What’s next in IT?

What’s next in IT? โดย อาจารย์ ดร. ยรรยง  เต็งอำนวย จากงาน CUCA Night 2014 จัดโดย สมาคมศิษย์เก่าคอมพิวเตอร์์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUCA)  (http://www.youtube.com/watch?v=KuYespfYFCQ&feature=youtu.be)

เอกสารประกอบการบรรยาย “What’s next in IT? by Dr.Yunyong Teng-amnuay” สามารถ Download ได้ที่ https://www.dropbox.com/s/5sve9rbd7w3dsu4/Slides%20CUCA%20Night%202014.zip

 

NGA ŪPOKO TUKUTUKU Maori Subject Headings Thesaurus

หัวข้อเรื่อง NGA ŪPOKO TUKUTUKU Maori Subject Headings Thesaurus  บรรยายในการประชุม OCLC ครั้งที่ 6  วันที่ 14 ตุลาคม 2557 ณ Jeju Grand Hotel        สาธารณรัฐเกาหลี กล่าวถึงพัฒนาการกำหนดหัวเรื่อง อรรถาภิธานศัพท์ภาษาเมารี บรรยายโดย Raewyn Paewai, Auckland Libraries and  Anne Reweti, Wellington City Libraries ประเทศนิวซีแลนด์

          CIMG2270

วิทยากรได้เริ่มต้นด้วยการร้องเพลงภาษาเมารี แล้วถึงเล่าเรื่องชนเผ่าเมารี ว่าป็นชาวพื้นเมืองของประเทศนิวซีแลนด์  ตั้งรกรากอยู่แถบแปซิฟิก โดยอพยพมาประมาณปี ค.ศ.1200 – 1400 มีการสืบทอดเรื่องเล่าจากปากต่อปาก  ข้อมูลจะถูกส่งผ่านทางเพลง การตั้งชื่อสถานที่ และการท่องจำ จนกระทั่งมิชชันนารีเข้ามาในปลายปี ค.ศ. 1800  จึงเป็นผู้นำกระบวนการพิมพ์และสร้างภาษาเขียนให้

Koru เป็นสัญลักษณ์ของการสร้างสรร โดยมีพื้นฐานจากรูปร่างของใบเฟิร์น ที่แสดงให้เห็นแนวคิดของการเคลื่อนไหวแบบไม่สิ้นสุด ชีวิตมีทั้งการเปลี่ยนแปลงและการอยู่กับที่เหมือนเดิม

1

Continue reading NGA ŪPOKO TUKUTUKU Maori Subject Headings Thesaurus

แนะนำการใช้โปรแกรม EndNote X7

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดอบรมโปรแกรม EndNote X7 ให้กับนักศึกษาระดับปริญญาเอก คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน จำนวน 7 คน เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2557 เวลา 13.30-16.00 น. ณ ห้องส่งเสริมการรู้สารสนเทศ 1 โดยวิทยากรที่แนะนำการใช้คือ คุณสุมนา วัสสระ และ บุษยา เฟื่องประเสริฐ เป็นผู้ช่วยวิทยากร ซึ่งถือว่าเป็นวิทยากรหน้าใหม่ทั้งคู่ของสำนักหอสมุดเลยค่ะ

มาทำความรู้จักกับ โปรแกรมนี้กันสักเล็กน้อยนะคะ โปรแกรม EndNote X7 เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดที่มีให้บริการในห้องสมุดขณะนี้ โปรแกรมนี้ใช้สำหรับการจัดการทางบรรณานุกรม ได้แก่ การสืบค้น การจัดเก็บ และการจัดการรูปแบบรายการบรรณานุกรม ที่ผู้ใช้ได้สืบค้นมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ และนำรายการนั้นไปจัดการในส่วนของรายการบรรณานุกรมหรือรายการอ้างอิงในตัวเล่มวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สะดวกมากขึ้น
วิทยากรได้บรรยายเริ่มจากการดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม การนำข้อมูลเข้าเอง การ import ข้อมูลที่สืบค้นได้จากฐานข้อมูลต่างๆ และทดลองให้นักศึกษาแต่ละคนสืบค้นจากฐานข้อมูลที่แตกต่างกัน เพื่อจะได้ทราบถึงตัว filter ที่หลากหลายที่จะใช้ในการ export ข้อมูลไปยังโปรแกรม EndNote

