Category Archives: คู่มือ/แนวปฏิบัติ

การบันทึกรายการใน Sanayan

Sanayan คือ โปรแกรมโอเพนซอร์ส ที่สามารถจัดเก็บทั้งเอกสารดิจิทัลและลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดได้

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำโปรแกรมนี้ มาใช้เพื่อลดการสั่งซื้อหนังสือซ้ำกันของห้องสมุดสาขา ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ

สำหรับหนังสือใหม่ที่หอสมุดปรีดีฯจัดหามาจะนำรายชื่อหนังสือเหล่านี้ไปบันทึกข้อมูลในโปรแกรม Sanayan ซึ่งต้องตรวจสอบหนังสือในโปรแกรม Sanayan ก่อนว่าไม่มีหนังสือเล่มนี้เพื่อหนังสือจะได้ไม่ซ้ำกับห้องสมุดสาขาอื่นๆ ถ้าหนังสือซ้ำในโปรแกรม Sanayan จะไม่นำหนังสือบันทึกลงในฐานข้อมูล (นอกจากกรณีที่หนังสือไม่เพียงพอให้บริการกับอาจารย์และนักศึกษาจึงจะสั่งซื้อเพิ่ม) ถ้าหนังสือที่ตรวจสอบใน โปรแกรม Sanayan ไม่พบว่ามีในฐานข้อมูล ให้บันทึกลงในฐาน  ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ Continue reading การบันทึกรายการใน Sanayan

การให้บริการ Renew ทรัพยากรสารสนเทศ

สมาชิกห้องสมุดทุกท่านสามารถยืมหนังสือต่อได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง  โดยทำการยืมหนังสือต่อได้ด้วยตนเอง
ที่หน้าจอสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดที่  http://koha.library.tu.ac.th

ขั้นตอนการ Renew ทรัพยากรสารสนเทศ ด้วยตนเอง

  • คลิกเลือกที่ Borrower Info.
  • พิมพ์เลขทะเบียนนักศึกษา 11 หลัก
  • พิมพ์เลข วัน/เดือน/ปีเกิด ของสมาชิก  ตัวอย่าง  021158
  • คลิกที่ Checked out/Renew
  • คลิกเลือกรายการหนังสือที่ต้องการยืมต่อ

ข้อควรทราบเกี่ยวกับการยืมหนังสือต่อ

  1. ต้องไม่เป็นหนังสือที่มีผู้ใช้บริการท่านอื่นจองอยู่ (Request)   ซึ่งเมื่อมีการจองเกิดขึ้น ระบบจะล็อค ทำให้จะไม่สามารถยืมต่อได้
  2. กรณีที่ผู้ใช้บริการไม่สามารถทำการยืมหนังสือต่อได้ด้วยตนเอง สามารถติดต่อขอให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดดำเนินการให้ได้ โดยไม่ต้องนำหนังสือที่ต้องการยืมต่อมาที่ห้องสมุด

การใช้งานเครื่อง EDC ง่ายนิดเดียวถ้าได้ปฎิบัติจริง

20150209_150104
เครื่อง EDC

เครื่อง EDC คือเครื่องที่ใช้ปรับค่าปรับนักศึกษาโดยใช้บัตร  SMART PURSE โดยที่นักศึกษาต้องไปเติมเงินเข้าบัตรที่ธนาคารกรุงไทยสาขาธรรมศาตร์ ท่าพระจันทร์ และสาขาศูนย์รังสิตก็ได้ก่อนถึงจะนำบัตรมาใช้กับเครื่อง EDC ได้   มีขั้นตอนง่ายๆดังนี้

Continue reading การใช้งานเครื่อง EDC ง่ายนิดเดียวถ้าได้ปฎิบัติจริง

การให้บริการยืมทรัพยากรสารสนเทศ

การให้บริการยืมทรัพยากรสารสนเทศ  เป็นบริการให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศด้วยระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ผู้ใช้บริการสามารถยืมทรัพยากรสารสนเทศได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน โดยใช้บัตรนักศึกษา บัตรข้าราชการ / พนักงานมหาวิทยาลัย ที่ติดรหัสบาร์โค้ดสมาชิกห้องสมุด

