สำนักหอสมุด ได้ร่วมกิจกรรมเปิดบ้าน TU Open House 2015 ระหว่างวันที่ 4-5 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การประชุมธรรมศาสตร์ รังสิต (อาคารยิมเนเซียม 1) แนะนำแหล่งบริการสารสนเทศที่สำคัญเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน Continue reading ควันหลง TU Open House ‘ 58
Tag Archives: การเรียนรู้ด้วยตนเอง
การเรียนภาษาอังกฤษจากการชมภาพยนตร์
การชมภาพยนตร์นั้น นอกจากความบันเทิงที่เราจะได้รับแล้ว ความเพลิดเพลิน สนุกสนาน ตื่นเต้นเร้าใจ ไม่ว่าจะด้วยในเนื้อเรื่อง เทคนิคการถ่ายทำ เสียงประกอบ เอฟเฟ็ตประกอบฉาก รวมทั้งเทคโนโลยี่ต่างๆมากมายที่อยู่ในภาพยนตร์เรื่องนั้นๆแล้ว เรายังได้รับผลพลอยได้จากการชมภาพยนตร์ ตามมาอีก อาทิ
ได้เรียนรู้ศิลปะวัฒนธรรม ประเพณี
ได้ศึกษาสังคม ประวัติศาสตร์
ได้วิธีคิด ค้นพบวิธีแก้ปัญหา
เสริมสร้างแรงบันดาลใจ
ก่อเกิดความคิดสร้างสรรค์
และอีกสิ่งหนึ่งทีสำคัญมากคือ ได้เรียนรู้ภาษา (ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม หรือ Soundtrack)
ในที่นี้จะกล่าวถึงภาษาอังกฤษ เพราะเป็นภาษากลางที่ได้รับความนิยมมาก และมีภาพยนตร์เสียงในฟิล์มภาษาอังกฤษมากมายให้ได้ฝึกฝน
Continue reading การเรียนภาษาอังกฤษจากการชมภาพยนตร์
ชมคลิปข่าวสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ เปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้ฯ มธ.
วันจันทร์ที่ 12 มกราคม 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลและบริหารจัดการ ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชครินทร์ รับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสทรงเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
เชิญชมคลิปข่าวสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ เปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้ฯ มธ. ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11
เชิญชมคลิปข่าวสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ เปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้ฯ มธ. ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9
เชิญชมคลิปข่าวสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ เปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้ฯ มธ. ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7
เชิญชมคลิปข่าวสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ เปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้ฯ มธ. ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 5
เชิญชมคลิปข่าวสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ เปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้ฯ มธ. ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
แนะนำศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มธ.ศูนย์รังสิต
ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มธ.ศูนย์รังสิต
สำนักหอสมุดได้จัดทำคลิปวิดีโอแนะนำศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มธ.ศูนย์รังสิต เพื่อบอกเล่าที่มาของการก่อสร้างและการออกแบบอาคารเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นห้องสมุดที่ไม่มีหนังสือ เน้นอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกสบายเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตอบสนองนโยบายสำคัญของมหาวิทยาลัยเพื่อการเป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
เวลาเปิด-ปิดบริการ
วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00 น. – 24.00 น. (เที่ยงคืน)
วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00 น. – 24.00 น. (เที่ยงคืน)
ปิดให้บริการในวันหยุดนักขัตฤกษ์
WorldShare Interlibrary Loan (WorldShare ILL)
WorldShare Interlibrary Loan (WorldShare ILL) เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่นำเสนอในวันเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558
