Tag Archives: ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.)

การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 6

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นเจ้าภาพในการจัดสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 6  ภายใต้หัวข้อ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับระบบสารนิเทศทางวิชาการแห่งชาติ ของประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1-3 มิถุนายน 2531  โดยมีเนื้อหาของการสัมมนา ดังนี้ Continue reading การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 6

ประชุมคณะทำงานฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา 2/2558

เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 ผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุมคณะทำงานฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 2/2558  ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จากการประชุมครั้งนี้มีวาระสืบเนื่องเรื่อง รายงานความคืบหน้าการจัดทำคู่มือการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามเรื่องการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศจากสถาบันต่างๆ หากเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วจะมีการแจ้งคณะทำงานอีกครั้ง

จากนั้นจะเป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ในการดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของคุณเบญจวรรณ  เล็กเจริญสุข ผู้แทนจากสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งกำลังจะเกษียณอายุราชการ

คุณเบญจวรรณได้ถ่ายทอดประสบการณ์ของบรรณารักษ์จัดหาทรัพยากรสารสนเทศให้กับคณะทำงาน และได้มีข้อคิดดีๆฝากถึงคณะทำงานว่า ในการทำงานควรยึดถือจรรยาบรรณบรรณารักษ์เป็นสำคัญ ต้องมีความซื่อสัตย์ ละเอียดรอบคอบ และหมั่นแสวงหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ นอกจากการทำงานจัดหาฯแล้วยังต้องมี service mind ในการให้บริการด้วย และสุดท้ายอยากให้ทุกคนคิดบวก ทำงานอย่างมีความสุข มีจิตใจดีงาม และมีน้ำใจกับเพื่อนร่วมงาน จะทำให้เราใช้ชีวิตการทำงานได้อย่างมีความสุข

ในช่วงสุดท้ายได้มีการมอบของที่ระลึกให้กับคุณเบญจวรรณ และถ่ายภาพร่วมกันค่ะ

11798261_10207681247817407_390426482_n

ประชุมคณะทำงานฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา 1/2558

11082864_1020664_n

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2558 ผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุมคณะทำงานฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 1/2558  ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เวลา 8.30 – 16.30 น.

ซึ่งคณะทำงานฯนี้ประกอบด้วยห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา 31 แห่ง และมีการจัดประชุมปีละ 3 ครั้ง จากการประชุมครั้งนี้เป็นการรายงานผลความก้าวหน้าการจัดทำคู่มือการจัดทำทรัพยากรสารสนเทศประเภทอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะมีการจัดทำเป็นรูปเล่มต่อไป

11091196_10206649409382091_1942027956_n

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ เรื่อง การจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ โดย คุณนาถศจี พันธุ์ใย จากสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ การคำนวณงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ โดยการใช้สูตรคำนวณที่มีความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนนิสิตของคณะต่างๆ จำนวนรายวิชา จำนวนหน่วยกิต และการถ่วงค่าน้ำหนัก
การคำนวณจะเป็นลำดับขั้นตอนดังนี้
1. ค่าน้ำหนักขององค์ประกอบในการจัดสรรงบประมาณแต่ละคณะ
2. เพิ่มค่าอัตราส่วนในกลุ่มสาขา
3. หาค่าเฉลี่ยต่อ 1 หน่วยงบประมาณ
4. คำนวณแบ่งเพื่อจัดสรรงบประมาณ
เมื่อคำนวณแล้วจะได้ผลดังภาพ 

123

จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ทำให้คณะทำงานได้เรียนรู้วิธีการทำงานใหม่ๆและสามารถนำไปปรับใช้กับหน่วยงานของตนเองได้อีกด้วยค่ะ

KARAOKE ก็ไม่ใช่

ปัจจุบันเวลาสืบค้นฐานข้อมูลห้องสมุดไม่ว่าจะเป็นจากการสืบค้นผ่าน

One search

onesearch

หรือ WorldCat

worldcat

หรือ OPAC ของห้องสมุด

opac

มักจะเจอรายการบรรณานุกรมภาษาไทย มีอีกหนึ่งภาษาขึ้นมาคู่กัน เป็นภาษาที่จะเรียกว่า Karaoke ก็ไม่ใช่ แต่จะคล้ายๆ จะมีอักษรลักษณะพิเศษเพื่อช่วยในการออกเสียง ภาษาที่ว่านี้กัน นั่นคื่อภาษา Romanization

Romanization คือ การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง           (ดูคู่มือการถอดเสียงได้ที่นี่) ในกรณีของภาษาญี่ปุ่น คือ Romaji ในกรณีของภาษาจีนคือ Pinyin

ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารและการเก็บ ข้อมูลในระดับสากล เพราะปัจจุบันสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก OCLC  (Online Computer Library Center)

Continue reading KARAOKE ก็ไม่ใช่

ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับการพัฒนาในศตวรรษที่ 21

1

เมื่อวันที่ 12-13 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมาบุคลากรของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เข้าร่วมสัมมนาวิชาการในหัวข้อ “ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับการพัฒนาในศตวรรษที่ 21” เนื่องในโอกาส 30 ปี แห่งความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ณ โรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ โดยมีบรรณารักษ์และบุคลากรทางการศึกษาจากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และรัฐบาล ทั่วประเทศเข้าร่วมงาน

Continue reading ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับการพัฒนาในศตวรรษที่ 21

การใช้ระบบวารสารออนไลน์ OJS (Open Journal System)

    เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 09.00 - 15.00 น. ณ ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี อาคารปิยชาติ ชั้น 7 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ได้มีการ อบรมการใช้ระบบวารสารออนไลน์ OJS (Open Journal System) 

ในการอบรมดังกล่าว ได้เริ่มจากการแนะนำระบบวารสารออนไลน์ OJS (Open Journal Systems) โดย คุณนีลวัสน์ อินทรักษา จากบริษัทปันสารเอเชีย จำกัด  และอบรมการใช้ระบบวารสารออนไลน์ OJS (Open Journal Systems) ฝึกการนำฉบับวารสารและการนำบทความ (PDF) เข้าระบบ OJS และตอบคำถาม โดยคุณวนิดา วารีเศวตสุวรรณ และบรรณารักษ์ ทีมงานวารสาร   สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้แก่บรรณาธิการ จากสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อให้ความพร้อมในการดำเนินการวารสารออนไลน์ของไทย หรือ ThaiJO

แนะนำระบบวารสารออนไลน์ OJS (Open Journal Systems)
แนะนำระบบวารสารออนไลน์ OJS (Open Journal Systems)

 

Continue reading การใช้ระบบวารสารออนไลน์ OJS (Open Journal System)

Worldshare ILL : sharing resources with thousands of libraries all over the world

ในหน้า Home ของเว็บไซต์สำนักหอสมุด www.library.tu.ac.th หากใครเคยเข้าไปใช้บริการ ก็จะเห็นว่ามีกล่องสืบค้น (search box) อยู่ 2 กล่อง กล่องแรกคือ One Search (ซึ่งจะกล่าวถึงในโอกาสต่อไป) ส่วนอีกกล่องที่อยู่ด้านล่างของหน้าจอ คือ Worldcat local ซึ่งเป็นระบบการสืบค้นรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดทั้ง 11 แห่ง (ภายใต้สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดบอกรับ และหนังสือในห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วโลกเกือบ 7 หมื่นแห่งโดยการพิมพ์คำค้นเพียงที่เดียว (Single Search)

worldcat1

 

เมื่อผู้ใช้สืบค้นข้อมูลผ่าน Worldcat และพบว่าหนังสือที่ต้องการไม่มีให้บริการในห้องสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ใช้สามารถขอใช้บริการระหว่างห้องสมุดได้

วิธีการสืบค้น

พิมพ์คำค้นลงในช่อง Search box เมื่อได้ผลการสืบค้นแล้ว วิธีการตรวจสอบว่าหนังสือนั้นมีให้บริการที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หรือไม่ ให้ดูที่แต่ละรายการ หากปรากฏชื่อ Thammasat university libraries หมายความว่าห้องสมุดมีตัวเล่มให้บริการ ดังภาพ

worldcat2

 

แต่ถ้ารายการไหนที่ไม่มีในห้องสมุด มธ. จะปรากฏคำว่า
Worldcat libraries

worldcat3

 

หากต้องการขอเอกสารระหว่างห้องสมุด ให้คลิกที่ชื่อหนังสือ

worldcat4

 

จากนั้นคลิกที่เมนู     sent request
และกรอกข้อมูลตามที่ระบบ required  ดังนี้

  • First name
  • Last name
  • Telephone
  • Patron ID (ในที่นี้ให้ใช้รหัสประจำตัวสมาชิกห้องสมุด)
  • Date needed
  • Max cost (ถ้าอยากได้แบบฟรี ให้ใส่ 0.00)
  • Comment อาจจะระบุเหตุผลในการขอเช่น  for assignment
  • จากนั้นคลิก Submit

Continue reading Worldshare ILL : sharing resources with thousands of libraries all over the world

OCLC Global Council Meeting

A brief summary of OCLC November Global Council meeting written by George Needham, Vice President, Global and Regional Councils.

