Reading proofs
After your article has been accepted and edited, you will be sent a final version before publication, called a “proof.”
Continue reading Guide to Writing Academic Articles: Part XIII
Reading proofs
After your article has been accepted and edited, you will be sent a final version before publication, called a “proof.”
Continue reading Guide to Writing Academic Articles: Part XIII
Responding to editorial feedback.
If you have submitted an article, after a long wait you will finally hear from the editor.
Continue reading Guide to Writing Academic Articles: Part XII
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศรายชื่อผู้รับโล่เชิดชูเกียรติผู้สร้างชื่อเสียงทางด้านการวิจัย ในงาน “วันนักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2557” วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน 2557 เวลา 17.00-20.30 น. ณ ห้องชมวัง หอประชุมกองทัพเรือ กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ส่งตัวแทนบรรณารักษ์จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ น.ส.กนกวรรณ บัวงาม บรรณารักษ์สังกัดหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มธ.ศูนย์รังสิต และน.ส.กรวรรณ ดีวาจา บรรณารักษ์สังกัดฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เข้าร่วมอบรมในหัวข้อ IEEE Xplore Training 2014
เคยได้ยินบทเพลงมาก็หลายเพลงแล้ว แต่ไม่เคยมีครั้งไหนที่ฟังแล้วรู้สึกตื้นตันใจเท่ากับเพลง ในหลวงของแผ่นดิน ได้ฟังครั้งแรกที่ ละครเวทีสี่แผ่นดิน เพลงนี้แต่งโดย คุณวิเชียร ตันติพิมลพันธ์ เรียบเรียงทำนอง โดยคุณสราวุธ เลิศปัญญานุช ทุกถ้อยคำที่กลั่นกรองออกมามันช่างโดนใจคนไทยทั้งประเทศจริง ๆๆ คำที่ว่าตั้งแต่เล็กจนโตจำได้ทุกอย่าง คนรุ่นเราคงจะจำได้ดีว่าในหลวงท่านทรงทำอะไรให้กับประชาชนบ้าง ภาพที่เคยเห็นหยาดเหงื่อของพระองค์หยดลงที่ไหน ที่นั้นล้วนแต่มีความสุขความเจริญ ทุกข์ร้อนที่มีก็หมดไป พระองค์ท่านเฝ้าดูแลประชาชนของท่านให้มีแต่ความสุขทั่วอาณาใกล้ไกล หลายครั้งที่ได้มีโอกาสรับเสด็จท่านน้ำตาแห่งความดีใจปลื้มใจหลั่งไหลมาโดยไม่รู้สึกตัว พนมมือทั้งสองก้มลงกราบด้วยหัวใจที่เต็มไปด้วยความรัก ความศรัธา อยากให้พระองค์ท่านหายจากการประชวร อยู่เป็นหลักนำของหัวใจ สิ่งไหนที่จะทำให้พระองค์ท่านมีความสุข พวกเราพร้อมที่จะทำ อยากให้ทุกคนร่วมใจกันทำความดีเพื่อเป็นของขวัญให้กับพระองค์ท่าน พวกเราทุกคนล้วนโชคดีที่ได้เกิดบนแผ่นดินที่มีในหลวง
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานเทอญ
รายการอ้างอิง EXECUTIVE PRODUCTION SUPERVISOR : คุณถกลเกียรติ วีรวรรณคำร้อง คุณวิเชียร ตันติพิมลพันธ์ ทำนอง/เรียบเรียง คุณสราวุธ เลิศปัญญานุช รวมศิลปินบริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 เวลา 9.00-12.00 น. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดกิจกรรม Knowledge Sharing ครั้งที่ 3 ขึ้น โดยมีจำนวนผู้เข้ารับการอบรมประมาณ 25 ท่าน โดยการเรียนหลักสูตรดังกล่าวนี้ เป็นการเตรียมความพร้อมในการเขียนบทความขึ้นเว็บไซต์ KM ของสำนักหอสมุดที่ http://main.library.tu.ac.th/km/
ผู้เขียน (ผศ.ดร.คงศักดิ์ สังฆมานนท์) ได้กล่าวถึง การพัฒนาห้องสมุดมนุษย์ (Human Library) และเครือข่ายห้องสมุดมนุษย์ในประเทศไทย (Thailand Human Library Network) ความหมาย และความเป็นมา จากแนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดมนุษย์
รายการอ้างอิง:
ผศ.ดร.คงศักดิ์ สังฆมานนท์ เรื่อง การพัฒนาห้องสมุดมนุษย์ (Human Library) และเครือข่ายห้องสมุดมนุษย์ในประเทศไทย (Thailand Human Library Network):จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ โดมทัศน์ 32,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555)
พรีเซนต์งานให้เป็นเลิศ (Stand & deliver)