WorldShare Interlibrary Loan (WorldShare ILL) เป็นระบบการยืมทรัพยากรสารสนเทศระหว่างห้องสมุดสมาชิกในเครือข่าย OCLC (Online Computer Library Center) ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในระดับนานาชาติ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสมาชิกของเครือข่าย OCLC ให้บริการสืบค้นข้อมูลจาก WorldCat Local ซึ่งเป็นฐานข้อมูล Global Union Catalog (ประกอบด้วยห้องสมุดสมาชิกว่า ๗ หมื่นกว่าแห่งทั่วโลก) และถ้าไม่พบหนังสือที่ต้องการในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่มีให้บริการที่ห้องสมุดอื่นๆ สามารถติดต่อขอยืมหนังสือดังกล่าวผ่านบริการ WorldShare ILL
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มเปิดบริการ WorldShare ILL เมื่อเดือนมิถุนายน 2557 และนับตั้งแต่เปิดบริการ สำนักหอสมุดฯ ได้รับคำขอจากห้องสมุดทั่วโลกรวมแล้วกว่า 100 รายการ
การจัดการความรู้ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การจัดการความรู้ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่นำเสนอในวันเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำบริการ ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยสารสนเทศและเทคโนโลยีนำสมัย สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในระดับนานาชาติ จึงใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้ของบุคลากรในสำนักหอสมุดฯ เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการ เพื่อให้บรรลุถึงวิสัยทัศน์ข้างต้น ดังนี้
- การใช้ Blog ในการนำเสนอบทความด้วยการเล่าเรื่องทางวิชาการ การปฏิบัติงาน ประสบการณ์ต่างๆ แนวปฏิบัติที่ดี เป็นต้น ผ่านการจัดหมวดหมู่และการทำดัชนี เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึง และยังได้เผยแพร่ความรู้เหล่านั้น สู่สาธารณะเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ห้องสมุด และบุคคลทั่วไปในวงกว้างต่อไปทาง http://main.library.tu.ac.th/km/
- การสร้างชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) ได้แก่ Training the trainers และ Digital literacy เพื่อฝึกทักษะให้กับบุคลากรจากผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่าในการเป็นวิทยากรที่ดีในการให้บริการและส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศต่อไป
- การสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ รวมทั้งการอบรมจากวิทยากรภายนอก เช่น การนำเสนออย่างทรงพลัง Smart Click คลิกทันสื่อ เป็นต้น
การอบรมวิทยากรจากภายนอกคลิก Knowledge Management ที่หน้าเว็บไซต์สำนักหอสมุดฯ (http:// library.tu.ac.th/) หรือ http://main.library.tu.ac.th/km/ จะเข้าสู่เว็บไซต์การจัดการความรู้ของสำนักหอสมุดฯ
ตัวอย่างผลงานบทความที่เผยแพร่
- GUIDE TO WRITING ACADEMIC ARTICLES เป็นชุดเผยแพร่การเขียนทางวิชาการ
- PATHFINDER เส้นทางการหาสารสนเทศ
- PLAGIARISM AND HOW TO AVOID IT
- OVERVIEW OF INFORMATION LITERACY RESOURCES WORLDWIDE
- แหล่งสารสนเทศวิทยานิพนธ์
- ALTMETRIC 100 อันดับแรกของผลงานทางวิชาการ ของปี 2014
- การแนะนำการใช้ฐานข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ที่นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร ควรทราบเพื่อ การเรียน การสอน การศึกษา ค้นคว้า วิจัย
- ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ปัจจุบัน มีบทความเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้สารสนเทศ มากกว่า 200 บทความ และมีจำนวนยอดผู้ชมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การจัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การจัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่เสนอในวันเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม2558
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ ขึ้น เพื่อให้นักศึกษาใช้ในการศึกษาค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง โดยได้มีการดำเนินการดังนี้
