คลิปแนะนำการใช้ห้องสมุด
Category Archives: ห้องสมุด/พิพิธภัณฑ์
หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มธ.ศูนย์รังสิต (Puey Ungphakorn Library)
ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 16 (The 16th Congress of Southeast Asian Librarians – CONSAL XVI 2015)
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 7 สิงหาคม 2557 นายเอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานการแถลงข่าวการจัดประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 16 (The 16th Congress of Southeast Asian Librarians – CONSAL XVI 2015) ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 10-13 มิถุนายน 2558 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม BITEC โดยมีศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ และ นางสาวกนกอร ศักดาเดช รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ ร่วมในการแถลงข่าวครั้งนี้ด้วย
ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมดังกล่าวขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษา โดยหอสมุดแห่งชาติและสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกันเป็นเจ้าภาพ โดยมีหัวข้อของการประชุมครั้งนี้ว่า “ความมุ่งหวังอาเซียน : ห้องสมุดเพื่อความก้าวหน้าที่ยั่งยืน” (ASEAN Aspirations : Librarians for Sustainable Advancement) เพื่อต้อนรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ข้อมูลการประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักหอสมุดแห่งชาติ โทร. 0 2628 5192 หรือที่ www.consalxvi.org
อนึ่ง การเป็นเจ้าภาพการประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นี้ ประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมมาแล้ว 2 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 4 เรื่อง Regional cooperation for the Development of National Information Services ระหว่างวันที่ 5-9 มิถุนายน พ.ศ. 2521 กรุงเทพมหานคร (5-9 June 1978)
ครั้งที่ 9 เรื่อง Future Dimensions and Library Development ระหว่างวันที่ 2-7 พฤษภาคม 2536 กรุงเทพมหานคร ( 2-7 May 1993)
รายการอ้างอิง:
กรมศิลปากร. กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์. ประเทศไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพการประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 16 The 16th Congress of Southeast Asian Librarians (CONSAL XVI 2015. สืบค้นเมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม 2557 จาก http://www.finearts.go.th/promotion/ข่าวกรมศิลปากร-2/item/ประเทศไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพการประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้-ครั้งที่-๑๖-the-16th-congress-of-southeast-asian-librarians-consal-xvi-2015.html
WordShare ILL : การยืมระหว่างห้องสมุดผ่านระบบ OCLC
ตามที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดตัว WordShare ILL ไปเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2557 นั้น บริการดังกล่าวเป็นการบริการยืมระหว่างห้องสมุดที่เราคุ้นเคยกันนั่นเอง แต่เป็นการระหว่างห้องสมุดของสมาชิกในเครือข่าย OCLC ทั่วโลก การจะให้บริการยืมดังกล่าวได้ สมาชิกจะต้องนำข้อมูลทางบรรณานุกรมของห้องสมุดเข้าในระบบ OCLC นับเป็นห้องสมุดในประเทศไทยแห่งแรกที่เริ่มเปิดการให้บริการดังกล่าว
