Category Archives: วิจัย

รู้ทัน!!!! พฤติกรรมการอ่านหนังสือของคนไทย (2557-2558)

llll สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน วันนี้บรรณารักษ์ตัวจิ๋วมีข่าวมาบอก……..
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมาได้มีการประชุม แถลงข่าว “ผลวิจัย การอ่าน คนไทยอ่านอะไร” ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์ ดำเนินการวิจัยโดย คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและธุรกิจ ภายใต้ทุนสนับสนุนจาก สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) 

โดยผลสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของคนไทยภายใต้งานวิจัย “การศึกษาพฤติกรรมการอ่านและซื้อหนังสือของคนไทย” โดยได้สำรวจจากกลุ่มตัวอย่างเป้าหมายอายุ 15-69 ปี รวมจำนวนทั้งสิ้น 3,432 ตัวอย่าง จาก 8 จังหวัดหัวเมืองใหญ่ในประเทศไทย

พบว่า พฤติกรรมการอ่านโดยทั่วๆ ไป ของคนไทย ซึ่งรวมไปถึงตำราเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นเช่นเว็บไซต์ ฯลฯ  ส่วนใหญ่ 88% ระบุว่า อ่าน อีก 12% ระบุ ไม่อ่านเลย โดยให้เหตุผลในเรื่องของการไม่มีเวลาอ่าน สายตาไม่ดี และไม่ชอบอ่านหนังสือ

150223102006yRhT

Continue reading รู้ทัน!!!! พฤติกรรมการอ่านหนังสือของคนไทย (2557-2558)

งานวิจัยในมุมมองของ KM

มีงานวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management) และงานวิจัย  ซึ่งมีความเหมือนและแตกต่าง ของการจัดการความรู้และงานวิจัย  ชื่อว่า “งานวิจัยในมุมมองของ KM”  ซึ่งผู้เขียน คุณจงจิต วงษ์สุวรรณ, คุณเจนจิรา อาบสีนาค, คุณศุภณัฐ เดชวิถี และคุณพรพิมล ช่างไม้  สรุปประเด็นได้ 7 ข้อ ดังนี้

  1. ขั้นตอนเริ่มต้น
  2.  การปฏิบัติ
  3. ชนิดของความรู้ที่เน้น
  4. ตัวแปร
  5. การยืดหยุน
  6. วิธีคิด
  7. ทิศทางการดำเนินงานความรู้

ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง

จงจิต วงษ์สุวรรณ  เจนจิรา อาบสีนาค ศุภณัฐ เดชวิถี และ พรพิมล ช่างไม้  (2552)  “งานวิจัยในมุมมองของ KM”  วารสารโดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2552)  : 22:27

 

Altmetric 100 อันดับแรกของผลงานทางวิชาการ ของปี 2014

Altmetric LLP เปิดเผย 100 บทความวิชาการที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปี 2014 ที่มีการแชร์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งจาก 10 อันดับแรกที่ได้รับการ share มากที่สุดเป็นผลงานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่

  1. Experimental evidence of massive-scale emotional contagion through social networks
  2. Variation in Melanism and Female Preference in Proximate but Ecologically Distinct Environments
  3. Artificial sweeteners induce glucose intolerance by altering the gut microbiota
  4. Stimulus-triggered fate conversion of somatic cells into pluripotency
  5. Dogs are sensitive to small variations of the Earth’s magnetic field
  6. Christmas 2013: Research: The survival time of chocolates on hospital wards: covert observational study
  7. Epidemiological modeling of online social network dynamics
  8. Searching the Internet for evidence of time travelers
  9. Conscious Brain-to-Brain Communication in Humans Using Non-Invasive Technologies
  10. Were James Bond’s drinks shaken because of alcohol-induced tremor?รายชื่อทั้งหมดสามารถติดตามได้ที่  Altmetric.com

    20141212-100-Altemetrics

โดยในภาพรวมพบว่า

  • งานวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพเป็นสาขาที่ได้รับความนิยมสูงสุดถึงร้อยละ 40 บทความยอดฮิต ได้แก่ the effect of artificial sweeteners on glucose intolerance to the origins of the Ebola virus
  • สาขาชีววิทยา เป็นอันดับรองลงมา คิดเป็นร้อยละ 20 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาสเต็มเซลล์ของมนุษย์ และอื่นๆ ที่เน้นในเรื่องจีโนมจากบรรพบุรุษ ของมนุษย์และสัตว์
  • สาขาฟิสิกส์ เป็นอันดับ 3 คิดเป็นร้อยละ 9 ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับหลุมดำที่มีชื่อเสียง ของ Stephen Hawking

รายการอ้างอิง:

Altmetric ‘Top 100’ Highlights Topical Academic Research from 2014. Retrieved December, 12 2014 from http://www.altmetric.com/pressreleases/top-100-2014.php#

มาทำความรู้จักกับ Altmetrics (ตอนที่ 2)