บรรยากาศในห้องบรรยาย
บรรยากาศในห้องบรรยาย

หลังจากจบการบรรยายแล้วได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการแนะนำในวันนี้ ซึ่งผลสรุปส่วนมากพึงพอใจ และบอกว่าเป็นโปรแกรมที่ดีและสามารถนำมาใช้งานได้จริง สุดท้ายวิทยากรยังได้แนะนำการใช้โปรแกรมว่าไม่ควรนำไปให้ผู้อื่นใช้ เพราะเป็นโปรแกรมที่เกี่ยวเนื่องกับลิขสิทธิ์ สำนักหอสมุดจัดหามาให้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรที่สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เท่านั้น และท้ายสุดได้เชิญชวนนักศึกษาให้เข้าร่วมอบรมฐานข้อมูลต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ของห้องสมุด และหวังว่านักศึกษาจะให้ความสนใจเป็นอย่างดี

Guide to Writing Academic Articles: Part X

Writing an academic book review.

 http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/0f/Guiseppe_Arcimboldo%2C_copy%3F%2C_after%3F_-_The_Librarian_-_Google_Art_Project.jpg/347px-Guiseppe_Arcimboldo%2C_copy%3F%2C_after%3F_-_The_Librarian_-_Google_Art_Project.jpg

One relatively simple way for ajarns and advanced students to get a publication credit is to write a book review for an academic journal.

Continue reading Guide to Writing Academic Articles: Part X

คู่มือเอาชนะเวที พูดให้เป็น พูดให้เก่ง ในชั่วข้ามคืน

คู่มือเอาชนะเวที พูดให้เป็น พูดให้เก่ง ในชั่วข้ามคืน โดย เอด โวลมัธ ถอดความโดย แวนด้า เปิดบทแรก ด้วย การพูดยอดแย่สิบแบบ ได้แก่

  • มาแบบไม่พร้อม
  • ทำให้ทุกคนเสียเวลา
  • พูดให้ตัวเองฟัง
  • พูดเพื่อประจบเจ้านาย
  • ใช้ความเห็นส่วนตัวแทนความจริง
  • พูดวกวนออกนอกเรื่อง
  • ลืมวัตถุประสงค์ของเรื่องที่จะพูด พูดเรื่อยเปื่อยจนลืมหัวข้อสำคัญ
  • ละเลยผู้ฟัง ไม่สนใจผู้ฟังที่ตั้งใจจะมาฟัง พูดไม่ตรงประเด็น
  • ละเลยเรื่องเวลา
  • สรุปอย่างไม่แน่นอน

หนังสือเรื่องนี้ ยังมีเทคนิคอื่นๆ อีกมากมาย ต้องติดตามค่ะ

คัมภีร์นักพูดพูดแบบชนะใจคน

เทคนิคการเตรียมตัว หลังจากการรวบรวมข้อมูลที่จะใช้ในการพูดแล้ว ควรมีกระดาษจัดลำดับความคิดในลักษณะนี้

  • ข้อเท็จจริงที่จำเป็น ซึ่งผู้ฟังจะต้องรู้
  • ข้อมูล ที่ผู้ฟังควรรู้
  • สิ่งซึ่งจะเป็นการดีสำหรับผู้ฟัง แต่ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น
  • การเรียบเรียงเช่นนี้จะทำให้ความคิดของคุณชัดเจน

นี้เป็นส่วนหนึ่งที่ตัดตอนมาจากหนังสือ คัมภีร์นักพูดพูดแบบชนะใจคน โดย ศมธรรม ไชยพรพรหม บรรณาธิการเรียบเรียง

