Category Archives: ห้องสมุด/พิพิธภัณฑ์

การประชาสัมพันธ์ห้องสมุดด้วยสื่อออนไลน์

การประชุมวิชาการ เรื่อง คิดเพื่อสร้างสรรค์การประชาสัมพันธ์ห้องสมุด (CREATIVITY in Library PR) โดย ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา
วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2557 ณ ห้องประชุมสำนักบรรณสารการพัฒนา ชั้น 6 อาคารบุญชนะ อัตถากร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

ปัจจุบันนี้โลกเต็มไปด้วยข้อมูลมากมาย เทคโนโลยี่การสื่อสารการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดโลกทั้งใบเชื่อมถึงกันได้อย่างเสรี บทบาทของห้องสมุดต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ให้ทันกับพฤติกรรมของผู้ใช้บริการเพราะห้องสมุดเป็นแหล่งที่มีทรัพยากรมากมายและหลากหลายรูปแบบ อาทิ สิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ รูปแบบเว็บเบส และ Application บนอุปกรณ์โมบาย ทำให้การประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรและบริการของห้องสมุดต้องปรับเปลี่ยนไป เพราะผู้ที่มาใช้บริการของห้องสมุดไม่ได้เป็นกลุ่มเดิมอีกต่อไป แต่ทุกคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องล้วนแต่มีโอกาสเป็นผู้ใช้บริการได้ทั้งสิ้น

Continue reading การประชาสัมพันธ์ห้องสมุดด้วยสื่อออนไลน์

เมื่อไฟไหม้ทำอย่างไรดี?

หากพูดถึงไฟไหม้หรืออัคคีภัย คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นเป็นแน่ ไม่ว่าจะกับที่อยู่อาศัยของตัวเอง ที่ทำงาน หรือไม่ว่าจะเป็นที่ใดๆ ก็ตาม เพราะหลังจากเปลวเพลิงสงบลงจะเหลือเพียงซากของความสูญเสียในทุกครั้งไป ไม่ว่าจะเป็นชีวิต หรือทรัพย์สิน ตรงกับสุภาษิตคำพังเพยที่ว่า “โจรขึ้นบ้านสิบครั้งไม่เท่าไฟไหม้บ้านครั้งเดียว” ถ้าหากเปรียบห้องสมุดเป็นบ้านคงต้องกล่าวว่า “หนังสือหายสิบครั้งไม่เท่ากับไฟไหม้ครั้งเดียว”  

10858116_694343857351513_2294543425341599210_n
อาคารศูนย์การเรียนรู้ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ห้องสมุดเป็นสถานที่เก็บรวมรวมสารสนเทศประเภทต่างๆ มากมาย ทรัพยากรของห้องสมุดนั้นส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยกระดาษ กระดาษ และกระดาษ ซึ่งหากเกิดไฟไหม้ขึ้น จะเป็นเชื้อไฟอย่างดี หากผู้ปฏิบัติงานทราบว่าวิธีการรับมือที่ถูกต้องแล้ว เมื่อเกิดเหตุขึ้นก็จะพพอให้สามารถควบคุม หรือลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้

Continue reading เมื่อไฟไหม้ทำอย่างไรดี?

แนะนำห้องสมุดสังเวียน อินทรวิชัย

ห้องสมุดคณะพาณิชยศาตร์และการบัญชีเริ่มต้นจากการเป็นห้องอ่านหนังสือให้ บริการเฉพาะอาจารย์ในคณะ ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 พัฒนาไปเป็นห้องสมุดสังกัดคณะให้บริการทั้งคณาจารย์และนักศึกษา  ปี พ.ศ.2519 โอนไปสังกัดสำนักหอสมุดแต่ยังคงให้บริการสนับสนุนการเรียนการสอนของคณะเช่นเดิม

moto

ห้องสมุดมีพัฒนาการเติบโตไปพร้อมๆกับความก้าวหน้าของคณะซึ่งขยายหลักสูตร ต่างๆเพิ่มมากขึ้น เช่น หลักสูตร MBA และ X-MBA ซึ่งริเริ่มโดยศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย อดีตคณบดีระหว่างปี พ.ศ. 2527-2529 เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณูปการของท่านจึงได้เปลี่ยนชื่อห้องสมุดคณะพาณิช ยศาสตร์และการบัญชีเป็นห้องสมุดศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย เมื่อปี พ.ศ. 2551

ปัจจุบันห้องสมุดตั้งอยู่ที่ชั้น 4 อาคารคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

แหล่งข้อมูล: http://main.library.tu.ac.th/panitlib/index.php/th/about-library.html

 

2015 ASEAN Integration : Prospects and Opportunities for Academic Libraries in the Philippines

 

01

2015 ASEAN Integration: Prospects and Opportunities for Academic Libraries in the Philippines เป็นหัวข้อเรื่องที่นำเสนอในการประชุมเครือข่ายห้องสมุดในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกของ OCLC ครั้งที่ 6
เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2557 ณ Jeju Grand Hotel สาธารณรัฐเกาหลี โดย Sharon Maria S. Esposo-Betan ซึ่งเป็นหัวหน้าบรรณารักษ์ที่ College of Engineering Libraries, University of the Philippines โดยนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและบรรณารักษศาสตร์ในประเทศฟิลิปปินส์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ Continue reading 2015 ASEAN Integration : Prospects and Opportunities for Academic Libraries in the Philippines

Google บริจาค $1 ล้าน ให้เข้าถึงออนไลน์ได้

ข่าวจากบทความ   เรื่อง “Google donates $1 million to help NY libraries get people online”  เป็นเรื่องราวต่อเนื่องจาก ข่าวห้องสมุดประชาชนแห่งนครชิคาโก และห้องสมุดประชาชนแห่งนครนิวยอร์ค ให้ยืม WiFi hotspots เพื่อให้เข้าถึงอินเทอร์เน็ต Google ได้บริจาค 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อการนี้ อ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.engadget.com/2014/12/03/google-ny-library-donation/