โดย Mark Barnes และ Mary-Jane Barnes เรียบเรียงโดย ภิเษก ชัยนิรันดร์
หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการนำเสนอที่ดี เหมาะสำหรับใช้เป็นคู่มือและแนวทางสำหรับผู้ฝึกสอนและผู้ที่ต้องนำเสนอผลงาน เนื้อหาในเล่มแบ่งหัวข้อออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
ส่วนแรก ผู้เขียนได้กล่าวถึง กระบวนการและเครื่องมือที่จำเป็น ซึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ วัตถุประสงค์ของการนำเสนอ กลุ่มผู้ฟัง เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง และสื่อหรือวิธีการ
ส่วนที่ 2 อธิบายถึงอำนาจของภาษากายที่เราแสดงออกมาขณะนำเสนอ การใช้เสียงพูดที่เสียงดังฟังชัด มีจังหวะจะโคน รวมถึงการแต่งกายที่เหมาะสมเป็นการสร้างภาพพจน์เชิงบวก และเป็นภาพลักษณ์ภายนอกที่ดูเป็นมืออาชีพ
ส่วนที่ 3 เป็นเรื่องของการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งจะเพิ่มความสำคัญและทำให้เนื้อหาชัดเจนขึ้น
ส่วนที่ 4 ในส่วนสุดท้ายเป็นการจัดการกับปัญหา ซึ่งผู้เขียนแนะนำว่าไม่ควรกังวลกับปัญหามากนักเพราะการตั้งคำถามของผู้ฟังทำให้เรามีโอกาสที่จะสร้างความชัดเจนในประเด็นหลักที่ได้นำเสนอไปแล้ว และผู้เขียนยังได้พูดถึงเคล็ดลับที่ควรรู้ในการนำเสนองานที่ดี และการสร้างความประทับใจ น่าจดจำหลังจากจบการนำเสนอ
Reference
บาร์เนส, มาร์ค, บาร์เนส แมรี่แอน เขียน ; เรียบเรียงโดย ภิเษก ชัยนิรันดร์ . พรีเซนต์งานให้เป็นเลิศ (Stand & deliver). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2552. 216 หน้า. ภาพประกอบ.
How to present a conference paper.
Continue reading Guide to Writing Academic Articles: Part XI
เนื่องจากไม่มีใครที่จะอ่านได้หมดทุกสิ่งอย่าง จึงทำให้เรายอมรับหรือมีความเชื่อมั่นกับการกรองผลงานทางวิชาการ ด้วยค่าการวัดคุณภาพ เช่น Impact factor, h-index, ค่า Citation ฯลฯ แต่ด้วยการเติบโตของเครื่องมือใหม่ๆ ทางออนไลน์ ทำให้มีตัวกรองใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการกรองหรือการวัดผลงานทางวิชาการ วิจัย ที่เป็นทางเลือก (Alternative metrics) หรือ Altmetrics เพราะ Altmetrics เป็นการวัดจำนวนที่ได้รับจากผู้อ่านด้วยวิธีการต่างๆ เช่น จำนวนการดูบทความ, จำนวนดาวน์โหลด, การ Tweet, การ post ขึ้น blog, การกด Likes, การกด Shares, การ Discussed, การ Cited เป็นต้น Altmetrics น่าจะเป็นตัววัดความนิยมของผลงานทางวิชาการ วิจัย ที่เสริมกับการวัดผลงานทางวิชาการ วิจัยแบบเดิม
Altmetrics เป็นการวัดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพียงข้อมูลปราฎในวันเดียวหรือสัปดาห์ แทนที่จะเป็นปีกว่าจะมีการอ้างอิงถึงผลงาน อาจารย์ในมหาวิทยาลัย ผู้บริหาร บรรณารักษ์ และสำนักพิมพ์ จึงเริ่มที่จะคุยกันถึงการใช้ประโยชน์ altmetrics และใช้อย่างไรกับการประเมินการมีส่วนร่วมทางวิชาการของนักวิจัย ห้องสมุดจึงจำเป็นต้องมีบทบาทสำคัญในการอำนวยความสะดวกหรือช่วยสื่อสารไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานวิจัยของมหาวิทยาลัย รวมทั้งนักวิจัย (นักศึกษา และคณาจารย์) และเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย
บรรณารักษ์เป็นผู้ที่ต้องสนับสนุนใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การแจ้งงานวิจัยล่าสุด การสนับสนุนการทดลองด้วยการวัดแบบ altmetrics และการให้ความรู้เกี่ยวกับ altmetrics
รายการอ้างอิง:
Lapinski, Scott, Piwowar, Heather and Priem, Jason. How librarians can help prepare faculty for the next generation of research impact metrics. College & Research Libraries News vol. 74 no. 6 292-300. Retrieved 14112014 from http://crln.acrl.org/content/74/6/292.long
Priem J., Taraborelli D., Groth P., Neylon C., “Alt-metrics: A manifesto,” Retrieved 14112014 from http://altmetrics.org/manifesto/