Tag Archives: การให้บริการ

การให้บริการผู้ใช้: แบบไหนดี

วิดีโอ การอบรมการให้บริการผู้ใช้ ของ North Hall Library, Mansfield University น่าสนใจดีค่ะ มีให้ดูเปรียบเทียบการให้บริการที่ไม่ให้ความสนใจกับผู้ใช้บริการ กับการเต็มใจให้บริการ เป็นอย่างไร ดูจากพฤติกรรมของบุคลากรในห้องสมุด วิธีการปฏิบัติ การใช้คำพูด และในทางตรงข้ามให้สังเกตสีหน้า และอาการของผู้ใช้บริการ นะคะ นอกจากนี้ ได้ฝึกภาษาอังกฤษอีกด้วยค่ะ ติดตามได้จาก  https://youtu.be/X9zFoD8v4LQ

รายการอ้างอิง

Mansfield University. North Hall Library. (Sep 26, 2011). Customer Service Training@North Hall Library, Mansfield University.[Video file]. Retrieved from https://youtu.be/X9zFoD8v4LQ

‘รัก'[ษ์] ที่ต้อง ‘รอ’

              ทุกๆท่านคงเคยพบกับเหตุการณ์ที่น่าเบื่อ  หงุดหงิด  รำคาญ  แต่มันมีเหตุการณ์ๆหนึ่งที่ทำให้คนบางคนที่เจอแล้วต้องบอกได้เลยว่า  หงุดหงิด  กระวนกระวาย  เดินไปเดินมาเหมือนเสือติดจั่นเหตูการณ์นั้นก็คือ  รอ  ถึงแม้ว่าบุคคลที่ทำให้เรารอจะสำคัญแค่ไหนถ้าเหตุการณ์  รอ  เกิดขึ้นซ้ำซากมันก็ทำให้เรา  หงุดหงิด  กระวนกระวาย ได้เช่นเดียวกัน ถ้าเป็นแฟนกันก็ถึงกับเลิกกันไปเลยก็มี  การรอถ้าไม่สำคัญหรือมีความผูกพันเนื่องด้วยชีวิตก็คงไม่มีใครอยากจะรอสักเท่าไร  เพราะการรอมันเป็นสิ่งที่ทรมาน  แต่นี่มันเป็นสิ่งที่เนื่องด้วยชีวิตมันถึงได้อดทน  รอ รอเพื่อความเป็นอยู่ของชีวิต อย่างเช่นกรณีที่ผมจะเล่าดังต่อไปนี้

Continue reading ‘รัก'[ษ์] ที่ต้อง ‘รอ’

จิตวิญญาณของนักบริการที่ดี ( Service Mind )

http://www.glitters20.com/funny/wp-content/uploads/2013/01/Smile-Glitters-3.png
http://www.glitters20.com/funny/wp-content/uploads/2013/01/Smile-Glitters-3.png

มึคำกล่าวว่า คนเราทุกคนมีบุญวาสนาอยู่กับตนความก้าวหน้าจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเรามีบุญวาสนา แต่บุญวาสนานั้นเราเป็นผู้กำหนดหรือสร้างขึ้นมาเองได้ไม่ยากเพียงแต่เรามีจิตใจให้เต็มเปี่ยมด้วยใจ (ความใจบุญ)  คือการมีใจคิดช่วยเหลือผู้อื่นทันที่เมื่อมีโอกาสด้วยความเต็มใจ ในยุคสมัยนี้การบริการคือหัวใจของธุรกิจการแข่งขันก็คือการบริการ   ธุรกิจจะเจริญก้าวหน้าขึ้นได้ก็เพราะการบริการที่ดี

Continue reading จิตวิญญาณของนักบริการที่ดี ( Service Mind )

เรื่อง ขำๆๆ ฮาๆๆ จาก การบริการทางโทรศัพท์

มีเรื่องเล่าจากประสบการณ์ในการให้บริการ เพื่อจะได้เป็นกรณีศึกษาว่าในการให้บริการมักจะมีเรื่องเกินคาดหมายจากผู้ใช้  อ่านกันแล้วลองนึกตามนะคะว่า ถ้าเป็นเราจะจบการพูดคุยนี้ยังไงดี ในขณะที่มีลูกค้ากำลังรอบริการจากเราอยู่อีก

ตัวละคร  (เจ้าหน้าที่   =   จ,      ผู้ใช้บริการ (ลูกค้า)   =     ล )

