Category Archives: ห้องสมุด/พิพิธภัณฑ์

โรงเรียนลอยน้ำ Makoko Floating School

Makoko เป็นชุมชนแออัดริมทะเลสาบที่เมือง Lagos ประเทศ
Nigeria ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของทวีปแอฟริกาติดอาว Gulf of Guinea
สภาพคงคล้ายกับสลัมคลองเตยเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว ชาวบัานส่วนใหญ่
เป็นชาวประมงที่หากินกับทะเลสาบ สร้างบ้านใต้ถุนสูงบนที่ชายเลนด้วย
วัสดุตามแต่จะหาได้ในพื้นที่ ชุมชนนี้ไม่มีถนนที่รถยนต์เข้าได้ ไม่มีระบบ
สาธารณูปโภค ไม่มีแม้แต่แผ่นดินที่มั่นคงแข็งแรงจะอาศัยอยู้ ในฤดูที่ฝนตก
และมีพายุก็เสี่ยงที่จะพังลงมาเมื่อใดก็ได้ชุมชนนี้มีผู้อยู่อาศัยประมาณ
80,000 คน มีโรงเรียนประถมเพียงโรงเรียนเดียวซึ่งก็ไม่มีสภาพดีไปกว่า
บ้านเรือนโดยรอบเท่าใด ในปีค.ศ. 2011 ได้เกิดโครงการ Makoko
Floating School ขึ้น โดยความร่วมมือระหว่างบริษัท Nle (www.
nleworks.com) ซึ่งมี Kunle Adeyemi สถาปนิกชาวไนจีเรียที่ไปมี
ชื่อเสียงโด่งดังในยุโรปเป็นหัวหน้าทีม, United Nations Development
Programme (UNDP), และมูลนิธิ Heindrich Boell Foundation
ประเทศเยอรมนี เพื่อเป็นอาคารต้นแบบที่สามารถทนต่อพายุและ
นํ้าท่วมได้ ใช้วัสดุท้องถิ่นที่ราคาไม่แพง ได้รับการออกแบบให้ประหยัด
พลังงาน และมีระบบจัดการสภาพแวดล้อมที่กลมกลืนกับธรรมชาติ

ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง:
โรงเรียนลอยน้ำ Makoko Floating School. โดมทัศน์ 33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 32-41.

หนอนน่ารัก

แนะนำการส่งเสริมการอ่าน หนอนหนังสือนอกจากอ่านแล้วยังมีการพบปะหน้าตา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน จะทำอย่างไรให้หนอนหนังงสือเพิ่มมากขึ้นๆ

ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้

ายการอ้างอิง:
ชูมาน ถิระกิจ. หนอนน่ารัก.  โดมทัศน์ 33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 48-53.

มนุษย์เจ้าปัญหา

ผู้เขียน (คุณชูมาน ถิระกิจ) ได้กล่าวว่า ในชีวิตประจำวัน เราต้องพบปะกับคนมากมาย บางคนก็น่ารัก น่าทำงานด้วย อยู่ใกล้แล้วสบายใจ บางคนก็อยู่ใกล้แล้วขาดทุนทางอารมณ์ ต้องฝึกสมองประลองปัญญาที่จะติดต่อสื่อสารด้วยอย่างหนัก วันไหน เจอเข้าสัก 4-5 คนก็อ่วมแล้ว Hara Estroff Marano
(Psychology Today. May/June 2012) จัดกลุ่มมนุษย์เจ้าปัญหาที่มักทำให้คนเจ้าปัญหาที่มักทำให้คนรอบข้างเหน็ดเหนื่อยในอารมณ์ไว้ 4 แบบคือ……… (แล้วเราจะเป็นมนุษย์เจ้าปัญหาหรือเปล่านะ)

(ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้)

รายการอ้างอิง:
ชูมาน ถิระกิจ.  มนุษย์เจ้าปัญหา. โดมทัศน์ 33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 54-58.

ภัยหน้าจอ

ผู้เขียน (คุณชูมาน ถิระกิจ) ลองค้น “คอมพิวเตอร์กับสุขภาพ” หรือ “computer and health” ได้ link มาเยอะมาก apple.com ก็มีบทความเกี่ยวกับ ergonomics ว่าจะต้องดูแลร่างกายอย่างไรจึงจะไม่เสี่ยงการบาดเจ็บจากการใช้คอมพิวเตอร์อย่างละเอียดพร้อมรูปประกอบชัดเจน (http://www.apple.com/about/ergonomics/) แสดงว่าปัญหาสุขภาพที่มากับการใช้คอมพิวเตอร์มีนัยที่สำคัญต่อชีวิตประจำวัน และสุขภาพที่มากับการใช้คอมพิวเตอร์มีนัยที่สำคัญต่อชีวิตประจำวัน และเราควรต้องใส่ใจกับมันแล้ว  (เขาถึงได้บอกว่าสุขภาพดีไม่มีขาย นอกจากตัวเราเองที่จะใส่ใจดูแลรักษา) 

ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง:
ชูมาน ถิระกิจ. ภัยหน้าจอ. โดมทัศน์ 33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 59-72.

จริยธรรมการวิจัยในคน

ผู้เขียน (คุณรุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน) ได้กล่าวว่า การมีโอกาสเป็นกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนนับเป็นโอกาสดีได้เปิดมุมมอง ได้รับความรู้-เรียนรู้สิ่งใหม่ การเป็นอนุกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนเป็นงานที่หลังจากเกษียณแล้วยังอาสาสมัครปฏิบัติอยู่ อ่าน-พิจารณาโครงงานวิจัยเดือนละประมาณ4 เรื่อง ประชุมคณะอนุกรรมการฯ เดือนละ 1 ครั้ง (9.00-16.00 น.) ตั้งใจว่าจะเผยแพร่-เชิญชวนให้บุคลากรต่างๆ โดยเฉพาะสายสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์เข้ารับการอบรมและเข้าร่วมเป็นกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ซึ่งเป็นทั้งการ “พัฒนาตนเอง” และ “พัฒนา (สังคม) การวิจัย”

ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้

รุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน. จริยธรรมการวิจัยในคน. โดมทัศน์ 33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 42-47.

Library services in changing contexts : Report from Taiwan

การประชุมเครือข่ายห้องสมุดในกลุ่มเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 6
( OCLC 6th Asia Pacific Regional Council 2014 Membership Conference) วันที่ 13 ตุลาคม 2557 ช่วงบ่ายเป็นการบรรยายโดยวิทยากรตัวแทนจากประเทศไต้หวัน  Professor Chien-Kang Huang (Department of Engineering Science and Ocean Engineering, National Taiwan University)  ซึ่งมาบรรยายในหัวข้อ “Library services in changing contexts”  หรือการบริการของห้องสมุดในบริบทที่เปลี่ยนไป แต่จะเปลี่ยนไปในทิศทางไหน มีรายละเอียดโดยสรุปดังนี้

Professor Chien-Kang Huang
วิทยากร Professor Chien-Kang Huang

Continue reading Library services in changing contexts : Report from Taiwan

Connecting people to people, knowledge and country: ภารกิจของหอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์

เมื่อวันที่ 13-14 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุม OCLC 2014 Asia Pacific Regional Council Membership Conference 6th ณ ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ก็เลยอยากจะเล่าสู่กันฟังถึงหนึ่งในหัวข้อของการประชุมในวันนั้น ซึ่งก็คือ หัวข้อการบรรยายของ Mr. Beh Chew, Leng ที่ปรึกษาหอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ เรื่อง Connecting people to people, knowledge and country

10743326_933673519993340_1663392142_n

สิงคโปร์เป็นประเทศเล็กๆ ที่ไม่มีทรัพยากรทางธรรมชาติ แต่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและสามารถพัฒนาประเทศได้อย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะผู้คนมีระเบียบวินัย ใฝ่หาความรู้และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้อย่างยั่งยืนให้กับประชากรของประเทศ

อีกหนึ่งหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญไม่แพ้กันในเรื่องของการพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้อย่างยั่งยืนของประชาชน นั่นก็คือ หอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารงานของคณะกรรมการห้องสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ และภายใต้การบริหารของบอร์ดชุดเดียวกันนี้ ก็ยังมีห้องสมุดประชาชนอีกจำนวน 25 แห่ง และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

Mr. Beh Chew, Leng เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามกระตุกต่อมคิดของคนทำงานห้องสมุดว่า ถ้าพูดถึงห้องสมุดแล้วจะต้องนึกถึงหนังสือ นั่นคือสิ่งที่ถูกต้องแล้วหรือเปล่า? ไม่ล้าสมัยไปนะ?