- จัดทำระบบบริหารการเรียนการสอน (Learning Management System : LMS) แบบ online เพื่อให้อาจารย์ผู้สอนในวิชาต่างๆ ใช้ในการจัดการเรียนการสอนบนระบบเครือข่าย Internet อันจะทำให้อาจารย์และนักศึกษามีช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เช่น การถาม-ตอบ รับ-ส่งการบ้าน และ download เอกสารประกอบการสอนต่างๆ เป็นต้น ปัจจุบันมีวิชาที่ใช้งานผ่านระบบ Moodle จำนวน 168 วิชา
- จัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งสิ้น จำนวน 172 วิชา จำแนกเป็น
2.1 บทเรียนแบบ Video Streaming ซึ่งเป็นการบันทึกภาพการสอนในห้องเรียนพร้อมแทรก รูปภาพ/ PowerPoint ปัจจุบันมีการจัดทำบทเรียนแบบ Video Streaming จำนวน 58 วิชา และได้มีการจัดทำ Video สรุปเนื้อหาสำคัญของวิชาต่างๆ ภายใต้โครงการ “ธรรมศาสตร์ตลาดวิชา” จำนวน 9 วิชา โดยในจำนวนนี้ มีการทำ Video Streaming สำหรับวิชา CS 365 ระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นการทำ Video Streaming เพื่อช่วยสนับสนุนการเรียนของนักศึกษาพิการทางการได้ยินทำให้นักศึกษาพิการสามารถใช้ทบทวนบทเรียนได้
2.2 บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) แบบที่ใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) จำนวน 94 วิชา
2.3 บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ (me-Learning) เป็นการจัดทำ i-Book และ e-Book เพื่อให้รองรับการใช้งานทั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) และอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ (mobile device) ต่างๆ เช่น tablet PC หรือ smart phone ซึ่งนักศึกษาสามารถ download i-Book และe-Book ผ่าน application “TU eStore” ได้ทั้งบน App Store และ Google Play Store ปัจจุบันมีบทเรียนแบบ me-Learning จำนวน 11 วิชา และอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำอีก 12 วิชา
TULIB App
TULIB App เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่นำเสนอในวันเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Application) ภายใต้ชื่อว่า “TULIB App” ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นที่รวมบริการต่างๆ ของสำนักหอสมุดฯ เช่น
• สืบค้นหนังสือจากห้องสมุดทั้ง 11 แห่งใน 4 วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Koha library catalog)
• บริการยืมต่อ (Renew)
• บริการจอง (Hold)
• บริการแจ้งเตือน (Alerts) ได้แก่ การเตือนใกล้วันกำหนดส่ง (Near due date) ค่าปรับหนังสือ (Fines) หนังสือจอง (Items on hold)
• บริการ Virtual tour ซึ่งเป็นการนำชมห้องสมุดในรูปแบบเสมือนจริงของหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ และศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
• เชื่อมโยงข้อมูลไปยังบริการออนไลน์ต่างๆ ของหอสมุดฯ เช่น e-Books, e-Journal, e-Thesis, One Search, WorldShare ILL, MyCat เป็นต้น
TULIB App รองรับระบบปฏิบัติการ Android version 4.1 และ iOS 4 ขึ้นไป ใช้ได้ทั้ง Smart Devices เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต ไอพอด ใช้งานได้ทั้ง online ผ่าน Wi-Fi และ Cellular ทุกเครือข่าย สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจาก Apple Store และ Google Play Store
ระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ (MyCat)
ระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ (MyCat) เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่นำเสนอในวันเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558
MyCat (Management System for Copyright, Academic Work and Thesis) คือระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ เป็นระบบที่ช่วยให้กระบวนการจัดการวิทยานิพนธ์เป็นไปอย่างครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่การจัดส่งร่างวิทยานิพนธ์ การตรวจสอบลิขสิทธิ์โดยใช้โปรแกรม CopyCat (Copyright, Academic Work and Thesis Checking System) และการจัดเก็บรูปเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ เมื่อนักศึกษาส่งวิทยานิพนธ์เข้าสู่ระบบ MyCat ระบบจะทำการตรวจสอบลิขสิทธิ์โดยเปรียบเทียบไฟล์วิทยานิพนธ์ที่ส่งกับคลังข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในระบบ ซึ่งเอกสารที่จัดเก็บในคลังข้อมูลดังกล่าวมีหลากหลายประเภท เช่น วิทยานิพนธ์ บทความวิชาการ เอกสารจากอินเทอร์เน็ต หากพบการคัดลอก ระบบจะส่งผลลัพธ์การตรวจ พร้อมทั้งเปอร์เซ็นต์ความคล้ายให้อาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อพิจารณาตรวจสอบและส่งให้นักศึกษาปรับแก้ไข หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการส่งวิทยานิพนธ์แล้ว ระบบจะทำการจัดเก็บรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ไว้ในคลังข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ (MyCat) ซึ่งพัฒนาโดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเสียง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) มาใช้ ทำให้กระบวนการจัดการวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สะดวก รวดเร็ว ลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ สามารถติดตามงานของนักศึกษา และเป็นการตรวจสอบการคัดลอกและลอกเลียนผลงานวิชาการ
Koha โปรแกรมเปิดเผยรหัสสำหรับห้องสมุด
Koha โปรแกรมเปิดเผยรหัสสำหรับห้องสมุด เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่นำเสนอในวันเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558
Koha เป็นซอฟต์แวร์เปิดเผยรหัสสำหรับการจัดการทรัพยากรในห้องสมุด หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปในวงการห้องสมุดว่า ระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการ (Integrated Library Systems : ILS) Koha ได้รับการพัฒนาขึ้นด้วยความร่วมมือของกลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์และบรรณารักษ์ทั่วโลก ทำให้ Koha กลายเป็นซอฟต์แวร์ที่มีฟังก์ชันงานต่างๆ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์บนพื้นฐานความต้องการที่แท้จริงของบรรณารักษ์ นอกจากนี้ การพัฒนาระบบด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ โดยกลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ทำให้ Koha เป็นซอฟต์แวร์ห้องสมุดที่มีความทันสมัย ใช้งานง่ายและคงทน
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่แห่งแรกของประเทศไทยที่นำซอฟต์แวร์ Koha มาใช้แทนที่ระบบห้องสมุดเดิมซึ่งเป็นระบบห้องสมุดเชิงพาณิชย์จากต่างประเทศ (Commercial Software) ด้วยความเชื่อมั่นในความครบถ้วนสมบูรณ์ของฟังก์ชันการทำงาน ความได้เปรียบของซอฟต์แวร์เปิดเผยรหัสที่ผู้ใช้งานสามารถพัฒนาและปรับแต่งระบบเพิ่มเติมได้ด้วยตัวเองตามความต้องการ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องของซอฟต์แวร์ และการรวมกลุ่มของผู้ใช้งานระบบเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่สามารถให้ช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันได้อย่างไม่จำกัดเวลาและสถานที่
นอกจากการนำไปประยุกต์ใช้งานกับหน่วยงานการศึกษา และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในลักษณะของระบบเดี่ยว หรือ Stand alone แล้ว จุดเด่นของ Koha คือ ความสามารถในการรองรับห้องสมุดสาขาที่ทำงานร่วมกันในลักษณะของเครือข่ายหรือ Consortium ดังเช่น สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งมีห้องสมุดจำนวนทั้งสิ้น 11 สาขา การประยุกต์ใช้ระบบในลักษณะนี้ทำให้ห้องสมุดที่มีมากกว่าหนึ่งสาขาและต้องการใช้งานทรัพยากรร่วมกัน สามารถใช้งานฐานข้อมูลร่วมกันเพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลและสามารถแลกเปลี่ยนทรัพยากรต่างๆ ระหว่างห้องสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การนำซอฟต์แวร์เปิดเผยรหัสมาใช้งานในประเทศไทย นอกจากจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในส่วนของลิขสิทธิ์แล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ในกลุ่มบรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และนักพัฒนาระบบทั้งในระดับประเทศและระดับสากล นอกจากนี้ ประเทศไทยยังสามารถนำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ ไปบอกเล่าและแบ่งปันแก่ห้องสมุดในประเทศเพื่อนบ้านและประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาร่วมกันที่ยั่งยืนและยาวนาน