Tag Archives: ห้องสมุด/พิพิธภัณฑ์

เรื่องเล่าจากสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับห้องสมุดละหอจดหมายเหตุ”

สัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับห้องสมุดละหอจดหมายเหตุ
วันพุธที่
17 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00 – 17.00 น.
ณ ห้องประชุมอโนมา
1 โรงแรมอโนมา กรุงเทพมหานคร

การสัมมนาในวันนี้นับว่าเป็นประโยชน์ต่อบรรณารักษ์และผู้อยู่ในแวดวงของห้องสมุดและจดหมายเหตุเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากตลอดเวลาที่ผ่านมา มักมีการถกเถียง สงสัย หรือไม่แน่ใจในการให้บริการของห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นการสำเนาสิ่งพิมพ์ที่มีในห้องสมุด การจัดทำดิจิทัลไฟล์ หรือแม้กระทั่งการแปลเอกสารเพื่อการปฏิบัติงานในห้องสมุด

จากการบรรยายของวิทยากรแต่ละท่าน สิ่งซึ่งมักถูกอ้างอิงถึงเสมอเมื่อกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ คือมาตรา 32 วรรค 1 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ที่มา : พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

มาตรา 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้ Continue reading เรื่องเล่าจากสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับห้องสมุดละหอจดหมายเหตุ”

ไทย-พม่าศึกษา ในกรอบประชาคมอาเซียน

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมสัมมนาวิชาการในหัวข้อ “ไทย-พม่าศึกษา ในกรอบประชาคมอาเซียน” ที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก ระหว่างวันที่่ 18-19 ธันวาคม 2557 โดยมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย และบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เพื่อส่งเสริมและให้การสนับสนุนการศึกษา การวิจัยเกี่ยวกับอาเซียนและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อขยายพรมแดนความรู้และสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาแก่คนและสังคมไทย ให้เป็นสังคมอุดมปัญญา พร้อมเปิดรับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นจากการบูรณาการความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม อันเป็นส่วนหนึ่่งในการส่งเสริมประชาคมอาเซียน ผ่านประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC)

ในงานสัมมนาดังกล่าว ผอ. ศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ และบุคลากรของสำนักหอสมุด คือ คุณกาญจนาภรณ์ จิตต์สง่า  เป็นวิทยากรในการสัมมนา เรื่อง “ศูนย์การเรียนรู้ ห้องสมุด จดหมายเหตุ อาเซียน – อุษาคเนย์”  ในวันที่ 19 ธันวาคม 2557

ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

จากการเข้าร่วมฟังการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิสำหรับห้องสมุดและหอจดหมายเหตุ โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา วันพุธที่ 17 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมอโนมา 1 โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ นั้น

การเปิดงานและบรรยายพิเศษ
การเปิดงานและบรรยายพิเศษ

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นบรรณารักษ์ นักเอกสาร หรือผู้ปฏิบัติงานในการให้บริการสารสนเทศ เพราะหัวข้อบ่งบอกอย่างตรงๆ ว่า เกี่ยวข้องกับการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุด และหอจดหมายเหตุ ที่ปฏิบัติงานด้วยความไม่มั่นใจในกิจกรรมบางอย่าง ที่ดำเนินการอยู่ ในการสัมมนาวันนั้น วลีที่พูดกันบ่อยมาก ก็คือ Three-step test ของสนธิสัญญากรุงเบิร์น (ถ้าไม่ขัดต่อ 3 ขั้นนี้ หมายความถึง ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์) ใช้กับสิทธิผูกขาดเฉพาะตัวเกี่ยวกับการทำซ้ำโดยมาตรา 9 (2) ต่อมาได้ขยายไปสู่ข้อตกลงทริปส์ (Agreement on Trade Related Aspects of Intellectual Property Rights – TRIPs Agreement) มาตรา 13, WIPO Copyright Treaty (WCT) มาตรา 10 และ WIPO Performances and Phonograms Treaty (WPPT) มาตรา 16 เป็นต้น Three-step test (ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์) หมายรวมถึง

