Category Archives: เทคโนโลยีห้องสมุด

เปิดตัวบริการ Book Suggestion โฉมใหม่

จะบอกกล่าวว่า  เร็วๆ นี้สำนักหอสมุดจะเปิดตัวบริการ Book Suggestion ใหม่ แทนหน้าจอ Book Suggestion เดิม ผู้ที่จะแนะนำได้จะต้อง login เข้าระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha ด้วย Library Card Number และ Password ที่ใช้ในการดูข้อมูลหนังสือที่ยืม

ขั้นตอนการแนะนำหนังสือ มี ดังนี้

  1. เข้าไปที่ URL http://koha.library.tu.ac.th จะปรากฏหน้าจอ ให้กรอกข้อมูลในช่อง Library Card Number และ Password

Continue reading เปิดตัวบริการ Book Suggestion โฉมใหม่

ขั้นตอนการตั้งค่าให้แสดงผลภาษาไทยในการ export ข้อมูลบรรณานุกรมเข้าโปรแกรม Zotero

 เนื่องจากได้รับคำถามจากผู้ใช้บริการว่า เมื่อ export ข้อมูลจากหน้าจอสืบค้น Library Catalog ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha  ที่สำนักหอสมุดได้ให้บริการขณะนี้นั้น  พบว่า ไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้   วันนี้ผู้เขียนจึงขอมาบอกกล่าวถึงขั้นตอนการแก้ไขกัน  แต่ก่อนที่จะไปพูดถึงขั้นตอนนั้น ขอให้คำอธิบายเกี่ยวกับ Zotero ก่อน ดังนี้

ZOTERO เป็นโปรแกรมจัดการทางบรรณานุกรมและรายการอ้างอิง หรือที่เรียกว่า “Reference management” เหมือนกับ Endnote และ Reference Manager พัฒนาโดย Center for History and New Media , George Mason University โดย ได้รับเงินสนับสนุนจาก United States Institute of Museum and Library Services, the Andrew W. Mellon Foundation และ The Alfred P. Sloan Foundation  เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ ใช้งานร่วมกับบราวเซอร์ Firefox และ Flock สำหรับการจัดเก็บรายการบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง และสาระสังเขป รูปภาพ แหล่งที่มาซึ่งอาจเป็นเอกสารชนิดต่างๆ ที่เป็นรายการอ้างอิง เช่น ไฟล์ PDF, รูปภาพ โปรแกรมสามารถสืบค้นมาจากแหล่งต่างๆ เช่น ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูลห้องสมุด ฯลฯ

สำหรับขั้นตอนการตั้งค่าให้แสดงผลภาษาไทย ในการ export ข้อมูลเข้าโปรแกรม Zotero มีดังนี้

Continue reading ขั้นตอนการตั้งค่าให้แสดงผลภาษาไทยในการ export ข้อมูลบรรณานุกรมเข้าโปรแกรม Zotero

อะไรดีๆ ที่ Archive.org

เคยได้ยินชื่อเว็บ Archive.org มานานพอสมควรค่ะ ตอนแรกยังคิดว่าเป็นเว็บที่รวบรวม e-book ธรรมดา ๆ ไม่มีอะไรพิเศษ แต่พอวันอาทิตย์ยามบ่ายๆ ขณะส่งลูกเข้านอนเรียบร้อย ทำให้พอจะมีเวลาว่างเข้ามาคลิกดูโน่นดูนี่ในเว็บนี้ แถมยังสมัครเป็นสมาชิกเรียบร้อย ก็เลยอยากจะแชร์ประสบการณ์ในการท่องเว็บนี้ให้ท่านที่ยังไม่เคยลองเข้ามา มีอารมณ์อยากจะเข้ามากันบ้างค่ะ

Archive.org เป็นเว็บที่ก่อตั้งโดยมูลนิธิ Internet Archive ซึ่งเป็นองค์กรณ์ที่ไม่แสวงหาผลกำไร เป้าหมายของการสร้างเว็บไซต์นี้ ถ้าพูดให้สั้นและเข้าใจง่ายก็คือ การเป็นห้องสมุดอินเทอร์เน็ต (Internet Library) ที่เก็บรวบรวมสื่อนานาชนิด ทั้งที่เป็น Text, Video, Audio, Software, Image และWebsite ถ้าใครสนใจ สมัครเป็นสมาชิกดูนะคะ จะได้มีสิทธิในการดาวน์โหลดสื่อต่างๆ ได้ฟรีค่ะ