นอกจากนี้ยังมีแนวทางหรือเทคนิคอื่นๆ อีก ได้แก่ การร่างคำพูด ทัศนอุปกรณ์  การฝึกซ้อม ก่อนที่คุณจะพูด การซักถาม การใช้วัตถุดิบ วัตถุดิบสำหรับคำพูด

พูดโดนใจใน 7 วัน

พูดโดนใจใน 7 วัน หรือ Presentation in a week โดย Malcolm Peel แปลและเรียบเรียงโดย จินดารัตน์ บวรบริหาร เป็นหนังสือฝึกการพูดต่อหน้าผู้อื่น หรือการพูดในที่ชุมชน โดยผู้เขียนแนะนำวิธีการฝึกพูดในแต่ละวัน

พูดโดนใจใน 7 วัน
พูดโดนใจใน 7 วัน

วันอาทิตย์: การเตรียมความพร้อมในการพูด

การเตรียมความพร้อมในการพูด  ได้แก่ การเตรียมความพร้อมในเรื่อง การวิเคราะห์โอกาสในการพูด การทำความรู้จักผู้ฟัง การศึกษาสถานที่ในการพูด และการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของคุณ

ในเรื่องของการวิเคราะห์โอกาสในการพูด นั้นผู้เขียนได้จัดทำรายการสำหรับการวิเคราะห์โอกาสในการพูดไว้ เช่น องค์กรใดที่จัดงาน วัตถุประสงค์ในการจัดงาน ลักษณะของงาน เวลาในการพูด การแต่งกาย เป็นต้น

การทำความรู้จักผู้ฟัง โดยประเมินจากรายการ เช่น จำนวนของผู้ฟัง เหตุผลในการเข้าฟัง เป็นต้น

ศึกษาสถานที่ในการพูด ควรได้มีการศึกษาสถานที่ที่จะไปพูด เพื่อจะได้มีการเตรียมอุปกรณ์ หรือเจ้าของงานได้เตรียมอุปกรณ์อะไรบ้าง และเมื่อไปถึง ควรได้มีการทดลองอุปกรณ์ต่างๆ ด้วย โดยมีรายการที่ควรตรวจสอบ ได้แก่ วิธีการเดินทาง เวลาที่ใช้ในการเดินทาง ต้องพูดบนเวที หรือมีโพเดียม ระบบเสียง ตำแหน่งของการจัดอุปกรณ์การแสดงภาพ เป็นต้น

กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของงาน ผู้พูดต้องทำการบ้าน โดยกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการพูดอย่างแม่นยำและตรงกับหน่วยงานที่เชิญไปพูด Continue reading พูดโดนใจใน 7 วัน

พูดอย่างมั่นใจ ต้องใช้ Keyword ไม่ยาก ( Easy guide : speak like professional by keyword technique)

หนังสือเรื่อง พูดอย่างมั่นใจ ต้องใช้ Keyword ไม่ยาก

( Easy guide : speak like professional by keyword technique)

เขียน โดย ทวีวรรณ กมลบุตร

book

เป็นหนังสือที่อ่านสบายๆ ได้แนวทางในการพูด โดยการแนะนำการใช้  keyword ให้สื่อถึงเรื่องที่พูด  เข้าใจ และจดจำง่าย อาทิ เช่น พูดเรื่องเกี่ยวกับการบริการ จะมีส่วนของ Intro, Body และ Conclusion ดังนี้

Intro     ตั้งหัวข้อก่อน เช่น “สร้างรอยยิ้ม เพิ่มเสน่ห์บริการ”
Body    คิดคำ Keyword ก่อน แล้วค่อยขยาย เช่น
ยิ้มแย้ม           == ยิ้มต้อนรับ ทักทาย ยินดีที่ได้พบลูกค้า
ยืดหยุ่น          == ยืดหยุ่นการทำงาน บริการได้ทุกสถานการณ์
ยอดเยี่ยม      == ยอดเยี่ยมด้วยการพูด ดูแล เอาใจใส่ สร้าง                                                                      ความประทับใจทุกจุดสัมผัสบริการ                          Conclusion   การสรุป   เช่น “สร้างความประทับใจ ทุกจุดสัมผัสบริการ”