L1270607 L1270748 L1270755 L1270758

OCLC Global Council met in Dublin, Ohio, from November 10 to 12, 2014. Global Council is OCLC’s only structure elected directly by members from around the world. As such, it’s the voice of the membership. The Council is composed of 48 delegates and three officers. The delegates have four primary responsibilities: to elect six of the OCLC trustees; to approve or reject any changes to the cooperative’s foundation documents; to provide OCLC with input from the field on its directions; and to act as a conduit of communications between the members and the Board and staff. The last two roles were most in evidence at this meeting.

After morning meetings of the Communications Committee, the Executive Committee, the Regional Council caucuses, and a New Delegate Orientation session, Barbara Preece, 2014-2015 President of Global Council, opened the meeting by welcoming all attending. Council then recognized and honored Glenn Patton on his pending retirement, noting his achievements on behalf of libraries throughout his long career with OCLC.
Continue reading OCLC Global Council Meeting

NGA ŪPOKO TUKUTUKU Maori Subject Headings Thesaurus

หัวข้อเรื่อง NGA ŪPOKO TUKUTUKU Maori Subject Headings Thesaurus  บรรยายในการประชุม OCLC ครั้งที่ 6  วันที่ 14 ตุลาคม 2557 ณ Jeju Grand Hotel        สาธารณรัฐเกาหลี กล่าวถึงพัฒนาการกำหนดหัวเรื่อง อรรถาภิธานศัพท์ภาษาเมารี บรรยายโดย Raewyn Paewai, Auckland Libraries and  Anne Reweti, Wellington City Libraries ประเทศนิวซีแลนด์

          CIMG2270

วิทยากรได้เริ่มต้นด้วยการร้องเพลงภาษาเมารี แล้วถึงเล่าเรื่องชนเผ่าเมารี ว่าป็นชาวพื้นเมืองของประเทศนิวซีแลนด์  ตั้งรกรากอยู่แถบแปซิฟิก โดยอพยพมาประมาณปี ค.ศ.1200 – 1400 มีการสืบทอดเรื่องเล่าจากปากต่อปาก  ข้อมูลจะถูกส่งผ่านทางเพลง การตั้งชื่อสถานที่ และการท่องจำ จนกระทั่งมิชชันนารีเข้ามาในปลายปี ค.ศ. 1800  จึงเป็นผู้นำกระบวนการพิมพ์และสร้างภาษาเขียนให้

Koru เป็นสัญลักษณ์ของการสร้างสรร โดยมีพื้นฐานจากรูปร่างของใบเฟิร์น ที่แสดงให้เห็นแนวคิดของการเคลื่อนไหวแบบไม่สิ้นสุด ชีวิตมีทั้งการเปลี่ยนแปลงและการอยู่กับที่เหมือนเดิม

1

Continue reading NGA ŪPOKO TUKUTUKU Maori Subject Headings Thesaurus

The Changes in Researchers’ Expectations of Libraries and Publishers: Findings from SCREAL Survey

หัวข้อเรื่อง The Changes in Researchers’ Expectations of Libraries and Publishers: Findings from SCREAL Survey บรรยายในการประชุม OCLC ครั้งที่ 6 วันที่ 13 ตุลาคม 2557 ณ Jeju Grand Hotel สาธารณรัฐเกาหลี เป็นเรื่องความคาดหวังของนักวิจัยในการเข้าถึงข้อมูลของห้องสมุดและสำนักพิมพ์: กรณีศึกษาจาก SCREAL Survey บรรยายโดย Yoshinori Sato จาก Tohoku Gakuin University ประเทศญี่ปุ่น

งานวิจัยนี้ กล่าวถึง การสำรวจการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศญี่ปุ่น ด้วย SCREAL Survey  ซึ่ง   SCREAL ย่อมาจาก The Standing Committee for Research on Academic Libraries  เป็นคณะกรรมการที่ตั้งเขึ้นเพื่อทำวิจัยห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา  ตั้งแต่ปี 2550  ได้แก่

  1. Hiroshi Itsumura, University of Tsukuba
  2. Keiko Kurata, Keio University
  3. Hiroya Takeuchi, Chiba University
  4. Kenji Koyama, Nihon University
  5. Mine Shinji, Mie University
  6. Syun Tutiya, NIAD-UE
  7. Sho Sato, Doshisha University
  8. Yoshinori Sato, Tohoku Gakuin University

โดยผลการวิจัยมี ดังนี้

Continue reading The Changes in Researchers’ Expectations of Libraries and Publishers: Findings from SCREAL Survey