Tag Archives: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักหอสมุด

เลขหมู่ระบบใหม่ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปรับกระบวนการทำงานในการกำหนดเลขหมู่หนังสือเพื่อให้สามารถทำตัวเล่ม ออกให้บริการโดยเร็ว และเพื่อสะดวกในการเข้าถึงหนังสือ รวมทั้งเพื่อง่ายต่อผู้ปฏิบัติงานในการจัดเรียงหนังสือบนชั้น โดยจำแนกหมวดหมู่ตามสาขาวิชาของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ทั้งสาขาวิชาหลัก และสาขาวิชาย่อย 61 สาขาวิชา เลขหมู่ระบบใหม่จะประกอบด้วย อักษรย่อสาขาวิชา อักษรหมวดในสาขาวิชา ปีพิมพ์ และหมายเลขระเบียนของทรัพยากรสารสนเทศ (คือ หมายเลขระเบียนบรรณานุกรมหรือ Bib No.)

ตัวอย่าง

EDU  หมายถึง  สาขาวิชาหลัก

LA      หมายถึง  สาขาวิชาย่อ History of Education

2014  หมายถึง  ปีพิมพ์

699999  หมายถึง  Bib.No.

รายละเอียดการกำหนดเลขหมู่ใหม่

RDA กับการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ: กรณีสำนักงานหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน

RDA กับการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ: กรณีสำนักงานหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน โดย ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556 เวลา 9.30-15.30 น. ณ ห้องส่งเสริมการรู้สารสนเทศ 1 ชั้น U1 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

เอกสารประกอบการบรรยาย

WordShare ILL : การยืมระหว่างห้องสมุดผ่านระบบ OCLC

ตามที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดตัว WordShare ILL ไปเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2557 นั้น บริการดังกล่าวเป็นการบริการยืมระหว่างห้องสมุดที่เราคุ้นเคยกันนั่นเอง แต่เป็นการระหว่างห้องสมุดของสมาชิกในเครือข่าย OCLC ทั่วโลก การจะให้บริการยืมดังกล่าวได้ สมาชิกจะต้องนำข้อมูลทางบรรณานุกรมของห้องสมุดเข้าในระบบ OCLC นับเป็นห้องสมุดในประเทศไทยแห่งแรกที่เริ่มเปิดการให้บริการดังกล่าว

เมื่อผู้ใช้ของสมาชิกในเครือข่ายสืบค้นรายการที่ต้องการแต่ปรากฏอยู่ในห้องสมุดแห่งอื่นๆ สามารถติดต่อห้องสมุดเพื่อขอสำเนาเอกสารหรือวัสดุอื่นๆ ได้ โดยปฏิบัติตามระเบียบการยืม ซึ่งเป็นการตกลงร่วมกันระหว่างห้องสมุดผู้ให้ยืมและห้องสมุดผู้ขอยืม ผ่านระบบส่วนกลางของ OCLC ทำให้ห้องสมุดในเครือข่ายสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ โดยมีระบบการคิดค่าใช้จ่ายที่ตั้งค่าในส่วนของค้าใช้จ่ายต่างๆ อย่างชัดเจนเป็นสากลทั้งในฝั่งที่เป็นผู้ให้ยืม และผู้ขอยืม มีความปลอดภัยในเรื่องลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ เอกสาร หรือเอกสารออนไลน์ต่างๆ ทาง OCLC จะเป็นตัวกลางในการทำ Contact Publisihng อีกทั้งยังมีระบบ Article Exchange ที่สามารถส่งไฟล์เอกสารได้ขนาดที่มากถึง 60 MB รองรับทุกนามสกุลและจะลบโดยอัตโนมัติหากมีการแล้วใน 5 วัน และถ้ายังไม่ได้เปิดอ่าน ระบบจะเก็บไว้ 30 วัน ในส่วนของระบบ Article sharing นั้น ระบบเอื้อให้สามารถแบ่งปันการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ได้อีกด้วย รวมทั้งมีระบบขอยืมAutomatic Deflection สำหรับกรณีที่มีผู้ต้องการยืมมากกว่า 1 แห่ง ห้องสมุดแห่งที่ 1 ไม่สามารถให้ยืมได้ ระบบจะดำเนินการหาห้องสมุดแห่งต่อไปให้โดยอัตโนมัติ และมีการจัดทำรายงานสรุปในภาพรวมเพื่อการวางแผนในการบริหารจัดการสารสนเทศต่อไปได้

รายการอ้างอิง:

OCLC. บริการยืมระหว่างห้องสมุดผ่านระบบ (OCLC Interlibrary Loan Service). [2557] (เอกสารสำเนาแจกในงานเปิดตัวห้องสมุดดิจิทัลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 26 มิถุนายน 2557)

มธ. เปิดตัวห้องสมุดดิจิทัล

“To be a leader in library service and information literacy with the most up-to-date information and technology to create an international network of cooperation between libraries.” หรือ สำนักหอสมุดเป็นผู้นำบริการ ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยสารสนเทศและเทคโนโลยีนำสมัย สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในระดับนานาชาติ

จากวิสัยทัศน์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ดังข้อความข้างต้น สำนักหอสมุด มธ. ได้เปิดตัวห้องสมุดดิจิทัล ในโอกาสครบรอบ 80 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 27 มิถุนายน 2557 เพื่อแสดงถึงความสำเร็จส่วนหนึ่งที่บรรลุวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ โดยในวันนี้ (26 มิ.ย.) เวลา 14.00 น. ได้จัดงานแถลงข่าวและเปิดตัวห้องสมุดดิจิทัล

Continue reading มธ. เปิดตัวห้องสมุดดิจิทัล

แนวปฏิบัติที่ดีการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์ (Printed materials) (พ.ศ. 2556-2560) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แนวปฏิบัติที่ดีการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์ (Printed materials) (พ.ศ. 2556-2560) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย นโยบายเพื่อการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์ (Printed materials) (พ.ศ. 2556-พ.ศ. 2560) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ขั้นตอนและแนวปฏิบัติการดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์

แนวปฏิบัติที่ดีการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์

Library Innovation using Linked Open Data

การบรรยาย Library Innovation using Linked Open Data  By Professor Vilas Wuwongse, Department of Electrical and Computer Engineering, Faculty of Engineering, Thammasart University วันที่ 10 สิงหาคม 2555 เวลา 13.30-16.00 น. ณ ห้องกิจกรรมเรวัต พุทธินันทน์ หอสมุดปรีด พนมยงค์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

การบันทึกภาพการบรรยาย (ตอนที่ 1)

 

 

การบันทึกภาพการบรรยาย (ตอนที่ 2)

แนวปฏิบัติ เรื่่อง การกำหนดหัวเรื่องและเลขหมู่ทางการแพทย์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แนวปฏิบัติ เรื่่อง การกำหนดหัวเรื่องและเลขหมู่ทางการแพทย์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วยแนวปฏิบัติเรื่องการกำหนดหัวเรื่อง การกำหนดหัวเรื่องภาษาไทย การกำหนดเลขหมู่ เขตข้อมูลที่ใช้ลงรายการทางบรรณานุกรมแก่ทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และการแพทย์  เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติงานในงานจัดการข้อมูลให้มีความเข้าใจและมีแนวปฏิบัติในการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน

เนื้อหาของแนวปฏิบัติ