Tag Archives: การทำงาน

เพื่อความก้าวหน้ากับ 6 ทักษะของวัยทำงาน

ในยุคที่ต้องแข่งขันแบบนี้  ใครที่มีความสามารถ  ใครที่มีศักยภาพในการทำงาน   ย่อมเป็นบุคคลที่ถูกจับตามองให้ได้รับโอกาศดีๆ  อย่างการเลื่อนขั้นหรือการขึ้นเงินเดือน   การที่เราจะอยู่ในจุดนั้นได้เราจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาศักยภาพในการทำงานของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น   ด้วยทักษะสำคัญทั้ง 6

1 . ทักษะการคิด  ฝึกการคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดในเชิงบวก   เมื่อเราไม่หยุดคิดหรือชอบคิดค้นสื่งใหม่ๆ  ให้กับตัวเองอยู่เสมอ     นอกจากจะช่วยให้เราเป็นคนกระตือรือร้นมีจินตนาการ  รู้จักพัฒนาและสามารถต่อยอดความคิดให้เป็น   ก็จะเป็นคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก Continue reading เพื่อความก้าวหน้ากับ 6 ทักษะของวัยทำงาน

แนวทางการพิจารณาประเด็นเพื่อการปรับปรุงกระบวนงาน

สืบเนื่องจากการที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดกิจกรรม Process Improvement เพื่อให้บุคลากรวิเคราะห์การทำงานต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดการปรับปรุงกระบวนการนั้น อันจะก่อให้เกิดการลดเวลาในการทำงาน ลดค่าใช้จ่ายหรือลดต้นทุน การส่งมอบงานได้ตรงตามเวลา และผลของงานมีคุณภาพมากขึ้นกว่าเดิม จากนั้น บุคลากรของสำนักหอสมุดฯ ในแต่ละฝ่าย แต่ละสายงาน ได้นำความรู้ และแนวทางที่ได้รับจากวิทยากรไปศึกษาถึงประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และระดมสมองเพื่อหยิบยกประเด็นต่างๆ ขึ้นมา ซึ่งบุคลากรของสำนักหอสมุดฯ นำเสนอในหลากหลายประเด็น สิ่งที่กำลังจะดำเนินการต่อไป เพื่อก่อให้เกิดกระบวนการ Process Improvำment ของจริง ก็คือ การเลือกประเด็นปัญหา ซึ่งผู้อำนวยการ ได้มอบหมาย keyword หรือหัวใจสำคัญของการพิจารณาประเด็นได้แก่

  • ปัญหานั้น มีผลกระทบกับคน จำนวนมาก/น้อย (แค่ไหน เพียงใด)
  • ปัญหานั้นมีผลกระทบต่อเนื่อง (หรือไม่)
  • ปัญหานั้นมีแนวโน้มการขยายตัวหากปล่อยทิ้งไว้ (หรือไม่)
  • ปัญหานั้นก่อให้เกิดความร้ายแรงถ้าปล่อยทิ้งไว้
  • ปัญหานั้นมีความรีบด่วน (ที่ต้องหยิบนำมาพิจารณาหรือไม่)

เพียง 5 ประเด็นนี้ ก็เป็นแนวทางที่พวกเราต้องวิเคราะห์กันอย่างถี่ถ้วน ต่อไป

ใกล้เกลือกินด่าง

ก่อนจะมาเข้าทำงานที่ห้องสมุด มีโอกาสได้อ่านหนังสือที่ห้องสมุดค่อนข้างหลากหลายประเภท ทั้งวิชาการ ข่าว บทความ บันเทิง กีฬา ท่องเที่ยว วิชาชีพ นานาสาระ และไม่มีสาระจิปาถะ แต่เมื่อได้เข้ามาทำงานในห้องสมุดซึ่งมีหนังสือและทรัพยากรมากมายหลากหลายประเภท ได้จับหนังสืออยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเพราะว่ามีหน้าที่ต้องเรียงหนังสือขึ้นชั้นบริการด้วย แต่กลับตรงข้ามกัน เพราะแทบจะไม่ได้อ่านหนังสือเลย แต่ละปีนับได้ไม่เกิน 10 เล่ม มีบ้างที่อ่านข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ หรือหนังสือและวารสาร แต่ก็เฉพาะเรื่องที่สนใจเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับตอนที่อยู่ข้างนอก ทั้ง ๆ ที่ตัวเราอยู่ในแหล่งของข้อมูลสารพัดประเภท แต่เรากลับไม่ได้ให้ความสนใจหรือใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้น เท่าที่ควรหรือแค่สักครึ่งหนึ่งของความสนใจใคร่รู้จากตอนที่อยู่ภายนอก