สิ่งที่เห็นว่าน่าสนใจมากๆ อย่างหนึ่งของเว็บไซต์นี้คือการเป็นเหมือนเครื่องย้อนเวลา (Wayback Machine) ที่เก็บรวบรวมหน้าตาเว็บไซต์ต่างๆ ในแต่ละช่วงเวลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าบางเว็บอาจจะสูญสลายไปแล้วก็ตาม ซึ่งข้อมูลและรายละเอียดเหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้พัฒนาเว็บไซต์เพราะจะได้เห็นถึงพัฒนาการต่างๆ วิธีการก็ง่ายๆ ค่ะ เพียงแค่ใส่ชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการค้นหา จากนั้นระบบจะแสดงผลออกมาเป็นช่วงเวลาในรูปแบบของปฏิทิน ซึ่งคุณก็สามารถเลือกช่วงเวลาและวันที่ตามต้องการได้เลย

001
สำหรับสื่อดิจิทัลที่มีให้บริการดาวน์โหลด บอกได้คำเดียวค่ะว่าเยอะมาก เพราะมีกว่า 3,000 คอลเล็คชั่น และมีหลากหลายภาษาด้วย ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส เยอรมัน ฯลฯ ซึ่งถ้าใครที่เป็นหนอนหนังสือ ชอบหาหนังสือดีๆ อ่านกันแบบไม่ต้องเสียเงิน เว็บไซต์นี้น่าจะเป็นอีกเว็บหนึ่งที่ควรจะอยู่ในดวงใจค่ะ

ล่าสุด Internet Archive ได้ร่วมมือกับ BitTorrent, Inc. นำสื่อมัลติมีเดียเหล่านี้ที่เดิมทีต้องโหลดผ่านทาง HTTP มาแจกบน BitTorrent ด้วย เป้าหมายสำคัญของการแจกสื่อผ่าน Torrent คือการเพิ่มประสิทธิภาพของการดาวน์โหลดไฟล์ให้มากขึ้น รวมไปถึงการขยายกลุ่มเป้าหมายของ Internet Archive ไปยัง “สังคมแห่งการแบ่งปัน” (อ้างอิง https://www.blognone.com/node/34855)

เล่ากันแค่นี้พอหอมปากหอมคอ ท่านที่สนใจสามารถแวะเข้าไปเยี่ยมชมกันได้นะคะที่ http://archive.org รับรองคุณจะ Love Love เว็บไซต์นี้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง WAYBACK MACHINE : INTERNET ARCHIVE จากอดีตถึงปัจจุบันของเว็บไซต์ต่างๆ

รู้สักนิดกับ “การจัดการสิทธิดิจิทัล (Digital Rights Management : DRM)”

การจัดการสิทธิดิจิทัล (Digital Rights Management : DRM) คือ การควบคุมหรือจำกัดการใช้สื่อดิจิทัลบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการปกป้องคุ้มครองข้อมูลดิจิทัล (Protection of digital content) ให้ปลอดภัยจากการเข้าถึง (access control) หรือทำซ้ำ (copy control) โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยี เช่น ใส่ encryption ในไฟล์ข้อมูลที่ต้องการคุ้มครอง และอนุญาตให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลก็ต่อเมื่อระบบได้ตรวจสอบตัวตน (identity) ของผู้ใช้และตรวจสอบสิทธิในการเข้าถึงไฟล์นั้นเสียก่อน (authenticated) การคุ้มครองไฟล์ข้อมูลด้วยวิธีนี้ ค่อนข้างมีความปลอดภัย เนื่องจาก DRM จะติดอยู่กับไฟล์ดิจิทัล ไม่ว่าไฟล์ข้อมูลนั้นจะมีการถ่ายโอนไปที่ใด

ระบบจัดการสิทธิดิจิทัล คือ ระบบการจัดการสิทธิของผู้ใช้ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ออกแบบและสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันการคัดลอก หรือการทำสำเนาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ควบคุมและจำกัดสิทธิของผู้ใช้ตามเงื่อนไขที่กำหนด หลักการทำงานของระบบ DRM ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ (1) การสร้างสื่อดิจิทัลที่มีการผนวกสิทธิเข้าไว้ด้วยกัน (2) การควบคุมการเผยแพร่สื่อดิจิทัล (3) การควบคุมการใช้งานสื่อดิจิทัลของผู้ใช้

