พี่วิโรจน์ (วิโรจน์ สาครชาติ) ทำงานในตำแหน่งพนักงานบริการ ปัจจุบันดูแลในส่วนประตูเข้า-ออก ณ ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มธ.ศูนย์รังสิต ต้องพบเจอนักศึกษาเข้า-ออกเป็นประจำ แต่สิ่งที่นักศึกษาจะได้พบเมื่อมาศูนย์การเรียนรู้ฯ หรือ หอสมุดป๋วยฯ คือ คำทักทายอย่างสุภาพและรอยยิ้มที่มีให้เสมอ Continue reading หลักคิดของผู้เกษียณ : วิโรจน์ สาครชาติ ซื่อสัตย์ อดทน ตรงต่อเวลา
Category Archives: การทำงาน
หลักคิดของผู้เกษียณ : พิตะวัน ศรีสิงห์ ให้บริการด้วยความเอาใจใส่
พี่นุ (พิตะวัน ศรีสิงห์) ทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ห้องสมุด โดยประจำห้องสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ (คณะเศรษฐศาสตร์) มาตั้งแต่ทำงานครั้งแรก (8 ม.ค.2528) ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของห้องสมุดตั้งแต่เริ่มเข้ามาทำงานจนถึงปัจจุบันรวมเวลา 30 กว่าปี Continue reading หลักคิดของผู้เกษียณ : พิตะวัน ศรีสิงห์ ให้บริการด้วยความเอาใจใส่
หลักคิดของผู้เกษียณ : กรองทอง จรัสวิมลพร ซื่อสัตย์ รักษาผลประโยชน์ขององค์กร
พี่กรอง (กรองทอง จรัสวิมลพร) เริ่มเข้ามาทำงานที่ห้องสมุดครั้งแรกเมื่อ 2 มกราคม 2530 โดยทำงานด้านการเงินมาโดยตลอด หน้าที่ที่ได้รับผิดชอบ ตั้งแต่การทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ตรวจสอบใบเสร็จ การผูกพันงบประมาณ การตัดจ่ายงบประมาณ ให้คำปรึกษาน้อง ๆ ที่ทำงาน Continue reading หลักคิดของผู้เกษียณ : กรองทอง จรัสวิมลพร ซื่อสัตย์ รักษาผลประโยชน์ขององค์กร
การใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital letters) ในส่วนการลงรายการข้อมูลบรรณานุกรม
การใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital letters) ในส่วนการลงรายการข้อมูลบรรณานุกรม
1. ชื่อย่อและอักษรย่อ
ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ในชื่อย่อและอักษรย่อขององค์กรที่เป็นที่รู้จัก โดยให้ยึดหลักตามองค์กรตามที่ปรากฏ เช่น
EU (European Union)
WTO (World Trade Organization)
TU (Thammasat University)
Continue reading การใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital letters) ในส่วนการลงรายการข้อมูลบรรณานุกรม
หลักคิดของผู้เกษียน: ทำงานต้องขยันและอดทน
“หลักการทำงานของพี่ ต้องขยันและอดทน พี่ต้องเตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเสมอ”
อารมณ์ พจน์สุนทร หรือ “พี่แกละ” ของชาวหอสมุดฯ ทำงานในตำแหน่งพนักงานบริการ ในสังกัดสำนักงานเลขานุการ บรรจุเข้าทำงานหอสมุดฯ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2537
Continue reading หลักคิดของผู้เกษียน: ทำงานต้องขยันและอดทน
Start with WHY? Why we need ISO Standard?
ทำไมต้อง ISO??
