Tag Archives: ห้องสมุด

รู้จักห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ผ่านหนังสือพระราชนิพนธ์

ที่ฉันชอบมากที่สุดคือ ห้องสมุด ตามประวัติว่าเมื่อ ค.ศ. 1803 มหาวิทยาลัยย้ายไปอยู่ที่ปัจจุบัน … แล้วจึงเปลี่ยนมาเป็นห้องสมุดใน ค.ศ. 1838 โดยรวบรวมหนังสือจากวัดหรือคอนแวนต์ต่างๆ … มีทั้งต้นฉบับหนังสือที่พิมพ์ครั้งแรกๆ … เห็นทั้งหมดแล้วอยากเข้าไปดูอยู่นานๆ เปิดดูเสียให้ทุกเล่มว่ามันเป็นอย่างไร  (จากพระราชนิพนธ์ เรื่อง โรมันสัญจร)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศอิตาลี เพื่อทรงเป็นกรรมการตัดสินวรรณกรรมของ คณะกรรมการหนังสือสำหรับเยาวชนระหว่างประเทศ (International Board on Books for Young People (IBBY)  ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนห้องสมุดมหาวิทยาลัยโบโลญญา และทรงบันทึกสิ่งที่พระองค์ทอดพระเนตร ทรงสนพระทัยการอ่านหนังสือเป็นอย่างยิ่ง และจากหนังสือพระราชนิพนธ์ชุดเยือนต่างประเทศ สถานที่เสด็จฯ เป็นประจำ ก็คือ ห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ จึงขอติดตามห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์เหล่านี้ผ่านทางเว็บไซต์ (ตามที่มีปรากฏบนเว็บไซต์) Continue reading รู้จักห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ผ่านหนังสือพระราชนิพนธ์

พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดในเยือนถิ่นอินเดียนแดง

จากพระราชนิพนธ์ เรื่อง เยือนถิ่นอินเดียนแดง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างวันที่ 6 -19 พฤศจิกายน 2535 นั้น ได้เสด็จทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์และห้องสมุดหลายแห่ง เช่น National Museum of American History, National Air and Space Museum, National Museum of Natural History ในเรื่องของพิพิธภัณฑ์ ทรงบันทึกและมีพระราชดำริเกี่ยวกับการทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์ ความว่า

“Ms. Francine Berkowitz, Director of the Smithsonian’s International Center และคนอื่นๆ มาอธิบายให้ฟังว่าการทำพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ไม่ใช่การสร้างโกดังเก็บของเก่า แต่ต้องมีแนวคิดมาก่อน แนวคิดนี้มักมีเรื่องสังคม เรื่องปรัชญา และวางของให้เล่าเรื่องที่เราอยากให้คนดูเข้าใจ Continue reading พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดในเยือนถิ่นอินเดียนแดง

เล่มหนึ่งก็ซึ้งใจ

การขอหนังสือบริจาคเป็นงานอีกส่วนหนึ่งของห้องสมุดโดยทั่วไป ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งในการจัดหาหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ เข้ามาในห้องสมุด นอกจากการจัดซื้อ

หนังสือที่ขอรับบริจาคเป็นหนังสือที่มีลักษณะเฉพาะ ไมมีการซื้อ-ขาย และมีคุณค่าในตัวเอง สำหรับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ในส่วนที่ทำการขอรับบริจาค แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1. สิ่งพิมพ์ ของกระทรวงทั้งหมด 20 กระทรวง รวมถึง มูลนิธิ สมาคม องค์กรเอกชน ต่าง ๆ สิ่งพิมพ์ที่ทำการขอได้แก่ สิ่งพิมพ์รัฐบาล งานวิจัย
2. ที่ระลึกครบรอบปีของหน่วยงาน และสิ่งพิมพ์ในวาระพิเศษต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือที่ระลึกในอนุสรณ์งานศพ หนังสือที่ระลึกส่วนบุคคล เช่น ครบรอบ 80 ปี 100 ปี ของบุคคลที่มีคณูปการแก่ประเทศชาติ เช่น 100 ปี ดร. ถนัด คอมันตร์ ในชื่อที่ว่า ”แต่พ่อที่รักของลูก” และหนังสือวาระพิเศษของหน่วยงาน เช่น เพาะช่าง 100 ปี