ปัจจุบันสำนักหอสมุดมีการจัดการสิทธิดิจิทัลกับทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลที่แปลงรูปมาจากทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์ เช่น วิทยานิพนธ์ ผลงานวิชาการของคณาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนังสือคำสอนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น โดยเทคนิคที่ใช้มาจากฟังก์ชั่นของโปรแกรม Acrobat Professional คือ

  1. การใส่ลายน้ำ เพื่อป้องกันการปลอมแปลงหรือการคัดลอก โดยใส่ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีคำว่า “สำนักหอสมุด”
  2. การเพิ่มความปลอดภัยให้เอกสาร PDF ด้วยการกำหนด security เพื่อป้องกันการคัดลอก เนื้อหาของทรัพยากร (ใช้ป้องกันความปลอดภัยกับเอกสาร PDF ที่ได้มาด้วยการแปลงไฟล์จากโปรแกรม Microsoft word) และป้องกันการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไฟล์ PDF

ด้วยเทคโนโลยี DRM ที่ใช้ในปัจจุบัน เห็นว่าน่าจะยังไม่เพียงพอต่อการจัดการสิทธิดิจิทัล เนื่องจากสำนักหอสมุดมีทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลเป็นจำนวนมากที่ไม่จำกัดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล ทำให้ ณ ปัจจุบันไม่ทราบว่าผู้เข้ามาใช้บริการเป็นใคร มีสถิติการดาวน์โหลดเข้าใช้งานกี่ครั้ง และ มีการนำดิจิทัลไฟล์ไปทำสำเนา แจกจ่าย หรือใช้เพื่อการพาณิชย์หรือไม่ ดังนั้นเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิอันเป็นสิทธิ์โดยชอบธรรมของเจ้าของลิขสิทธิ์ จึงควรมีการพัฒนาระบบจัดการสิทธิดิจิทัลเพื่อสร้างมาตรฐานระบบรักษาความปลอดภัยให้ทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลของสำนักหอสมุด ยกระดับการให้บริการ และสร้างความเชื่อมั่นให้เจ้าของผลงานต่อไป

อ้างอิง
https://sites.google.com/site/digitizedthailand/drm/principle
http://th.wikipedia.org/wiki/การจัดการสิทธิดิจิทัล
http://banna-tad.human.cmu.ac.th/index.php/bannatad/article/viewFile/16/29

เล็กๆ น้อยๆ กับ DOI

บุคลากรที่อยู่ในวงการห้องสมุดหรือศูนย์เอกสารสนเทศต่างๆ คงไม่มีใครไม่รู้จักเลข ISBN หรือ เลข ISSN เพราะเป็นเลขที่อยู่คู่สิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือและวารสารกันมายาวนาน เมื่อก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล เลขอีกชนิดหนึ่งที่ทุกคนควรรู้จักคือเลข DOI หรือเรียกด้วยภาษาทางการคือ ตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) (อังกฤษ: Digital Object Identifier: DOI) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล หรือทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ หรือเอกสารดิจิทัล ทำหน้าที่เป็นรหัสทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล  คล้ายกับเลข ISBN หรือ ISSN แต่มีความแตกต่างที่ DOI  มีความซับซ้อนมากกว่า โดยมีเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมโยงไฟล์ทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลจากรหัส DOI  ได้  มีการจัดการฐานข้อมูล metadata และการอ้างถึง ซึ่งตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) นั้นเป็นตัวบ่งชี้ถาวรของทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล (Permanent Identifier) หรือ Persistent Identifier โดยรหัสนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานที่ที่ใช้จัดเก็บ (Location) หรือสิทธิการเป็นเจ้าของทรัพยากรสารสนเทศนั้น

สำหรับในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้สมัครสมาชิกเป็นผู้บริหารจัดการตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) ด้านการวิจัยของประเทศกับ DataCite ซึ่งเป็น Registration Agencies (RA) และได้รับการยอมรับจากที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีของ DataCite ให้เป็นสมาชิกเต็มรูปแบบลำดับที่ 17 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2555

หากหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักพิมพ์ หน่วยงานรัฐบาล หรือห้องสมุด ที่ได้จัดทำสิ่งพิมพ์ประเภทงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และวารสาร ให้อยู่ในรูปดิจิทัลและให้บริการการเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มแบบสาธารณะ เมื่อต้องการขอเลข DOI มีวิธีการง่ายๆ ดังนี้

