Tag Archives: หนังสือหายาก

การสร้างรายการบรรณานุกรมหนังสืออนุสรณ์งานศพ

หนังสืออนุสรณ์งานศพ เป็นหนังสือซึ่งจัดพิมพ์เพื่อแจกให้แก่ผู้มาร่วมงานศพเพื่อระลึกถึงผู้วายชนม์ โดยนำเสนอข้อมูลประวัติและผลงานของผู้วายชนม์ ทั้งยังมีคำไว้อาลัยจากบุคคลต่างๆ ซึ่งสะท้อนถึงตัวตนผู้ตายรวมไว้ด้วย นอกจากนี้อาจมีการนำวรรณกรรม วรรณคดี บทความ ความรู้ในเรื่องต่างๆ และบทสวดมนต์ต่างๆ มาจัดพิมพ์ไว้ด้วย หนังสืออนุสรณ์งานศพจึงถือเป็นหลักฐานบ่งชี้ถึงเรื่องราวในประวัติศาสตร์ สังคม วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน ณ เวลานั้น

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์หนังสืออนุสรณ์งานศพ หรือหนังสือที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพของคนไทย จึงได้รวบรวมพร้อมจัดทำฐานข้อมูลเพื่อรองรับการค้นคว้าข้อมูล เพื่อให้หนังสืออนุสรณ์งานศพได้เผยแพร่และถูกนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษามากขึ้น

การสร้างรายการบรรณานุกรมหนังสืออนุสรณ์งานศพ มีขั้นตอนดังนี้

Continue reading การสร้างรายการบรรณานุกรมหนังสืออนุสรณ์งานศพ

“ใกล้ถึงวัน…ฉันเกษียณ ของ….ณัฐพร หรดี (ป้าอ๋อย)”


 จากวันนั้น

จากวันนั้น

สิ่งแรกที่เพื่อนๆ ร่วมงานอยากมอบแทนใจให้ป้าอ๋อย คือบทความเรื่องเล่าดีๆ ที่ผ่านมาในช่วงเวลา 14 ปีที่ได้อยู่ร่วมกันมา มันคือความรัก ความผูกพัน ความสนุก ความรู้และตลอดจนประสบการณ์ในการทำงานที่ป้าอ๋อยได้ฝากไว้ให้จดจำ จะมีงอนกันบ้างในยามที่ไม่เข้าใจกัน ป้าอ๋อยเป็นข้าราชการรับราชการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ทำงานอยู่ในส่วนของงานบริการห้องสิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ (ห้องหนังสือหายาก) ของหอสมุดปรีดี พนมยงค์ ……. หายากจริงๆๆๆๆนะ จะบอกให้

ถึงวันนี้
ถึงวันนี้

ป้าอ๋อยเป็นคนขยัน ทำงานเก่งแต่ไม่ค่อยพูดจากับใครเท่าไหร่  เข้ามาทำงานที่นี่ใหม่ๆ ยังคิดว่าป้าอ๋อยพูดได้หรือไม่นะ ทำไมนั่งหน้าตึงเปะ
เลยไม่กล้าคุยด้วย หน้าป้าแกดุ  แต่พอได้พูดคุยถึงรู้ว่าป้าอ๋อยเป็นคนคุยเก่งแถมยังมีความรู้มากมาย ในเรื่องประวัติศาสตร์และบทกลอน เราอ่านแล้วไม่เข้าใจถามป้าอ๋อยได้เลย ป้าจะตอบได้เกือบทุกเรื่อง ป้าอ๋อยมีความชำนาญในการให้บริการหนังสือหายากเป็นอย่างมาก  มีข้อมูลพร้อมตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้เป็นอย่างดีและรวดเร็ว  ถามปุ๊บ  ได้คำตอบทันใจและตรงตามความต้องการแป๊ะ Continue reading “ใกล้ถึงวัน…ฉันเกษียณ ของ….ณัฐพร หรดี (ป้าอ๋อย)”

จากวันวาน …สู่วันนี้ ของโสรัตน์ กาลออง

Guru (1)

สืบเนื่องจาก กิจกรรม เรื่องเล่าจาก … Guru สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา  คุณโสรัตน์ กาลออง  เจ้าหน้าที่ห้องสมุด สังกัดฝ่ายสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ 1 ใน Guru ที่มาเล่าเรื่องชีวิตการทำงาน ตั้งแต่แรกเริ่มที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ความภาคภูมิใจในการทำงาน รวมทั้งข้อคิดที่ฝากให้กับน้องๆ