  1. กรณีเฉพาะ (certain special cases)
  2. ไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ (do not conflict with a normal exploitation of a work)
  3. ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร (do not unreasonably prejudice the legitimate interests of the author)

Continue reading ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

การประชาสัมพันธ์ห้องสมุดด้วยสื่อออนไลน์

การประชุมวิชาการ เรื่อง คิดเพื่อสร้างสรรค์การประชาสัมพันธ์ห้องสมุด (CREATIVITY in Library PR) โดย ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา
วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2557 ณ ห้องประชุมสำนักบรรณสารการพัฒนา ชั้น 6 อาคารบุญชนะ อัตถากร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

ปัจจุบันนี้โลกเต็มไปด้วยข้อมูลมากมาย เทคโนโลยี่การสื่อสารการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดโลกทั้งใบเชื่อมถึงกันได้อย่างเสรี บทบาทของห้องสมุดต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ให้ทันกับพฤติกรรมของผู้ใช้บริการเพราะห้องสมุดเป็นแหล่งที่มีทรัพยากรมากมายและหลากหลายรูปแบบ อาทิ สิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ รูปแบบเว็บเบส และ Application บนอุปกรณ์โมบาย ทำให้การประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรและบริการของห้องสมุดต้องปรับเปลี่ยนไป เพราะผู้ที่มาใช้บริการของห้องสมุดไม่ได้เป็นกลุ่มเดิมอีกต่อไป แต่ทุกคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องล้วนแต่มีโอกาสเป็นผู้ใช้บริการได้ทั้งสิ้น

Continue reading การประชาสัมพันธ์ห้องสมุดด้วยสื่อออนไลน์

เมื่อไฟไหม้ทำอย่างไรดี?

หากพูดถึงไฟไหม้หรืออัคคีภัย คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นเป็นแน่ ไม่ว่าจะกับที่อยู่อาศัยของตัวเอง ที่ทำงาน หรือไม่ว่าจะเป็นที่ใดๆ ก็ตาม เพราะหลังจากเปลวเพลิงสงบลงจะเหลือเพียงซากของความสูญเสียในทุกครั้งไป ไม่ว่าจะเป็นชีวิต หรือทรัพย์สิน ตรงกับสุภาษิตคำพังเพยที่ว่า “โจรขึ้นบ้านสิบครั้งไม่เท่าไฟไหม้บ้านครั้งเดียว” ถ้าหากเปรียบห้องสมุดเป็นบ้านคงต้องกล่าวว่า “หนังสือหายสิบครั้งไม่เท่ากับไฟไหม้ครั้งเดียว”  

10858116_694343857351513_2294543425341599210_n
อาคารศูนย์การเรียนรู้ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ห้องสมุดเป็นสถานที่เก็บรวมรวมสารสนเทศประเภทต่างๆ มากมาย ทรัพยากรของห้องสมุดนั้นส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยกระดาษ กระดาษ และกระดาษ ซึ่งหากเกิดไฟไหม้ขึ้น จะเป็นเชื้อไฟอย่างดี หากผู้ปฏิบัติงานทราบว่าวิธีการรับมือที่ถูกต้องแล้ว เมื่อเกิดเหตุขึ้นก็จะพพอให้สามารถควบคุม หรือลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้

Continue reading เมื่อไฟไหม้ทำอย่างไรดี?

แนะนำห้องสมุดสังเวียน อินทรวิชัย

ห้องสมุดคณะพาณิชยศาตร์และการบัญชีเริ่มต้นจากการเป็นห้องอ่านหนังสือให้ บริการเฉพาะอาจารย์ในคณะ ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 พัฒนาไปเป็นห้องสมุดสังกัดคณะให้บริการทั้งคณาจารย์และนักศึกษา  ปี พ.ศ.2519 โอนไปสังกัดสำนักหอสมุดแต่ยังคงให้บริการสนับสนุนการเรียนการสอนของคณะเช่นเดิม

moto

ห้องสมุดมีพัฒนาการเติบโตไปพร้อมๆกับความก้าวหน้าของคณะซึ่งขยายหลักสูตร ต่างๆเพิ่มมากขึ้น เช่น หลักสูตร MBA และ X-MBA ซึ่งริเริ่มโดยศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย อดีตคณบดีระหว่างปี พ.ศ. 2527-2529 เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณูปการของท่านจึงได้เปลี่ยนชื่อห้องสมุดคณะพาณิช ยศาสตร์และการบัญชีเป็นห้องสมุดศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย เมื่อปี พ.ศ. 2551