  1. เข้าที่เว็บไซต์ http://doi.nrct.go.th/doidc/index.php
  2. ลงทะเบียน โดยเลือกที่ “สมัครใช้บริการ”
  3. เลือกประเภทของสิ่งพิมพ์ที่ต้องการจะขอเลข DOI ได้แก่ งานวิจัย/วิทยานิพนธ์ หรือ วารสาร
  4. กรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน จากนั้นคลิก “ลงทะเบียน”
  5. หลังจากลงทะเบียนแล้ว ให้รอการตอบกลับจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทางอีเมลที่ได้กรอกไว้ตอนลงทะเบียน
  6. นำ username/password ที่สมัครไว้มา Login เข้าระบบเพื่อดำเนินการขอเลข DOI ต่อไป

ดิจิทัลคอลเล็คชั่นของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักหอสมุดเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นพร้อมการก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ในปี พ.ศ. 2477 ด้วยระยะเวลาการก่อตั้งที่ยาวนาน ทำให้สำนักหอสมุดได้สั่งสมทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าในด้านเนื้อหาและการจัดพิมพ์เป็นจำนวนมาก

ด้วยการตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของทรัพยากรสารสนเทศ ความต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศให้คงอยู่ได้ด้วยรูปแบบการจัดเก็บและการนำเสนอที่แตกต่างออกไปโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาจัดการ การตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศโดยปราศจากข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ การส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำนักหอสมุดจึงมีมุ่งมั่นที่จะพัฒนาดิจิทัลคอลเล็คชั่นให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นแหล่งจัดเก็บและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำนักหอสมุดเริ่มต้นพัฒนาดิจิทัลคอลเล็คชั่นด้วยการแปลงรูปทรัพยากรสิ่งพิมพ์เป็นรูปดิจิทัลในปี พ.ศ. 2544 โดยหนังสือหายากเป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทแรกที่ได้รับการพิจารณานำมาจัดทำ เนื่องจากเป็นสิ่งพิมพ์ที่ทรงคุณค่าด้านเนื้อหาและด้านการพิมพ์ ไม่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามท้องตลาดหรืออาจไม่มีในห้องสมุดอื่นๆ โดยมุ่งเน้นการทำสำเนาทรัพยากรในรูปดิจิทัลเพื่อให้เนื้อหายังคงอยู่ สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาค้นคว้าได้สืบไป ต่อมาสำนักหอสมุดมีการพัฒนาดิจิทัลคอลเล็คชั่นอย่างต่อเนื่อง โดยมีแนวทางในการพิจารณาทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์เพื่อนำมาแปลงรูปเป็นดิจัล 4 ประเด็นคือ คุณค่าของทรัพยากรสารสนเทศ ลักษณะทางกายภาพ คุณภาพของทรัพยากรสารสนเทศ และเรื่องของลิขสิทธิ์

ปัจจุบันสำนักหอสมุดจัดเก็บดิจิทัลคอลเล็คชั่นในระบบ CONTENTdm ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศที่สามารถรองรับการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลได้หลายรูปแบบ ได้แก่ ไฟล์ในรูปแบบ Microsoft office, .pdf, MP4, Image, Video เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นการทำงานที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบสืบค้นแบบบูรณาการ (Integrated search) ที่สำนักหอสมุดจัดหามาใช้งาน ได้แก่ ระบบ One Search ของบริษัท Ebscohost และระบบ WorldCat Local ของ OCLC ซึ่งช่วยให้ข้อมูลที่จัดเก็บในระบบ CONTENTdm สามารถสืบค้นผ่านระบบดังกล่าวได้แบบอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลได้รับการเผยแพร่อย่างรวดเร็ว โดยบุคคลทั่วไปสามารถเข้าใช้บริการดิจิทัลคอลเล็คชั่นของสำนักหอสมุดโดยตรงได้ที่เว็บไซต์ http://beyond.library.tu.ac.th

Continue reading ดิจิทัลคอลเล็คชั่นของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เทคโนโลยีเปลี่ยนไปงานก็ต้องเปลี่ยนตามเทคโนโลยี

การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานวารสารห้องสมุดสัญญา ธรรมศักดิ์

