Category Archives: คู่มือ/แนวปฏิบัติ

การลงรายการชื่อพระสงฆ์ทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยของหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สมณศักดิ์ หมายถึง ยศพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานมีหลายชั้น แต่ละชั้นมีพัดยศเป็นเครื่องกำหนด

พัดยศ หมายถึง เครื่องประกอบสมณศักดิ์ที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานพระเถระผู้ทรงคุณูปการต่อประเทศชาติและพุทธศาสนา และเป็นการเชิดชูเกียรติพระรูปนั้นๆ และพัดยศยังเป็นเครื่องบ่งบอกชั้นยศแต่ละชั้นของพระภิกษุสงฆ์ผู้ที่ได้รับ

ราชทินนาม หมายถึง  ชื่อที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทาน ใช้กำกับยศหรือบรรดาศักดิ์ขุนนาง สมณศักดิ์พระสงฆ์ Continue reading การลงรายการชื่อพระสงฆ์ทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยของหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการซ่อมและเย็บเล่มหนังสือขนาดใหญ่

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา Preservation CoP  ร่วมกับห้องสมุดศูนย์รังสิต ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการซ่อมและเย็บเล่มหนังสือขนาดใหญ่ ให้แก่บุคลากรของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่สนใจจะเรียนรู้เกี่ยวกับการซ่อมหนังสือ การอบรมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 10 คน โดยมาจาก ห้องสมุดสาขาทั้งท่าพระจันทร์และรังสิต 6 คน จากงานพัฒนาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ 2 คน และจาก หอจดหมายเหตุ มธ.1 คน นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 1 คน ส่วนวิทยากรที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การซ่อมหนังสือ คือ นายธีวัฒ อมาตยสุนทร บุคลากรของห้องสมุดศูนย์รังสิต Continue reading ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการซ่อมและเย็บเล่มหนังสือขนาดใหญ่

การพิจารณาลงรายการหลักของทรัพยากรสารสนเทศ

รายการทางบรรณานุกรมเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับช่วยให้ผู้ใช้สืบค้นทรัพยากรสารสนเทศที่ตนเองต้องการ ซึ่งมีด้วยกันหลายรายการที่ใช้สืบค้นทรัพยากรฯ เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ ชื่อเรื่อง ชื่อการประชุม เป็นต้น  บรรณารักษ์ผู้ลงรายการบรรณานุกรมจะเป็นผู้พิจารณาเลือกข้อมูลเหล่านี้ 1 รายการ เพื่อใช้เป็นรายการหลัก (Main entry) และข้อมูลที่เหลือจะเป็นรายการเพิ่ม (Added entry)

Continue reading การพิจารณาลงรายการหลักของทรัพยากรสารสนเทศ

การลดหย่อนค่าปรับ

เทคนิคง่ายๆ  ในการลดหย่อนค่าปรับ 

งานบริการยืม-คืน เป็นงานบริการหลักสำคัญบริการหนึ่งที่มีการใช้บริการกันมากในแต่ละวัน  โดยสิทธิการยืมจะแตกต่างกันทั้งจำนวนเล่ม และระยะเวลาในการให้ยืมตามประเภทของสมาชิก   สามารถยืมต่อทางอินเทอร์เน็ต (renew) ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ซึ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ยืมเป็นอย่างมากโดยไม่ต้องนำเล่มมายืมต่อที่ห้องสมุด แต่หากมีผู้อื่นจองหนังสือที่ยืมจะไม่สามารถยืมหนังสือต่อได้  และเมื่อนำหนังสือมาคืนห้องสมุดเกินวันกำหนดส่ง  จะเสียค่าปรับ ซึ่งค่าปรับที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่นอกจากเกิดจากการที่ยืมต่อไม่ได้แล้ว  ยังเกิดจากการที่ไม่ได้ทำการยืมหนังสือต่อเมื่อถึงวันกำหนดส่งจะด้วยเหตุใดก็ตาม  ทำให้เกิดค่าปรับตามจำนวนวันที่เกินกำหนดส่ง และตามประเภทของทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดกำหนดดังนี้
Fine rate2

ที่มา    https://library.tu.ac.th/th/library-service/lending-renewing-service

ซึ่งห้องสมุดมีนโยบายลดหย่อนค่าปรับ 1 ใน 3 ของค่าปรับทั้งหมด  แต่ต้องมียอดค่าปรับไม่ต่ำกว่า 300 บาท  โดยผู้ยืมมากรอกแบบคำร้องขอลดหย่อนค่าปรับหนังสือ (QF-LS-08) ได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ของห้องสมุดสาขาทุกแห่ง โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง

example from2

ภาพที่ 1. ตัวอย่างการกรอกแบบคำร้องขอลดหย่อนค่าปรับหนังสือ
(QF-LS-08)

หลังจากที่ผู้ใช้บริการกรอกแบบคำร้องขอลดหย่อนค่าปรับหนังสือ (QF-LS-08) เรียบร้อยแล้ว ผู้ปฏิบัติงานจะทำการลดหย่อนค่าปรับในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KOHA  โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. ใส่ Username และ Password เพื่อ Login เข้าสู่ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KOHA