ในบทความตอนที่ 1 ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า บรรณารักษ์ต้องเป็นผู้สนับสนุนใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การแจ้งงานวิจัยล่าสุด การสนับสนุนการทดลองด้วยการวัดแบบ altmetrics และการให้ความรู้เกี่ยวกับ altmetrics

ดังนั้น บรรณารักษ์จึงต้อง:

  1. การศึกษาวรรณกรรม บรรณารักษ์ควรทำความรู้จักกับ altmetrics ด้วย วรรณกรรมต่างๆ  เช่น- SPARC report เช่น Article-level metrics primer ซึ่งเป็น การวัดในระดับบทความ (article-level metrics)
    – Altmetrics: Rethinking the Way We Measure
    – Introduction Altmetrics: What, Why and Where?
    – สื่อนำเสนอ เรื่อง How libraries can empower scholars (and scholarly communication) through altemetrics โดย Heather Piwowar
    – สื่อนำเสนอ เรื่อง Altmetrics are here: are you ready to help your faculty? โดย Stacy Konkiel
    17 More Essential Altmetrics Resources (the Library Version)
    –  Altmetrics in the wild: Using social media to explore scholarly impact
    Can Tweets Predict Citations? Metrics of Social Impact Based on Twitter and Correlation with Traditional Metrics of Scientific Impact
    Prevalence and use of Twitter among scholars
    Clickstream Data Yields High-Resolution Maps of Science
    Altmetrics Collection (PLOS Collections)
    – เข้าไป join กับ Altmetrics Mendeley groupฯลฯรายการอ้างอิง:

    Lapinski, Scott, Piwowar, Heather and Priem, Jason. How librarians can help prepare faculty for the next generation of research impact metrics. College & Research Libraries News vol. 74 no. 6 292-300. Retrieved 14112014 fromhttp://crln.acrl.org/content/74/6/292.long

วันนักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2557

วันนักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันนักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศรายชื่อผู้รับโล่เชิดชูเกียรติผู้สร้างชื่อเสียงทางด้านการวิจัย  ในงาน “วันนักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2557”  วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน 2557 เวลา 17.00-20.30  น. ณ ห้องชมวัง หอประชุมกองทัพเรือ กรุงเทพฯ

  • รางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2557
    ผู้ได้รับการกำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ ได้รับเงินเดือนขั้นสูง
    –  ศาสตราจารย์ ดร. ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช คณะวิศวกรรมศาสตร์
    –  ศาสตราจารย์ ดร. ประสิทธิ์ เอกบุตร คณะนิติศาสตร์
    ผู้ได้รับการแต่งตั้งในดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
    – ศาสตราจารย์ ดร. พฤทธา ณ นคร สถาบันเทคโนโลยีสิรินร
    – ศาสตราจารย์ ดร. อมร พิมานมาศ สถาบันเทคโนโลยีสิรินธร
  • รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2556
    – ศาสตราจารย์ ดร. สมนึก ตั้งเติมสิริกุล สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
  • ผู้ที่มีผลงานจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร
    – รองศาสตราจารย์ ดร.อรุณพร อิฐรัตน์ คณะแพทยศาสตร์
    – รองศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา สมพงษ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    – รองศาสตราจารย์ ดร. จารุณี โลกสุวรรณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    – รองศาสตราจารย์ ดร. ประภาศรี เทพรักษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมโภช พจนพิมล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มณฑลี ศาสนนันทน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ Continue reading วันนักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2557

มาทำความรู้จักกับ Altmetrics (ตอนที่ 1)

เนื่องจากไม่มีใครที่จะอ่านได้หมดทุกสิ่งอย่าง จึงทำให้เรายอมรับหรือมีความเชื่อมั่นกับการกรองผลงานทางวิชาการ ด้วยค่าการวัดคุณภาพ เช่น Impact factor, h-index, ค่า Citation ฯลฯ แต่ด้วยการเติบโตของเครื่องมือใหม่ๆ ทางออนไลน์ ทำให้มีตัวกรองใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการกรองหรือการวัดผลงานทางวิชาการ วิจัย ที่เป็นทางเลือก (Alternative metrics) หรือ Altmetrics เพราะ Altmetrics เป็นการวัดจำนวนที่ได้รับจากผู้อ่านด้วยวิธีการต่างๆ เช่น จำนวนการดูบทความ, จำนวนดาวน์โหลด, การ Tweet, การ post ขึ้น blog, การกด Likes, การกด Shares, การ Discussed, การ Cited เป็นต้น Altmetrics น่าจะเป็นตัววัดความนิยมของผลงานทางวิชาการ วิจัย ที่เสริมกับการวัดผลงานทางวิชาการ วิจัยแบบเดิม

Altmetrics เป็นการวัดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพียงข้อมูลปราฎในวันเดียวหรือสัปดาห์ แทนที่จะเป็นปีกว่าจะมีการอ้างอิงถึงผลงาน อาจารย์ในมหาวิทยาลัย ผู้บริหาร บรรณารักษ์ และสำนักพิมพ์ จึงเริ่มที่จะคุยกันถึงการใช้ประโยชน์ altmetrics และใช้อย่างไรกับการประเมินการมีส่วนร่วมทางวิชาการของนักวิจัย ห้องสมุดจึงจำเป็นต้องมีบทบาทสำคัญในการอำนวยความสะดวกหรือช่วยสื่อสารไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานวิจัยของมหาวิทยาลัย รวมทั้งนักวิจัย (นักศึกษา และคณาจารย์) และเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย

บรรณารักษ์เป็นผู้ที่ต้องสนับสนุนใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การแจ้งงานวิจัยล่าสุด การสนับสนุนการทดลองด้วยการวัดแบบ altmetrics และการให้ความรู้เกี่ยวกับ altmetrics

รายการอ้างอิง:

Lapinski, Scott, Piwowar, Heather and Priem, Jason. How librarians can help prepare faculty for the next generation of research impact metrics. College & Research Libraries News vol. 74 no. 6 292-300. Retrieved 14112014 from http://crln.acrl.org/content/74/6/292.long

Priem J., Taraborelli D., Groth P., Neylon C., “Alt-metrics: A manifesto,”  Retrieved 14112014 from http://altmetrics.org/manifesto/

การประเมินผลการใช้Œสื่อมัลติมีเดีย THE SMART ของ ครูบรรณารักษในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้เขียน (คุณวริศรา กาสา)  ได้กล่าวไว้ว่า  สื่อการเรียนรู้เป็นเครื่องมือช่วยถ่ายทอดความรู้Œ ความเข้าใจ ความรู้Œสึก เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์    กระตุ้Œนให้Œเกิดการพัฒนาศักยภาพในการคิด เสริมสรŒ้างคุณธรรม จริยธรรม และค่‹านิยมแก่‹ผู้Œเรียน ในขณะเดียวกันสื่อไม่ใช่‹ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่สามารถแก้Œปั˜ญหา หรือนำมาใชŒ้ได้Œเลย  แต่ทุกอย่างยอมขึ้นอยู่กับผูŒ้สอนว่‹าจะมีวิธีการนำเสนออย่‹างไรให้Œผู้Œเรียนบรรลุวัตถุประสงค์ในการรับรู้ และผู้เรียนนำมาใช้ให้ได้ประโยชน์อย่างไร

ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง:
คุณวริศรา กาสา เรื่อง การประเมินผลการใช้Œสื่อมัลติมีเดีย THE SMART ของ ครูบรรณารักษในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร.        โดมทัศน์ 32,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2554)

The Changes in Researchers’ Expectations of Libraries and Publishers: Findings from SCREAL Survey

หัวข้อเรื่อง The Changes in Researchers’ Expectations of Libraries and Publishers: Findings from SCREAL Survey บรรยายในการประชุม OCLC ครั้งที่ 6 วันที่ 13 ตุลาคม 2557 ณ Jeju Grand Hotel สาธารณรัฐเกาหลี เป็นเรื่องความคาดหวังของนักวิจัยในการเข้าถึงข้อมูลของห้องสมุดและสำนักพิมพ์: กรณีศึกษาจาก SCREAL Survey บรรยายโดย Yoshinori Sato จาก Tohoku Gakuin University ประเทศญี่ปุ่น

งานวิจัยนี้ กล่าวถึง การสำรวจการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศญี่ปุ่น ด้วย SCREAL Survey  ซึ่ง   SCREAL ย่อมาจาก The Standing Committee for Research on Academic Libraries  เป็นคณะกรรมการที่ตั้งเขึ้นเพื่อทำวิจัยห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา  ตั้งแต่ปี 2550  ได้แก่

  1. Hiroshi Itsumura, University of Tsukuba
  2. Keiko Kurata, Keio University
  3. Hiroya Takeuchi, Chiba University
  4. Kenji Koyama, Nihon University
  5. Mine Shinji, Mie University
  6. Syun Tutiya, NIAD-UE
  7. Sho Sato, Doshisha University
  8. Yoshinori Sato, Tohoku Gakuin University

โดยผลการวิจัยมี ดังนี้

Continue reading The Changes in Researchers’ Expectations of Libraries and Publishers: Findings from SCREAL Survey

2 ค่ายยักษ์ใหญ่ ระหว่าง Web of Science และ Scopus

Ruth A. Ragel ได้เขียนถึง 2 ค่ายยักษ์ใหญ่ฐานข้อมูล อย่าง Web of Science ซึ่งเป็นของบริษัท Thomson Reuters และ Scopus ซึ่งเป็นของสำนักพิมพ์ Elsevier  ทางด้าน Web of Science ซึ่งครองความน่าเชื่อถือด้วยค่า impact factor ของบทความมายาวนาน การตรวจสอบค่า impact factor จากฐานข้อมูล Journal Citation Reports (JCR) ขณะที่ Scopus ก็ออกวิธีการคำนวณค่า SJR (SCImago Journal Rank)  ในบทความนี้ Ragel นำเสนอหลายๆ มุมมอง เลยอยากแนะนำให้อ่านดูค่ะ http://librarylearningspace.com/ruths-rankings-4-big-two-thomson-reuters-scopus/