                 งานบริการวารสารสมัยนี้เปลี่ยนไปจากสมัยก่อนอย่างมากมายจากที่สมัยก่อนบอกรับวารสารเป็นแบบตัวเล่ม ก็เปลี่ยนเป็นแบบวารสารออนไลน์ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องมาถึงห้องสมุด เมื่อผู้ใช้เคยชินกับการที่ไม่ต้องเดินมาค้นวารวารที่ห้องสมุดทำให้มีความต้องการแบบ delivery ถึงที่มากขึ้น ทำให้ห้องสมุดต้องมีการนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานวารสารเพื่ออำนวยความสะดวกให้อาจารย์คณะนิติศาสตร์ที่สอนอยู่ทางรังสิตและลำปางซึ่งไม่ค่อยมีเวลามาห้องสมุดสัญญาฯ

 เพื่อตอบสนอง ความต้องการที่ต้องการความสะดวก รวดเร็วมากขึ้นจึงต้องปรับเปลี่ยนการทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่องค์กรวางไว้ Continue reading เทคโนโลยีเปลี่ยนไปงานก็ต้องเปลี่ยนตามเทคโนโลยี

รีโมทใช้ฐานข้อมูลออนไลน์แบบอีซี่ๆ ด้วย EZproxy

การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัย บอกรับเป็นสมาชิก จะมีวิธีการให้ผู้ใช้ ซึ่งต้องการรีโมทเข้ามาใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ โดยการใช้ Proxy และ VPN ซึ่งส่วนใหญ่ที่พบเห็นมักจะเป็นการให้ผู้ใช้ต้อง set proxy ผู้ใช้ที่ไม่คล่องหรือไม่ชอบเทคโนโลยีด้วยแล้ว อยากจะบอกศาลาในการรีโมทเข้ามาใช้ด้วย Proxy เลยทีเดียว แต่การใช้ VPN มหาวิทยาลัยและหน่วยงานหรือองค์กร ต้องใช้ Resources เยอะ แต่จะช่วยให้ผู้ใช้ของห้องสมุด หน่วยงาน หรือ องค์กรไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน สามารถเข้าถึงได้ง่าย ลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร และการดูแลรักษาระบบ ดังนั้น ความสะดวก และความง่ายในการรีโมทเข้ามาใช้สำหรับผู้ใช้แล้ว ขอบอกว่า VPN สะดวกกว่าแน่นอน เพราะผู้ใช้ไม่ต้อง set อะไร เพียงแต่ใช้ url ที่องค์กรให้มา และใส่ username กับ password เพียงเท่านี้ ก็เสมือนอยู่ในเครือข่ายขององค์กรแล้ว

สำหรับห้องสมุดหรือองค์กรที่ไม่สามารถใช้หรือมี VPN ในการให้ผู้ใช้รีโมทเข้ามาใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ได้นั้น ตอนนี้ มีผลิตภัณฑ์ของ OCLC ที่ชื่อว่า EZproxy ออกมาทำให้การรีโมทใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ง่ายขึ้นมาอีกเยอะ สมชื่อ EZproxy เป็นการพัฒนาของ OCLC โดยเป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นครั้งแรกโดย Chris Zagar ในปี ค.ศ. 1999 และมีการประกาศใช้ในเดือน มกราคม ค.ศ. 2008

EZproxy เป็น web proxy server ที่ห้องสมุดจัดหามาเพื่อให้ผู้ใช้รีโมทเข้ามาใช้เครือข่ายของห้องสมุดผ่านเข้ามาใช้ฐานข้อมูลได้ ผู้ใช้ใส่ชื่อ และรหัสผ่านเข้าระบบ และมีการตรวจสอบผู้ใช้ด้วย IP address ที่ฐานข้อมูลที่บอกรับเป็นสมาชิกอนุญาตให้ใช้ เพียงเท่านี้ ผู้ใช้ก็สามารถใช้ฐานข้อมูลออนไลน์หรือฐานอื่นๆ ที่ต้องรีโมทจากทางบ้านหรือที่ไหนก็ได้โดยสะดวกมากกว่าแต่ก่อน แต่เบื้องหลังการ set ค่าต่างๆ ของแต่ละฐานข้อมูลออนไลน์เป็นหน้าที่ของห้องสมุด หรือองค์กร (รายละเอียดทางเทคนิค) ซึ่งน่าจะทำให้สะดวกกว่าเดิมในการไม่ต้องแก้ปัญหาเรื่องการ set proxy ของผู้ใช้ และทางห้องสมุดหรือองค์กร ก็สามารถเก็บสถิติการเข้าใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ได้โดยตรงอีกด้วย

