Category Archives: คู่มือ/แนวปฏิบัติ

เรียง เรียง เรียง (หนังสือ)

เป็นผู้ใช้ห้องสมุดมาตั้งแต่ปี 1 จนกระทั่งเกือบจะสำเร็จการศึกษาแล้วในปีการศึกษานี้  เข้ามาอ่านหนังสือในหอสมุดปรีดีฯ มักจะเห็นพี่ๆ เจ้าหน้าที่ห้องสมุดเรียงหนังสือกันอย่างขมักเขม้น เฝ้าสังเกตอยู่เสมอ รู้สึกว่า เป็นเรื่องที่ยากอยู่เหมือนกัน เพราะต้องมีความแม่นยำหลายๆ เรื่อง ได้พุดคุยกับพี่ๆ ถึงวิธีการเรียงหนังสือ เลยอยากมาเล่าสู่กันฟังว่า พี่ๆ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด มีวิธีการเรียงหนังสือ อย่างไร เอาแบบง่ายๆ ก่อนนะครับ

การนำหนังสือขึ้นชั้นมีวิธีการเรียงแบบง่ายๆ ดังนี้

  1. แยกหนังสือออกเป็นแต่ละภาษา คือ แยกเป็นหนังสือภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
  2. แยกตามประเภทของหนังสือ เช่น หนังสือทั่วไป วิทยานิพนธ์   นวนิยาย  และวารสาร เป็นต้น และจัดแบ่งตามหมวดย่อยอีกครั้ง
  3. นำหนังสือที่แบ่งตามหมวดย่อย ขึ้นชั้นพัก เพื่อรอเจ้าหน้าที่นำไปเรียงที่ชั้นหนังสือในห้องอ่านต่อไปแค่นี้ ก็พอจะมองเห็นว่า ยากอยู่นะครับ เพราะกว่าจะแยกภาษา แยกประเภท แล้วยังต้องมีความแม่นยำ ในเรื่องการเรียงพยัญชนะและเลขหมู่อีกด้วย

คู่มือ Cybersecurity ฉบับประชาชน

คู่มือ Cybersecurity ฉบับประชาชน
                                                  คู่มือ Cybersecurity ฉบับประชาชน

คู่มือ Cybersecurity ฉบับประชาชน หรือ คู่มือแนวทางปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ภาคประชาชน  โดย คณะอนุกรรมการความมั่นคงเครือข่ายและข้อมูลในกิจการโทรคมนาคมและกิจการวิทยุคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จัดทำหนังสือเล่มนี้ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารอย่างชาญฉลาด รู้ทันกลโกงต่างๆ มีถึง 9 บท ด้วยกัน ได้แก่

  • เทคโนโลยีกับปัญหาความปลอดภัย
  • การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตให้ปลอดภัย
  • ระวังอันตรายเรื่องข้อมูลส่วนตัว
  • ระวังอันตรายเรื่องข้อมูลตำแหน่งที่อยู่
  • ระวังอันตรายจากการหลอกลวงรูปแบบต่างๆ
  • ระวัง! แอพพลิเคชั่นอันตราย
  • Chat, Comment, Like และ Share อย่างไรให้ปลอดภัย
  • ระวังอันตรายอื่นๆ จากการออนไลน์หรือใช้อุปกรณ์ไม่เหมาะสม
  • ระวังผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรม

เนื้อหาเยอะก็จริงค่ะ แต่มีประโยชน์อ่านง่าย น่าติดตามอ่่านนะคะ ที่ http://t.co/VfJ3Z4wSTJ

หลักเกณฑ์ วิธีการประเมิน : การทำผลงานเพื่อการเข้าสู่ชำนาญการตำแหน่งชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ

การอบรมหลักเกณฑ์ วิธีการประเมิน : การทำผลงานเพื่อการเข้าสู่ชำนาญการตำแหน่งชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ จัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 30 กันยายน 2557 ณ ห้องประชุมปรีดี พนมยงค์ ชั้น 3 อาคารโดมบริหาร มธ.รังสิต เป็นโครงการอบรมให้ความรู้แก่ข้าราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ  หัวข้อในการอบรมในครั้งนี้แบ่งเป็น 2 หัวข้อหลักคือ

  1. เส้นทางความก้าวหน้าในสายบริหาร สำหรับข้าราชการ/พนักงานมหาวิทยาลัย (สายสนับสนุนวิชาการ)
  2. เส้นทางความก้าวหน้าในสายวิชาชีพ สำหรับข้าราชการ/พนักงานมหาวิทยาลัย (สายสนับสนุนวิชาการ)