ทุกกระบวนการดำเนินงานที่เกิดขึ้นภายในองค์กร ล้วนเป็นไปเพื่อความสำเร็จของเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยทุกกิจกรรมนั้นประกอบด้วยต้นทุนด้านงบประมาณ แรงงาน และเวลาเป็นสำคัญ ซึ่งกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนอาจก่อให้เกิดสิ่งสูญเสียจากการดำเนินงาน ทั้งนี้จากการศึกษาตามแนวคิดแบบ Lean Six Sigma สามารถแบ่งประเภทของสิ่งสูญเสียได้ทั้งหมด 8 ประเภท ดังภาพ
มูลค่าของการสูญเสียนั้นมีทั้งแบบที่สามารถประเมินเป็นตัวเลขทางการเงินได้ และประเมินเป็นตัวเลขทางการเงินไม่ได้ นอกจากนี้การทำงานของทุกคนล้วนเป็นกิจกรรมที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่ความเคยชิน ด้วยเหตุนี้จำเป็นต้องนำระบบมาตรฐานในการดำเนินงานมาปรับใช้ อีกทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานในการพัฒนาประสิทธิภาพ และคุณภาพของการดำเนินงาน (PDCA)
หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงเลือกระบบบริหารงานคุณภาพมาตรฐาน ISO9001:2015 มาปรับใช้กับกระบวนการดำเนินงาน ด้วยความไม่ซับซ้อนของระบบ มีความยืดหยุ่น สามารถลดความสูญเสีย เพิ่มประสิทธิภาพ มีความเป็นมาตรฐาน ตลอดจนเพิ่มคุณภาพการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน และการให้บริการแก่ผู้รับบริการ อีกทั้งระบบดังกล่าวเป็นที่ยอมรับจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงเหมาะแก่การนำมาปรับใช้กับหอสมุดฯ เพื่อสนองตอบวิสัยทัศน์ในการก้าวเป็นหนึ่งในผู้นำด้านส่งเสริมการเรียนรู้และการวิจัยทุกที่ทุกเวลาในระดับเอเชีย แต่ทั้งนี้การใช้ระบบดังกล่าวยังมีข้อกำหนดที่พวกเราจำเป็นต้องรู้ และเข้าใจในการปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายอีก ซึ่งจะขอกล่าวถึงข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO9001:2015 ในครั้งต่อๆ ไป
วิธีแก้ปัญหาปรับลดแสงหน้าจอเครื่องไม่ได้
ในระหว่างการ MA ประจำเดือน ทีมเทคโนฯ พบว่าหลังจากที่ทำการอัพเดท windows แล้ว มีบางเครื่องที่พบปัญหาปรับลดแสงหน้าจอเครื่องไม่ได้
ปัญหาดังกล่าวนั้นเกิดจากไดรเวอร์การ์ดจอของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นยังไม่เป็นปัจจุบัน โดยจะมีวิธีแก้ไขดังขั้นตอนต่อไปนี้ Continue reading วิธีแก้ปัญหาปรับลดแสงหน้าจอเครื่องไม่ได้
ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการซ่อมและเย็บเล่มหนังสือขนาดใหญ่
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา Preservation CoP ร่วมกับห้องสมุดศูนย์รังสิต ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการซ่อมและเย็บเล่มหนังสือขนาดใหญ่ ให้แก่บุคลากรของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่สนใจจะเรียนรู้เกี่ยวกับการซ่อมหนังสือ การอบรมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 10 คน โดยมาจาก ห้องสมุดสาขาทั้งท่าพระจันทร์และรังสิต 6 คน จากงานพัฒนาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ 2 คน และจาก หอจดหมายเหตุ มธ.1 คน นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 1 คน ส่วนวิทยากรที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การซ่อมหนังสือ คือ นายธีวัฒ อมาตยสุนทร บุคลากรของห้องสมุดศูนย์รังสิต Continue reading ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการซ่อมและเย็บเล่มหนังสือขนาดใหญ่
Dublin Core Metadata
Dublin Core Metadata เป็นมาตรฐานการลงรายการเพื่อพรรณนาสารสนเทศดิจิทัลและเพื่อช่วยในการสืบค้นสารสนเทศดิจิทัลรายการนั้น โดยประกอบด้วยชุดข้อมูลย่อย 15 หน่วย คือ
1. Title (ชื่อเรื่อง)
– ชื่อของสารสนเทศดิจิทัลรายการนั้น ถูกกำหนดขึ้นโดยเจ้าของผลงานหรือผู้ที่รับผิดชอบ โดยลงรายการชื่อเรื่องที่ Title และถ้ามีชื่อเรื่องเทียบเคียงให้ลงรายการที่ Title.Alternative ตัวอย่างเช่น
Title แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์
Title.Alternative Harry Potter and the sorcerer’s stone Continue reading Dublin Core Metadata
การพิจารณาลงรายการหลักของทรัพยากรสารสนเทศ
รายการทางบรรณานุกรมเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับช่วยให้ผู้ใช้สืบค้นทรัพยากรสารสนเทศที่ตนเองต้องการ ซึ่งมีด้วยกันหลายรายการที่ใช้สืบค้นทรัพยากรฯ เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ ชื่อเรื่อง ชื่อการประชุม เป็นต้น บรรณารักษ์ผู้ลงรายการบรรณานุกรมจะเป็นผู้พิจารณาเลือกข้อมูลเหล่านี้ 1 รายการ เพื่อใช้เป็นรายการหลัก (Main entry) และข้อมูลที่เหลือจะเป็นรายการเพิ่ม (Added entry)