ปัจจุบันห้องสมุดตั้งอยู่ที่ชั้น 4 อาคารคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

แหล่งข้อมูล: http://main.library.tu.ac.th/panitlib/index.php/th/about-library.html

 

2015 ASEAN Integration : Prospects and Opportunities for Academic Libraries in the Philippines

 

01

2015 ASEAN Integration: Prospects and Opportunities for Academic Libraries in the Philippines เป็นหัวข้อเรื่องที่นำเสนอในการประชุมเครือข่ายห้องสมุดในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกของ OCLC ครั้งที่ 6
เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2557 ณ Jeju Grand Hotel สาธารณรัฐเกาหลี โดย Sharon Maria S. Esposo-Betan ซึ่งเป็นหัวหน้าบรรณารักษ์ที่ College of Engineering Libraries, University of the Philippines โดยนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและบรรณารักษศาสตร์ในประเทศฟิลิปปินส์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ Continue reading 2015 ASEAN Integration : Prospects and Opportunities for Academic Libraries in the Philippines

ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อ. ปากช่อง จ.นครราชสีมา ห้องสมุดแห่งชุมชน

ในวันพุธที่ 19 พฤศจิกายน 2557 ระหว่างเวลา 11.00-12.30 น. มีโอกาสได้เข้าเยี่ยมชมงานห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี ซึ่งตั้งอยู่ในสถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยมีเสียงลือเสียงเล่าอ้างกันมาว่าห้องสมุดประชาชนแห่งนี้ไม่เหมือนใคร และยังเคยได้รับรางวัลชมเชยจากโครงการห้องสมุดมีชีวิต TK park Living Library Award จากการจัดกิจกรรมภายในห้องสมุดโดยคุณบรรณารักษ์แสนน่ารัก ซึ่งห้องสมุดมีกิจกรรมอะไรบ้างและบรรยากาศภายในเป็นยังไง ขอเริ่มที่ประวัติของห้องสมุดคร่าวๆก่อนเลยค่ะ

PB190899 Continue reading ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อ. ปากช่อง จ.นครราชสีมา ห้องสมุดแห่งชุมชน

หนอนน่ารัก

แนะนำการส่งเสริมการอ่าน หนอนหนังสือนอกจากอ่านแล้วยังมีการพบปะหน้าตา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน จะทำอย่างไรให้หนอนหนังงสือเพิ่มมากขึ้นๆ

ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้

ายการอ้างอิง:
ชูมาน ถิระกิจ. หนอนน่ารัก.  โดมทัศน์ 33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 48-53.

บทบาท Subject Liaison บทเส้นทางอาชีพบรรณารักษ์

ผู้เขียน (กนกวรรณ บัวงาม) ได้กล่าวถึงโอกาสที่ Mr. Larry Ashmun มาเยือนเมืองไทยโดยได้ทุน Fulbright และได้ร่วมงานกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อแนะนำการ Romanization ข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย จึงได้มีโอกาสพูดคุยเล่าถึงการทำงานของ Mr. Larry โดยเฉพาะงานทำงาน ในหน้าที่ Subject Liaison ณ Memorial Library University of Wisconsin-Madison Mr. Larry Ashmun ในฐานะที่เป็นบรรณารักษ์มืออาชีพ ได้ให้หลักในการทำงานแก่บรรณารักษ์รุ่นใหม่ที่น่าสนใจหลายประการ โดยเฉพาะคำพูดที่ว่า “เป็นบรรณารักษ์ต้องรักบริการ ถ้าไม่รักบริการแล้วจะมาเป็นบรรณารักษ์ทำไม”ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง:
กนกวรรณ บัวงาม. บทบาท Subject Liaison บทเส้นทางอาชีพบรรณารักษ์. โดมทัศน์ 33,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2555) : 61-72.