Tag Archives: หนังสืออนุสรณ์งานศพ

นานาภาษิต

นานาภาษิต เป็นหนังสือเนื่องการพระราชทานเพลิงศพ พระยาผดุงพิพิธภัณฑ์ (น่วม ชูโต) พระพุทธศักราช 2467

เป็นลักษณะหนังสืองานศพ ที่รวมเนื้อหาที่ไม่เนื้อหาเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต นอกจากประวัติที่ปรากฏในตอนแรกของหนังสือ แต่เป็นหนังสืองานศพที่ผู้เป็นบุตร (พระยาสุรเกษตร์โสภร) ตั้งใจทำเพื่อเป็นเกียรติยศแก่บิดาผู้เสียชีวิต จึงได้กราบบังคมทูลขอและขอภาษิต ซึ่งมีทั้งพระราชนิพนธ์ พระนิพนธ์ของเจ้านายและภาษิตของท่านผู้มียศศักดิ์และคุณธรรม เพื่อจัดพิมพ์เนื่องในทักษิณานุประทาน การบำเพ็ญกุศลสนองคุณพระยาผดุงพิพิธภัณฑ์ (น่วม ชูโต) ผู้บิดา เมื่อพระราชทานเพลิงศพ

ตัวอย่าง

สุภาษิตรัชกาลที่ 6
สุภาษิตรัชกาลที่ 6

Continue reading นานาภาษิต

จำใจข่มใจไปจากนวล

ถ้าได้ยินแค่ชื่อ “จำใจข่มใจไปจากนวล” ใครจะนึกว่าเป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพ แต่ถ้าผู้คนที่อยู่ในแวดวงหรือคุ้นเคยกับ “สง่า อารัมภีร” อาจจะทราบว่า มาจากวรรคสุดท้ายของเพลง “น้ำตาแสงไต้”  อันโด่งดัง ของ ครูสง่า อารัมภีร

หน้าปกหนังสืออนุสรณฺ์งานศพ ครูสง่า อารัมภีร
หน้าปกหนังสืออนุสรณฺ์งานศพ ครูสง่า อารัมภีร

จำใจข่มใจไปจากนวล ปรากฏอยู่ในหน้าปกใน พร้อมข้อมูล ที่ระลึกในงานพระราชทานพลิงศพ นายสง่า อารัมภีร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล) วันจันทร์ท่ 27 กันยายน 2542 ณ ฌาปนสถานวัดโสมนัสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร

จำใจข่มใจไปจากนวล
จำใจข่มใจไปจากนวล

แต่ยังปรากฏข้อความ “ไม่อยากพรากขวัญภิรมย์” บนหน้าใบรองปก เหมือนเป็นการเน้นความอาลัย และการระลึกถึงผลงานเพลงของ ครูสง่า อารัมภีร ที่เป็นอมตะ Continue reading จำใจข่มใจไปจากนวล

GMM25 สนใจ หนังสืออนุสรณ์งานศพ

วันที่ 18 มิถุนายน 2558 นางกาญจนาภรณ์ จิตต์สง่า หัวหน้าหอสมุด ปรีดี พนมยงค์ ให้การต้อนรับทีมงานจากช่อง GMM25 เพื่อถ่ายทำและสัมภาษณ์เกี่ยวกับการให้บริการหนังสืออนุสรณ์งานศพ และเป้าหมายของการพัฒนาเป็นคลังหนังสืออนุสรณ์งานศพของไทย

ทีมงาน GMM25
ทีมงาน GMM25
ทีมงาน GMM25 ขณะถ่ายทำ
ทีมงาน GMM25 ขณะถ่ายทำ
ทีมงานGMM25 และหัวหน้าหอสมุดปรีดี พนมยงค์
ทีมงานGMM25 และหัวหน้าหอสมุดปรีดี พนมยงค์