เมื่อผู้ใช้ของสมาชิกในเครือข่ายสืบค้นรายการที่ต้องการแต่ปรากฏอยู่ในห้องสมุดแห่งอื่นๆ สามารถติดต่อห้องสมุดเพื่อขอสำเนาเอกสารหรือวัสดุอื่นๆ ได้ โดยปฏิบัติตามระเบียบการยืม ซึ่งเป็นการตกลงร่วมกันระหว่างห้องสมุดผู้ให้ยืมและห้องสมุดผู้ขอยืม ผ่านระบบส่วนกลางของ OCLC ทำให้ห้องสมุดในเครือข่ายสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ โดยมีระบบการคิดค่าใช้จ่ายที่ตั้งค่าในส่วนของค้าใช้จ่ายต่างๆ อย่างชัดเจนเป็นสากลทั้งในฝั่งที่เป็นผู้ให้ยืม และผู้ขอยืม มีความปลอดภัยในเรื่องลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ เอกสาร หรือเอกสารออนไลน์ต่างๆ ทาง OCLC จะเป็นตัวกลางในการทำ Contact Publisihng อีกทั้งยังมีระบบ Article Exchange ที่สามารถส่งไฟล์เอกสารได้ขนาดที่มากถึง 60 MB รองรับทุกนามสกุลและจะลบโดยอัตโนมัติหากมีการแล้วใน 5 วัน และถ้ายังไม่ได้เปิดอ่าน ระบบจะเก็บไว้ 30 วัน ในส่วนของระบบ Article sharing นั้น ระบบเอื้อให้สามารถแบ่งปันการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ได้อีกด้วย รวมทั้งมีระบบขอยืมAutomatic Deflection สำหรับกรณีที่มีผู้ต้องการยืมมากกว่า 1 แห่ง ห้องสมุดแห่งที่ 1 ไม่สามารถให้ยืมได้ ระบบจะดำเนินการหาห้องสมุดแห่งต่อไปให้โดยอัตโนมัติ และมีการจัดทำรายงานสรุปในภาพรวมเพื่อการวางแผนในการบริหารจัดการสารสนเทศต่อไปได้
รายการอ้างอิง:
OCLC. บริการยืมระหว่างห้องสมุดผ่านระบบ (OCLC Interlibrary Loan Service). [2557] (เอกสารสำเนาแจกในงานเปิดตัวห้องสมุดดิจิทัลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 26 มิถุนายน 2557)
มธ. เปิดตัวห้องสมุดดิจิทัล
“To be a leader in library service and information literacy with the most up-to-date information and technology to create an international network of cooperation between libraries.” หรือ สำนักหอสมุดเป็นผู้นำบริการ ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยสารสนเทศและเทคโนโลยีนำสมัย สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในระดับนานาชาติ
จากวิสัยทัศน์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ดังข้อความข้างต้น สำนักหอสมุด มธ. ได้เปิดตัวห้องสมุดดิจิทัล ในโอกาสครบรอบ 80 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 27 มิถุนายน 2557 เพื่อแสดงถึงความสำเร็จส่วนหนึ่งที่บรรลุวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ โดยในวันนี้ (26 มิ.ย.) เวลา 14.00 น. ได้จัดงานแถลงข่าวและเปิดตัวห้องสมุดดิจิทัล
คู่มือการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรสารสนเทศที่มีค่าหายาก
คู่มือการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรสารสนเทศที่มีค่าหายาก โดย โสรัตน์ กาลออง ได้รวบรวมข้อมูลในด้านการป้องกันและวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศที่มีค่าหายาก และจัดทำเป็นคู่มือ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่า เนื้อหาประกอบด้วย ลักษณะของหนังสือหายาก ทำไมต้องอนุรักษ์หนังสือหายาก วัสดุอุปกรณ์ในการอนุรักษ์ การใช้ทำตัวทำละลายขจัดรอยเปื้อนบนเอกสาร การทำความสะอาด การลดกรด การซ่อมแซมเล็กน้อย การกำจัดแมลงในทรัพยากรสารสนเทศ การตรวจสอบอุณหภูมิและความชื้น การทำกล่องและซองเพื่อการเก็บรักษาเอกสารและหนังสือ
คู่มือการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรสารสนเทศที่มีค่าหายาก
แนวปฏิบัติ เรื่่อง การกำหนดหัวเรื่องและเลขหมู่ทางการแพทย์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แนวปฏิบัติ เรื่่อง การกำหนดหัวเรื่องและเลขหมู่ทางการแพทย์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วยแนวปฏิบัติเรื่องการกำหนดหัวเรื่อง การกำหนดหัวเรื่องภาษาไทย การกำหนดเลขหมู่ เขตข้อมูลที่ใช้ลงรายการทางบรรณานุกรมแก่ทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และการแพทย์ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติงานในงานจัดการข้อมูลให้มีความเข้าใจและมีแนวปฏิบัติในการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน