Tag Archives: ห้องสมุด

การทำบัตรสมาชิกห้องสมุด

ห้องสมุด เปรียบเสมือนขุมทรัพย์แห่งความรู้เป็นแหล่งค้นคว้า หาข้อมูล ประกอบการเรียนการสอน และศึกษาเรื่องทั่วๆไปสำหรับอาจารย์  เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ของมหาวิทยาลัยและ บุคคลภายนอกทั่วไป  ห้องสมุดจึงมีบริการทำบัตรสมาชิกตามสถานะของสมาชิกดังนี้

บัตรสมาชิกของห้องสมุดมี  2 ประเภท
1. บัตรสมาชิกบุคคลภายใน   ได้แก่ อาจารย์  ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย  ลูกจ้าง และนักศึกษา สามารถยืมหนังสือออกได้ตามสิทธิ์ดังนี้ อาจารย์ยืมได้ 60 เล่มนาน 1 ภาคการศึกษา นักศึกษาปริญญาโท และปริญญาเอก ยืมได้ 40 เล่มนาน 15 วัน นักศึกษาปริญญาตรียืมได้  20 เล่มนาน 15 วัน  ส่วนข้าราชการ ลูกจ้างมีสิทธิ์ยืมได้เท่ากับนักศึกษาปริญญาตรี

cadrstuden 1 Continue reading การทำบัตรสมาชิกห้องสมุด

การตรวจสอบหนังสือที่ได้รับจากการบริจาค

ห้องสมุดเป็นแหล่งให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลายวิชา  นอกจากการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศด้วยงบประมาณแล้ว  อีกส่วนหนึ่งของทรัพยากรสารสนเทศนั้น ได้มาจากศิษย์เก่า หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดจนประชาชนทั่วไปให้ความอนุเคราะห์นำหนังสือและสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ  มามอบให้ห้องสมุด  ซึ่งทางห้องสมุดจะทำการตรวจสอบหนังสือที่ได้รับมา    ว่ามีที่ห้องสมุดส่วนกลาง และห้องสมุดสาขาใดบ้าง

การตรวจสอบหนังสือมีขั้นตอนการทำดังนี้

  1. ตรวจสอบรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศ ในฐานข้อมูลห้องสมุดระบบอัตโนมัติของห้องสมุด  โดยตรวจสอบรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศ ชื่อผู้แต่งหนังสือ  เลขISBN  หรือ  ISSN  ของทรัพยากรสารสนเทศนั้น ๆ ว่ามีที่    ห้องสมุดส่วนกลางและห้องสมุดสาขาใดบ้าง
  2. ตรวจสอบรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศ ในฐานข้อมูล  Booklist New Open Source Library Management System   โดยตรวจสอบรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศ  ชื่อผู้แต่งหนังสือ  เลขISBN , ISSN   ของทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ   ชื่อผู้เสนอทรัพยากรสารสนเทศ  ว่ามีที่  ห้องสมุดส่วนกลางและห้องสมุดสาขาใดบ้าง
  3. เมื่อตรวจสอบพบว่าไม่มีในห้องสมุดส่วนกลาง และห้องสมุดสาขา  จะพิมพ์รายละเอียดต่าง ๆ ของทรัพยากรสารสนเทศนั้น ๆ ในฐานข้อมูล  Booklist New Open Source Library Management System และระบุ ห้องสมุดที่จะนำทรัพยากรสารสนเทศเข้าให้บริการ  พร้อมระบุสถานะการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศนั้น ๆ ว่า เป็นการบริจาค/สั่งซื้อ
  4. เจ้าหน้าที่จะนำทรัพยากรสารสนเทศส่งไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศที่รับผิดชอบเพื่อดำเนินการต่อไปบทความที่เกี่ยวข้อง การทำหนังสือตอบขอบคุณ

RFID สำคัญอย่างไร ?

