Tag Archives: วารสาร

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวารสาร ตอนที่ 1: ลักษณะของวารสาร

วารสาร (Journal หรือ Periodical) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ออกต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ วารสารจึงมีลักษณะเป็นเล่มปลีก (Single issue) มีหมายเลขประจำเล่ม (Number) ที่ออกต่อเนื่องกันไป วารสารหลายๆ เล่มปลีกรวมกันเป็น volume ดังนั้นวารสาร 1 volume จึงอาจมีเล่มปลีกกี่เล่มก็ได้
ในปีหนึ่งๆ วารสารอาจจัดพิมพ์ 1 volume หรือหลายๆ volume ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายการจัดพิมพ์ของแต่ละสำนักพิมพ์และจำนวนบทความวารสาร (Article) ที่สำนักพิมพ์ได้รับว่ามีมากน้อยเพียงใด

กำหนดออกของวารสาร มีต่าง ๆ กัน เช่น รายสัปดาห์ (Weekly)  รายปักษ์ (Biweekly) สัปดาห์ละสองครั้ง (Semiweekly หรือ Twice a week) รายเดือน (Monthly) รายสองเดือน (Bimonthly) เดือนละสองครั้ง (Semimonthly)  รายสามเดือน (Quarterly หรือ Four times a year) ปีละ1 ฉบับ (Annual) ปีละ 2 ฉบับ (Twice a year) ปีละ3 ฉบับ (Three times a year) ตลอดจนมีกำหนดออกไม่แน่นอน (Irregularly) Continue reading เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวารสาร ตอนที่ 1: ลักษณะของวารสาร

กระดาษไร้กรด (Acid-free Paper) นั้นสำคัญไฉน ?

กระดาษไร้กรด (Acid-free Paper) ถือเป็นวัสดุที่สำคัญที่ใช้ในการซ่อมแซม อนุรักษ์ และสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด     ศูนย์สารสนเทศ และหอจดหมายเหตุให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น     โดยจะใช้กับหนังสือ หรือเอกสารที่มีค่าหายากทางประวัติศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ในต่างประเทศส่วนมากจะใช้กระดาษไร้กรดในการผลิตหนังสือ หรือวารสารวิชาการเพื่อให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนาน   Continue reading กระดาษไร้กรด (Acid-free Paper) นั้นสำคัญไฉน ?

การให้บริการวารสารและหนังสือพิมพ์ของหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์

เนื่องจากในปัจจุบัน ทางสำนักหอสมุดยังไม่มีการใช้ระบบงานวารสารในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KOHA ฉะนั้นการตรวจสอบชื่อวารสารจึงยังไม่สะดวกเท่าที่ควร เพื่อความสะดวกในการเรียงวารสาร และการค้นหาตัวเล่มวารสารของผู้ใช้บริการ  ผู้ปฏิบัติงานวารสาร จึงใช้วิธีนำรายชื่อวารสารและระบุหมายเลขประจำวารสารชื่อนั้นๆ ในรูปแบบไฟล์ EXCEL โดยนำไฟล์รายชื่อวารสารนี้ไปลงไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เตรียมไว้สำหรับให้ผู้ใช้บริการได้สืบค้น และ  Set Desktop Background ไว้ว่า “สืบค้นเฉพาะรายชื่อวารสารเท่านั้น”


anigif3

วารสารฉบับปัจจุบัน จะให้บริการอยู่ที่ชั้นสองของอาคารหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  ให้บริการในรูปแบบชั้นเปิด ผู้ใช้สามารถหยิบอ่านได้ด้วยตนเอง

วารสารฉบับย้อนหลัง หากมีผู้ต้องการใช้สามารถติดต่อขอใช้ได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน โดยกรอกแบบขอใช้ภายในห้องสมุด

การบริการหนังสือพิมพ์ของหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มี 2 รูปแบบคือ