ท่านใดมีความประสงค์ในการบริจาคหนังสืออนุสรณ์งานศพให้กับสำนักหอสมุด ติดต่อโดยตรงได้ที่ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ โทรศัพท์ 02-6133544 นะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง:
สำนักหอสมุด มธ. วางเป้าเป็นคลังหนังสืองานศพของไทย
อนุสรณ์งานศพ : หนังสือร่วมสมัย
ชั่วชีวิตหนึ่ง ก.สุรางคนางค์
สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น : ตำนานอันลือเลื่อง
หนังสือ “ยาขอบอนุสรณ์”
วิธีสืบค้นหนังสืออนุสรณ์งานศพ
เล่มหนึ่งก็ซึ้งใจ
จำใจข่มใจไปจากนวล
นานาภาษิต
ทางสงบ

สำนักหอสมุด มธ. วางเป้าเป็นคลังหนังสืองานศพของไทย

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์หนังสืออนุสรณ์งานศพ หรือ หนังสือที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพของคนไทย ซึ่งจะแจกจ่ายเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้มาร่วมงานเพื่อแสดงถึงความอาลัยของญาติผู้วายชนม์ ด้วยจุดเด่นของเนื้อหาภายในเล่มจะบอกเล่าเรื่องราวอัตชีวประวัติของผู้วายชนม์ ที่สะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์สังคม และชีวิตความเป็นอยู่ของคนในแต่ละยุคสมัย และอาจนำเสนอผลงานอันมีคุณค่าของผู้วายชนม์ด้วย

ปัจจุบัน สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รวบรวมหนังสืออนุสรณ์งานศพ ประมาณ 3,000 เล่ม ให้บริการที่ห้องหนังสือหายาก ชั้นใต้ดิน 1 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ท่านใดที่ประสงค์จะบริจาคหนังสืออนุสรณ์งานศพ สามารถบริจาคได้ที่ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โทรศัพท์ 02-613-3544

บทความที่เกี่ยวข้อง:
GMM25 สนใจ หนังสืออนุสรณ์งานศพ
อนุสรณ์งานศพ : หนังสือร่วมสมัย
ชั่วชีวิตหนึ่ง ก.สุรางคนางค์
สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น : ตำนานอันลือเลื่อง
หนังสือ “ยาขอบอนุสรณ์”
วิธีสืบค้นหนังสืออนุสรณ์งานศพ
เล่มหนึ่งก็ซึ้งใจ
จำใจข่มใจไปจากนวล
นานาภาษิต
ทางสงบ

วิธีสืบค้นหนังสืออนุสรณ์งานศพ

ชื่อเรื่องของหนังสืออนุสรณ์งานศพนั้นมีหลากหลาย ยกตัวอย่างกรณีงานพระราชทานเพลิงศพ นิยมใช้ชื่อที่ขึ้นต้นด้วย :

  • อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ
  • อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
  • อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ
  • อนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ
  • อนุสรณ์เนื่องในพิธีพระราชทานเพลิงศพ
  • อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพ
  • ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ
  • ที่ระลึกเนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ
  • ที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงศพ
  • ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ
  • เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ
  • งานพระราชทานเพลิงศพ
  • ฯลฯ

จะเห็นได้ถึงความหลากหลายของการใช้ชื่อเรื่อง ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะเข้าถึงหนังสือที่ต้องการด้วยการสืบค้นจากชื่อเรื่อง

ข้อแนะนำในการค้นหาหนังสืออนุสรณ์งานศพที่มีให้บริการอยู่ในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ได้รวดเร็วที่สุดคือ ควรสืบค้นจาก “หัวเรื่อง” ที่เป็นชื่อของผู้เสียชีวิต โดยสามารถค้นจาก “ชื่อพร้อมนามสกุล” หรือ “นามสกุล ตามด้วย (นาม)”

