Tag Archives: การอ่าน

นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ : อ่านเปลี่ยนชีวิต

แม้โลกจะเต็มไปด้วยสื่อให้เสพจำนวนมาก ข้อมูลเกิดขึ้น เปลี่ยนแปลง รวดเร็วแทบจะทุกวินาที โลกส่วนตัวของเราอาจจะหายไปโดยไม่รู้ตัว แต่คุณรู้หรือไม่ว่า โลกส่วนตัวที่เราโหยหา มันหาได้ไม่ยาก

นครินทร์ วนกิจไพบูลย์
นครินทร์ วนกิจไพบูลย์

“เคน” นครินทร์ วนกิจไพบูลย์  บรรณาธิการบริหาร THE STANDARD สำนักข่าวออนไลน์ พูดถึงวิธีการเสพสื่อที่ง่ายที่สุด ที่ช่วยสร้างโลกส่วนตัวให้เขาได้เกิดไอเดียใหม่ๆ  นั่นคือ “การอ่าน”  และ วิธีการเสพสื่อด้วย “การอ่าน” ได้นำพาหนังสือเล่มต่าง ๆ  ที่ทำให้เขาเปลี่ยน และมองโลกในมุมมองใหม่ ๆ ที่จะเติบโตไปพร้อม ๆ กับเขาในอนาคต Continue reading นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ : อ่านเปลี่ยนชีวิต

อ่าน อ่าน แล้วก็อ่าน

การอ่าน มีความสำคัญมากสำหรับทุกคน  เริ่มเรียนรู้หัดอ่านตั้งแต่ยังเป็นเด็กๆ ต้องฝึกทักษะในการอ่านผ่านเรื่องราวประสบการณ์ต่างๆ ที่เด็กสนใจ แม้ว่าเราจะเข้าสู่วัยชรา การอ่านก็ยังมีความสำคัญ   การอ่านทำให้รู้ข่าวสารข้อมูลต่างๆ และมีความอยากรู้อยากเห็น อยากเรียนรู้ ทำให้ผู้อ่านมีความสุขในการอ่าน

ดิฉันก็เป็นอีกคนที่ต้องสอนลูกอ่านหนังสือทุกวัน อ่าน อ่าน แล้วก็อ่าน เพื่อที่จะให้ลูกอ่านหนังสือให้ได้ ต้องฝึกทักษะในการอ่านทุกวัน เช่น การที่ให้ลูก อ่านภาพจากหนังสือนิทาน ลูกสามารถอธิบายจากภาพนั้นได้
อ่านเครื่องหมายและอ่านสัญลักษณ์ ลูกสามารถเข้าใจความหมายของเครื่องหมายและสัญลักษณ์นั้น  แล้วเริ่มให้อ่านสะกดคำจากหนังสือที่ลูกสนใจหรือหนังสือจากโรงเรียนให้มา เช่น กา นา ตา หู ขา อา ปู มา    ก่อนจะอ่านหนังสือ  ดิฉันจะตกลงกับลูกก่อนวันนี้จะอ่านบทไหนดีมีเรื่องไหนที่ลูกอยากอ่าน  ถ้าลูกอยากอ่านเรื่องนี้เขาจะมีความสุขในการอ่านมาก  เวลาหัดให้ลูกอ่านหนังสือคุณแม่ต้องใจเย็นๆ แม้ว่าลูกจะอ่านผิดอ่านถูกต้องค่อยๆ สอนเขาและให้กำลังใจลูกเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเขา  ถ้าลูกอ่านได้เราต้องชมเขาหน่อยเขาจะได้ดีใจและตั้งใจอ่านหนังสือ และควรปลูกฝังและส่งเสริมให้ลูกรักการอ่านอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เกิดความคุ้นเคยและเคยชินกับการอ่าน

1

2

3

ชั่วชีวัน ฉันอ่านได้ ไม่เบื่อเลย

ปาฐกถาพิเศษเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 “ชั่วชีวัน ฉันอ่านได้ ไม่เบื่อเลย” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการประชุมทางวิชาการสำนักงานวิทยทรัพยากร ประจำปี 2558 เรื่อง ก้าวไปด้วยกัน (Library 2015 : Together We Go) วันที่ 28 พฤษภาคม 2558 ณ โรงแรมอโนมา ถอดความโดยสรุปได้ ดังนี้