นอกจากนี้ผู้เขียนยังแนะนำการลดการตื่นเต้น สั่น และอื่นๆอีก ซึ่งเป็นเรื่องปกติของครั้งแรกในการพูด   รวมทั้งการใช้น้ำเสียง การใช้ภาษาตา การใช้ภาษามือ การเคลื่อนไหวร่างกาย การใช้คำถาม การเตรียมตัวก่อนพูด
การเตรียมพร้อมข้อมูลสำหรับคำถาม ฯลฯ ติดตามอ่านได้จากห้องสมุดนะคะ Call no. LANG&LIT PN 2013 632792

8 ประโยชน์ของเลมอน

8 ประโยชน์ของเลมอน ที่มากกว่าความเปรี้ยว

เลมอนลูกสีเหลืองกลม ๆ หรือที่รู้จักกันว่าเป็นมะนาวฝรั่ง ไม่ได้มีดีแค่ความเปรี้ยวที่อุดมไปด้วยวิตามินซีที่มีประโยชน์แก่ร่างกายเท่านั้น แต่ยังมีคุณประโยชน์เกี่ยวกับงานบ้านอีกหลายต่อหลายอย่าง ซึ่งถ้าไม่ได้คิดต่อยอดการใช้งานของเลมอนสีเหลืองคงไม่มีทางรู้ได้ง่าย ๆ แน่ แต่วันนี้เราได้นำประโยชน์ที่มากกว่าของเลมอนมาบอกต่อให้ทุกคนได้รู้กันแบบไม่ต้องคิดต่อให้เหนื่อย ส่วนเลมอนลูกสีเหลือง ๆ จะเจ๋งแค่ไหน แล้วจะใช้ประโยชน์ด้านงานบ้านยังไงได้บ้าง มาดูกันเลยค่ะ

Continue reading 8 ประโยชน์ของเลมอน

เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ (Presentation Techniques)

เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ  (Presentation Techniques)
เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ (Presentation Techniques)

เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ (Presentation Techniques) โดย ณัฐพงศ์ เกศมาริษ ได้รวบรวม เรียบเรียง เทคนิคการใช้เครื่องมือ เครื่องอุปกรณ์ ประกอบการนำเสนอ รวมทั้งเทคนิคการใช้สื่อประเภทต่างๆ ที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจ และความประทับใจ รวมไปทั้งเทคนิคการใช้กิริยาท่าทาง หรือภาษากายที่สุภาพและน่าเชื่อถือ โดยจะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ตอน

ตอนแรกในส่วนก่อนเข้าสู่รูปแบบการนำเสนอ โดยในการนำเสนอประกอบด้วย องค์ประกอบหลักได้แก่ ผู้นำเสนอ กลุ่มผู้ชม-ผู้ฟัง และสื่อหรือข้อมูล ต่อจากนั้น เป็นการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น ได้แก่ การรู้ข้อมูลผู้ชม-ผู้ฟัง การเตรียมประเด็นต่างๆ ให้ชัดเจน และเพียงพอ และการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง ส่วนเทคนิคที่จะสามารถนำมาใช้ในการนำเสนอ ได้แก่ การเรียงลำดับเหตุการณ์ การจัดหมวดหมู่ ปัญหา-สาเหตุ-ทางแก้ เทคนิค “ชักแม่น้ำทั้งห้า” เทคนิคการเปรียบเทียบข้อแตกต่าง เทคนิคการใช้ตัวเลข และ เทคนิคการใช้ตัวอักษร

ตอนที่ 2 เป็นเรื่องของการเตรียมตัว มีการเปิดการนำเสนออย่างไร เนื้อหาหลักควรประกอบด้วยอะไรบ้าง และการกล่าวสรุป และเทคนิคการยกตัวอย่างประกอบ รวมทั้งการใช้สื่อช่วยในการนำเสนอ

ตอนที่ 3 เป็นการเตรียมตัว การพิมพ์หรือเขียนบท การพูด การใช้มือและท่ายืน การแสดงออกทางสีหน้า การแต่งกาย