร่วมการประชุมเครือข่ายห้องสมุดในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกของ OCLC ครั้งที่ 6 หรือ 6th APRC Membership Conference(2014) หรือ OCLC 6th Asia Pacific Regional Council 2014 Membership Conference ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-14 ตุลาคม 2557 ณ เมืองเจจู สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ภายใต้หัวข้อเรื่อง “Collaboration in the Asia Pacific Century” นั้น บุคลากรของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ได้สรุปเนื้อหาตามหัวข้อต่างๆ ดังนี้ (กำลังทยอยนำขึ้นค่ะ)

บริเวณหน้างานลงทะเบียน
บริเวณหน้างานลงทะเบียน
ประเทศเจ้าภาพให้การต้อนรับผู้ร่วมงาน
ประเทศเจ้าภาพให้การต้อนรับผู้ร่วมงาน
ก่อนเริ่มพิธีเปิด
ก่อนเริ่มพิธีเปิด

Continue reading การประชุมเครือข่ายห้องสมุดในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกของ OCLC ครั้งที่ 6 (ภาควิชาการ)

จากสมุดหน้าเหลือง สู่ Online Directory

เมื่อก่อนสัก 20 ปีที่แล้ว ในยุคที่อินเทอร์เน็ตยังไม่แพร่หลาย หากเราต้องการค้นหาหมายเลขโทรศัพท์เพื่อติดต่อใครสักคน หลายคนคงนึกถึง สมุดหน้าเหลือง หรือ Yellow Pages เป็นแน่ หากเป็นการค้นหาหมายเลขติดต่อในองค์กร ก็คงหนีไม่พ้นสมุดที่รวบรวมรายชื่อ (Directory) ซึ่งกว่าจะเปิดหาได้ก็ใช้เวลาค่อนข้างนาน และกว่าอัพเดทข้อมูลกันสักทีก็ต้องรอกันเป็นปีเลยทีเดียว

Continue reading จากสมุดหน้าเหลือง สู่ Online Directory

OCLC ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด

DSC_7871

The World’s Libraries. Connected

วิสัยทัศน์ที่ถูกกำหนดไว้เป็นเครื่องมือชี้นำองค์กรที่สำคัญ ในกรณีของ OCLC ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับโลกที่กำหนดไว้ว่าจะเป็นห้องสมุดของโลก เชื่อมโยงห้องสมุดเข้าด้วยกันทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ในวงการห้องสมุดมาเป็นระยะเวลานาน

OCLC ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2510 โดยเฟรด คิลกอร์ ในสถานะขององค์กรไม่แสวงกำไร มีเป้าหมายในการดำเนินงานคือส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลของห้องสมุดทุกแห่งในโลกและเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านการผลิต การเข้าถึงข้อมูลแก่สาธารณชน ปัจจุบันมีห้องสมุดทั่วโลกมากกว่า 70,000 แห่ง ใน 86 ประเทศ เป็นสมาชิกของ OCLC สำนักงานใหญ่อยู่ในดับลิน รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา Continue reading OCLC ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด

หลักเกณฑ์การลงรายการเมทาดาทาสิ่งพิมพ์ประเภท ดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดทำหลักเกณฑ์การลงรายการเมทาดาทาสิ่งพิมพ์ประเภท ดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขึ้นเพื่อใช้เป็นคู่มือในการลงรายการเมทาดาทาสำหรับเอกสารประเภทดังกล่าว โดยกำหนดการลงตามมาตรฐานดับลินคอร์ (Dublin Core) รวมทั้งกำหนดการลงรายการเมทาดาทาในไฟล์ วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยเช่นกัน

รายละเอียดของหลักเกณฑ์การลงเมทาดาทาฯ

ธรรมศาสตรานุกรม 80 ปี

ธรรมศาสตรานุกรม
                                          ธรรมศาสตรานุกรม

ธรรมศาสตรานุกรม 80 ปี รวบรวมเหตุการณ์ต่างๆ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงปี พ.ศ. 2477-2557 และนับจากการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองในปี พ.ศ.2477 มหาวิทยาลัยก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษา อันเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญตามหลักหกประการของคณะราษฎร ที่ว่าด้วย “จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร” และนับแต่นั้นมา ประวัติศาสตร์ลและเรื่องราวของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงไม่อาจแยกขาดจากสังคมไทย หนังสือเล่มนี้ จึงได้รวบรวมเหตุการณ์สำคัญทางสังคมการเมืองของไทยเข้าไว้ด้วย โดยนำเสนอเนื้อหาตามลำดับเวลา

มธ. เปิดตัวห้องสมุดดิจิทัล

“To be a leader in library service and information literacy with the most up-to-date information and technology to create an international network of cooperation between libraries.” หรือ สำนักหอสมุดเป็นผู้นำบริการ ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยสารสนเทศและเทคโนโลยีนำสมัย สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในระดับนานาชาติ

จากวิสัยทัศน์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ดังข้อความข้างต้น สำนักหอสมุด มธ. ได้เปิดตัวห้องสมุดดิจิทัล ในโอกาสครบรอบ 80 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 27 มิถุนายน 2557 เพื่อแสดงถึงความสำเร็จส่วนหนึ่งที่บรรลุวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ โดยในวันนี้ (26 มิ.ย.) เวลา 14.00 น. ได้จัดงานแถลงข่าวและเปิดตัวห้องสมุดดิจิทัล

Continue reading มธ. เปิดตัวห้องสมุดดิจิทัล