คุณโสรัตน์ กาลออง เล่าถึงการทำงานที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า เริ่มต้นทำงานที่สำนักหอสมุด มธ.ตั้งแต่ปี 2528 ถือเป็นที่ทำงานแห่งแรกและแห่งเดียวหลังจากที่เปลี่ยนชีวิตมาเป็นฆราวาส เพราะก่อนหน้านี้บวชเป็นพระภิกษุมาตลอด Continue reading จากวันวาน …สู่วันนี้ ของโสรัตน์ กาลออง

การทำPhase Box และซองกระดาษ เพื่อการเก็บรักษาหนังสือหายาก

12

การทำ Phase Box   มีจุดประสงค์ เพื่อป้องกันแสง ฝุ่นละออง การจับถือ  กันการกระแทก และลดการจับต้องตัวเล่มหนังสือโดยตรง เหมาะสำหรับใส่/เก็บรักษาหนังสือเก่า หรือหนังสือหายาก (Rare Book) ที่มีสภาพชำรุดมาก หรือเล่มที่มีขนาดบางไม่สามารถวางตั้งได้

วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ทำ Phase Box และซองกระดาษ เช่น Continue reading การทำPhase Box และซองกระดาษ เพื่อการเก็บรักษาหนังสือหายาก

ใช้หนังสือหายากอย่างถูกวิธี

หนังสือหายาก
หนังสือหายาก

หนังสือหายากส่วนใหญ่ในหอสมุดปรีดี พนมยงค์เป็นหนังสือเก่าที่มีอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป สภาพรูปเล่มย่อมชำรุด เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา เช่น ปกฉีกขาด สันหนังสือหลุด กระดาษเปื่อย กรอบ ปรุ พรุน มีรอยแมลงกัดแทะ คราบฝุ่นเลอะเทอะ

book 028
ลักษณะที่มีรอยแมลงกัด แทะ

Continue reading ใช้หนังสือหายากอย่างถูกวิธี

อุทาหรณ์สำหรับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๑-๒ ฉบับกรมร่างกฎหมาย

แนะนำหนังสือหายากด้านกฎหมาย

1

 

“อุทาหรณ์สำหรับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๑-๒ ฉบับกรมร่างกฎหมาย

โดย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์เนื่องในโอกาส ครบ ๑๐๐ ปี พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) เมื่อ  ๑๘ กันยายน ๒๕๓๓  ท่านเป็นเลขานุการคณะกรรมการชำระสะสางและร่างประมวลกฎหมาย เป็นผู้พิพากษา เป็นอาจารย์สอนกฎหมาย กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน องคมนตรี  ที่สำคัญต่อวงการกฎหมายคือ ท่านเป็นกรรมการร่างกฎหมายในคณะกรรมการกฤษฎีกา และกรรมาการร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ดังนั้นถ้ามีนักศึกษาอยากรู้ว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยมีความเป็นมาอย่างใด ใช้กฎหมายประเทศใดมาเป็นแนวทางบ้าง ต้องแนะนำให้อ่านเล่มนี้ Continue reading อุทาหรณ์สำหรับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๑-๒ ฉบับกรมร่างกฎหมาย

บันทึกคำสัมภาษณ์ พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)

111

  บันทึกคำสัมภาษณ์ พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)

หนังสือนี้จัดพิมพ์โดยโดยภาควิชานิติศึกษาทางสังคม ปรัชญา และประวัติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๒๓

เหตุผลที่จัดพิมพ์เพื่อรวบรวมความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์กฎหมายจากตำราและเอกสารเก่าจากศิลาจารึก ใบลาน สมุดข่อย ตลอดจนขอสัมภาษณ์จากท่านผู้รู้ เพื่อนำมารวบรวมไว้อันเป็นประโยชน์จากการค้นคว้าและวิจัย โดย พระยามานวราชเสวีเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดทำประมวลกฎหมายในยุคนั้น จากคำสัมภาษณ์ทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่สำคัญบางประการในการจัดทำประมวลกฎหมายของไทย โดยเฉพาะการจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ เป็นข้อมูลได้จากการสัมภาษณ์ พระยามานวราชเสวี     โดย ผู้ร่วมสัมภาษณ์ประกอบด้วย ศ.ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส  รศ.มาลี พฤกษ์พงศาวลี และ ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ  ท่านได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการชำระสะสาง และการร่างกฎหมายไทยทั้งกฎหมายแพ่งฯและกฎหมายอาญาในยุคเริ่มแรกว่ามีความคิดมาจากที่ใด ทำไมถึงยึดประเทศนั้นเป็นต้นแบบ มีใครเป็นบุคคลสำคัญในการร่างกฎหมายสมัยนั้นบ้าง   สถานะกฎหมายตราสามดวงในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ภาษาที่พิมพ์ในเล่มนี้เป็นภาษาพูดเพราะถอดเทปคำต่อคำ

บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด ได้นำหนังสือเล่มนี้มาจัดพิมพ์เป็นครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยได้เพิ่มเติมบทคำสัมภาษณ์ครั้งที่ ๒  และ Index of civil code ดรรชนีที่มาของบทกฎหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๑-๕  จึงเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าสำหรับวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายไทยเล่มหนึ่ง

บรรณานุกรม

มานวราชเสวี (ปลอดวิเชียร), พระยา. บันทึกคำสัมภาษณ์พระยามานวราชเสวี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๒๓.

หนังสือหายาก หอสมุดปรีดี พนมยงค์

ห้องวัสดุลักษณะพิเศษ2  เป็นส่วนหนึ่งของงานบริการหอสมุดปรีดี พนมยงค์ที่เก็บรวบรวมหนังสือเก่าที่มีคุณค่าหาอ่านได้ยาก  ที่เรียกกันว่าหนังสือหายากซึ่งมีทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ  หนังสือต้องห้าม  หนังสือศิลปะต่างประเทศ  หนังสือราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่รัชกาลที่ 4 – พ.ศ.2520  หนังสือคำสอนของธรรมศาสตร์  หนังสือขนาดพิเศษ(เล่มจิ๋ว – เล่มใหญ่)  หนังสืออนุสรณ์ของธรรมศาสตร์  หนังสือพระราชทานปริญญาบัตร  และหนังสือคู่มือการศึกษาปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา

หนังสือภายในห้องนี้จัดเป็นระบบปิด  ผู้รับบริการเข้ามาหยิบเองไม่ได้  ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ  และหนังสือภายในห้องแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1. หนังสือที่สามารถถ่ายสำเนาได้  ได้แก่หนังสืออนุสรณ์  หนังสือพระราชทานปริญญาบัตร  และหนังสือคู่มือการศึกษา

2. หนังสือที่ไม่สามารถถ่ายสำเนาได้  ได้แก่หนังสือหายากทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ หนังสือต้องห้าม  หนังสือขนาดพิเศษ  หนังสือศิลปะ  ซึ่งหนังสือหายากและหนังสือคำสอนของธรรมศาสตร์บางส่วนได้ทำดิจิตอลแล้ว  สามารถเปิดดูได้เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ

การขอใช้บริการ

ผู้รับบริการเขียนแบบฟอร์ม   พร้อมยื่นบัตรนักศึกษาหรือบัตร              ประชาชนให้เจ้าหน้าที่เก็บไว้เป็นหลักฐาน   และอ่านหนังสือภายในห้องเท่านั้น

เวลาปิด -เปิดบริการวันจันทร์ – วันศุกร์ 8.00 – 20.00น.

วันเสาร์ – วันอาทิตย์9.00 – 20.00น.

ปิดตามวันหยุดนักขัตฤกษ์

คู่มือการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรสารสนเทศที่มีค่าหายาก

คู่มือการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรสารสนเทศที่มีค่าหายาก  โดย โสรัตน์ กาลออง ได้รวบรวมข้อมูลในด้านการป้องกันและวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศที่มีค่าหายาก และจัดทำเป็นคู่มือ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่า เนื้อหาประกอบด้วย ลักษณะของหนังสือหายาก ทำไมต้องอนุรักษ์หนังสือหายาก วัสดุอุปกรณ์ในการอนุรักษ์ การใช้ทำตัวทำละลายขจัดรอยเปื้อนบนเอกสาร การทำความสะอาด การลดกรด การซ่อมแซมเล็กน้อย การกำจัดแมลงในทรัพยากรสารสนเทศ การตรวจสอบอุณหภูมิและความชื้น การทำกล่องและซองเพื่อการเก็บรักษาเอกสารและหนังสือ

คู่มือการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรสารสนเทศที่มีค่าหายาก