จึงเปรียบตัวเราเหมือนกับปลาที่ไม่ได้รับความเค็มจากน้ำทะเล ทั้ง ๆ ที่อยู่ในทะเลตลอดเวลา และเหมือนกับช้อนที่ไม่รู้รสแกง ทั้งๆ ที่ตัวมันได้สัมผัสกับแกงสารพัดประเภท  ซึ่งก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ ถึงได้ทำให้เราห่างเหินกับการอ่านหนังสือหรือข้อมูลที่มีอยู่อย่างหลากหลายได้ขนาดนี้  ในบางครั้งก็คิดว่าคงเป็นเพราะวัยหรือสถานะที่ต้องรับผิดชอบภาระหน้าที่อย่างอื่นเพิ่มขึ้นจนลืม หรือเพราะเบื่อที่เห็นหนังสือจำนวนมากๆ อยู่ทุกวี่ทุกวัน หรือเพราะสาเหตุใดก็ตามแต่ ที่เราจะคิดขึ้นมาเพื่อหักล้างเหตุผลที่เราอ่านหรือสนใจหนังสือน้อยลง นั่นก็ย่อมแสดงให้เห็นว่าเราเป็นคนประเภท ใกล้เกลือกินด่าง คือไม่รู้จักสนใจไขว่คว้าสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่อยู่รายรอบตัวเรามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ได้นั่นเอง

วินัย…..วินัย มาแล้วจ้า

พวกเราทุกคนล้วนต้องมีวินัยในการปฏิบัติงาน แล้ววินัย คือ อะไร
วินัย คือ การทำตามสั่ง โดยมี 3 รูปแบบ (สมภพ ภิรมย์ : 2547) คือ

  1. สั่งเป็นลายลักษณ์อักษร ในรูปของกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา พระราชกำหนด เป็นต้น โดยให้ยึดเป็นหลักปฏิบัติและอ้างอิง คนจึงต้องถือวินัย ใครละเมิดหรือไม่มีวินัย ก็จะมีความผิด
  2. สั่งด้วยจารีต ประเพณี แบบแผน ขนบธรรมเนียม ซึ่งวินัยประเภทนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่เคร่งครัดเหมือนในข้อ 1
  3. สั่งการด้วยวาจา หรือการนัดหมาย เป็นคำสั่งหรือข้อตกลงด้วยวาจา

ดังนั้น ในทุกองค์กรจำต้องยึดถือวินัยเป็นหลักในการทำงาน ถ้าองค์กรใดหย่อนหรือขาดวินัยก็จะส่งผลให้ด้อยประสิทธิภาพลงไปได้
ในการดำเนินงานทางวินัยของมหาวิทยาลัยนั้น หากสงสัยว่าข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานเงินรายได้ ลูกจ้างประจำ ผู้หนึ่งผู้ใดกระทำผิดวินัย ซึ่งเกิดจากการร้องเรียน/ผู้บังคับบัญชาตรวจพบเห็นเอง หรือมีหน่วยงานอื่นแจ้งเหตุกระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาจะทำการสืบสวนหรือสอบข้อเท็จจริงก่อน เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะพิจารณาว่า มีมูลที่ควรกล่าวหาว่าบุคคลผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่ หากเป็นกรณีมีมูล ผู้บังคับบัญชาจะดำเนินการทางวินัยต่อไป หากเป็นกรณีไม่มีมูลก็ให้ยุติเรื่องทันที

รายการอ้างอิง:

สมภพ ภิรมย์. วินัย. วารสารบัณฑิตยสถาน ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (เม.ย. – มิ.ย.2547) : 504 – 505 สืบค้นเมื่อวันที่ 4 ก.พ.2558 จาก http://www.royin.go.th/upload/61/FileUpload/25_8908.pdf

กิจกรรม Process Improvement

เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2558 เวลา 9.00-12.00 น. บุคลากรของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วยผู้บริหาร หัวหน้างาน และบุคลากรอีกจำนวนหนึ่ง ได้ร่วมกิจกรรม Process Improvement โดยวิทยากรจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) คุณกุศล ทองวัน (หรือคุณต้อ) หัวหน้างาน งานพัฒนาองค์การ ฝ่ายกลยุทธ์บุคคลและพัฒนาองค์กร  และทีมงาน ได้ให้ความรู้ แนวทางและสร้างความเข้าใจถึงการทำ Process Improvement เพื่อเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปรับปรุงกระบวนการทำงาน

คุณโกศล ทองวัน วิทยากรจาก สวทช.
คุณกุศล ทองวัน วิทยากรจาก สวทช.
ผู้บริหารและบุคลากรของสำนักหอสมุด เข้าร่วมกิจกรรม
ผู้บริหารและบุคลากรของสำนักหอสมุด เข้าร่วมกิจกรรม

สำนักหอสมุดฯ จึงตั้งเป้าหมายว่า หลังจากการอบรมในครั้งนี้ บุคลากรในแต่ละฝ่ายจะได้มีส่วนร่วมในปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งกว่าจะปรับปรุงกระบวนการทำงาน คาดหวังว่าบุคลากรต้องมีการวิเคราะห์ ศึกษา จนมาถึงการสรุปออกมาเป็นกระบวนการที่ปรับปรุงแล้ว เหมือนกับเป็น R2R หรือ Routine to Research ได้งานที่มีการพัฒนา ปรับปรุง ได้ความรู้ เป็นการพัฒนางาน (งานมีคุณภาพ (Quality) ลดค่าใช้จ่าย (Cost) ในการทำงาน รวมทั้งมีความรวดเร็วในการส่งมอบงาน (Delivery) ) และเป็นการพัฒนาคน Continue reading กิจกรรม Process Improvement

มนุษย์เจ้าปัญหา

ผู้เขียน (คุณชูมาน ถิระกิจ) ได้กล่าวว่า ในชีวิตประจำวัน เราต้องพบปะกับคนมากมาย บางคนก็น่ารัก น่าทำงานด้วย อยู่ใกล้แล้วสบายใจ บางคนก็อยู่ใกล้แล้วขาดทุนทางอารมณ์ ต้องฝึกสมองประลองปัญญาที่จะติดต่อสื่อสารด้วยอย่างหนัก วันไหน เจอเข้าสัก 4-5 คนก็อ่วมแล้ว Hara Estroff Marano
(Psychology Today. May/June 2012) จัดกลุ่มมนุษย์เจ้าปัญหาที่มักทำให้คนเจ้าปัญหาที่มักทำให้คนรอบข้างเหน็ดเหนื่อยในอารมณ์ไว้ 4 แบบคือ……… (แล้วเราจะเป็นมนุษย์เจ้าปัญหาหรือเปล่านะ)

(ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้)

รายการอ้างอิง:
ชูมาน ถิระกิจ.  มนุษย์เจ้าปัญหา. โดมทัศน์ 33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 54-58.

สุขภาพที่ดีของบรรณารักษ์

ในสภาวะปัจจุบันของการที่งานของบรรณารักษ์อย่างเราๆนั้น  ทุกๆวันก็จะเจอแต่ห้อง 4 เหลี่ยม เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง  ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไป  และโดยส่วนใหญ่จะต้องนั่งทำงานและให้บริการกันตั้งแต่ 08.00-16.00 น. เป็นอย่างต่ำ  ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ค่อยข้างนาน
และการปฏิบัติกันแบบเดิมๆซ้ำๆ ในเวลานานๆ นั้น  จะส่งผลต่อสุขภาพของบรรณารักษ์อย่างเราๆในทางที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่
เช่น  อาการปวดเมื่อย  ล้า  ป่วยบ่อย  สมองไม่ปลอดโปร่ง เป็นต้น
ดังนั้น  การที่จะทำให้เรามีสุขภาพร่างกายที่ดีนั้นสามารถทำได้ง่ายๆเลย  ดังนี้
1.พักผ่อนให้เพียงพอ
2. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์  ครบทั้ง 5 หมู่  
(ในปริมาณที่เหมาะสม)
3. หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
4. ทำจิตใจให้ผ่องใส  มองโลกในแง่ดีเสมอ
5. มีการจัดการความเครียดได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง
ซึ่งเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวของพวกเราเลยสามารถทำได้ด้วยตนเองได้แบบง่ายๆ  หรือถ้าไม่แน่ใจที่เราทำๆกันอยู่นั้นถูกต้องหรือไม่นั้น  ก็สามารถหาข้อมูลได้จากในห้องสมุดของพวกเรานั่นเองที่มีสารสนเทศที่หลากหลายให้พวกเราได้เลือกมาศึกษาและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างมากมายกันเลยทีเดียว  ^_^

อ้างอิงจาก https://uteeslplace.wikispaces.com/Health