RFID  ย่อมาจากคำว่า  Radio Frequency Identification มีลักษณะเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเรามักจะเรียกว่า RFID tag ทำงานโดยอาศัยคลื่นวิทยุ ในการอ่านข้อมูลที่ติดอยู่กับ tag ห้องสมุดได้นำเทคโนโลยี RFID เพื่อประโยชน์ในหลายๆ ด้าน เป็นการลดภาระงาน ลดค่าใช้จ่าย ผู้ใช้สามารถใช้บริการด้วยตนเอง ด้วยการยืม-คืนหนังสือด้วยตนเองผ่านเครื่องยืม-คืนอัตโนมัติ การป้องกันการขโมยหนังสือ (กรณีที่ไม่ได้ยืมผ่านระบบ) การสำรวจหนังสือ เป็นต้น แต่ก่อนจะใช้ประโยชน์ได้ตังกล่าวนั้น ต้องมีการนำ RFID tag ติดกับหนังสือ ซึ่งมีกระบวนการ ดังนี้

วิธีดำเนินการ

1.       เปฺิดโปรแกรม Smart Tagging

Tag
Continue reading RFID สำคัญอย่างไร ?

เทคโนโลยีห้องสมุดในปี 2015

Marshall Breeding  ได้คาดการณ์เทคโนโลยีในห้องสมุดไว้ในบทความ เรื่อง Library Technology Forecast for 2015 and Beyond   พอหยิบยกมาโดยสังเขป ดังนี้

  • Linked data
    ซึ่งเป็นเรื่องที่ให้ความสนใจกันมากในปีที่ผ่านมา มีหลายโครงการที่เกิดขึ้น อย่างเช่น Library of Congress (LC) ที่มีโครงการ BIBFRAME เกิดขึ้น BIBFRAME จึงน่าจะเป็นโครงการที่น่าจับตามองในเรื่องของการเชื่อมโยงข้อมูลจาก MARC
  • การใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile)
    ในปีหน้า การใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อรองรับการใช้บริการจากห้องสมุดยังเป็นเรื่องที่จะมีมากขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาเว็บเพื่อให้สนับสนุนการใช้งานผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงได้มากขึ้นและใช้งานง่ายมากกว่าเดิม
  • 3D Printing
    การให้บริการ 3D Printer เป็นบริการทางนวัตกรรมอย่างหนึ่งของห้องสมุด
  • เทคโนโลยีอื่นๆ
    NFC (Near Field Communication)  เทคโนโลยี NFC เป็นตัวช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้ห้องสมุดผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟน หรือระบบจ่ายเงินต่างๆ เช่น iPhone 6 ถูกออกแบบให้รองรับการใช้ NFC เปิดโอกาสให้นักพัฒนาสำหรับสร้าง application ต่างๆ ได้ เช่นเดียวกับ Samsung และผู้ผลิตสมาร์ทโฟนค่ายอื่นๆ

ติดตามอ่านโดยละเอียดได้ที่  http://www.infotoday.com/cilmag/dec14/Breeding–Library-Technology-Forecast-for-2015-and-Beyond.shtml

ายการอ้างอิง:

Marshall Breeding. “Library Technology Forecast for 2015 and Beyond” Computers in Libraries, December 2014,  Retrieved : 24 Jan, 2015 from http://www.infotoday.com/cilmag/dec14/Breeding–Library-Technology-Forecast-for-2015-and-Beyond.shtml

ดิวอี้ เหมียวสมุด

คุณชูมานได้เล่าถึง ดิวอี้ แมวเหมืยวที่อยู่ในห้องสมุดได้อย่างน่ารักและน่าติดตามว่าแมวเหมียวทำไมถึงมาอยู่ในห้องสมุดได้อย่างไร
ห้องสมุดกับสัตว์เลี้ยง? ฟังแล้วน่าสยองพอๆ กับห้องสมุดมีไอติมโคนให้กินไปอ่านไป แต่ในห้องสมุดต่างประเทศ โดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกามักมีแมว ประจำห้องสมุดเพื่อไว้กำจัดหนู นั่นคงเป็นสมัยโบราณก่อนการค้นพบสารหนู
ปัจจุบันมีแมวห้องสมุดอยู่ทั่วโลก พวกมันไม่ต้องทำงานหนักอะไรไปกว่าทำตัวน่ารักและไม่ลับเล็บกับสันหนังสือหรือเบาะเก้าอี้ นอกจากนี้ยังห้ามข่วนกัดพวกเด็กๆ ที่เล่นกับมันแรงๆ เป็นอันขาด หาเรื่องราวของเหมียวห้อง
สมุดเหล่านี้ได้ที่ http://www.ironfrog.com/catsmap.html
ดิวอี้ ก็เป็นอีกหนึ่งเหมียวห้องสมุด แต่เป็นเหมียวที่มีชื่อเสียง
ไปทั้งโลก ออกรายการโทรทัศน์ วิทยุมาแล้วมากมาย และมีรูปขึ้น
ปกนิตยสารสัตว์เลี้ยงมาแล้ว ขณะนี้ดิวอี้อยู่ตามชั้นหนังสือของร้าน
ขายหนังสือและในหน้าเว็บของ Amazon.com เป็นแมวสีส้มขนฟู
ดิวอี้ เหมียวสมุด

ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

ชูมาน ถิระกิจ. ดิวอี้ เหมียวสมุด. โดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2552)

Koha โปรแกรมเปิดเผยรหัสสำหรับห้องสมุด

Koha โปรแกรมเปิดเผยรหัสสำหรับห้องสมุด เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่นำเสนอในวันเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558

Koha เป็นซอฟต์แวร์เปิดเผยรหัสสำหรับการจัดการทรัพยากรในห้องสมุด หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปในวงการห้องสมุดว่า ระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการ (Integrated Library Systems : ILS) Koha ได้รับการพัฒนาขึ้นด้วยความร่วมมือของกลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์และบรรณารักษ์ทั่วโลก ทำให้ Koha กลายเป็นซอฟต์แวร์ที่มีฟังก์ชันงานต่างๆ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์บนพื้นฐานความต้องการที่แท้จริงของบรรณารักษ์ นอกจากนี้ การพัฒนาระบบด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ โดยกลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ทำให้ Koha เป็นซอฟต์แวร์ห้องสมุดที่มีความทันสมัย ใช้งานง่ายและคงทน

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่แห่งแรกของประเทศไทยที่นำซอฟต์แวร์ Koha มาใช้แทนที่ระบบห้องสมุดเดิมซึ่งเป็นระบบห้องสมุดเชิงพาณิชย์จากต่างประเทศ (Commercial Software) ด้วยความเชื่อมั่นในความครบถ้วนสมบูรณ์ของฟังก์ชันการทำงาน ความได้เปรียบของซอฟต์แวร์เปิดเผยรหัสที่ผู้ใช้งานสามารถพัฒนาและปรับแต่งระบบเพิ่มเติมได้ด้วยตัวเองตามความต้องการ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องของซอฟต์แวร์ และการรวมกลุ่มของผู้ใช้งานระบบเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่สามารถให้ช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันได้อย่างไม่จำกัดเวลาและสถานที่

นอกจากการนำไปประยุกต์ใช้งานกับหน่วยงานการศึกษา และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในลักษณะของระบบเดี่ยว หรือ Stand alone แล้ว จุดเด่นของ Koha คือ ความสามารถในการรองรับห้องสมุดสาขาที่ทำงานร่วมกันในลักษณะของเครือข่ายหรือ Consortium ดังเช่น สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งมีห้องสมุดจำนวนทั้งสิ้น 11 สาขา การประยุกต์ใช้ระบบในลักษณะนี้ทำให้ห้องสมุดที่มีมากกว่าหนึ่งสาขาและต้องการใช้งานทรัพยากรร่วมกัน สามารถใช้งานฐานข้อมูลร่วมกันเพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลและสามารถแลกเปลี่ยนทรัพยากรต่างๆ ระหว่างห้องสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การนำซอฟต์แวร์เปิดเผยรหัสมาใช้งานในประเทศไทย นอกจากจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในส่วนของลิขสิทธิ์แล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ในกลุ่มบรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และนักพัฒนาระบบทั้งในระดับประเทศและระดับสากล นอกจากนี้ ประเทศไทยยังสามารถนำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ ไปบอกเล่าและแบ่งปันแก่ห้องสมุดในประเทศเพื่อนบ้านและประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาร่วมกันที่ยั่งยืนและยาวนาน

Library Futures: From Knowledge Keepers to Creators

บทความน่าสนใจค่ะ เรื่อง Library Futures: From Knowledge Keepers to Creators โดย Sohail Inayatullah

เนื่องจากการทะลักทะลายของสารสนเทศได้นำไปสู่ห้องสมุดไซเบอร์ (Cybrary) หรือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ Sohail Inayatullah ได้พูดถึงอนาคตของห้องสมุด บทบาทของห้องสมุดจากเดิมที่เป็น Knowledge keeper หรือ Keeper of the collection ผันมาเป็น Creators

จาก  Inayatullah, Sohail. 2014.  “Library Futures: From Knowledge Keepers to Creators”  The Futurist, November/December 2014. 24-28.