ทักษะต่าง ๆ ทีใช้ในการขอรับบริจาคหนังสือ Continue reading เล่มหนึ่งก็ซึ้งใจ

พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

จากหนังสือ “ดั่งดวงแก้ว ส่องสว่าง ทางสายงาม”  ในบทที่ 18 ตอน ทรงเห็นคุณค่าของห้องสมุด บรรยายถึงพระราชดำริในเรื่องของห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ (มูลนิธิศาสตราจารย์ ม.ล. ปิ่น มาลากุล : 2558) ว่า นอกจากการสืบทอดและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในรูปของศิลปะแล้ว ยังทรงเห็นว่า การสร้างห้องสมุดตลอดจนการสร้างหรือปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ยังก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการเผยแพร่อีกด้วย เช่น โปรดให้ทำพิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่อยู่หน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เพื่อเป็นการให้โอกาสในการเรียนรู้วัตถุเชิงหลักฐานต่างๆ ในด้านจดหมายเหตุ รูปภาพ และสิ่งของด้วยการปลูกฝัง ถ่ายทอด สืบสาน และจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ สะดวกต่อการสืบค้นนำไปใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  11 )

รายการอ้างอิง:

มูลนิธิศาสตราจารย์ ม.ล. ปิ่น มาลากุล. ดั่งดวงแก้ว ส่องสว่าง ทางสายงาม.  กรุงเทพฯ : มูลนิธิศาสตราจารย์ ม.ล. ปิ่น มาลากุล, 2558.

ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี

กรมการศึกษานอกโรงเรียนในฐานะที่รับผิดชอบในการจัดตั้งพัฒนาปรับปรุงห้องสมุดประชาชน จังหวัด และอำเภอทั่วประเทศ  ได้พยายามออกแบบ และจัดตั้งห้องสมุดตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงเห็นความสำคัญของห้องสมุด  โดยจัดโครงการ ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” ขึ้น ในวโรกาสที่มีพระชนมายุ ครบ 3 รอบ ประจวบกับเป็นปีสากลแห่งการรู้หนังสือ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั้งในเมืองและชนบท โดยมีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนในแต่ละพื้นที่ร่วมกันบริจาคทุน เพื่อการก่อสร้างห้องสมุดดังกล่าว ปัจจุบันมีห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารีเกือบทุกจังหวัด ติดตามรายชื่อห้องสมุดได้ที่นี่

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  10)

การพัฒนาห้องสมุดสู่ประชาคมอาเซียน

การพัฒนาห้องสมุดสู่ประชาคมอาเซียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์ ได้กล่าวในการประชุมวิชาการ ประจำปี 2555 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า การจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาคงต้องพร้อมที่จะก้าวไปกับสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด น่าจะต้องเตรียมการอย่างมากในเรื่อง ทรัพยากรสารสนเทศและบริการ โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง ทรัพยากรและบริการ เป็นการแบ่งปันทรัพยากร

สำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศอาเซียน มีเครือข่ายความร่วมมือที่สำคัญ คือ ASEAN University Inter-Library Online (AUNILO) เป็นเครือข่ายย่อย ภายใต้ ASEAN University Network (AUN) นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึง การพัฒนาสมรรถนะของบรรณารักษ์ ที่้ต้องมีการพัฒนาสมรรถนะในเรื่องทัศนคติ ค่านิยม โดยเฉพาะในเรื่องความสามารถในการปรับตัว และพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งทักษะที่จะสามารถทำงานแบบข้ามวัฒนธรรม เช่น ความสามารถในการปรับพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ได้ ความตระหนักเรื่องการสื่อสาร สามารถสื่อสารกับบุคคลต่างวัฒนธรรมและสามารถปรับการแสดงออกได้ตามสถานการณ์ ความสามารถในการค้นหาความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมอื่นๆ และการปฏิบัติตามวัฒนธรรม และสามารถนำมาใช้ในการปฏิสัมพันธ์ การเคารพผู้อื่น มีการเปิดใจกว้าง และพร้อมรับและเข้าใจความเชื่อต่างๆ ในวัฒนธรรมอื่น และความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

ห้องสมุดกับประชาคมอาเซียน

ห้องสมุดกับประชาคมอาเซียน โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2555 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่

  1. เรื่องราวของ ASEAN
  2. Why ASEAN Community?
  3. ห้องสมุดยุคใหม่
  4. ห้องสมุดกับประชาคม ASEAN

