จากประสบการณ์ในการเป็นคณะทำงานในจัดประชุมวิชาการประจำปี ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งในรูปแบบทางการและไม่เป็นทางการ การได้มีโอกาสได้ช่วยงานหลายๆ ส่วน และได้ร่วมทำงานกับพี่ๆ ที่เก่งงาน และเก่งในการจัดการแก้ปัญหา ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีในการทำงาน ถึงแม้ว่าโดยส่วนตัวแล้วอาจจะรับผิดชอบงานเฉพาะส่วนเท่านั้น แต่เบื้องหลังการทำงานที่ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันและมีการสื่อสารกันอย่างใกล้ชิดทำให้เห็นภาพการจัดงานและการเชื่อมประสานกันในแต่ละส่วนเพื่อให้งานประสบความสำเร็จ Continue reading 3 สิ่งสำคัญในการจัดประชุมวิชาการสำหรับบรรณารักษ์และงานห้องสมุด
Tag Archives: การจัดการความรู้
Applied Mind Map for KM
การประชุมวิชาการประจำปี 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของวันที่ 4 กันยายน 2558 ภายใต้หัวข้อ “คิดใหม่ ทำใหม่ บรรณารักษ์ยุคใหม่” หรือ “Librarianship : the Next Generation” ช่วงบ่าย เป็นการบรรยายหัวข้อ “ Applied Mind Map for KM” วิทยากรคือ อาจารย์ดำเกิง ไรวา เป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนเรื่องการนำ Mind Map ไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยเฉพาะทางด้านการตลาด การขาย การสร้างความสัมพันธ์ในองค์กร และ การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ
ตัวบ่งชี้คุณภาพสำนักหอสมุด ปีการศึกษา 2557-ตัวบ่งชี้ สกอ.5.1
ตัวบ่งชี้ สกอ. 5.1 เป็นตัวตัวบ่งชี้คุณภาพที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้หน่วยงานในกลุ่มสำนัก/สถาบันสนับสนุนวิชาการดำเนินการ มีค่าเป้าหมายและรายละเอียดตัวบ่งชี้ ดังนี้
สกอ. 5.1 : การบริหารของสำนักหอสมุดเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และ เอกลักษณ์ของหน่วยงาน
วัตถุประสงค์ คือ การพัฒนาแผนเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของสำนักหอสมุด และมีการบริหารทั้งด้านบุคลากร การเงิน ความเสี่ยง การจัดการความรู้ และการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกิจหลักให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
เป้าหมาย : จะดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐาน ทั้ง 7 ข้อ เพื่อให้การบริหารจัดการและการพัฒนาบรรลุเป้าหมายตามพันธกิจ/วิสัยทัศน์สำนักหอสมุด
เกณฑ์มาตรฐาน :
- พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของสำนักหอสมุดและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสำนักหอสมุด รวมทั้งสอดคล้องกับมหาวิทยาลัยและเอกลักษณ์ของสำนักหอสมุด และพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ
- ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในการดำเนินงานสนับสนุนวิชาการ สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนา บุคลากร การบริการ อย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการสนับสนุนวิชาการ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการบริการ และโอกาสในการแข่งขัน
- ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของสำนักหอสมุดและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม
- บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง10ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน
- ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจการสนับสนุนวิชาการ จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
- การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร
- ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของสำนักหอสมุด ที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานสำนักหอสมุดตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
Continue reading ตัวบ่งชี้คุณภาพสำนักหอสมุด ปีการศึกษา 2557-ตัวบ่งชี้ สกอ.5.1
ถอด…ความรู้จากภูมิปัญญา ครู/ศิลปิน/ปราชญ์พื้นถิ่นเพื่อการเรียนรู้และแบ่งปัน
วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน 2558 บุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ รองผู้อำนวยการสายบริหารและพัฒนา และนางสาวนพวรรณ วัฒนะนนท์ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาห้องสมุด เข้าร่วมการสัมมนาโครงการการจัดการความรู้ (Knowledge Management) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ “ดี” ในการจัดการความรู้ของคณะ/หน่วยงาน/ส่วนกลาง มธ. ปีการศึกษา 2556 ณ ห้องประชุมแพทย์โดม 2 อาคารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