 

 

ห้องสมุดให้ยืม WiFi hotspots

ได้อ่านข่าวห้องสมุดประชาชนแห่งนครชิคาโกและห้องสมุดประชาชนแห่งนครนิวยอร์คเริ่มโครงการให้ยืม WiFi hotspots แก่ครอบครัวที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต หรือเข้าถึงได้ยาก เพื่อเปิดโอกาสให้ติดตามการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ตได้  ลองติดตามรายละเอียดดูนะคะ
http://www.engadget.com/2014/06/25/libraries-lending-out-wifi-hotspots/  บ้านเมืองเค้าสนับสนุนการศึกษากันน่าดู

Pathfinder เส้นทางการหาสารสนเทศ

Pathfinder เป็นตัวช่วยให้ผู้ใช้บริการ เช่น นักศึกษา นักวิจัย  ในการวางแผนการหาสารสนเทศ เป็นเหมือนแผนที่นำทางสำหรับการบอกสารสนเทศที่สำคัญๆ หรืออาจจะพูดง่ายๆ ได้ว่า pathfinder เป็นเสมือนเนวิเกเตอร์ของสารสนเทศนั่นเอง

การสร้าง Pathfinder ต้องร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างบรรณารักษ์และการเรียน การสอนในชั้นเรียน เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์มากที่สุด วัตถุประสงค์ของ Pathfinder ก็คือ การนำเสนอทรัพยากรสารสนเทศที่เลือกสรรแล้ว ทั้ง สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อไม่ตีพิมพ์

Pathfinder เป็นเรื่องที่คุ้นเคยในห้องสมุดมานานหลายปีแล้ว เพราะช่วยประหยัดเวลาให้กับนักศึกษา นักวิจัยได้เป็นอย่างดี การสร้าง pathfinder จะช่วยเสริมทักษะการสืบค้นและเสริมความสามารถของบรรณารักษ์ในการเข้าใจหรือมีความชัดเจนในหัวข้อ เพื่อให้สามารถหาแหล่งสารสนเทศที่มีคุณภาพ การทำ pathfinder ที่ดีจะเป็นเสมือนเครื่องมืออ้างอิงอย่างหนึ่ง Continue reading Pathfinder เส้นทางการหาสารสนเทศ

เรื่องเล่าจากน้องฝึกงาน ม.ทักษิณ

หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มธ.ศูนย์รังสิต เป็นสถานที่ที่ให้ประสบการณ์การทำงานด้านห้องสมุดแก่นักศึกษาทางด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์แก่หลายสถาบันได้เข้ามาฝึกงานและเรียนรู้วิธีการทำงานจริงภายในห้องสมุด

ล่าสุด  3 นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ได้เข้ามาฝึกงาน ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน และเพิ่งเสร็จสิ้นไปเมื่อสิ้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา Continue reading เรื่องเล่าจากน้องฝึกงาน ม.ทักษิณ

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา ห้องสมุดแห่งรอยยิ้ม

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2557 เวลา 11.00 – 12.00 น. ได้รับโอกาสให้เดินทางเข้าเยี่ยมชมงานบริการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี โดยนางสาวนิสาชล กาญจนพิชิต ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริการสารสนเทศ ได้ให้เกียรติต้อนรับคณะและนำชมงานบริการของสำนักหอสมุดอย่างอบอุ่น จึงรวบรวมและเก็บภาพบรรยากาศของห้องสมุดมาให้ชมกันค่ะ

PB170783
อาคารสำนักหอสมุด ม.บูรพา

Continue reading ห้องสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา ห้องสมุดแห่งรอยยิ้ม

มาทำความรู้จักกับ Altmetrics (ตอนที่ 2)

ในบทความตอนที่ 1 ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า บรรณารักษ์ต้องเป็นผู้สนับสนุนใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การแจ้งงานวิจัยล่าสุด การสนับสนุนการทดลองด้วยการวัดแบบ altmetrics และการให้ความรู้เกี่ยวกับ altmetrics

ดังนั้น บรรณารักษ์จึงต้อง:

  1. การศึกษาวรรณกรรม บรรณารักษ์ควรทำความรู้จักกับ altmetrics ด้วย วรรณกรรมต่างๆ  เช่น- SPARC report เช่น Article-level metrics primer ซึ่งเป็น การวัดในระดับบทความ (article-level metrics)
    – Altmetrics: Rethinking the Way We Measure
    – Introduction Altmetrics: What, Why and Where?
    – สื่อนำเสนอ เรื่อง How libraries can empower scholars (and scholarly communication) through altemetrics โดย Heather Piwowar
    – สื่อนำเสนอ เรื่อง Altmetrics are here: are you ready to help your faculty? โดย Stacy Konkiel
    17 More Essential Altmetrics Resources (the Library Version)
    –  Altmetrics in the wild: Using social media to explore scholarly impact
    Can Tweets Predict Citations? Metrics of Social Impact Based on Twitter and Correlation with Traditional Metrics of Scientific Impact
    Prevalence and use of Twitter among scholars
    Clickstream Data Yields High-Resolution Maps of Science
    Altmetrics Collection (PLOS Collections)
    – เข้าไป join กับ Altmetrics Mendeley groupฯลฯรายการอ้างอิง:

    Lapinski, Scott, Piwowar, Heather and Priem, Jason. How librarians can help prepare faculty for the next generation of research impact metrics. College & Research Libraries News vol. 74 no. 6 292-300. Retrieved 14112014 fromhttp://crln.acrl.org/content/74/6/292.long