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สิ่งที่พระองค์ท่าน ทอดพระเนตร คือ เรื่อง ห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นมุมที่ไว้หนังสือ หรือจะเป็นห้องสมุดจริงๆ ไม่ว่าจะเล็ก หรือใหญ่ และสถานที่เสด็จฯ ไป shopping จริงๆ คือ ร้านหนังสือ  พระองค์ท่านไม่เพียงแต่อ่านหนังสือ จะเห็นว่าทรงพระราชนิพนธ์ ทรงทำหนังสือ ถ่ายหนังสือ เผยแพร่หนังสือ อ่านหนังสือ ตรวจหนังสือ จัดหนังสือ และทำให้คนอื่นอ่านหนังสือ มาโดยตลอด  พระองค์ท่านรับสั่งว่า ใครทิ้งหนังสือแสดงว่าไม่เคยทำหนังสือ ไม่เคยรู้ว่าหนังสือแต่ละเล่มกว่าจะเสร็จ ยากแค่ไหน พระองค์ท่าน ทรงเป็น genius คือ อ่านแล้วสังเกตออกมาได้   พระหัตถ์ของพระองค์ท่าน จะไม่ห่างจากหนังสือ นอกจากจะมีสมุดเล่มเล็กๆ ก็จะมีหนังสืออยู่เสมอ Continue reading ชั่วชีวัน ฉันอ่านได้ ไม่เบื่อเลย

การอ่าน ส่งผลต่อการนอนได้อย่างไร

เมือโลกเปลี่ยน ยุคสมัยเปลี่ยน ทำให้เทคโนโลยีมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น แล้วเราจะใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างไรให้เกิดประโยชน์ และด้วยสื่อสิ่งพิมพ์ปัจจุบัน ได้เปลี่ยนหนังสือที่เป็นกระดาษแผ่นๆ เป็นแบบ อิเล็กทรอนิกส์หรือ E-book มากขึ้น การใช้งานการกลุ่มคนบางกลุ่มก็เปลี่ยนเป็น E- reader มากขึ้นด้วย ซึ่งการอ่านหนังสือจากหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แล็บท็อป สมาร์ทโฟน อีรีดเดอร์ ได้มีผลงานวิจัยออกมาแล้วว่า มีผลในการรบกวนการนอนหลับในเวลากลางคืน นั่นเป็นเพราะแสงสีฟ้าจากหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

นักวิจัย Brigham and Women’s Hospital (BWH) ได้พบพฤติกรรมที่เป็นอันตรายของคนที่ชอบอ่านหนังสือประเภท อีบุ๊ค หรืออ่านจาก ไอแพด นั้นจะใช้เวลานานกว่าที่จะหลับสนิทและยังรู้สึกง่วงน้อยกว่าในตอนกลางคืน แถมช่วงเวลาที่หลับลึกก็สั้นกว่า เพราะมีการหลั่งสารเมลาโทนินอันเป็นฮอร์โมนที่จะเริ่มขึ้นในช่วงดึกที่ควบคุมความง่วงนั้นลดลง นอกจากนี้ คนที่อ่านไอแพดยังมีช่วงเวลาของนาฬิกาชีวภาพที่ช้ากว่าที่บ่งบอกโดยระดับของเมลาโทนิน ซึ่งจะช้าลงเป็นชั่วโมงเลยทีเดียว ทั้งนี้ คนที่อ่านไอแพดยังรู้สึกง่วงน้อยลงเมื่อใกล้ถึงเวลานอน แต่จะง่วงมากขึ้นและตื่นตัวน้อยกว่าเมื่อถึงตอนเช้าในวันต่อมาหลังเวลานอนผ่านไป 8 ชั่วโมง และ”แสงจากหน้าจอ

อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่จะฉายตรงเข้าไปในดวงตา ต่างจากการอ่านหนังสือธรรมดาหรือการอ่านจากคินเดิลที่เป็นอีรีดเดอร์รุ่นเก่าซึ่งแสงที่เข้าดวงตาผู้อ่านเป็นเพียงแสงสะท้อนจากหน้ากระดาษเท่านั้น และเมื่อการนอนถูกรบกวนก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยทำให้ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอ้วน เบาหวาน และมะเร็งเพิ่มขึ้น” ศาสตราจารย์ชาร์ลส์ เซสเลอร์ หัวหน้าคณะวิจัยกล่าวกับบีบีซี
เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เราก็ควรใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกวิธีกันนะคะ

อ้างอิงจาก
1. บีบีซีไทย. 2557. สืบค้นเมื่อวันที่ 21/04/2558 จาก
https://www.facebook.com/BBCThai/photos/a.1527194487501586.1073741828.1526071940947174/1591985911022443/
2. สุพาพร เทพยสุวรรณ. 2558. อันตรายจากการใช้ iPad ก่อนนอน สืบค้นเมื่อวันที่ 21/04/2558 จาก http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000042784

วันที่ 2 เมษายน

วันที่ 2 เมษายน เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  พระมิ่งขวัญอันเป็นที่รักยิ่งของคนไทย นอกจากนี้ ยังได้มีการกำหนดให้วันที่ 2 เมษายน เป็น วันอนุรักษ์มรดกไทย วันรักการอ่าน วันหนังสือเด็กแห่งขาติ วันสายใจไทย ซึ่งล้วนเนื่องมาจากพระมหากรุณาธิคุณในพระองค์

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 คณะรัฐมนตรีได้ประกาศให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกปี นับแต่ปี 2548 เป็นต้นไป เป็นวันหนังสือเด็กแห่งชาติ เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงส่งเสริมการอ่าน Continue reading วันที่ 2 เมษายน

รู้ทัน!!!! พฤติกรรมการอ่านหนังสือของคนไทย (2557-2558)

llll สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน วันนี้บรรณารักษ์ตัวจิ๋วมีข่าวมาบอก……..
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมาได้มีการประชุม แถลงข่าว “ผลวิจัย การอ่าน คนไทยอ่านอะไร” ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์ ดำเนินการวิจัยโดย คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและธุรกิจ ภายใต้ทุนสนับสนุนจาก สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) 

โดยผลสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของคนไทยภายใต้งานวิจัย “การศึกษาพฤติกรรมการอ่านและซื้อหนังสือของคนไทย” โดยได้สำรวจจากกลุ่มตัวอย่างเป้าหมายอายุ 15-69 ปี รวมจำนวนทั้งสิ้น 3,432 ตัวอย่าง จาก 8 จังหวัดหัวเมืองใหญ่ในประเทศไทย

พบว่า พฤติกรรมการอ่านโดยทั่วๆ ไป ของคนไทย ซึ่งรวมไปถึงตำราเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นเช่นเว็บไซต์ ฯลฯ  ส่วนใหญ่ 88% ระบุว่า อ่าน อีก 12% ระบุ ไม่อ่านเลย โดยให้เหตุผลในเรื่องของการไม่มีเวลาอ่าน สายตาไม่ดี และไม่ชอบอ่านหนังสือ

150223102006yRhT

Continue reading รู้ทัน!!!! พฤติกรรมการอ่านหนังสือของคนไทย (2557-2558)

การอ่านเพื่อความพร้อมในการเป็นพลเมืองอาเชียน

เมื่อวันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 ได้เข้าร่วมฟังบรรยาย เรื่อง การอ่านเพื่อความพร้อมในการเป็นพลเมืองอาเซียน ณ ห้องประชุม 7-10 อาคารห้องสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต วิทยากรในวันนั้น คือ คุณวรพันธ์ อุไรรัตน์ กรรมการผู้จัดการบริษัทสถาพรบุ๊คส์ จำกัด และอดีตนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

ประเด็นของการพูด ก็คือ ทำอย่างไรจะให้เด็กไทยอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น เพราะถ้าจะว่าไปแล้วความสามารถของประเทศไทยก็ไม่ได้ด้อยกว่าประเทศในแถบอาเซียน วิทยากรได้อ้างข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลกสิกรไทยโดยเปรียบเทียบไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ในหัวข้อต่างๆ ดังนี้

  • อันดับความสามารถในการแข่งขันของไทย หากปรียบเทียบกับประเทศในอาเซียนยังเป็นรองสิงคโปร์และมาเลเซีย แต่สูงกว่าอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
  • สถานะการแข่งขันของไทยลดลงมาเป็นลำดับ         ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่มีการพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้น โดยอุปสรรคที่สำคัญของไทยคือ การพัฒนาด้านการศึกษา เทคโนโลยีและนวัตกรรม ปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง รวมทั้งประสิทธิภาพของกลไกภาครัฐ
  • สิ่งที่ไทยต้องปรับปรุงเพื่อขีดความสามารถในการแข่งขัน                ต้องเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ เทคโนโลยีและสารสนเทศ  ศักยภาพของคน และเครือข่ายธุรกิจตลอดจนสร้างความโปร่งใสของกลไกรัฐ