1) การบริการแบบออนไลน์โดยเข้าเว็บไซต์ http://main.library.tu.ac.th เลือก Online Database คลิกที่ฐานข้อมูล Library Press Display ซึ่งสามารถอ่านและสั่งพิมพ์ได้ตามต้องการ
2) การบริการแบบมีตัวเล่ม จะใส่ไม้แขวนให้บริการอยู่ที่ชั้นสองของอาคารหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  ให้บริการในรูปแบบชั้นเปิด ผู้ใช้สามารถหยิบอ่านได้ด้วยตนเอง

หนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลังภายใน 1 เดือน จะวางให้บริการที่ชั้นไม้ใกล้กับชั้นวารสารฉบับปัจจุบัน โดยให้บริการในระบบชั้นเปิด ผู้ใช้สามารถบริการตัวเองได้

หนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลังตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 6 เดือน หากมีผู้ต้องการใช้สามารถติดต่อขอใช้ได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้นสองของอาคารหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  โดยกรอกแบบขอใช้ภายในห้องสมุด พร้อมแนบบัตรประจำตัว ตามประเภทของผู้ใช้บริการ เช่น บัตรประจำตัวนักศึกษาบัตรประจำตัวบุคลากร และบัตรประชาชนสำหรับบุคคลภายนอกเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน และไม่อนุญาตให้นำออกนอกห้องสมุด

เทคโนโลยีเปลี่ยนไปงานก็ต้องเปลี่ยนตามเทคโนโลยี

การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานวารสารห้องสมุดสัญญา ธรรมศักดิ์

                 งานบริการวารสารสมัยนี้เปลี่ยนไปจากสมัยก่อนอย่างมากมายจากที่สมัยก่อนบอกรับวารสารเป็นแบบตัวเล่ม ก็เปลี่ยนเป็นแบบวารสารออนไลน์ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องมาถึงห้องสมุด เมื่อผู้ใช้เคยชินกับการที่ไม่ต้องเดินมาค้นวารวารที่ห้องสมุดทำให้มีความต้องการแบบ delivery ถึงที่มากขึ้น ทำให้ห้องสมุดต้องมีการนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานวารสารเพื่ออำนวยความสะดวกให้อาจารย์คณะนิติศาสตร์ที่สอนอยู่ทางรังสิตและลำปางซึ่งไม่ค่อยมีเวลามาห้องสมุดสัญญาฯ

 เพื่อตอบสนอง ความต้องการที่ต้องการความสะดวก รวดเร็วมากขึ้นจึงต้องปรับเปลี่ยนการทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่องค์กรวางไว้ Continue reading เทคโนโลยีเปลี่ยนไปงานก็ต้องเปลี่ยนตามเทคโนโลยี

การลงรายการดรรชนีวารสารใน “KOHA”

 ดรรชนีวารสาร  เป็นเครื่องมือช่วยค้นบทความในวารสาร  ทำให้ได้บทความสะดวกและรวดเร็ว ทันกับความต้องการที่จะใช้และทำให้มีการค้นหาสารนิเทศที่กระจายอยู่ในที่ต่างๆได้อย่างทั่วถึง ไม่ถูกละเลยโดยไม่มีการนำมาใช้

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

  • ศึกษาและพิจารณาสาระของบทความในวารสารวิชาการ
  • อ่านแบบเอาใจความ คัดเลือกบทความที่มีคุณค่าต่อการศึกษาและการค้นคว้าวิจัย
  • วิเคราะห์เนื้อหาบทความที่เลือกสรรแล้ว และสรุปประเด็น
  • กำหนดหัวเรื่องโดยใช้คู่มือการปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบด้วย ฐานข้อมูลดรรชนีวารสารและหนังสือพิมพ์ สำนักบรรณสารการพัฒนา 2529 ถึงปัจจุบัน เป็นหลัก
  • วิเคราะห์ศัพท์เพื่อสร้าง/กำหนดหัวเรื่องขึ้นใหม่ในกรณีไม่มีหัวเรื่องในคู่มือ เพื่อให้สอดรับกับวิทยาการใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในวารสารอยู่เสมอ
  • ลงรายการทางบรรณานุกรมของบทความที่คัดเลือกแล้วโดยศึกษาแบบแผนการลงรายการจากคู่มือ

