Tag Archives: บรรณารักษ์

เรื่องเล่าจากสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับห้องสมุดละหอจดหมายเหตุ”

สัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับห้องสมุดละหอจดหมายเหตุ
วันพุธที่
17 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00 – 17.00 น.
ณ ห้องประชุมอโนมา
1 โรงแรมอโนมา กรุงเทพมหานคร

การสัมมนาในวันนี้นับว่าเป็นประโยชน์ต่อบรรณารักษ์และผู้อยู่ในแวดวงของห้องสมุดและจดหมายเหตุเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากตลอดเวลาที่ผ่านมา มักมีการถกเถียง สงสัย หรือไม่แน่ใจในการให้บริการของห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นการสำเนาสิ่งพิมพ์ที่มีในห้องสมุด การจัดทำดิจิทัลไฟล์ หรือแม้กระทั่งการแปลเอกสารเพื่อการปฏิบัติงานในห้องสมุด

จากการบรรยายของวิทยากรแต่ละท่าน สิ่งซึ่งมักถูกอ้างอิงถึงเสมอเมื่อกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ คือมาตรา 32 วรรค 1 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ที่มา : พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

มาตรา 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้ Continue reading เรื่องเล่าจากสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับห้องสมุดละหอจดหมายเหตุ”

Customer journey

คำๆ นี้ ได้มาจากการฟัง อ. ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ เล่าประสบการณ์การเป็นนักวิจัย การทำงานร่วมกับนักวิจัย ของอาจารย์ ในโอกาสที่ Digital Literacy CoP และ Training the Trainers CoP ของสำนักหอสมุด มธ. เชิญอาจารย์มาเล่าประสบการณ์ของอาจารย์ ด้วยเหตุที่มองเห็นว่า บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ จะทำอย่างไรที่จะนำความสามารถของเราให้เป็น research supporter ได้

อาจารย์ทรงพันธ์ ในฐานะที่เป็นนักวิจัย  เป็นอาจารย์สอนบรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เล่าประสบการณ์การเป็น informationist ที่ Vanderbilt University Medical Center, Nashville, Tennessee ตำแหน่ง Knowledge Management Leadership and Research Fellow อาจารย์ได้รวบรวมประเด็นต่างๆ ได้แก่ แนวคิดของการทำงานร่วมกับนักวิจัย ความต้องการของนักวิจัย โอกาสในการทำงานร่วมกับนักวิจัย ความรู้ ทักษะ และสมรรถนะของคนที่จะทำงานร่วมกับนักวิจัย การพัฒนาตนเองให้สามารถทำงานร่วมกับนักวิจัยได้ ไว้ในการพูดแบบเล่าเรื่องด้วยความสนุก เรียกได้ว่า ฟังเพลินกันเลยทีเดียว ในเวลา 3 ชั่วโมงครึ่ง หมดเวลาโดยไม่รู้ตัว

การจะเป็น Informationist หรือ Embedded librarian ได้ยินอะไร ต้องตั้งคำถามไว้ก่อน เหมือนกับนักวิทยาศาสตร์ ที่มีความอยากรู้ อยากเห็น ในเมื่อ Vanderbilt University Medical Center เป็นมหาวิทยาลัยทางการแพทย์ มีนักศึกษาประมาณ 5,000 คน พนักงาน ประมาณ 20,000 คน หน่วยที่ใหญ่ที่สุดคือ โรงพยาบาล เรียนเกี่ยวกับ สุขภาพทุกอย่าง เพราะฉะนั้น philosophy ของ Vanderbilt คือ อย่ารอให้คิดทุกอย่างสมบูรณ์ ชัดเจน ถามมา ทำได้จริง งานได้ 50% ก็จะผลักออกมาก่อน ดังนั้น องค์กรจะดีได้ ต้องมีข้อมูลที่ดี Vanderbilt ต้องตอบโจทย์ให้กับผู้บริหาร คนไข้ ญาติคนไข้ หมอ นักศึกษา โรงพยาบาล แต่กลุ่มใหญ่สุด คือ นักวิจัย ดังนั้น information และ Knowledge เป็นสิ่งสำคัญ หมอจึงต้องการได้ข้อมูลแบบที่เป็น Evidence Based Medicine เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ การที่หมอไม่มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ จะทำอย่างไร ต้องพยายามนำข้อมูลที่มีอยู่ในห้องสมุดไปเข้ากับระบบที่หมอจะสามารถค้นและใช้ข้อมูลได้ทันที ซึ่งจะตัดสินใจผิดไม่ได้เลย เพราะคนที่ตัดสินใจไม่มีเวลามาหาข้อมูล Continue reading Customer journey