จ  :       สวัสดีค่ะ   ห้องสมุด….   ค่ะ

ล :        ตอนนี้งดบุคคลภายนอกใช่ไหมค่ะ  แล้วเมื่อไหร่จะอนุญาตให้เข้าใช้ค่ะ  ในเว็บไซต์  บอกว่าก่อนสอบหนึ่งเดือน แล้ว     เมื่อไหร่จะเปิดให้เข้าใช้ค่ะ  ( ยิงยาว )

จ :       บุคคลภายนอกเข้าใช้ได้ตลอดค่ะ ไม่ห้ามนะค่ะ  ก่อนสอบหนึ่งเดือน คือ   เปิดเพิ่มวันอาทิตย์ค่ะ

ล :      ในเว็บบอก แบบนั้นนะ  และ   จันทร์-ศุกร์ เปิด  8.00- 21.30   วันเสาร์ เปิด   9.00-19.00  ใช่ไหมค่ะ

จ:      ถูกต้องค่ะ

ล:      เสียเงิน 20 บาทจ่ายที่ไหนค่ะ จ่ายที่หอปรีดี ได้ไหม    Continue reading เรื่อง ขำๆๆ ฮาๆๆ จาก การบริการทางโทรศัพท์

บริการด้วยหัวใจต่างจากบริการด้วยหน้าที่อย่างไร

การบริการคือ การให้ความช่วยเหลือ หรือการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น การบริการที่ดี ผู้รับริการก็จะได้รับความประทับใจ และชื่นชมองค์กร เบื้องหลังความสำเร็จเกือบทุกงาน มักพบว่างานบริการเป็นเครื่องมือสนับสนุนงานด้านต่างๆ การบริการถือเป็นหน้าเป็นตาขององค์กร บริการดี ภาพลักษณ์ขององค์กรก็จะดีไปด้วย

 การทำงานไม่ว่าคุณจะเป็นพ่อค้า แม่ค้า พนักงานต้อนรับ หรืองานบริการห้องสมุด ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็นงานบริการทั้งสิ้น การที่ผู้ใช้มาใช้ห้องสมุด ก็คาดหวังเต็ม 100 ว่าจะกลับไปพร้อมสิ่งที่เขาต้องการ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่อยู่เหนือความคาดหมายของผู้ให้บริการอย่างเราหรือไม่ก็ตาม เพราะบางวันเราจะเจอผู้ใช้เจ้าอารมณ์ แต่ไม่ว่าเค้าจะมาด้วยจุดประสงค์อะไร หรืออารมณ์เช่นไร เราขึ้นชื่อว่าอยู่ส่วนงานบริการแล้ว ต้องทำให้เกิดสัมฤทธิ์ผลให้มากที่สุด นั้นก็คือให้สิ่งที่ผู้ใช้อยากได้ และเป็นสิ่งที่เราต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้ที่เข้ามาขอรับริการนั้นเกิดความพอใจ แม้บางครั้งด้วยความแตกต่างของผู้ใช้ ด้วยอารมณ์ที่มาหาเรา แตกต่างกันไปตามวาระ เราก็ต้องอดทน เพราะนั่นคือสิ่งที่เราต้องฝึกและเรียนรู้ที่จะผ่านมันไปให้ได้ เพื่อที่เราจะได้เห็นรอยยิ้ม การบอกเล่าถึงเรืองราวที่ได้บอกต่อๆๆ กันไปว่าที่นี้บริการดี ผู้ให้บริการจิตใจดี มีน้ำใจต่อผู้ใช้ ไม่ใช่บอกต่อกันว่า อย่ามาใช้นะเพราะผู้ให้บริการไม่สนใจ Continue reading บริการด้วยหัวใจต่างจากบริการด้วยหน้าที่อย่างไร

การจัดเตรียม DVD ภาพยนตร์

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มีหน้าที่จัดหา DVD ภาพยนตร์ เพื่อบริการเป็นการภายใน   แก่นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และบุคคลภายนอกที่มารับบริการหอสมุดฯ  แต่กว่าที่จะจัดเตรียมภาพยนตร์หรือเพลงมาให้บริการแก่ผู้รับบริการนั้น  มีขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้