Continue reading การลงรายการดรรชนีวารสารใน “KOHA”

บริการวารสารและหนังสือพิมพ์

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ได้จัดบริการวารสารและหนังสือพิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ที่ครอบคลุมเนื้อหาหลากหลายสาขาวิชา มีบริการในรูปซื้อตัวเล่ม E-journals และวัสดุย่อส่วน บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเป็นผู้จัดซื้อ และทำดรรชนีวารสาร ลงในฐานข้อมูลของสำนักหอสมุด เมื่อผู้ใช้บริการห้องสมุดต้องการบทความจากวารสารและหนังสือพิมพ์ ก็สามารถค้นหาบทความได้จากเว็บไซต์ (http://koha.library.tu.ac.th)

opac

และคลิกที่คำว่า Articles จะได้หน้าจอค้นบทความได้ตามต้องการ

clip_image002

ถ้าผู้ใช้บริการห้องสมุดต้องการบทความวารสารและหนังสือพิมพ์เพิ่มเติม ก็สามารถค้นหาได้จาก  E-Resources ฐานข้อมูล NewSCenter และฐานข้อมูล Matichon E-library ได้   บริการวารสารและหนังสือพิมพ์ ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อได้ที่ชั้น U1 ห้องวัสดุสารสนเทศลักษณะพิเศษ 2

สาเหตุการชำรุดของวารสาร

วารสาร เป็นสิ่งพิมพ์อีกประเภทหนึ่งที่ห้องสมุดมีไว้ให้บริการ ซึ่งด้วยความที่เป็นกระดาษ จึงหลีกปัญหาเรื่องการชำรุดด้วยสาเหตุต่างๆ ที่เกิดจากกระดาษไม่ได้ ซึ่งสาเหตุของการชำรุดของวารสาร เกิดจาก

1. ชำรุดตามอายุขัย เนื่องจากวารสารที่พิมพ์ด้วยกระดาษจะเหลืองกรอบและเปี่อย เมื่อเก็บไว้นานเป็นปี

2. ความบอบบางของวารสาร ได้แก่วารสารปกอ่อน วารสารที่เชื่อมสันด้วยกาวเป็นต้น

3. ชำรุดจากการใช้งาน วารสารที่ถูกใช้งานมาก ยิ่งผ่านมือมากยิ่งชำรุดเร็ว

4. ชำรุดจากการขนย้าย การขนย้ายไม่ถูกวิธีจะทำให้วารสารชำรุดเสียหายได้

5. สิ่งแวดล้อมในห้องสมุด เช่น แสงสว่าง แมลง จุลินทรีย์

การเย็บเล่มวารสาร…เพื่อบริการ

วารสารที่ให้บริการในห้องสมุด เมื่อมีจำนวนมากขึ้น ห้องสมุดจะมีวิธีการบริหารจัดการด้วยการเย็บเล่มวารสารเหล่านี้ และนำแยกออกมาให้บริการเป็นวารสารฉบับเย็บเล่ม หรือวารสารล่วงเวลา โดยแยกออกจากชั้นวารสารฉบับปัจจุบัน

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ได้นำวารสารฉบับปลีกที่มีเนื้อหาทางวิชาการและเป็นชื่อที่เคยเย็บเล่มแล้ว นำมาเย็บเอง (ไม่ได้ส่งโรงพิมพ์เหมือนแต่ก่อน เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ อีกทั้งป้องกันการสูญหายเนื่องจากวารสารบางชื่อมีขนาดบางมาก) โดยวิธีการเย็บเล่ม ดังนี้