รายการอ้างอิง

OCLC.OCLC EZproxy: An Overview (Tutorial overview). Retreived 2015, 4 May from http://www5.oclc.org/downloads/tutorials/ezproxy/default.htm

OCLC. Connect your users to e-content with a single sign-on. Retreived 2015, 4 May from https://www.oclc.org/ezproxy.en.html

บริการสืบค้นเสมือนจริง (Virtual Browse) ของห้องสมุด

วงการห้องสมุดมีการนำเทคโนโลยีหลากหลายมาใช้ เพื่อช่วยในการบริการสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ เพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการเข้าถึงสารสนเทศตามที่ผู้ใช้ต้องการ  บริการสืบค้นเสมือนจริง (Virtual Browse) เป็นเทคโนโลยีที่ห้องสมุดทั้งในไทยและต่างประเทศนำมาใช้  อาจไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่แต่มีความน่าสนใจ เพราะรูปแบบของบริการสืบค้นสารสนเทศเสมือนจริงในห้องสมุด นอกจากทำให้การสืบค้นสะดวกมากขึ้น ยังมีรูปแบบที่ดึงดูดความสนใจในการใช้งานอีกด้วย  โดยบทความนี้จะขอแนะนำบริการสืบค้นเสมือนจริงและยกตัวอย่างห้องสมุดทั้งไทยและต่างประเทศที่นำบริการนี้มาใช้

Continue reading บริการสืบค้นเสมือนจริง (Virtual Browse) ของห้องสมุด

ประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-books)

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 10 ประเภท ดังนี้

1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะแบบหนังสือตำรา (Textbooks) เป็นการแปลงข้อมูลจากตัวเล่มหนังสือเป็นสัญญาณดิจิทัล และเพิ่มศักยภาพการนำเสนอและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้อ่านกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยการใช้ศักยภาพของคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การเปิดหน้าหนังสือ การสืบค้น การคัดเลือกข้อความที่ต้องการ

2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะแบบหนังสือเสียง (Talking Books) จะมีเสียงอ่านเมื่อเปิดหนังสือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้เหมาะสำหรับหนังสือเด็กเริ่มเรียน หรือหนังสือฝึกออกเสียง หรึอฝึกพูด เน้นคุณลักษณะด้านการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นตัวอักษรและเสียง นิยมใช้กับกลุ่มผู้อ่านที่มีระดับด้านการฟังหรือการอ่านค่อนข้างต่ำ เหมาะสำหรับการเริ่มต้นเรียนภาษาของเด็ก ๆ หรือผู้ที่กำลังฝึกภาษาที่สอง หรือฝึกภาษาใหม่ เป็นต้น

3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะแบบหนังสือภาพนิ่งหรืออัลบั้มภาพ (Static Picture Books) เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นการจัดเก็บ และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของภาพนิ่งหรืออัลบั้มภาพเป็นหลัก เสริมด้วยการนำศักยภาพของคอมพิวเตอร์มาใช้ในการนำเสนอ เช่น การเลือกภาพที่ต้องการ การขยายหรือย่อขนาดของภาพหรือตัวอักษร การสำเนาหรือการถ่ายโอนภาพ การแต่งเติมภาพ การเลือกเฉพาะส่วนของภาพ (cropping) หรือเพิ่มข้อมูลเชื่อมโยงภายใน (Linking information) เช่น เชื่อมข้อมูลอธิบายเพิ่มเติม เชื่อมข้อมูลเสียงประกอบ

4. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะแบบหนังสือภาพเคลื่อนไหว (Moving Picture Books)
เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบภาพวีดิทัศน์ (Video Clips) หรือภาพยนตร์สั้น ๆ (Films Clips) ผนวกกับข้อมูลสนเทศที่อยู่ในรูปตัวหนังสือ (Text Information) ผู้อ่านสามารถเลือกชมศึกษาข้อมูลได้ ส่วนใหญ่นิยมนำเสนอข้อมูลที่เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ หรือเหตุการณ์สำคัญ เช่น ภาพเหตุการณ์สงครามโลก ภาพการกล่าวสุนทรพจน์ของบุคคลสำคัญ ๆ ของโลกในโอกาสต่าง ๆ ภาพเหตุการณ์ความสำเร็จหรือสูญเสียของโลก Continue reading ประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-books)