Login2

  1. ที่หน้าจอ Check Out ให้พิมพ์เลข ID ของผู้ใช้บริการที่มาขอลดหย่อน จากนั้นคลิกที่ Submit” หรือ กด Enter”
    Fine
  2. จะปรากฎหน้าจอข้อมูลของผู้ใช้บริการ ให้คลิกที่เมนู Fines”Fine2
  3.  จะปรากฏหน้าจอแสดงค่าปรับทั้งหมด  ดังภาพ ผู้ปฏิบัติงานคำนวณจำนวนเงินค่าปรับ คือจำนวนเงินที่ลดหย่อน และจำนวนเงินที่ผู้ใช้บริการต้องจ่ายจริง
     ตัวอย่าง  กรณีมีค่าปรับทั้งหมด 1,155 บาท ลดหย่อน 1 ใน 3 คือจำนวนเงิน  385 บาท ผู้ใช้บริการต้องจ่ายจริงจำนวนเงิน 770 บาท  โดยคลิกที่ Pay amount” ดังภาพpayment
  4. ให้ทำการ Pay ค่าปรับในส่วนที่ผู้ใช้บริการจะต้องจ่ายก่อน โดยกรอกจำนวนเงินที่ช่อง Collect from patron” จากนั้นคลิกที่ Confirm”
    Payment2
  5. ค่าปรับที่เหลือให้คลิกที่ Write off all” จากนั้นให้คลิกที่ OK”
         เพื่อลบค่าปรับทั้งหมดที่เหลือให้เป็น “0”  ไม่ให้มียอดค่าปรับคงค้างในชื่อของผู้ใช้บริการ
    write off
  6. ตรวจสอบอีกครั้ง โดยคลิกที่เมนู Fines” จะปรากฏหน้าจอไม่มีค้างค่าปรับ ดังภาพ
    nune2
  7. ผู้ปฏิบัติงาน ออกใบเสร็จการรับเงินให้กับผู้ใช้บริการเพื่อเป็นหลักฐานการชำระเงิน  และเก็บ“แบบคำร้องขอลดหย่อนค่าปรับหนังสือ”
    (
    QF-LS-08)  ไว้เพื่อตรวจสอบกับรายการ Report ค่าปรับ
    ในแต่ละวันต่อไป@@ คู่มือรายละเอียดการปฏิบัติงาน : เรื่องการเก็บ-ส่งเงินค่าธรรมเนียม ค่าปรับ และการชดใช้ทรัพยากรสารสนเทศหาย/ชำรุด (QH-LS-05)
    ดูที่  https://eportal.tu.ac.th  

การใช้หัวเรื่องย่อยในหัวเรื่องทางการแพทย์

หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาทางการแพทย์เข้าห้องสมุดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ทางฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศจึงกำหนดหัวเรื่องเฉพาะสำหรับทรัพยากรฯทางการแพทย์ เพื่อให้หัวเรื่องที่ครอบคลุมและตรงกับเนื้อหาของทรัพยากรมากที่สุด โดยใช้หัวเรื่องของLC (Library of Congress) และNLM (National Library of Medicine)  ถ้าเนื้อหาส่วนใหญ่ของทรัพยากรเป็นทางด้านสังคมศาสตร์จะให้หัวเรื่อง LC แต่ถ้าเนื้อหาเป็นทางแพทยศาสตร์จะให้หัวเรื่อง NLM
สำหรับหัวเรื่องทางการแพทย์NLM ที่หอสมุดใช้อยู่ในปัจจุบัน มีกฎการให้หัวเรื่องย่อยกลุ่มบุคคลและชื่อภูมิศาสตร์ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการให้หัวเรื่องทางการแพทย์แก่บรรณารักษ์ ดังต่อไปนี้

Continue reading การใช้หัวเรื่องย่อยในหัวเรื่องทางการแพทย์

การเก็บสถิติการจองหนังสือในระบบ KOHA

การเก็บสถิติการใช้บริการการจองทรัพยากรสารสนเทศ  ใน Circulation Module  ของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KOHA   สามารถเก็บสถิติได้ทั้งแบบรายวัน  รายเดือน  และรายปี  มีขั้นตอนที่ทำได้ง่ายและไม่
ยุ่งยาก  ดังนี้
ขั้นตอนการเก็บสถิติการจองหนังสือในระบบ KOHA

ขั้นตอนการ Update ข้อมูลประตูอัตโนมัติ กรณีนักศึกษาจบการศึกษา

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะ Update ข้อมูลนักศึกษาที่แจ้งจบการศึกษาตามข้อมูลสำนักทะเบียนและประมวลผลส่งมา เพื่อตรวจสอบหนังสือค้างส่งของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีกี่เล่ม และมีค่าปรับในการยืมหนังสือหรือไม่กรณีถ้ามีเจ้าหน้าที่ยืม-คืนจะล็อคข้อมูลในการขึ้นทะเบียนบัณฑิตที่หน้าเว็บไฃต์ของสำนักทะเบียนฯ และจะกำหนดวันหมดอายุการยืมหนังสือในห้องสมุด จากนั้นจะส่งรายชื่อมาให้เจ้าหน้าที่ในการล็อคข้อมูลในการเข้าใช้ประตูอัตโนมัติด้วย Continue reading ขั้นตอนการ Update ข้อมูลประตูอัตโนมัติ กรณีนักศึกษาจบการศึกษา

การเก็บสถิติยืม–คืนหนังสือในระบบ KOHA

การเก็บสถิติการใช้บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ใน Circulation Module  ของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KOHA  สามารถเก็บสถิติได้ทั้งแบบรายวัน  รายเดือน  และรายปี  มีขั้นตอนที่ทำได้ง่ายและไม่ยุ่งยาก  ดังนี้
ขั้นตอนการเก็บสถิติยืม–คืนหนังสือในระบบ KOHA

ประโยชน์ของการได้รับการอบรม

tes3

ลืมกันยัง….!!!! ว่าบุคลากรทุกคนของสำนักหอสมุด  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะต้องลงบันทึกชั่วโมงการอบรมของตัวเอง  ไม่ว่าจะไปอบรมที่ไหนเรื่องอะไรในแบบฟอร์มการอบรมของบุคลากร  เพื่อประโยชน์ของตัวเองและสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Continue reading ประโยชน์ของการได้รับการอบรม