จากเว็บไซต์ ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้กล่าวถึง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและกำหนดข้อยกเว้นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง จะมีผลบังคับใช้ หลังจากที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 132 ตอนที่ 6 ก เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน “Digital Economy” การแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์เพื่อคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและกำหนดข้อยกเว้นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เว็บไซต์ต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตปลอดจากงานละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะกฎหมายฉบับนี้ได้ดึงให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ต Continue reading พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
Tag Archives: ลิขสิทธิ์
เรื่องเล่าจากสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับห้องสมุดละหอจดหมายเหตุ”
สัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับห้องสมุดละหอจดหมายเหตุ
วันพุธที่ 17 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00 – 17.00 น.
ณ ห้องประชุมอโนมา 1 โรงแรมอโนมา กรุงเทพมหานคร
การสัมมนาในวันนี้นับว่าเป็นประโยชน์ต่อบรรณารักษ์และผู้อยู่ในแวดวงของห้องสมุดและจดหมายเหตุเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากตลอดเวลาที่ผ่านมา มักมีการถกเถียง สงสัย หรือไม่แน่ใจในการให้บริการของห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นการสำเนาสิ่งพิมพ์ที่มีในห้องสมุด การจัดทำดิจิทัลไฟล์ หรือแม้กระทั่งการแปลเอกสารเพื่อการปฏิบัติงานในห้องสมุด
จากการบรรยายของวิทยากรแต่ละท่าน สิ่งซึ่งมักถูกอ้างอิงถึงเสมอเมื่อกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ คือมาตรา 32 วรรค 1 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ที่มา : พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
มาตรา 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้ Continue reading เรื่องเล่าจากสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับห้องสมุดละหอจดหมายเหตุ”
การทำจดหมายขออนุญาตเผยแพร่ดิจิทัล
คำว่า “ลิขสิทธิ์” เป็นคำที่เราได้ยินได้ฟังกันบ่อย ๆ เราจะคิดทำจะทำอะไรที่ใหม่ ๆ หรือประดิษฐ์อะไรใหม่ขึ้นว่าต้องมีลิขสิทธิ์ การเขียนหนังสือก็มีลิขสิทธิ์ ดังนั้นเมื่อบุคลากร อาจารย์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัย ได้ส่งตัวเล่มให้งานวางแผนและบริหารงานวิจัย สำนักงานบริหารการวิจัยดำเนินการตามขั้นตอนของส่วนงานวางแผนและบริหารงานวิจัยเรียบร้อยแล้ว ได้ส่งตัวเล่มให้สำนักหอสมุดดำเนินการบริการเผยแพร่ สำนักหอสมุดจะนำตัวเล่มที่มีเนื้อหาฉบับเต็มของผลงานใส่ไว้ในเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลทางเครือข่าย Internet แต่เนื่องจากผลงานวิจัยเป็นลิขสิทธิ์ทางปัญญาของผู้เขียนดังนั้น สำนักหอสมุดจึงต้องติดต่อขออนุญาตจากผู้เขียนก่อน ตามแบบฟอร์ม เพื่อสะดวกต่อเจ้าของผลงานเจ้าหน้าที่จะพิมพ์ชื่อ นามสกุล หน่วยงานที่สังกัด แล้วพิมพ์ชื่อเรื่อง ตามตัวอย่าง
เมื่อได้จดหมายอนุญาตเผยแพร่แล้ว จะส่งใบอนุญาต พร้อมตัวเล่มให้ฝ่ายสงวนรักษาวัสดุสารนิเทศเพื่อดำเนินการแปลงรูปทรัพยากรสารสนเทศเป็นดิจิทัล เมื่อฝ่ายสงวนรักษาฯดำเนินการเรียบร้อยแล้วจะส่งตัวเล่มกลับคืนฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศเพื่อติดบาร์โค้ต ประทับตราและวิเคราะห์เลขหมู่เพื่อให้บริการในรูปเล่มต่อไป
สิ่งที่ไม่มีลิขสิทธิ์
แม้ว่ากฎหมายลิขสิทธิ์จะให้ความคุ้มครองงานสร้างสรรค์ประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด แต่ก็มีบางสิ่งที่กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ให้ความคุ้มครอง ได้แก่ ความคิด ขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบ วิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ นอกจากนั้นตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 7 ยังกำหนดให้งานต่อไปนี้ไม่ถือเป็นงานลิขสิทธิ์ คือ Continue reading สิ่งที่ไม่มีลิขสิทธิ์
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
จากการเข้าร่วมฟังการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิสำหรับห้องสมุดและหอจดหมายเหตุ โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา วันพุธที่ 17 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมอโนมา 1 โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ นั้น
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นบรรณารักษ์ นักเอกสาร หรือผู้ปฏิบัติงานในการให้บริการสารสนเทศ เพราะหัวข้อบ่งบอกอย่างตรงๆ ว่า เกี่ยวข้องกับการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุด และหอจดหมายเหตุ ที่ปฏิบัติงานด้วยความไม่มั่นใจในกิจกรรมบางอย่าง ที่ดำเนินการอยู่ ในการสัมมนาวันนั้น วลีที่พูดกันบ่อยมาก ก็คือ Three-step test ของสนธิสัญญากรุงเบิร์น (ถ้าไม่ขัดต่อ 3 ขั้นนี้ หมายความถึง ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์) ใช้กับสิทธิผูกขาดเฉพาะตัวเกี่ยวกับการทำซ้ำโดยมาตรา 9 (2) ต่อมาได้ขยายไปสู่ข้อตกลงทริปส์ (Agreement on Trade Related Aspects of Intellectual Property Rights – TRIPs Agreement) มาตรา 13, WIPO Copyright Treaty (WCT) มาตรา 10 และ WIPO Performances and Phonograms Treaty (WPPT) มาตรา 16 เป็นต้น Three-step test (ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์) หมายรวมถึง
- กรณีเฉพาะ (certain special cases)
- ไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ (do not conflict with a normal exploitation of a work)
- ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร (do not unreasonably prejudice the legitimate interests of the author)