ขั้นตอนการเย็บเล่มเอง

  1. รวบรวมวารสารที่มีรายชื่อที่เคยเย็บเล่มแล้ว หรือจุลสารที่เป็นฉบับบางๆแต่มีผู้ใช้มาก
  2. เรียงตามรายชื่อ ปีที่ ฉบับที่ พ.ศ. ความหนาไม่เกิน 3 ซม.
  3. เขียนรายการวารสารแต่ละเล่ม เช่น ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เพื่อเตรียมพิมพ์ติดข้างสันตัวเล่ม
  4. นำตัวเล่มวารสารมาเจาะรู 3 รู ตรงกลาง ซ้าย ขวา แล้วเย็บด้วยด้ายให้เป็นเล่มเดี่ยวกัน
  5. กำหนดสีที่สันของวารสารแต่ละชื่อเพื่อความแตกต่าง
  6. นำตัวเล่มขึ้นชั้นบริการที่ชั้น U3

1

ตัวอย่างวารสารที่เย็บเสร็จแล้ว

การจำหน่ายวารสาร

ห้องสมุดได้รับวารสารจากการบอกรับเป็นสมาชิก จากการบริจาค และจากการแลกเปลี่ยน  ซึ่งมักจะมีการได้รับวารสารฉบับซ้ำ จึงต้องมีการจำหน่ายวารสารออก

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มีนโยบายในการจำหน่ายวารสารออก โดยวารสารที่จะจำหน่ายออกต้องเป็นวารสารไม่ใช่วารสารวิชาการ ทั้งที่เป็นสมาชิกและได้รับบริจาค สำหรับวารสารวิชาการหอสมุดปรีดี พนมยงค์จะดำเนินการเย็บเล่มเก็บไว้บริการ  ส่วนขั้นตอนในการจำหน่ายวารสารมีดังนี้

  1. พิจารณาและคัดเลือกวารสารที่ต้องการจำหน่ายออก
  2. รวบรวมวารสารที่ต้องการจำหน่ายออก และประทับตราคำว่า “จำหน่ายออก” ที่ตัวเล่มวารสารทั้ง 3 ด้าน
  3. เขียนข้อมูลวารสารในบัตรร่าง เช่น ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่  เดือน ปี
  4. มัดวารสารและติดสำเนาบัตรร่างไว้ที่หน้าปกวารสาร ดังรูป

15

5. พิมพ์รายชื่อวารสารที่ต้องการจำหน่ายออก
6. เวียนรายชื่อวารสารไปตามห้องสมุดสาขาของสำนักหอสมุด เพื่อโอนวารสารที่ต้องการจำหน่ายออกไปยังห้องสมุดที่ต้องการใช้
7. ส่งรายชื่อวารสารที่ต้องการจำหน่ายออกพร้อมบันทึกอนุมัติจำหน่ายออกไปยังสำนักงานเลขาฯ
8. สำนักงานเลขาฯ ประสานงาน และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงเพื่อมาสำรวจข้อเท็จจริงว่ามีวารสารตามที่แจ้งไปจริง
9. คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่ติดต่อบริษัทหรือร้านค้าหลายแห่ง เพื่อมาประมูลราคา และถ้าบริษัทใดได้รับเลือกก็จะมาชั่งน้ำหนัก และคิดเงิน นำเงินส่งงานการเงินในนามสำนักหอสมุด

การเย็บเล่มวารสารแบบประหยัด

การเย็บเล่มวารสารเป็นลักษณะหนึ่งของการอนุรักษ์วารสาร ช่วยให้วารสารไม่กระจัดกระจายหายไป และสะดวกแก่การใช้วารสารชื่อนั้น ปีนั้น  ถ้าต้องการความสวยงามก็ต้องส่งร้านเย็บเล่มวารสารโดยเฉพาะ แต่ถ้าต้องการ ประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดงบประมาณ สามารถทำได้ด้วยตัวเองง่ายๆ ดังมีขั้นตอนต่อไปนี้

ขั้นตอนการทำ

1. เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการเย็บเล่มวารสารได้แก่ เข็มขนาดใหญ๋

เชือกไนล่อนอย่างหนา  ผ้าเทปติดสัน เครื่องเจาระรู2 Continue reading การเย็บเล่มวารสารแบบประหยัด