ในการดำเนินงานจัดหา/พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของหอสมุดฯ นั้น ก่อนดำเนินการตัดสินใจคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศใดๆเข้าห้องสมุด จำเป็นต้องมีการตรวจสอบรายการหรือรายชื่อดังกล่าวก่อนทุกครั้ง ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ ของห้องสมุดเป็นสำคัญ ดังนี้
Category Archives: 02-Catalogue CoP
เครื่องมือช่วยสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ มาตรฐานการลงรายการ (RDA / AACR2) รูปแบบการลงรายการ MARC / Dublin Core / ISAD(G) การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันโดยวิธีเทียบเสียงอ่าน (Romanization)การกำหนดหัวเรื่องภาษาไทย การทำดัชนี (Index)
หลักเกณฑ์ที่สำคัญและข้อตกลงในการ Romanization เบื้องต้น ของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การจัดทำรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์ภาษาไทย ของบรรณารักษ์ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น ต้องเทียบเสียงอ่านข้อมูลบรรณานุกรมภาษาไทยเป็นอักษรโรมันควบคู่กันโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเทียบเสียงอ่านของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress) ที่เป็นมาตรฐานสากลให้ถูกต้องซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บริการทั่วโลกสามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยที่มีในหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้
ซึ่งในปัจจุบันบรรณารักษ์ปฏิบัติงานที่มีความชำนาญได้เกษียณอายุงานเป็นจำนวนมาก ประกอบกับมีบรรณารักษ์ปฏิบัติการใหม่ ทำให้ต้องมีการทบทวนหลักเกณฑ์การเทียบเสียงอ่านของหอสมุดรัฐสภาอเมริกันอีกครั้ง เพื่อสร้างความเข้าใจและเป็นแนวทางให้ปฏิบัติงานไปในแนวทางเดียวกัน Catalog CoP จึงได้จัดการฝึกอบรม หน่วย Catalog งานจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เรื่อง การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันโดยวิธีเทียบเสียงอ่าน (Romanization) ในวันที่ 5 เมษายน 2561 โดยสรุปหลักเกณฑ์ที่สำคัญได้ดังนี้ Continue reading หลักเกณฑ์ที่สำคัญและข้อตกลงในการ Romanization เบื้องต้น ของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การลงรายการชื่อพระสงฆ์ทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยของหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สมณศักดิ์ หมายถึง ยศพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานมีหลายชั้น แต่ละชั้นมีพัดยศเป็นเครื่องกำหนด
พัดยศ หมายถึง เครื่องประกอบสมณศักดิ์ที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานพระเถระผู้ทรงคุณูปการต่อประเทศชาติและพุทธศาสนา และเป็นการเชิดชูเกียรติพระรูปนั้นๆ และพัดยศยังเป็นเครื่องบ่งบอกชั้นยศแต่ละชั้นของพระภิกษุสงฆ์ผู้ที่ได้รับ
ราชทินนาม หมายถึง ชื่อที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทาน ใช้กำกับยศหรือบรรดาศักดิ์ขุนนาง สมณศักดิ์พระสงฆ์ Continue reading การลงรายการชื่อพระสงฆ์ทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยของหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การกำหนดคำสำคัญ (Keyword)
ในวันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 งานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ได้จัดแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ในเรื่อง การกำหนดคำสำคัญ (Keyword) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์นฤตย์ นิ่มสมบุญ โดยเนื้อหาการบรรยายนั้นมีดังนี้ Continue reading การกำหนดคำสำคัญ (Keyword)
Dublin Core Metadata
Dublin Core Metadata เป็นมาตรฐานการลงรายการเพื่อพรรณนาสารสนเทศดิจิทัลและเพื่อช่วยในการสืบค้นสารสนเทศดิจิทัลรายการนั้น โดยประกอบด้วยชุดข้อมูลย่อย 15 หน่วย คือ
1. Title (ชื่อเรื่อง)
– ชื่อของสารสนเทศดิจิทัลรายการนั้น ถูกกำหนดขึ้นโดยเจ้าของผลงานหรือผู้ที่รับผิดชอบ โดยลงรายการชื่อเรื่องที่ Title และถ้ามีชื่อเรื่องเทียบเคียงให้ลงรายการที่ Title.Alternative ตัวอย่างเช่น
Title แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์
Title.Alternative Harry Potter and the sorcerer’s stone Continue reading Dublin Core Metadata
การพิจารณาลงรายการหลักของทรัพยากรสารสนเทศ
รายการทางบรรณานุกรมเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับช่วยให้ผู้ใช้สืบค้นทรัพยากรสารสนเทศที่ตนเองต้องการ ซึ่งมีด้วยกันหลายรายการที่ใช้สืบค้นทรัพยากรฯ เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ ชื่อเรื่อง ชื่อการประชุม เป็นต้น บรรณารักษ์ผู้ลงรายการบรรณานุกรมจะเป็นผู้พิจารณาเลือกข้อมูลเหล่านี้ 1 รายการ เพื่อใช้เป็นรายการหลัก (Main entry) และข้อมูลที่เหลือจะเป็นรายการเพิ่ม (Added entry)
การใช้หัวเรื่องย่อยในหัวเรื่องทางการแพทย์
หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาทางการแพทย์เข้าห้องสมุดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ทางฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศจึงกำหนดหัวเรื่องเฉพาะสำหรับทรัพยากรฯทางการแพทย์ เพื่อให้หัวเรื่องที่ครอบคลุมและตรงกับเนื้อหาของทรัพยากรมากที่สุด โดยใช้หัวเรื่องของLC (Library of Congress) และNLM (National Library of Medicine) ถ้าเนื้อหาส่วนใหญ่ของทรัพยากรเป็นทางด้านสังคมศาสตร์จะให้หัวเรื่อง LC แต่ถ้าเนื้อหาเป็นทางแพทยศาสตร์จะให้หัวเรื่อง NLM
สำหรับหัวเรื่องทางการแพทย์NLM ที่หอสมุดใช้อยู่ในปัจจุบัน มีกฎการให้หัวเรื่องย่อยกลุ่มบุคคลและชื่อภูมิศาสตร์ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการให้หัวเรื่องทางการแพทย์แก่บรรณารักษ์ ดังต่อไปนี้