Continue reading Connecting people to people, knowledge and country: ภารกิจของหอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์

บทบาท Subject Liaison บทเส้นทางอาชีพบรรณารักษ์

ผู้เขียน (กนกวรรณ บัวงาม) ได้กล่าวถึงโอกาสที่ Mr. Larry Ashmun มาเยือนเมืองไทยโดยได้ทุน Fulbright และได้ร่วมงานกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อแนะนำการ Romanization ข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย จึงได้มีโอกาสพูดคุยเล่าถึงการทำงานของ Mr. Larry โดยเฉพาะงานทำงาน ในหน้าที่ Subject Liaison ณ Memorial Library University of Wisconsin-Madison Mr. Larry Ashmun ในฐานะที่เป็นบรรณารักษ์มืออาชีพ ได้ให้หลักในการทำงานแก่บรรณารักษ์รุ่นใหม่ที่น่าสนใจหลายประการ โดยเฉพาะคำพูดที่ว่า “เป็นบรรณารักษ์ต้องรักบริการ ถ้าไม่รักบริการแล้วจะมาเป็นบรรณารักษ์ทำไม”ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง:
กนกวรรณ บัวงาม. บทบาท Subject Liaison บทเส้นทางอาชีพบรรณารักษ์. โดมทัศน์ 33,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2555) : 61-72.

แนวโน้มเทคโนโลยีใหม่ในแวดวงห้องสมุด : เก็บตกมาเล่าจากที่ประชุม IATUL ครั้งที่ 33

ผู้เขียน (จันทนีย์ พานิชผล)  ได้ร่วมการประชุม IATUL ครั้งที่ 33 ที่ประเทศสิงคโปร์ IATUL หรือ International Association of Scientific and Technological University Libraries  ระหว่างวันที่ 4–7 มิถุนายน  2555 โดยมีหัวข้อการประชุม คือ Library strategies for new generation users ข้อมูลที่นำเสนอในที่ประชุมตลอดเวลา 3 วันสะท้อนให้เห็นภาพความก้าวหน้าในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้พัฒนางานบริการของห้องสมุดทั่วโลกซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกสบาย ลดความห่างเหิน ระหว่างห้องสมุดกับผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์เช่น Smart phone หรือ Social media พัฒนาการดังกล่าวย่อมตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้ให้เพิ่มมากขึ้นเพราะห้องสมุดกับผู้ใช้บริการพูดภาษาเดียวกัน คือ Digital language บรรณารักษ์เองก็พิสูจน์ให้เห็นว่ามีความรอบรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกับผู้ใช้ ทำให้ปัญหา Digital divide น้อยลง อย่างไรก็ดี บรรณารักษ์ยังคงต้องแสวงหาความรู้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีตลอดเวลาเพื่อก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

รายการอ้างอิง:

จันทนีย์ พานิชผล.  แนวโน้มเทคโนโลยีใหม่ในแวดวงห้องสมุด : เก็บตกมาเล่าจากที่ประชุม IATUL ครั้งที่ 33.  โดมทัศน์ 33,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2555) : 49-60.

นวัตกรรมใหม่ของบริการห้องสมุด

จากการเข้าประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 33 ของ International Association of Scientific and Technological University Libraries (IATUL’s 33rd Annual Conference) ระหว่างวันที่ 4-7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ณ Nanyang Technological University  ที่ประเทศสิงคโปร์ เรื่อง Library Strategies for New Generation Users มีผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศต่างๆ นำเสนองานวิจัย และงานวิชาการที่น่าสนใจที่เกี่ยวกับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งแบ่งออกได้ 3 หัวข้อใหญ่ๆ คือ การเรียนรู้กับผู้ใช้ (learning and users)  เทคโนโลยีและสื่อใหม่ๆ (technology and new media) บริการห้องสมุดและการพัฒนา (library services and development) ผู้เขียน (พูลสุข ปริวัตรวรวุฒิ) ในฐานะบรรณารักษ์งานบริการจึงได้รวบรวมเรียบเรียงบริการห้องสมุดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่น่าสนใจที่ได้จากการประชุมครั้งนี้มานำเสนอ

เนื้อหาโดยสรุปดังนี้

รายการอ้างอิง:
พูลสุข ปริวัตรวรวุฒิ. นวัตกรรมใหม่ของบริการห้องสมุด. โดมทัศน์ 33,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2555) : 30-48.