มาทำความรู้จักกับ Altmetrics (ตอนที่ 3)

เนื่องจาก มีความสนใจในเรื่องของการใช้ altmetric มากขึ้น จึงได้มีการพัฒนาเครื่องมือขึ้นมาหลายๆ ตัว ในตอนนี้ จะกล่าวถึง เครื่องมือและซอฟต์แวร์ที่สามารถนำมาใช้ในการทำ altmetric แต่จะขอกล่าวเฉพาะที่เป็นตัวใหม่ๆ และที่มีการพัฒนามาเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

1. Plum Analytics (http://www.plumanalytics.com/about.html) เป็นการรวบรวมข้อมูลด้วย APIs (Application Programming Interfaces) จากหลายแหล่งรวมทั้ง Blog, Twitter และแหล่งข้อมูลที่เป็น open access ทั้งหลาย เช่น PloS, Public Library of Science, data repositories, code source repositories (เช่น GitHub) scholarly social
bookmarking sites เช่น Mendeley, CiteULike และการนำเสนอผ่าน SlideShare เป็นต้น

Plum Analytics
                                                                                  Plum Analytics

Continue reading มาทำความรู้จักกับ Altmetrics (ตอนที่ 3)

บรรณารักษ์เปลี๊ยนไป๋ (2)

ความเดิมในโดมทัศน์ฉบับที่ 2 ปี 2551  ผู้เขียน (ชูมาน ถิระกิจ) ได้เคยนำเสนอบรรณา Look ที่เป็นภาพลักษณ์ต่างๆของบรรณารักษ์ทั้งที่จริงและที่สร้างขึ้นสนุกๆ ได้กล่าวถึงบรรณารักษ์เสมือน (virtual librarian) ที่เป็นทั้งตัวการ์ตูน avatar และที่อยู่เบื้องหลังบริการช่วยค้นคว้าเสมือนแบบไม่เห็นหน้าเห็นตา (virtual reference) ในฉบับนี้ได้ไปพบเรื่องราวของบรรณารักษ์
เสมือนที่อ่านเพลินดีและทำให้เกิดความคิดไปถึงบริการห้องสมุดที่
เปลี่ยนไปตามรูปแบบของการเกิดและการนำเสนอข้อสนเทศในสังคม
ปัจจุบัน ตลอดจนพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลความรู้ของคนในยุค
สารพัด E (e-mail, e-book, e-journal, e-resources, etc.)

ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง

ชูมาน ถิระกิจ. 2552. บรรณารักษ์เปลี๋ยนไป๋. โดมทัศน์ 30, 2 (กรกฎาคม -ธันวาคม 2552) : 60 : 63

ห้องสมุดตามบ้าน (Home library)

พระราชนิพนธ์ เรื่อง โรมัญสัญจร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงขึ้นเมื่อครั้งเสด็จเยือนประเทศอิตาลีระหว่างวันที่ 3-16 เมษายน พ.ศ. 2531 เพื่อทรงร่วมเป็นกรรมการตัดสินหนังสือเด็กของ International Board on Books for Young People (IBBY) ณ เมืองโบโลญญา ด้วยความสนพระทัยในการส่งเสริมการอ่านและห้องสมุดเด็ก พระองค์ได้มีพระราชดำรัสถามคุณเพลลูสกี้ (Ms. Anne Pellewski) ผู้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินฯ ชาวอเมริกัน ให้อธิบายเรื่อง Home library หรือห้องสมุดตามบ้าน ซึ่งคุณเพลลูสกี้ไปจัด workshop ที่ไนจีเรีย ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี พระองค์ทรงบันทึก ดังนี้ [1]