วิทยากรภายนอกที่ได้ร้บเชิญมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “ถอด…ความรู้จากภูมิปัญญา ครู/ศิลปิน/ปราชญ์พื้นถิ่นเพื่อการเรียนรู้และแบ่งปัน” คือ อาจารย์วัลลภ ทองอ่อน จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร ซึ่งเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ภาคสนาม ที่อาจารย์ได้ลงพื้นที่ในการนำศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เพื่อหาพื้นที่ๆ เหมาะสมในการปลูกพืช และต่อมามีการขยายขอบเขตมาในเรื่องการจัดการทรัพยากร/อุบัติภัย
ประสบการณ์แรกที่อาจารย์วัลลภ นำมาเล่าสู่กันฟัง คือ ความรู้การทำนาเหมืองฝาย ที่หมู่บ้านหนองปิ้งไก่ นาบ่อคำ กำแพงเพชร ของลุงแปง วงค์ตา เนื่องจากชุมชนในพื้นที่นี้ อพยพมาจากลำปาง จึงมีความรู้ในการทำนาเหมืองฝายในพื้นที่เชิงเขา ทำนาเหมืองฝายได้ปีละ 2 ครั้ง หรือ 3 ครั้ง ในการถอดความรู้การทำนาเหมืองฝาย จากชุมชน นั้น เริ่มจาก
- การเตรียม ตัวเรา เตรียมตัวคนที่จะไปขอความรู้
- เครื่องมือ “เรื่องเล่าของลุงแปง”
- พลังคำถาม เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะต้องตั้งคำถาม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ เช่น คืออะไร เป็นอย่างไร ทำไมต้องเป็นเช่นนั้น
เมื่อได้รับเรื่องราวที่ถ่ายทอดจากลุงแปง ซึ่งเป็นความรู้ชุมชนแล้ว นำมาผนวกกับความรู้ทางสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อจะได้เป็นความรู้ใหม่ส่งต่อให้ชุมชนต่อไป
Continue reading ถอด…ความรู้จากภูมิปัญญา ครู/ศิลปิน/ปราชญ์พื้นถิ่นเพื่อการเรียนรู้และแบ่งปัน
งานวิจัยในมุมมองของ KM
มีงานวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management) และงานวิจัย ซึ่งมีความเหมือนและแตกต่าง ของการจัดการความรู้และงานวิจัย ชื่อว่า “งานวิจัยในมุมมองของ KM” ซึ่งผู้เขียน คุณจงจิต วงษ์สุวรรณ, คุณเจนจิรา อาบสีนาค, คุณศุภณัฐ เดชวิถี และคุณพรพิมล ช่างไม้ สรุปประเด็นได้ 7 ข้อ ดังนี้
- ขั้นตอนเริ่มต้น
- การปฏิบัติ
- ชนิดของความรู้ที่เน้น
- ตัวแปร
- การยืดหยุน
- วิธีคิด
- ทิศทางการดำเนินงานความรู้
รายการอ้างอิง
จงจิต วงษ์สุวรรณ เจนจิรา อาบสีนาค ศุภณัฐ เดชวิถี และ พรพิมล ช่างไม้ (2552) “งานวิจัยในมุมมองของ KM” วารสารโดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2552) : 22:27
แนวทางการจัดการความรู้ ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
มีงานวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับด้านการจัดการความรู้ ในสถาบันอุดมศึกษา ชื่อว่า “แนวทางการจัดการความรู้ ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง Knowledge Management Tendency in King Mongkut’s Institute of Technology Lard Krabang” ซึ่งผู้เขียน คุณกาญจนา จันทร์วัน ดร.นันทวัน อินทชาติ และ ดร.ศิรินทร ภู่จินดา ได้สรุปว่ามีกระบวนการจัดการความรู้ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังมี 6 กระบวนการ ดังนี้
- การสร้างและแสวงหาความรู้
- การจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ
- การประมวลและกลั่นกรองความรู้
- การเข้าถึงความรู้
- การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
- การประยุกต์ใช้ความรู้
รายการอ้างอิง
กาญจนา จันทร์วัน นันทวัน อินทชาติ และ ศิรินทร ภู่จินดา (2552) “แนวทางการจัดการความรู้ ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง Knowledge Management Tendency in King Mongkut’s Institute of Technology Lard Krabang” วารสารโดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2552)
การจัดการความรู้ : ประสบการณ์ของห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข
การจัดการความรู้เป็นเรื่องที่องค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญและนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการความรู้ของแต่ละหน่วยงาน ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข เป็นอีกหนึ่งห้องสมุดที่มีการจัดการความรู้และ ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการใช้ KM กับหน่วยงาน เริ่มจากมีการเสวนาแบ่งปันความรู้สู่เพื่อนร่วมงาน (Morning Talk) มีการจัดกิจกรรม CoP การใช้เทคโนโลยี Web 2.0 กับการจัดการความรู้ (KM) และ บล็อก (Blog) บล็อกเป็นการจดบันทึกความรู้ส่วนบุคคลและเป็นบันทึกประจำวันแบบสาธารณะ หรือ Public Diary ที่ให้คนอื่นอ่านและแสดงความคิดเห็นได้ เมื่อนำมาใช้กับหน่วยงานจะยิ่งเป็นประโยชน์ สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่นี้