การเรียนรู้โดยใช้แป้นพิมพ์แทนการเขียน กระทบต่อพัฒนาการทางสมองอย่างไร

งานวิจัยล่าสุดระบุว่ากระบวนการเรียนรู้โดยการเขียนช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ขณะที่การใช้แป้นคีย์บอร์ดและแป้นพิมพ์แบบสัมผัส อาจส่งผลกระทบต่อทักษะการอ่านของเด็ก เรื่องนี้อาจมีผลพวงต่อนโยบายด้านการศึกษาได้

ทุกวันนี้เด็ก ๆ ทั่วโลกใช้คอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น ร่วมทั้งแป้นคีย์บอร์ดแบบดั้งเดิมและแบบสัมผัส ขณะที่การเขียนด้วยมือลดน้อยลง งานวิจัยล่าสุดชี้ว่าอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมองและทักษะเชิงสร้างสรรค์

อ่านต่อได้ที่
https://www.facebook.com/BBCThai/posts/1612223675665333

เพื่อความก้าวหน้ากับ 6 ทักษะของวัยทำงาน

ในยุคที่ต้องแข่งขันแบบนี้  ใครที่มีความสามารถ  ใครที่มีศักยภาพในการทำงาน   ย่อมเป็นบุคคลที่ถูกจับตามองให้ได้รับโอกาศดีๆ  อย่างการเลื่อนขั้นหรือการขึ้นเงินเดือน   การที่เราจะอยู่ในจุดนั้นได้เราจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาศักยภาพในการทำงานของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น   ด้วยทักษะสำคัญทั้ง 6

1 . ทักษะการคิด  ฝึกการคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดในเชิงบวก   เมื่อเราไม่หยุดคิดหรือชอบคิดค้นสื่งใหม่ๆ  ให้กับตัวเองอยู่เสมอ     นอกจากจะช่วยให้เราเป็นคนกระตือรือร้นมีจินตนาการ  รู้จักพัฒนาและสามารถต่อยอดความคิดให้เป็น   ก็จะเป็นคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก Continue reading เพื่อความก้าวหน้ากับ 6 ทักษะของวัยทำงาน

“การอ่าน” เหมือนการมีลิ้นชักส่วนตัว … วรฎล อุทะกะ

“การอ่านก็เหมือนเรามีลิ้นชักเก็บของ สิ่งที่เราอ่านมันจะสะสมไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ตัว   และเราก็ไม่รู้หรอกว่าเราจะใช้มันเมื่อไร  มารู้อีกทีเราอาจจะเปิดลิ้นชักหยิบของมาใช้โดยไม่รู้ตัวก็ได้  อย่างวันนี้ อยากตัดเล็บ เปิดลิ้นชักเจอกรรไกรตัดเล็บก็หยิบขึ้นมาใช้ ทั้งที่เราก็ไม่รู้หรอกเราเก็บมันไว้ในลิ้นชักเมื่อไร ก็เหมือนกับการอ่านเราอ่านโดยไม่รู้ว่าหนังสือเล่มนั้น เล่มนี้จะเป็นเล่มโปรดของเรา แต่ถ้าในช่วงจังหวะนั้น เราได้อ่านหนังสือแล้วได้ใช้ประโยชน์จากมัน เล่มนั้นก็จะกลายเป็นหนังสือในดวงใจ ผมว่าการอ่านอาจจะไม่ได้เปลี่ยนชีวิตเรา แต่ผมเชื่อว่าการอ่านทำให้ชีวิตเราดีขึ้น”

วรฎล อุทะกะ หรือ คุณวอ นักร้องนำจากวงตลาดพลูคูลเพลย์  ได้พูดถึงการอ่านหนังสือ ในเวทีเสวนา งานวันมิตรห้องสมุด เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา พร้อมกับเล่าเรื่องราวเส้นทางสายดนตรีของวง “ตลาดพลู คลูเพลย์” เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ นักศึกษาที่มาร่วมเวทีเสวนาในวันนั้น

S__2203673
วอ – วรฎล อุทะกะ นักร้องนำ ตลาดพลู คลูเพลย์

Continue reading “การอ่าน” เหมือนการมีลิ้นชักส่วนตัว … วรฎล อุทะกะ