ในหัวข้อห้องสมุดยุคใหม่ ได้เน้นถึงพลังของอินเทอร์เน็ตที่ทำให้เกิดการปรับบทบาทของพลเมืองทั่วโลก เพื่อสร้างความรู้ ใช้ความรู้ จัดการความรู้ และกระจายความรู้ “ห้องสมุดยุคใหม่” จึงจำเป็นต้องเป็นห้องสมุดที่ไม่มีผนังกั้น สนองความต้องการบริการที่หลากหลายและกว้างขวาง และไม่หยุดนิ่ง อย่างไม่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

ดังนั้น เมื่อจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน บทบาทของห้องสมุดกับการเป็นประชาคมอาเซียนของไทย ก็คือ Continue reading ห้องสมุดกับประชาคมอาเซียน

การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกในห้องสมุดด้วย Carbon Footprint

การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกในห้องสมุดด้วย Carbon Footprint  โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หาญพล พึ่งรัศมี  ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านพลังงานเชิงนิเวศเศรษฐกิจ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2557 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ถึงผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน การเกิดก๊าซเรือนกระจก และสำหรับห้องสมุด มีแหล่งใดบ้างที่เป็นแหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจกในห้องสมุด เช่น ไฟฟ้าส่องสว่าง ลิฟต์ คอมพิวเตอร์  เครื่องพริ้นเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร และหมึกพิมพ์ กระดาษ โทรทัศน์ ตู้ยืม-คืนหนังสือ การใช้น้ำ กระดาษชำระ  เครื่องปรับอากาศและสารทำความเย็น และกล่าวถึงคาร์บอนฟุตพริ้นต์ วิธีการช่วยป้องกันสภาวะโลกร้อนในห้องสมุด คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

การบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า

การบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า (Reference Service) เป็นงานบริการอย่างหนึ่งของห้องสมุด งานนี้ต้องมีการสนทนากับผู้ใช้บริการโดยตรง เพื่อสอบถามข้อมูลต่างๆ ที่ผู้ใช้ต้องการ และบรรณารักษ์จะได้ค้นหาข้อมูลได้ตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ การบริการนี้รวมถึงการแนะนำแหล่งข้อมูลอื่นๆ ทั้งภายในและแหล่งข้อมูลภายนอกห้องสมุด

นอกจากนี้บรรณารักษ์ยังมีหน้าที่แนะนำการใช้ห้องสมุดและทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ด้วย   ในปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ ช่วยในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และค้นข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง ทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวก รวดเร็วมากขึ้น การบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าได้มี หลายช่องทาง ได้แก่ ติดต่อด้วยตนเอง ผ่านทางโทรศัพท์ ผ่านทางเว็บไซต์ของห้องสมุดผ่าน Email ของบรรณารักษ์ ผ่านAsk a Librarian  ผ่าน social network ( Facebook/Twitter/Chat online)  ซึ่งบรรณารักษ์พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่

บริการรับคืนทรัพยากรสารสนเทศ (ห้องสมุดคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน)

การให้บริการรับคืนทรัพยากรสารสนเทศ  โดยผู้รับบริการต้องนำทรัพยากรสารสนเทศที่ยืมไปส่งคืนห้องสมุด ตามวันกำหนดส่ง

การคืนทรัพยากรสารสนเทศมี 2 ช่องทาง คือ

  1. คืนทรัพยากรสารสนเทศด้วยตัวเอง
  2. คืนทรัพยากรสารสนเทศโดยผ่านตู้รับคืนนอกเวลา

การคืนทรัพยากรสารสนเทศด้วยตัวเอง

ผู้รับบริการสามารถนำหนังสือมาคืนกับเจ้าหน้าที่บริการยืม-คืน และสารมรถตรวจสอบความถูกต้อง ในกรณีมีค่าปรับ สามารถชำระค่าปรับกับเจ้าหน้าที่ทันทีและรับใบเสร็จค่าปรับ

การทรัพยากรสารสนเทศโดยผ่านตู้รับคืนหนังสือนอกเวลา

ปัจจุบันห้องสมุด มีตู้รับคืนหนังสือนอกเวลา หรือ  เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการ ที่ไม่สามารถนำหนังสือมาคืนในเวลาทำการของห้องสมุดได้ ซึ่งจะตั้งไว้หน้าห้องสมุด เจ้าหน้ที่ห้องสมุดจะเก็บหนังสือจากตู้ ภายในเวลา 8.30 น. ของทุกวัน ซึ่งผู้รับบริการสามารถตรวจสอบด้วยตัวเองจาก (Web OPAC) หรือจากเจ้าหน้าที่บริการยืม-คืน