ขั้นตอนการให้บริการยืมทรัพยากรสารสนเทศ

  1. เข้าระบบห้องสมุดอัตโมัติ โดยพิมพ์ staff.koha.library.tu.ac.th จากนัั้น Log in เพื่อเข้าสู่ระบบการยืม
  2. คลิกเลือก Circulation จากนั้นคลิกเลือก Check Out เพื่อทำการยืมทรัพยากรสารสนเทศ
  3. อ่านรหัส ID Card ของผู้ใช้บริการ คลิก Submit
  4. อ่านรหัสบาร์โค้ด ของทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อบันทึกรายการยืม
  5. พิมพ์สลิปรายการทรัพยากรสารสนเทศที่ยืม
  6. ลบสัญญาณแม่เหล็กทรัพยากรสารสนเทศ
  7. นำทรัพยากรสารสนเทศพร้อมสลิปรายการทรัพยากรสารสนเทศที่ยืม ให้ผู้ใช้บริการด้วยขั้นตอนง่ายๆ เท่านี้เอง นักศึกษาก็สามารถยืมทรัพยากรสารสนเทศด้วยตนเองได้แล้ว

การบริการหนังสือพิมพ์รายวัน

การบริการหนังสือพิมพ์รายวันของหอสมุดปรีดี พนมยงค์

เจ้าหน้าที่หอสมุดปรีดี พนมยงค์  ได้จัดเตรียมหนังสือพิมพ์ขึ้นชั้นทั้งหมด ก่อนที่ห้องสมุดจะเปิดบริการ หนังสือพิมพ์ที่ให้บริการที่หอสมุดปรีดีฯ  จะมีทั้งหมด 18 รายชื่อ  เช่น กรุงเทพธุรกิจ มติขน  สยามรัฐ  BANGKOK POST THE NATION เป็นต้น ขั้นตอนการเตรียมหนังสือพิมพ์เพื่อให้บริการ มีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

  1. นำหนังสือพิมพ์จากตู้รับหนังสือพิมพ์ที่อยู่หน้าประตูชั้น 1 มาที่ หอสมุดปรีดีฯ
  2. ประทับตราห้องสมุด ที่หน้าแรกของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ
  3. จัดเรียงตามลำดับเลขหน้าหนังสือพิมพ์ให้เรียบร้อย ก่อนเย็บเล่มด้วยลวดเย็บกระดาษ
  4. จัดเรียงขึ้นชั้น ตามลำดับอักษรชื่อหนังสือพิมพ์

การเตรียมจัดทำหนังสือพิมพ์ให้บริการนี้ เพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็ว ในการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ

การตรวจผู้เข้าใช้ห้องสมุด

การตรวจผู้เข้าใช้ห้องสมุด

งานตรวจการเข้าใช้ห้องสมุดปรีดี พนมยงค์  โดยการบันทึกข้อมูลบัตรนักศึกษาในระบบอัตโนมัติ เพื่อให้นักศึกษาใช้บัตรนักศึกษาเปิดประตูอัตโนมัติ ถ้าเป็นอาจารย์หรือบุคลากรของมหาวิทยาลัย จะใชับัตรที่ทางมหาวิทยาลัยออกให้ ส่วนบุคคลภายนอกจะต้องเสียค่าบริการก่อนเข้าใช้ ซึ่งทางห้องสมุดจะออกคูปองให้ และนำคูปองมาแสดงให้เจ้าหน้าที่ ก็จะเปิดประตูให้   ในกรณีที่นักศึกษาไม่นำบัตรนักศึกษามา สามารถที่จะเข้าใช้ได้โดย

  1. นำบัตรประจำตัวประชาชนหรือใบขับขี่รถยนต์ มาสแกนไว้เป็นหลักฐาน
  2. ไม่ได้นำบัตรต่างๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น ให้นักศึกษาเขียนชื่อ นามสกุล และรหัสนักศึกษาลงในสมุด
  3. ตรวจสอบเลขทะเบียนนักศึกษาในระบบ WISERF CARD ถ้าไม่มีในระบบ ก็จะตรวจสอบฐานข้อมูลสมาชิกในระบบยืมหนังสือ

ระบบนี้เป็นการตรวจสอบและบันทึกหลักฐานของผู้เข้าใช้ห้องสมุด เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ เช่น การลักขโมย ก็สามารถตรวจสอบผู้สงสัยได้ และเป็นการเก็บสถิติของผู้เข้าใช้ในแต่ละวันด้วย