    โดยมีวิทยากรจากมหาวิทยาลัยมหิดล 2 ท่าน คือ นางจริยา ปัญญา และนางสาวปิยนุช รัตนกุล ได้อธิบายถึงหลักเกณฑ์ วิธีการประเมินฯ ของมหาวิทยาลัยมหิดล และการทำผลงานให้ได้ตำแหน่ง (โดยการเล่าประสบการณ์ของตนเอง)

Continue reading หลักเกณฑ์ วิธีการประเมิน : การทำผลงานเพื่อการเข้าสู่ชำนาญการตำแหน่งชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ

คู่มือการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha ในโมดูลต่างๆ

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดทำคู่มือการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha ในโมดูลต่างๆ  เพื่อเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์การใช้งานระบบห้องสมุดดังกล่าว โดยมีรายละเอียดของแต่ละโมดูล ดังนี้

 

 

หลักเกณฑ์การลงรายการเมทาดาทาสิ่งพิมพ์ประเภท ดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดทำหลักเกณฑ์การลงรายการเมทาดาทาสิ่งพิมพ์ประเภท ดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขึ้นเพื่อใช้เป็นคู่มือในการลงรายการเมทาดาทาสำหรับเอกสารประเภทดังกล่าว โดยกำหนดการลงตามมาตรฐานดับลินคอร์ (Dublin Core) รวมทั้งกำหนดการลงรายการเมทาดาทาในไฟล์ วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยเช่นกัน

รายละเอียดของหลักเกณฑ์การลงเมทาดาทาฯ

เลขหมู่ระบบใหม่ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปรับกระบวนการทำงานในการกำหนดเลขหมู่หนังสือเพื่อให้สามารถทำตัวเล่ม ออกให้บริการโดยเร็ว และเพื่อสะดวกในการเข้าถึงหนังสือ รวมทั้งเพื่อง่ายต่อผู้ปฏิบัติงานในการจัดเรียงหนังสือบนชั้น โดยจำแนกหมวดหมู่ตามสาขาวิชาของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ทั้งสาขาวิชาหลัก และสาขาวิชาย่อย 61 สาขาวิชา เลขหมู่ระบบใหม่จะประกอบด้วย อักษรย่อสาขาวิชา อักษรหมวดในสาขาวิชา ปีพิมพ์ และหมายเลขระเบียนของทรัพยากรสารสนเทศ (คือ หมายเลขระเบียนบรรณานุกรมหรือ Bib No.)

ตัวอย่าง

EDU  หมายถึง  สาขาวิชาหลัก

LA      หมายถึง  สาขาวิชาย่อ History of Education

2014  หมายถึง  ปีพิมพ์

699999  หมายถึง  Bib.No.

รายละเอียดการกำหนดเลขหมู่ใหม่

แนวปฏิบัติที่ดีการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์ (Printed materials) (พ.ศ. 2556-2560) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แนวปฏิบัติที่ดีการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์ (Printed materials) (พ.ศ. 2556-2560) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย นโยบายเพื่อการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์ (Printed materials) (พ.ศ. 2556-พ.ศ. 2560) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ขั้นตอนและแนวปฏิบัติการดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์

แนวปฏิบัติที่ดีการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์

คู่มือการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรสารสนเทศที่มีค่าหายาก

คู่มือการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรสารสนเทศที่มีค่าหายาก  โดย โสรัตน์ กาลออง ได้รวบรวมข้อมูลในด้านการป้องกันและวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศที่มีค่าหายาก และจัดทำเป็นคู่มือ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่า เนื้อหาประกอบด้วย ลักษณะของหนังสือหายาก ทำไมต้องอนุรักษ์หนังสือหายาก วัสดุอุปกรณ์ในการอนุรักษ์ การใช้ทำตัวทำละลายขจัดรอยเปื้อนบนเอกสาร การทำความสะอาด การลดกรด การซ่อมแซมเล็กน้อย การกำจัดแมลงในทรัพยากรสารสนเทศ การตรวจสอบอุณหภูมิและความชื้น การทำกล่องและซองเพื่อการเก็บรักษาเอกสารและหนังสือ

คู่มือการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรสารสนเทศที่มีค่าหายาก

แนวปฏิบัติ เรื่่อง การกำหนดหัวเรื่องและเลขหมู่ทางการแพทย์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แนวปฏิบัติ เรื่่อง การกำหนดหัวเรื่องและเลขหมู่ทางการแพทย์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วยแนวปฏิบัติเรื่องการกำหนดหัวเรื่อง การกำหนดหัวเรื่องภาษาไทย การกำหนดเลขหมู่ เขตข้อมูลที่ใช้ลงรายการทางบรรณานุกรมแก่ทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และการแพทย์  เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติงานในงานจัดการข้อมูลให้มีความเข้าใจและมีแนวปฏิบัติในการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน

เนื้อหาของแนวปฏิบัติ