1.  นำ DVD ภาพยนตร์มาตรวจสอบในฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha เพื่อตรวจความซ้ำซ้อน
2.  ตรวจสอบรายการดังกล่าวอีกครั้งในระบบ Senayan เพื่อตรวจสอบความซ้ำซ้อนที่อาจอยู่ระหว่างการจัดซื้อ
3.  กรณีที่ไม่มีรายการดังกล่าว อยู่ในทั้งสองระบบ  ให้ทำต้นเรื่องเพื่อขอเสนอซื้อ
4.  บันทึกราคา ในตารางการตรวจสอบงบประมาณหอสมุดฯ
5.  ตรวจสอบสภาพแผ่น DVD เพื่อดูความสมบูรณ์ของแผ่น
6.  เขียนรายการดังต่อไปนี้ (แนบไปกับแผ่น DVD) คือ
–  ลำดับเลขที่
–  ระบุชื่อห้องสมุดที่รับ (ตัวย่อของห้องสมุด)
–  ระบุ DVD หรือ CD เป็นรูปแบบไหน (ตัวอย่าง เช่น วีดีโอภาพยนตร์ หรือ CD เพลง)
–  ชื่อบริษัทหรือร้านค้า (ตัวย่อที่เป็นภาษาอังกฤษ) ตามด้วยเลขที่ใบส่งของ ( ตัวอย่าง เช่น TU/356/58)
–  ราคาของ DVD ภาพยนตร์ (ต้องเป็นราคาเต็มเท่านั้น)
7.  เรียงลำดับเลขที่ของ DVD ภาพยนตร์ก่อนนำส่งให้ฝ่ายบริหารจัดการฯ
8.  ส่งให้บรรณารักษ์ที่มีหน้าที่รับผิดชอบของฝ่ายบริหารจัดการฯ ตรวจสอบความถูกต้อง

ถ้าต้องการจะขอรับบริการ DVD ภาพยนตร์ติดต่อได้ที่ห้องบริการสื่อโสตทัศนูปกรณ์และมัลติมีเดีย  ชั้น U2 หอสมุดปรีดีฯ ค่ะ

บทบาท Subject Liaison บทเส้นทางอาชีพบรรณารักษ์

ผู้เขียน (กนกวรรณ บัวงาม) ได้กล่าวถึงโอกาสที่ Mr. Larry Ashmun มาเยือนเมืองไทยโดยได้ทุน Fulbright และได้ร่วมงานกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อแนะนำการ Romanization ข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย จึงได้มีโอกาสพูดคุยเล่าถึงการทำงานของ Mr. Larry โดยเฉพาะงานทำงาน ในหน้าที่ Subject Liaison ณ Memorial Library University of Wisconsin-Madison Mr. Larry Ashmun ในฐานะที่เป็นบรรณารักษ์มืออาชีพ ได้ให้หลักในการทำงานแก่บรรณารักษ์รุ่นใหม่ที่น่าสนใจหลายประการ โดยเฉพาะคำพูดที่ว่า “เป็นบรรณารักษ์ต้องรักบริการ ถ้าไม่รักบริการแล้วจะมาเป็นบรรณารักษ์ทำไม”ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง:
กนกวรรณ บัวงาม. บทบาท Subject Liaison บทเส้นทางอาชีพบรรณารักษ์. โดมทัศน์ 33,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2555) : 61-72.

Service Foremost

วันนี้ไปงานเลี้ยงมุทิตาจิตของอาจารย์ที่เคารพท่านหนึ่ง อาจารย์เป็นผู้ที่ให้แนวทางในการให้บริการผู้ที่เข้ามาขอใช้บริการที่เป็นหลักๆ อยู่ 2 ข้อ คือ Service Foremost และอย่าให้โทรศัพท์ที่โทรเข้ามา ดังเกิน 2 ครั้ง จะต้องรับทันที เพราะเป็นเรื่องของการให้บริการ พวกเราที่ตอนนั้นเป็นอาสาสมัคร ใช้คำสอนหลักๆ ในการให้บริการมาโดยตลอด และคิดว่าใช้ได้กับทุกบริการค่ะ ไม่ว่าจะเป็นงานบริการแบบใด

งานบริการของห้องสมุดก็เช่นเดียวกันค่ะ หรืออาจจะเป็นงานอื่นๆ ก็สามารถนำไปปฏิบัติได้ค่ะ เพราะคนที่มาขอความช่วยเหลือหรืองาน/ฝ่าย ที่มาขอความช่วยเหลือจากเรา ก็ถือว่า เป็นลูกค้าของเราเหมือนกัน เป็นลูกค้าภายใน ไงคะ ส่วนผู้ใช้บริการ เช่น นักศึกษา อาจารย์ หรือบุคลากรอื่น คือ ลูกค้าภายนอก รวมกับจิตใจที่เปี่ยมด้วยบริการ หรือ Service mind ด้วยแล้ว ผู้ที่มารับบริการจากเรา จะได้รับความอิ่มเอมใจกลับไปอย่างแน่นอนค่ะ