ตัวอย่างเช่น :  สืบค้นจากหัวเรื่อง “คงศักดิ์ ลิ่วมโนมนต์” ผลที่ได้จะแสดงชื่อ นามสกุล ปีเกิด ปีเสียชีวิต  “คงศักดิ์ ลิ่วมโนมนต์, 2483-2553” เลขเรียกหนังสือ “CRE 2011 638230” หรือหากจำชื่อไม่ได้ จำได้แค่นามสกุล ก็สามารถสืบค้นจากหัวเรื่อง “ลิ่วมโนมนต์ (นาม)” ก็จะได้ผลเช่นเดียวกัน

…………เชื่อว่าการค้นหาหนังสืออนุสรณ์งานศพเล่มที่ท่านต้องการในครั้งต่อไปจะง่ายและสะดวกรวดเร็วขึ้นแน่นอน

ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน

 

Page_01

     ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน

หนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ล. สิริ อิศรเสนา)     ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒  เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพอีกเล่มหนึ่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โดยเริ่มจากชีวประวัติของผู้วายชนม์  ส่วนของเนื้อหาซึ่งเขียนโดยนายนัดดา อิศรเสนา ณ อยุธยา ผู้เป็นบุตร ซึ่งกล่าวไว้ในคำปรารภ ว่า “ความรู้ในการเขียนเรื่องเหล่านี้  ข้าพเจ้าสามารถกล่าวได้ว่า ได้มาจากคุณพ่อของข้าพเจ้าไม่น้อยเพราะคุณพ่อเป็นคนช่างจำช่างเล่า”   ปกและภาพประกอบภายในเล่มเป็นฝีมือของอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๓

หน้าปกสีชมพูกลีบบัวเป็นรูปตราพัด-เย็น ประจำตัวเจ้าพระยา       วรพงศ์พิพัฒน์ –บิดา และรูปดอกบุนนาค สัญลักษณ์ของสกุลบุนนาค –มารดา   พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์ เป็นหนึ่งในสามพระยาท่านสุดท้ายแห่งสยาม ซึ่งประกอบด้วย พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์  พระยารัตนพิมพา (ม.ร.ว. สวัสดิ์ อิศรางกูร) และพระยาพหลพลพยุหเสนา(พจน์ พหลโยธิน) Continue reading ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน

หนังสือ “ยาขอบอนุสรณ์”

       หน้าปก “ยาขอบอนุสรณ์”

ในการพิมพ์ครั้งแรก และ ครั้งที่ ๒ และครั้งที่ ๓

spd_2013050313516_b                                       

spd_20130515225950_b

 

spd_20120524213742_b

กล่าวกันว่าหนังสืออนุสรณ์งานศพจะเป็นหนังสือที่พิมพ์ขึ้นเพียงครั้งเดียว  แต่ไม่ใช่สำหรับ ยาขอบ หรือโชติ แพร่พันธุ นักเขียนผู้มีชีวิตที่ไม่ธรรมดา ผู้ได้รับการขนานนามว่า “ผู้ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน”  ผู้ที่สามารถเขียนอมตะนิยายรักอิงประวัติศาสตร์  “ผู้ชนะสิบทิศ”  ได้ ๘ เล่ม จากเรื่องราวในพงศาวดารเพียง ๘ บรรทัด Continue reading หนังสือ “ยาขอบอนุสรณ์”

ชั่วชีวิตหนึ่ง ก.สุรางคนางค์

spd_20130710223450_b

ชั่วชีวิตหนึ่ง ก.สุรางคนางค์  เป็นหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ เป็นกรณีพิเศษ นางกัณหา (บูรณปกรณ์) เคียงศิริ  ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปีพ.ศ. ๒๕๒๙    โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานเพลิงศพ ณ ฌาปนสถานวัดธาตุทอง วันพุธที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒

Continue reading ชั่วชีวิตหนึ่ง ก.สุรางคนางค์

อนุสรณ์งานศพ : หนังสือร่วมสมัย

จากการสนทนาวิชาการหนังสือเก่าชาวสยาม ครั้งที่ 5 เรื่อง “เสน่ห์หนังสืออนุสรณ์ผู้วายชนม์” ณ วันที่ 27 กันยายน 2556 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) มีผู้เข้าร่วมเสนทนาหลายท่าน ช่วงการสนทนาเรื่อง “หนังสืออนุสรณ์ผู้วายชนม์ : ด้วยรักและหลงใหล” คุณโกศล ช่อผกา เจ้าของร้านหนังสือเก่าสยามบรรณาคม หนึ่งในผู้เข้าร่วมกล่าวว่า “หนังสืออนุสรณ์งานศพเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย” เพราะไม่มีประเทศไหนในโลกพิมพ์อย่างเป็นทางการ และมีลักษณะพิเศษเฉพาะ หลากหลายประเภท เช่น หนังสือหายาก (Rare books) หนังสือโบราณ หนังสือธรรมะ หนังสือสุขภาพ ซึ่งหนังสือเหล่านี้มีคุณค่าในตัวเองทั้งสิ้น

ในบทความนี้ขอใช้คำว่าร่วมสมัย หมายถึง หนังอนุสรณ์งานศพของบุคคลสำคัญต่าง ๆที่ร่วมยุคในปัจจุบัน ที่มีการบอกเล่า บรรยาย บันทึกเหตุการณ์ สถานการณ์ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ทางการเมือง หรือมีความสำคัญในช่วงเวลาใด ช่วงเวลาหนึ่ง เช่น บุคคลทื่เกี่ยวข้อง กับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 หรือ 6 ตุลาคม 2519 เป็นต้น

หนังสืออนุสรณ์งานศพเหล่านี้ได้ทำการขอจากเจ้าภาพ (หรือผู้รับผิดชอบ) โดยจดหมายราชการ เช่น พลตำรวจเอก วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ เจ้าของรหัสลับนาม “เทพ 333” ที่ท่านเล่าถึงเหตุการณ์ที่ท่านเข้าร่วมรบในประเทศเพื่อนบ้านยุคสงครามเวียตนาม และหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก กมล ทัพพะรังสี ท่านเป็นเลขานุการของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ซึ่งท่านดำเนินนโยบายต่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอินโดจีน เป็นการเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า Continue reading อนุสรณ์งานศพ : หนังสือร่วมสมัย

เล่มหนึ่งก็ซึ้งใจ

การขอหนังสือบริจาคเป็นงานอีกส่วนหนึ่งของห้องสมุดโดยทั่วไป ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งในการจัดหาหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ เข้ามาในห้องสมุด นอกจากการจัดซื้อ

หนังสือที่ขอรับบริจาคเป็นหนังสือที่มีลักษณะเฉพาะ ไมมีการซื้อ-ขาย และมีคุณค่าในตัวเอง สำหรับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ในส่วนที่ทำการขอรับบริจาค แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1. สิ่งพิมพ์ ของกระทรวงทั้งหมด 20 กระทรวง รวมถึง มูลนิธิ สมาคม องค์กรเอกชน ต่าง ๆ สิ่งพิมพ์ที่ทำการขอได้แก่ สิ่งพิมพ์รัฐบาล งานวิจัย
2. ที่ระลึกครบรอบปีของหน่วยงาน และสิ่งพิมพ์ในวาระพิเศษต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือที่ระลึกในอนุสรณ์งานศพ หนังสือที่ระลึกส่วนบุคคล เช่น ครบรอบ 80 ปี 100 ปี ของบุคคลที่มีคณูปการแก่ประเทศชาติ เช่น 100 ปี ดร. ถนัด คอมันตร์ ในชื่อที่ว่า ”แต่พ่อที่รักของลูก” และหนังสือวาระพิเศษของหน่วยงาน เช่น เพาะช่าง 100 ปี

ทักษะต่าง ๆ ทีใช้ในการขอรับบริจาคหนังสือ Continue reading เล่มหนึ่งก็ซึ้งใจ