“ระบบห้องสมุดแบบนี้ คือ การหัดให้ชาวบ้าน (ส่วนใหญ่เป็นพวกแม่บ้าน) ให้รู้จักเล่านิทาน เขาจัดเป็น workshop ประมาณ 5-7 วัน บรรยากาศไม่ให้เคร่งเครียดนักเป็นการคุยกันเล่น ไม่ต้องมีพิธีรีตองอะไร เขามีวิธีการ คือ ชาวบ้านจะรวบรวมหนังสือส่วนตัวหรือหนังสือที่มีผู้บริจาค หรืออาจจะยืมจากห้องสมุด แล้วป่าวประกาศให้คนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ มาอ่านหนังสือกัน ผู้ที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์จะต้องมีเทคนิคในการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เล่าเรื่องให้เด็กสนใจอยากฟังและอยากอ่านต่อเอง เขาแนะนำให้ทำหนังสือขึ้นมาเอง โดยการนำเรื่องที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นมาเขียนบันทึกไว้” Continue reading ห้องสมุดตามบ้าน (Home library)

โคลัมบัสกับหนังสือ

การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเข้ามาในห้องสมุด เช่น การซื้อหนังสือเข้ามาไม่ว่าจะเล่มเดียวหรือหลายเล่มก็ตาม ต้องมีข้อมูลที่จำเป็นของการจัดซื้อหนังสือเล่มนั้นๆ บันทึกเก็บไว้ เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ ร้านค้า สำนักพิมพ์ ราคา เบอร์ติดต่อ และข้อมูลอื่นๆ ที่ห้องสมุดเห็นความจำเป็นในการบันทึกไว้

ไม่น่าเชื่อ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ที่รู้จักกันดี ได้เขียนข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ ไว้ในหนังสือทุกเล่มที่เขาซื้อมาด้วยเช่นกัน ขออัญเชิญข้อความจากหนังสือ เรื่อง ทวิภาคสัญจร พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินงานเอกซโปที่เมืองเซวีญา ประเทศสเปน ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 โดยเสด็จพระราชดำเนิน ทอดพระเนตรห้องสมุดโคลัมบัส ดังนี้ [1]

“ห้องสมุดโคลัมบัส (Biblioteca Columbina) มีหนังสือเก่าๆ มาก แต่ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ ส่วนที่บุตรชายของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส บริจาคให้ เป็นหนังสือ เอกสาร ต้นฉบับ เกือบ 5,000 เล่ม ที่สำคัญมากต่อวิชาการห้องสมุด คือ เขาจะเขียนไว้ในหนังสือทุกเล่ม ว่าเขาซื้อหนังสือนี้มาจากไหน เมื่อไร ราคาเท่าใด เขียนเบอร์ไว้ด้วย”

รายการอ้างอิง

[1] เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. ทวิภาคสัญจร. กรุงเทพฯ : ธนาคารไทยพาณิชย์, 2535.

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  43)

Experience of a Myanmar Librarian

Experience of a Myanmar Librarian โดย Thaw Kaung ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2555 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสรุปถึงประสบการณ์ในฐานะเป็นบรรณารักษ์ในพม่า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957-1997  โดยรวมถึงการพยายามในการพัฒนา The Universities’ Central Library หรือ UCL การเรียนการสอนทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์  เป็นต้น คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

การพัฒนาห้องสมุดสู่ประชาคมอาเซียน

การพัฒนาห้องสมุดสู่ประชาคมอาเซียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์ ได้กล่าวในการประชุมวิชาการ ประจำปี 2555 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า การจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาคงต้องพร้อมที่จะก้าวไปกับสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด น่าจะต้องเตรียมการอย่างมากในเรื่อง ทรัพยากรสารสนเทศและบริการ โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง ทรัพยากรและบริการ เป็นการแบ่งปันทรัพยากร

สำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศอาเซียน มีเครือข่ายความร่วมมือที่สำคัญ คือ ASEAN University Inter-Library Online (AUNILO) เป็นเครือข่ายย่อย ภายใต้ ASEAN University Network (AUN) นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึง การพัฒนาสมรรถนะของบรรณารักษ์ ที่้ต้องมีการพัฒนาสมรรถนะในเรื่องทัศนคติ ค่านิยม โดยเฉพาะในเรื่องความสามารถในการปรับตัว และพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งทักษะที่จะสามารถทำงานแบบข้ามวัฒนธรรม เช่น ความสามารถในการปรับพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ได้ ความตระหนักเรื่องการสื่อสาร สามารถสื่อสารกับบุคคลต่างวัฒนธรรมและสามารถปรับการแสดงออกได้ตามสถานการณ์ ความสามารถในการค้นหาความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมอื่นๆ และการปฏิบัติตามวัฒนธรรม และสามารถนำมาใช้ในการปฏิสัมพันธ์ การเคารพผู้อื่น มีการเปิดใจกว้าง และพร้อมรับและเข้าใจความเชื่อต่างๆ ในวัฒนธรรมอื่น และความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

e-Research Support

e-Research Support โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สมพร พุทธาพิทักษ์ผล อาจารย์ประจำแขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 7 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยพูดถึง e-Research ตั้งแต่ความหมาย และองค์ประกอบ สถานปัจจุบันของการวิจัย ประกอบด้วย การสื่อสารทางวิชาการ กระบวนการวิจัย ห้องสมุด และ e-Research support นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงช่องทางของวิชาชีพ ได้แก่ ทักษะความรู้บรรณารักษ์และนักสารสนเทศที่ต้องเปลี่ยนไปจากเดิม บริการใหม่ที่เข้ามาแทนที่ การจัดการข้อมูลวิจัย ที่มาแทนที่การจัดการสิ่งพิมพ์วิจัย รวมทั้งสรุปประเด็นที่น่าสนใจ คือ ประเด็นที่ 1 ขาดความรู้ ความเข้าใจด้านสถิติเชิงอ้างอิงที่ซับซ้อน การที่มีภูมิหลังด้านการศึกษามนุษยศาสตร์ และไม่คุ้นเคยกับสถิติ ข้อมูลเชิงปริมาณ ประเด็นที่ 2 การวิจัย การติดตามงานวิจัย และการใช้งานวิจัย ประเด็นที่ 3 สมรรถนะเดิม และสมรรถนะใหม่ คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

จากการเข้าร่วมฟังการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิสำหรับห้องสมุดและหอจดหมายเหตุ โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา วันพุธที่ 17 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมอโนมา 1 โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ นั้น

การเปิดงานและบรรยายพิเศษ
การเปิดงานและบรรยายพิเศษ

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นบรรณารักษ์ นักเอกสาร หรือผู้ปฏิบัติงานในการให้บริการสารสนเทศ เพราะหัวข้อบ่งบอกอย่างตรงๆ ว่า เกี่ยวข้องกับการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุด และหอจดหมายเหตุ ที่ปฏิบัติงานด้วยความไม่มั่นใจในกิจกรรมบางอย่าง ที่ดำเนินการอยู่ ในการสัมมนาวันนั้น วลีที่พูดกันบ่อยมาก ก็คือ Three-step test ของสนธิสัญญากรุงเบิร์น (ถ้าไม่ขัดต่อ 3 ขั้นนี้ หมายความถึง ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์) ใช้กับสิทธิผูกขาดเฉพาะตัวเกี่ยวกับการทำซ้ำโดยมาตรา 9 (2) ต่อมาได้ขยายไปสู่ข้อตกลงทริปส์ (Agreement on Trade Related Aspects of Intellectual Property Rights – TRIPs Agreement) มาตรา 13, WIPO Copyright Treaty (WCT) มาตรา 10 และ WIPO Performances and Phonograms Treaty (WPPT) มาตรา 16 เป็นต้น Three-step test (ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์) หมายรวมถึง

  1. กรณีเฉพาะ (certain special cases)
  2. ไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ (do not conflict with a normal exploitation of a work)
  3. ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร (do not unreasonably prejudice the legitimate interests of the author)

Continue reading ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์