การชำระเงินค่าปรับด้วยบัตรนักศึกษา SMART PURSE

การชำระเงินค่าปรับด้วยบัตรนักศึกษา เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารกรุงไทยกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกในการชำระค่าปรับและเป็นการลดงานของเจ้าหน้าที่ในการเก็บเงินและส่งเงิน  นักศึกษาสามารถเติมเงินในบัตร SMART PURSE ได้ตั้งแต่ 50-3,000 บาทที่เครื่อง ATM ที่ให้บริการ ณ ธนาคารกรุงไทย สาขามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์และสาขาศูนย์รังสิต หรือติดต่อเติมกับเจ้าหน้าที่ธนาคารก็ได้

ขั้นตอนการชำระเงินด้วยบัตร  SMART  PURSE

1. นักศึกษายืนบัตรให้เจ้าหน้าที่่เพื่อทำการ Update ยอดเงินในบัตร

2. ระบุจำนวนเงินค่าปรับพร้อมแตะบัตร

3. เครื่อง EDC ตัดเงินในบัตรพร้อมออกสลิป

4. ทำ Settlement เพื่อสรุปยอดค่าปรับ ณ สิ้นวัน

ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงานคิดว่าการชำระเงินค่าปรับด้วยบัตรมี ข้อดี ทำให้สะดวกและลดงานของเจ้าหน้าที่ในการเก็บรวบรวมเงิน  นับใบเสร็จ และส่งเงิน

ข้อเสีย นักศึกษาไม่สะดวกในการเติมเงินทำให้ค้างค่าปรับในชื่อนักศึกษาและมีบางคนไปเติมเงินมาแล้วมา Update  ยอดเงินในบัตรแล้วเงินเข้าบัตรไม่ครบขาดเป็น . สตางค์ก็มีนักศึกษาสอบถามเจ้าหน้าที่ธนาคารก็ไม่ทราบสาเหตอาจเป็นระยะแรกนักศึกษายังไม่คุ้นเคยแต่ในฐานะเจ้าหน้าที่คิดว่าดีคะ

RFID สำคัญอย่างไร ?

RFID  ย่อมาจากคำว่า  Radio Frequency Identification มีลักษณะเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเรามักจะเรียกว่า RFID tag ทำงานโดยอาศัยคลื่นวิทยุ ในการอ่านข้อมูลที่ติดอยู่กับ tag ห้องสมุดได้นำเทคโนโลยี RFID เพื่อประโยชน์ในหลายๆ ด้าน เป็นการลดภาระงาน ลดค่าใช้จ่าย ผู้ใช้สามารถใช้บริการด้วยตนเอง ด้วยการยืม-คืนหนังสือด้วยตนเองผ่านเครื่องยืม-คืนอัตโนมัติ การป้องกันการขโมยหนังสือ (กรณีที่ไม่ได้ยืมผ่านระบบ) การสำรวจหนังสือ เป็นต้น แต่ก่อนจะใช้ประโยชน์ได้ตังกล่าวนั้น ต้องมีการนำ RFID tag ติดกับหนังสือ ซึ่งมีกระบวนการ ดังนี้

วิธีดำเนินการ

1.       เปฺิดโปรแกรม Smart Tagging

Tag
Continue reading RFID สำคัญอย่างไร ?

จะรับได้มั๊ย??? (ว่าด้วยการพัสดุ)

เราชาวสำนักหอสมุดหลายคนคงเคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็น คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ในการจัดซื้อและการจัดจ้างทั่วไป ยกเว้นการจ้างก่อสร้าง แต่ท่านทราบกันหรือไม่ว่า หากท่านได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุแล้ว ท่านจะต้องมีหน้าที่อย่างไรบ้าง บทความนี้ผู้เขียนจึงขอนำสาระสำคัญของการตรวจรับพัสดุมาชี้แจงให้ท่านทราบ เพื่อให้ท่านได้ทำหน้าที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ถูกต้องและสอดคล้องกับระเบียบ

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕) มี 7 ข้อ หลักๆ ดังนี้

  1. ตรวจ ณ ที่นั้น

การตรวจรับพัสดุจะต้องทำ ณ ที่ทำการของพัสดุนั้น หรือสถานที่ส่งมอบซึ่งกำหนดไว้ในข้อตกลง

  1. ตรวจให้ครบ

ต้องตรวจรับพัสดุให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้

  1. ตรวจให้เร็วที่สุด

โดยปกติให้ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่ง และดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด

  1. ตรวจรับไว้เฉพาะที่ถูกต้อง

กรณีส่งมอบถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวน หรือครบจำนวนแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้อง และให้รีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการ

  1. รับพัสดุไว้พร้อมทำใบตรวจรับ

เมื่อการตรวจถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้รับพัสดุมามอบแก่เจ้าหน้าที่พัสดุพร้อมกับใบตรวจรับ และถือว่าการส่งมอบพัสดุถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่พัสดุนั้นมาส่ง

**แต่ถ้าไม่เป็นไปตามข้อตกลง ให้รายงานหัวหน้าส่วนราชการผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อทราบหรือสั่งการ

  1. พัสดุประกอบกันเป็นชุด ต้องส่งมอบให้ครบ

ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วทำให้ไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ ให้ถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างยังมิได้ส่งมอบพัสดุนั้น

  1. กรรมการไม่ยอมรับพัสดุ

หากคณะกรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับพัสดุ โดยทำความเห็นแย้งไว้ ให้เสนอหัวหน้าส่วน

จะเห็นได้ว่าการเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแต่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขข้อตกลงให้ชัดเจน และต้องมีความมละเอียดรอบคอบ ระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อหน่วยงานได้ หากพี่ๆ น้องๆ ชาวสำนักฯ มีเรื่องเกี่ยวกับงานพัสดุอื่นๆ ที่ยังไม่เข้าใจ ก้อสามารถสอบถามมาได้ที่ airriz@tu.ac.th งานพัสดุจะพยายามหาคำตอบมาให้นะคะ

การยืมเงินสำนักหอสมุด ขั้นตอนไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด

การทำงานในฝ่ายต่างๆ ของสำนักหอสมุด ต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ดังนั้นจึงต้องยืมเงินจากสำนักหอสมุดฯ โดยทำเป็นสัญญายืม เพื่อจะได้นำเงินมาใช้จ่ายในการดำเนินงานนั้น

บุคลากรสำนักฯ ที่ต้องทำสัญญายืมเงินกับสำนักฯ  มีขั้นตอนไม่ยุ่งยากซับซ้อน คือ

  1.  ต้องมีต้นเรื่องที่จะยืมเงิน ไปเพื่อทำอะไร เช่น  ซื้อสินค้า เพื่อจ้างซ่อม/จ้างทำของฝ่ายพัสดุ หรือจ่ายค่าลงทะเบียนอบรมสัมมนา, ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างจังหวัด พร้อมค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าที่พัก หรือเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดโครงการอบรมสัมมนาต่างๆ ของสำนักฯ และอื่นๆ   (ต้นเรื่องที่จะมาทำสัญญายืมเงินของสำนักฯ ต้องได้รับการอนุมัติก่อนทุกเรื่อง)
  2. เมื่อมีต้นเรื่องแล้ว  นำต้นเรื่องมางานงบประมาณการเงินและบัญชี เพื่อดำเนินการทำสัญญายืมเงิน (ก่อนทำสัญญายืมเงิน ฝ่ายงานงบประมาณฯจะตรวจเช็คผู้ที่จะมายืมเงินว่ามีหนี้สินค้างอยู่หรือไม่  หากมีหนี้เดิมค้างอยู่ก็จะยืมเงินไม่ได้)

ขั้นตอนการทำสัญญายืมเงิน

มีชื่อ-สกุล พร้อมตำแหน่ง หน่วยงานที่สังกัด ของผู้ที่จะยืมเงิน ยืมเงินจากงบอะไร ไปใช้ทำอะไร จำนวนเงินเท่าใด  ระยะเวลาในการใช้เงินที่ยืมไป  แล้วผู้ยืมลงนามขอยืมเงิน

ฝ่ายงานงบประมาณฯ ตรวจเอกสาร และลงนามเพื่อเสนอผู้มีอำนาจลงนาม
อนุมัติให้ยืมเงิน พร้อมลงนามในใบขออนุมัติเบิกจ่ายและใบเบิกของสหกรณ์ออมทรัพย์

ผู้มีอำนาจลงนามเรียบร้อยแล้ว ผู้ยืมเงินลงนามในสัญญายืมเงินและรับเงินยืมเพื่อไปใช้จ่ายในในการดำเนินงาน

ไม่ยุ่งยากเลยใช่ไหม ในการที่จะทำสัญญายืมเงินเป็นลูกหนี้เงินยืมกับสำนักหอสมุด