รายการอ้างอิง
รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. 2552. การจัดการความรู้ : ประสบการณ์ของห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข. โดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม)
ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP): Digital Literacy – เครื่องมือประเมินคุณภาพการวิจัย
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดกิจกรรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) : Digital Literacy เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 9.00 – 12.00 น. ที่ผ่านมา ณ ห้องส่งเสริมการรู้สารสนเทศ 2 ชั้น U2 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในหัวข้อ “เครื่องมือประเมินคุณภาพการวิจัย (Research Programme Evaluation)” โปรแกรม InCites และ Scival
Continue reading ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP): Digital Literacy – เครื่องมือประเมินคุณภาพการวิจัย
การจัดการความรู้ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การจัดการความรู้ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่นำเสนอในวันเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำบริการ ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยสารสนเทศและเทคโนโลยีนำสมัย สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในระดับนานาชาติ จึงใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้ของบุคลากรในสำนักหอสมุดฯ เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการ เพื่อให้บรรลุถึงวิสัยทัศน์ข้างต้น ดังนี้
- การใช้ Blog ในการนำเสนอบทความด้วยการเล่าเรื่องทางวิชาการ การปฏิบัติงาน ประสบการณ์ต่างๆ แนวปฏิบัติที่ดี เป็นต้น ผ่านการจัดหมวดหมู่และการทำดัชนี เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึง และยังได้เผยแพร่ความรู้เหล่านั้น สู่สาธารณะเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ห้องสมุด และบุคคลทั่วไปในวงกว้างต่อไปทาง http://main.library.tu.ac.th/km/
- การสร้างชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) ได้แก่ Training the trainers และ Digital literacy เพื่อฝึกทักษะให้กับบุคลากรจากผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่าในการเป็นวิทยากรที่ดีในการให้บริการและส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศต่อไป
- การสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ รวมทั้งการอบรมจากวิทยากรภายนอก เช่น การนำเสนออย่างทรงพลัง Smart Click คลิกทันสื่อ เป็นต้น
การอบรมวิทยากรจากภายนอกคลิก Knowledge Management ที่หน้าเว็บไซต์สำนักหอสมุดฯ (http:// library.tu.ac.th/) หรือ http://main.library.tu.ac.th/km/ จะเข้าสู่เว็บไซต์การจัดการความรู้ของสำนักหอสมุดฯ
ตัวอย่างผลงานบทความที่เผยแพร่
- GUIDE TO WRITING ACADEMIC ARTICLES เป็นชุดเผยแพร่การเขียนทางวิชาการ
- PATHFINDER เส้นทางการหาสารสนเทศ
- PLAGIARISM AND HOW TO AVOID IT
- OVERVIEW OF INFORMATION LITERACY RESOURCES WORLDWIDE
- แหล่งสารสนเทศวิทยานิพนธ์
- ALTMETRIC 100 อันดับแรกของผลงานทางวิชาการ ของปี 2014
- การแนะนำการใช้ฐานข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ที่นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร ควรทราบเพื่อ การเรียน การสอน การศึกษา ค้นคว้า วิจัย
- ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ปัจจุบัน มีบทความเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้สารสนเทศ มากกว่า 200 บทความ และมีจำนวนยอดผู้ชมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
KNOWLEDGE SHARING ครั้งที่ 6 การเขียนบทความขึ้น BLOG ด้วย WORDPRESS
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2557 เวลา 13.00 -16.00 น. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีโอกาสจัดกิจกรรมการส่งเสริมการรู้สารสนเทศการเขียนบทความขึ้น BLOG ด้วย WordPress ให้แก่บุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ ห้องนิเทศการศึกษา ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์
Continue reading KNOWLEDGE SHARING ครั้งที่ 6 การเขียนบทความขึ้น BLOG ด้วย WORDPRESS